เรื่องของแมวเหมียว - นิยาย เรื่องของแมวเหมียว : Dek-D.com - Writer
×

    เรื่องของแมวเหมียว

    เรื่องน่ารู่ต่างๆ ของน้องแมวที่ท่านชอบ

    ผู้เข้าชมรวม

    720

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    12

    ผู้เข้าชมรวม


    720

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    1
    จำนวนตอน :  4 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  28 ต.ค. 49 / 21:21 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    แมว มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Felis Catus

    นักชีววิทยาค้นพบว่า บรรพบุรุษของแมวถือกำเนิดขึ้นกว่า 50 ล้านปีมาแล้ว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกินเนื้อเป็นอาหาร เรียกว่า Miacis และได้วิวัฒนาการขั้นมาจนเริ่มมีลักษณะคล้ายแมวเมื่อ 10 ล้านปีก่อน มีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับแมวป่าที่มีเขี้ยวขนาดใหญ่ เรียกว่า Dinistis

    ต้นตระกูลของแมวบ้านจริงๆนั้น แยกออกมาจากตระกูลของ เสือไซบีเรียน และแมวพื้นเมืองต่างๆ ในปัจจุบันสายพันธุ์แมวถูกรวบรวมไว้ถึง 36 ตระกูล 51 ชนิด (รวมทั้งสิงโตและเสือต่างๆด้วย)

    ต่อมาถึงยุคอียิปต์โบราณ ประมาณ 4,000 กว่าปีก่อน พวกชาวนาได้นำแมวป่า (แมวพื้นเมืองของอียิปต์) มาฝึกให้เชื่อง เพื่อใช้จับหนูในโรงนาและเมื่อหนูในโรงนาหมดไป ก้อทำให้ผลิตผลและพืชพันธุ์มีความเสียหายน้อยลง ประชาชนก็มีอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น แ ละไม่มีโรคภัยที่เกิดจากหนูอีกด้วยชาวอียิปต์จึงนับถือแมวเป็นสัตว์เทพเจ้า


    ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า "Bastet" (เทวีบัสเตต) ซึ่งมีตัวเป็นคน แต่มีหัวเป็นแมว เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก และความอุดมสมบูรณ์

    นอกจากชาวอียิปต์จะใช้แมวจับหนูในโรงนาแล้ว ยังใช้แมวจับหนูบนเรือสินค้าอีกด้วย ตรงจุดนี้ เลยเกิดความเชื่อว่า เมื่อเรือเทียบท่า แมวก็ลงจากเรือ แต่ไม่ได้กลับขึ้นเรือจึงทำให้แมวขนาดพันธุ์ไปทั่วโลก

    ชาวอียิปต์โบราณนั้นนับถือแมวถึงขนาดแมวในบ้านตาย ยังต้องนำไปทำมัมมี่เลย (มัมมี่คนจะทำเฉพาะราชวงศ์และขุนนางเท่านั้น) มัมมี่แมวสามารถหาดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ

    ต่อมาเข้าสู่ยุคกลางในยุโรป มีความเชื่อเรื่องแม่มด และความชั่วร้ายต่างๆ ชาวยุโรปในยุคนี้กล่าวหาว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของแม่มด (โดยเฉพาะแมวดำ) ดังนั้นใครเลี้ยงแมว จะถูกประณามว่าเป็นแม่มดร้าย ยิ่งเป็นคนแก่เลี้ยงแมวยิ่งแล้วใหญ่ พวกนี้มักจะโดนเผาทั้งเป็น ทั้งคนและแมว ดังนั้นเมื่อแมวน้อยลง จึงทำให้มีหนูมากขึ้น ทำให้กาฬโรคระบาดหนักในยุโรปช่วงนั้น

    ในยุคใกล้ๆกัน แถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นกับจีน เริ่มเลี้ยงแมวกันมากขึ้นจากเดิมที่เคยเลี้ยงอยู่แล้ว และที่ญี่ปุ่นก็ยังใช้แมวเป็นสัญลักษณ์นำโชคอีกด้วย จะเห็นได้จาก "แมวกวัก" ที่ใช้กันตามร้านค้า จะใช้กวักลูกค้า หรือกวักเงินก็แล้วแต่ท่าทางของแมวตัวนั้น และที่จีนก็เชื่อว่า แมวเป็นสัตว์นำโชค เพราะว่าแมวจะเข้ามาอยู่ในบ้าน ก็ต่อเมื่อมันพอใจที่จะอยู่เท่านั้น เมื่อมันเข้ามาอยู่แล้วเจ้าของบ้าน มักจะมีโชคลาภมา

    ในประเทศไทยก็เริ่มมีการเลี้ยงแมวมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เลี้ยงไว้เพื่อใช้จับหนูเหมือนกับชาวอียิปต์นั่นแหละ จนมีตำราแมวให้คุณ-ให้โทษ

    แมวไทยคู่แรกที่ออกจากประเทศไทย ไปสู่สายตาชาวโลก ถูกนำออกไปโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงประราชทานให้กับ Mr. Owen Gould กงศุลอังกฤษประจำกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2427 ซึ่งได้นำแมวคู่นี้ไปให้น้องสาวที่อังกฤษ แมวไทยคู่นี้เป็นแมววิเชียรมาศแต้มสีครั่ง และในปี พ.ศ. 2428 แมวไทยคู่นี้ถูกส่งเข้าประกวดในงานแมวที่ The Crystal Palace ณ ประเทศอังกฤษ ผลการประกวด ปรากฏว่า แมวไทยคู่นี้ชนะเลิศในการประกวด จากการประกวดครั้งนี้ทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น และได้จัดตั้ง The Siamese Cat Clubs ขึ้นในปี 2443 และ The Siamese Cat Society of the British Empire ขึ้นในปี พ.ศ. 2471

    ในเมื่อแมวเป็นสัตว์เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ จึงมีกฎ หากใครฆ่าแมว จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก

    พวกที่ต้องการยึดครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ จึงใช้วิธีชั่วร้าย "อุ้มแมวไปรบ" แล้วพวกทหารอียิปต์จะสู้ได้อย่างไร (เป็นส่วนหนึ่งของการรบอียิปต์ไม่ได้ล่มสลายเพราะแมว) แต่ถึงอียิปต์โบราณจะล่มสลายไปแล้ว ชาวอียิปต์ในสมัยก่อนยังนับถือบูชาแมวเหมือนเดิม ขนาดชาวโรมันบางคน (สมัยนั้นโรมันปกครองอียิปต์) ฆ่าแมวยังถูกพวกอียิปต์ลงโทษเลย
    หลังจากที่แมวไทยคู่นี้ได้ทำเชื่อเสียง ในอังกฤษ ร.5 ทรงเห็นว่า แมวไทยเป็นสัญลักษณ์ ที่สามารถทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของประเทศทั่วโลก จึงได้พระราชทานแมวไทย ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน หลายประเทศ และจากสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกระทำนั้น ทำให้แมวไทย และประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเลยทีเดียว

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น