ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือเทพปกรณัมญี่ปุ่น - Japanese mythology

    ลำดับตอนที่ #45 : ทาโนะคามิ-Ta-no-Kami เทพเจ้าแห่งผืนนา

    • อัปเดตล่าสุด 27 ธ.ค. 65





    คนญี่ปุ่นเชื่อว่าจะมีเทพเจ้าแห่งผืนนาหรือที่เรียกว่า “ทาโนะ คามิ”  คอยปกป้องดูแลนาข้าว เมื่อต้นข้าวเจริญเติบโต เทพเจ้าแห่งผืนนาจะมาดูแลนาข้าวให้ลูกหลาน เนื่องจากคนญี่ปุ่นเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งผืนนาอาศัยอยู่ใกล้ๆ กับภูเขาซึ่งห่างจากที่อยู่อาศัยของมนุษย์ จึงมีการเรียกเทพเจ้าแห่งผืนนาว่า เทพเจ้าแห่งภูเขา หรือ "ยามะ โนะ คามิ-Yama-no-kami”  ด้วย ชาวนาเชื่อว่า เทพเจ้าแห่งผืนนาจะมาอยู่ที่นาข้าวในฤดูใบไม้ผลิเมื่อถึงเวลาไถดินครั้งแรกสำหรับปลูกข้าว และกลับคืนสู่ภูเขาในฤดูใบไม้ร่วงหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ดังนั้นชาวนาญี่ปุ่นจึงมีพิธีต้อนรับในฤดูใบไม้ผลิและพิธี ส่งอำลาเทพเจ้าแห่งภูเขาในฤดูใบไม้ร่วง

    นอกจากนี้ชาวนายังถือว่าปีศาจสุนัขจิ้งจอกเป็นเทพเจ้าแห่งภูเขาด้วย เพราะเชื่อว่าการมาเยือนของปิศาจสุนัขจิ้งจอกที่อาศัยอยู่ในภูเขาในฤดูใบไม้ผลิก็คือการมาเยือนของเทพเจ้าภูเขา ด้วย เหตุนี้จึงถือว่าปิศาจสุนัขจิ้งจอกเป็นเทพเจ้าแห่งผืนนาเช่นกัน ในปัจจุบันคนญี่ปุ่นนับถือปีศาจสุนัขจิ้งจอกว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความโชคดีและความสำเร็จทางธุรกิจอีกด้วย  คนญี่ปุ่นยังมีการจัดเทศกาลเกี่ยวกับข้าวเพื่อบูชาสุนัขจิ้งจอก อาทิเช่น เทศกาลบูชารวงข้าว หรือ “อินะโฮะ-Inaho” ที่ ศาลเจ้าอินะในเขตคุดะระสึ-Kudaratsu จังหวัดยามะงุชิ-Yamaguchi ในพิธีกรรมนี้ชาวนาจะแต่งตัวเป็นสุนัขจิ้งจอกตัวผู้และตัวเมีย และเข้าพิธีแต่งงานที่นาข้าวเพื่อสวดอ้อนวอนขอให้เก็บเกี่ยวข้าวได้ผลดี 


    เทพเจ้าแห่งผืนนาหรือ “ทาโนะ คามิ” มีชื่อเรียกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับท้องถิ่น เช่น ในเขต โทโฮกุ-Tohoku area  ชาวนาเรียกเทพเจ้าแห่งผืนนาว่า “โน-งามิ-No gami ส่วนในเขตยามานาชิ-Yamanashi และนางาโนะ-Nagano ชาวนาเรียกเทพเจ้าแห่งผืนนาว่า "ซาคุงามิ-Saku-gami ส่วน ในเขตคินกิ-Kinki ชาวนาจะเรียกเทพเจ้าแห่งผืนนาว่า   "สุคุริงามิ-Tsukuri-gami" คำว่า "โน-งามิ-No-gami" ,  "ซาคุ-งามิ-Saku-gami"  และ "สุคุริงามิ-Tsukuri-gami ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนหมายถึง "เทพเจ้าแห่งการเกษตร"


    การประกอบพิธีกรรมเพื่อแสดงความขอบคุณเทพเจ้าแห่งผืนนา แตกต่างกันตามท้องถิ่น ในบางท้องถิ่นชาวนาจะนำต้นข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยวได้ใหม่มาวางเป็นกองสูงรูปทรงกรวยเพื่อถวายแก่เทพเจ้าแห่งผืนนา ในบางหมู่บ้านชาวนาจะใช้ฟางข้าวที่มัดเป็นช่อหนาวางลงบนพื้นดินเพื่อแสดงความขอบคุณ ต่อเทพเจ้าแห่งผืนผา นอกจากนี้ชาวนาในบางท้องถิ่นยังเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งผืนนานั้นตาบอด เพราะอยู่ใต้พื้นดินเป็นเวลานาน เทพจึงสกปรกเปรอะเปื้อนด้วยโคลน ดังนั้นชาวนาจึงเกิดธรรมเนียมในการอาบน้ำให้แก่เทพเจ้าแห่งผืนนาด้วย ในพิธีกรรมชาวนาจะไปที่นาข้าวของตนและแสร้งทำว่าเขากำลังแบกเทพเจ้าแห่งผืนนาไว้บนหลัง เมื่อเทพเจ้าแห่งผืนนาซ่าระร่างกายที่เต็มไปด้วยโคลนแล้ว ชาวนาก็จะถวายอาหารค่ำให้แก่เทพเจ้าแห่งผืนนา นอกจากนี้ในพิธีกรรมชาวนายังมีการแสดงความขอบคุณต่อหุ่นไล่กาและเครื่องมือเครื่องใช้ในการทํานาอีกด้วย


