ลำดับตอนที่ #7
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : special(กาลิเลโอกับผลงานเกี่ยวกับหอเอนเมืองปิซ่า)
หาคำตอบให้อย่างรวดเร็ว
พอดีปิดเทอมแล้วว่างๆแหะๆ^^
มาค่พมาดูกานว่าการโยนวัตถุลงมาจากหอเอนมันเกี่ยวกันยังไงออะไร เอ๊ะ!เข้าใจไหมเนี่ย ไอเราก้องง เอาเป็นว่าเข้าเนื้อหากานเลยดีกว่าน้าๆๆๆ
กาลิเลโอยังทำการทดลองเกี่ยวกับการตกของวัตถุไว้มากมาย เขาพบว่าหากวัตถุมีรูปทรงที่เหมือนกันแล้ว มันจะตกถึงพื้นโลกพร้อมกัน ไม่ว่าจะมีน้ำหนักต่างกันเพียงใด เราทราบกันดีจากการทดลองในปัจจุบันว่าขนนกกับก้อนหินตกถึงพื้นพร้อมกันในสุญญากาศ การตกของวัตถุจะเป็นแบบที่มีความเร่งคงที่ (กาลิเลโอเป็นผู้พัฒนาแนวคิด (concept) ของความเร่งขึ้น) และระยะทางที่ตกจะแปรผันตรงกับเวลาในการตกยกกำลังสอง เขายังพบอีกว่าวัตถุที่ถูกขว้างออกไปจะมีทางเดินเป็นรูปพาราโบลา (parabola) ยิ่งขว้างแรงเท่าใดก็ยิ่งไปไกลเท่านั้น เขารู้ดีว่าหากขว้างวัตถุไปแรงมากๆจนมันสามารถไปไกลรอบโลก ทางเดินในระดับนั้นไม่อาจจะยังเป็นรูปพาราโบลาได้ แต่จะเป็นรูปอะไรนั้นกาลิเลโอก็ไม่ทราบ
การทดลองวัตถุตกที่หอเอนเมืองปิซาของกาลิเลโอ
กาลิเลโอยังเป็นผู้ที่พัฒนาแนวคิดของ ความเฉื่อย (inertia) และ มวลสาร (mass) ที่เป็นปริมาณที่วัดความเฉื่อย ความเฉื่อยนั้นแยกไม่ได้จากการเคลื่อนที่ ความเฉื่อยคือสมบัติการต่อต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วค่าหนึ่งจะคงสภาพการเคลื่อนที่ไว้อย่างนั้นและจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่นี้ วัตถุที่มีมวลมากจะต่อต้านมาก ที่มีมวลน้อยจะต่อต้านน้อย กาลิเลโอแบ่งแยกน้ำหนักออกจากมวลและกล่าวถึงแนวคิดของแรง กาลิเลโอครุ่นคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่และเสนอหลักแห่งสัมพัทธภาพ (Principle of Relativity) ของการเคลื่อนที่ขึ้นโดยกล่าวว่า "เราไม่อาจบอกได้ว่าเรากำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าไรโดยการทดลองภายในระบบที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ของเรา ปรากฏการณ์ธรรมชาติย่อมปรากฏเหมือนกันในระบบที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่สัมพัทธ์กัน" หลักแห่งสัมพัทธภาพเป็นหลักการที่ไอน์สไตน์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพทั้งภาคพิเศษและภาคทั่วไป หลักการนี้นับเป็นหนึ่งในหลักการที่คงเป็นจริงอยู่แม้ในทฤษฎีฟิสิกส์ปัจจุบัน
การทดลองและการสังเกตของกาลิเลโอให้ข้อมูลที่สำคัญมากเกี่ยวกับธรรมชาติของความโน้มถ่วงทั้งในระดับดวงดาวและบนผืนโลก ดูเหมือนกับว่าวัตถุบนโลกจะถูกแรงกระทำให้ตกลงสู่ผิวโลกโดยแรงจะมีค่ามากเมื่อวัตถุมีมวลมากและจะมีค่าน้อยเมื่อวัตถุมีมวลน้อยซึ่งแสดงโดยน้ำหนักที่ต่างกัน แต่ทำไมวัตถุทุกก้อนจึงตกลงด้วยความเร่งเท่ากัน? ปริศนาคาใจจากการทดลองของกาลิเลโอและที่เกิดจากแบบจำลองของเคปเลอร์เหล่านี้ต้องรออัจฉริยบุคคลผู้ถือกำเนิดในปีที่กาลิเลโอเสียชีวิต