    โดยทั่วไปชาวนาเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งผืนนาเป็นสตรีเพศ(เทพี) ส่วนเทพเจ้าแห่งภูเขาเป็นเทพเจ้าผู้ชาย ชาวนาในบางท้องถิ่นเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งผืนนาและเทพเจ้าแห่งภูเขานั้นเป็นสามีและภรรยากัน อย่างไรก็ตาม ชาวนาในบางท้องถิ่นกลับมีความเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งภูเขานั้นเป็นสตรีเพศ โดยชาวนาเชื่อว่าใน แต่ละปีเทพเจ้าแห่งภูเขาจะให้กำเนิดบุตรถึง 12 คน ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้หญิงที่กำลังจะคลอดบุตรหลายคนมาสวดอ้อนวอนต่อเทพเจ้าแห่งภูเขาเพื่อขอให้ปลอดภัย



    สุนัขจิ้งจอก ถือเป็นสัญลักษณ์ในการส่งสารของเพพแห่งผืนนาทาโนะคามิ


    *เกร็ดความรู้เพิ่มเติม


    ศาลเจ้าเทพจิ้งจอกอินาริ-Fushimi Inari Shrine



    ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ หรือที่คนไทยทั้งหลายชอบเรียกกันว่าศาลเจ้าแดงหรือศาลเจ้าจิ้งจอก โดยหลักแล้วก็เป็นศาลเจ้าชินโต ที่ยกบูชาแก่เทพีอินาริ อันเป็นเทพแห่งข้าวนั่นล่ะครับ โดยตั้งอยู่ในเขตฟูชิมิ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ศาลเจ้านี้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ตัวศาลเจ้าตั้งอยู่บนพื้นที่เชิงเขาที่ระดับความสูง 233 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งภูเขาก็มีนามเดียวกันคือภูเขาอินาริ ซึ่งรอบเชิงเขานี้ยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าเล็กๆอีกมากมายตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเดินเท้าและเยี่ยมชมได้โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง 


    ศาลเจ้าแห่งนี้ถือเป็นศาลใหญ่ อันเป็นต้นสังกัดของบรรดาศาลเจ้าลูก ที่บูชาเทพอินาริ ซึ่งทั่วประเทศญี่ปุ่นมีอยู่กว่า 32,000 แห่ง แต่ส่วนสำคัญของศาลเจ้าแห่งนี้อยู่ต่อจากนี้ไปครับ ซึ่งก็เพราะว่าสิ่งที่ทำให้ศาลเจ้าแห่งนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับเทพทาโนะคามิ นั่นก็คือเทศกาลประจำศาลเจ้าอินาริ ที่เรียกว่า "ฮะห์ซุอุมะ-Hatsuuma" ซึ่งแปลตามตัวอักษรหมายถึง "วันแรกของปีม้า "  โดยจะจัดขึ้นในวันแรกของปีม้าตามจักรราศี  เป็นเทศกาลในฤดูใบไม้ผลิของชาวนาจัดขึ้นเพื่อต้อนรับ  “เทพเจ้าแห่งผืนนา”  หรือ “ทาโนะคามิ-Ta-no-kami" กลับมายังนาข้าวโดยเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งท้องน่าจะเป็นทางกลับไปยังภูเขาหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นในฤดูใบไม้ร่วงและเดินทางกลับมายังนาข้าวอีกครั้งหนึ่งเมื่อฤดูใบไม้ผลิมาเยือน 


     ดังนั้นเทศกาล "ฮะห์ซุอุมะ" จึงมิใช่เทศกาลสำหรับศาลเจ้าอินะริ แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งผืนนาด้วยโดยจุดประสงค์เพื่อขอให้การเก็บเกี่ยวข้าวอุดมสมบูรณ์



    ประตูโทริอิ ที่เรียงรายกันเข้าไปสู้ตัวศาลเจ้า


    การเดินทาง

    ศาลเจ้าจิ้งจอกแดงอยู่ด้านหน้าสถานี JR Inari ในสาย JR Nara Line หรือจะเดินจากสถานีรถไฟ Fushimi Inari ของสาย Keihan Main Line ก็ได้เหมือนกัน


    ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม


    - https://en.wikipedia.org/wiki/Fushimi_Inari-taisha
    - file:///C:/Users/admin/Downloads/52025-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-120558-1-10-20160317.pdf

    B
    E
    R
    L
    I
    N

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×