เปนยังไงกานบ้างงัฟฟฟ
แหะๆๆ
ช่วยเม้นด้วยน้า
พอดีปิดเทอมแล้วว่างๆแหะๆ^^
มาค่พมาดูกานว่าการโยนวัตถุลงมาจากหอเอนมันเกี่ยวกันยังไงออะไร เอ๊ะ!เข้าใจไหมเนี่ย ไอเราก้องง เอาเป็นว่าเข้าเนื้อหากานเลยดีกว่าน้าๆๆๆ
กาลิเลโอยังทำการทดลองเกี่ยวกับการตกของวัตถุไว้มากมาย เขาพบว่าหากวัตถุมีรูปทรงที่เหมือนกันแล้ว มันจะตกถึงพื้นโลกพร้อมกัน ไม่ว่าจะมีน้ำหนักต่างกันเพียงใด เราทราบกันดีจากการทดลองในปัจจุบันว่าขนนกกับก้อนหินตกถึงพื้นพร้อมกันในสุญญากาศ การตกของวัตถุจะเป็นแบบที่มีความเร่งคงที่ (กาลิเลโอเป็นผู้พัฒนาแนวคิด (concept) ของความเร่งขึ้น) และระยะทางที่ตกจะแปรผันตรงกับเวลาในการตกยกกำลังสอง เขายังพบอีกว่าวัตถุที่ถูกขว้างออกไปจะมีทางเดินเป็นรูปพาราโบลา (parabola) ยิ่งขว้างแรงเท่าใดก็ยิ่งไปไกลเท่านั้น เขารู้ดีว่าหากขว้างวัตถุไปแรงมากๆจนมันสามารถไปไกลรอบโลก ทางเดินในระดับนั้นไม่อาจจะยังเป็นรูปพาราโบลาได้ แต่จะเป็นรูปอะไรนั้นกาลิเลโอก็ไม่ทราบ
การทดลองวัตถุตกที่หอเอนเมืองปิซาของกาลิเลโอ
กาลิเลโอยังเป็นผู้ที่พัฒนาแนวคิดของ ความเฉื่อย (inertia) และ มวลสาร (mass) ที่เป็นปริมาณที่วัดความเฉื่อย ความเฉื่อยนั้นแยกไม่ได้จากการเคลื่อนที่ ความเฉื่อยคือสมบัติการต่อต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วค่าหนึ่งจะคงสภาพการเคลื่อนที่ไว้อย่างนั้นและจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่นี้ วัตถุที่มีมวลมากจะต่อต้านมาก ที่มีมวลน้อยจะต่อต้านน้อย กาลิเลโอแบ่งแยกน้ำหนักออกจากมวลและกล่าวถึงแนวคิดของแรง กาลิเลโอครุ่นคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่และเสนอหลักแห่งสัมพัทธภาพ (Principle of Relativity) ของการเคลื่อนที่ขึ้นโดยกล่าวว่า "เราไม่อาจบอกได้ว่าเรากำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าไรโดยการทดลองภายในระบบที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ของเรา ปรากฏการณ์ธรรมชาติย่อมปรากฏเหมือนกันในระบบที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่สัมพัทธ์กัน" หลักแห่งสัมพัทธภาพเป็นหลักการที่ไอน์สไตน์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพทั้งภาคพิเศษและภาคทั่วไป หลักการนี้นับเป็นหนึ่งในหลักการที่คงเป็นจริงอยู่แม้ในทฤษฎีฟิสิกส์ปัจจุบัน
การทดลองและการสังเกตของกาลิเลโอให้ข้อมูลที่สำคัญมากเกี่ยวกับธรรมชาติของความโน้มถ่วงทั้งในระดับดวงดาวและบนผืนโลก ดูเหมือนกับว่าวัตถุบนโลกจะถูกแรงกระทำให้ตกลงสู่ผิวโลกโดยแรงจะมีค่ามากเมื่อวัตถุมีมวลมากและจะมีค่าน้อยเมื่อวัตถุมีมวลน้อยซึ่งแสดงโดยน้ำหนักที่ต่างกัน แต่ทำไมวัตถุทุกก้อนจึงตกลงด้วยความเร่งเท่ากัน? ปริศนาคาใจจากการทดลองของกาลิเลโอและที่เกิดจากแบบจำลองของเคปเลอร์เหล่านี้ต้องรออัจฉริยบุคคลผู้ถือกำเนิดในปีที่กาลิเลโอเสียชีวิต
เปนยังไงกานบ้างงัฟฟฟ
แหะๆๆ
ช่วยเม้นด้วยน้า
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น