ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อาณาเขตต้องห้ามของมิลล่า:3

    ลำดับตอนที่ #6 : 5 ดาบในตำนาน ของญี่ปุ่น

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 65
      0
      7 ส.ค. 56

    ดาบญี่ปุ่น หรือ คาตานะ เป็นดาบรูปทรงประหลาดเมื่อเทียบกับดาบทั่วๆ ไป มีลักขณะเรียวปลายแหลมมีคมด้านเดียว

    โดย ปกติซามูไรในญี่ปุ่นจะพกดาบสองเล่ม เล่มแรก คาตานะ และอีกเล่มเรียกว่า "วาคิซาชิ" ซึ่งมีหน้าที่รองลงมา แต่นักดาบชื่อดังของญี่ปุ่นหลายคนที่ใช้ดาบเล็กยาวพร้อมกัน เช่น นิตโตริว ของ มิยาโมโต้ มุซาชิ เป็นต้น

    ดาบที่มีชื่อเสียงโด่งดังในตำนาน ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตัวดาบ หากแต่เกิดขึ้นจาก "ผู้ครอง" และ "วีรกรรม" ที่เจ้าของร่วมสร้าง

    โดย ปกติดาบญี่ปุ่นสามารถแยกออกตามชนิดได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมากที่สุดคือการแบ่งแยกตามความยาว โดยมีหน่วยเป็น "ชาคุ" ซึ่ง 1 ชาคุ เท่ากับ 30.3 เซนติเมตร ขนาด 1 ชาคุลงมาถือเป็นดาบสั้น ขนาดทั่วไปของดาบปกติจะอยู่ที่ 2 ชาคุขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ชาคุ ดาบที่ยาวเกิน 3 ชาคุถือเป็นดาบพิเศษซึ่งใช้ยากไปซักนิด


    ในรูปเป็น 1 ใน 5 ดาบแห่งแผ่นดินของญี่ปุ่น จูซุมารุ

    5 ดาบผ่าปฏพี เป็นยอดดาบโบราณ 5 เล่ม ซึ่งปัจจุบันเป็นยอดดาบที่เป็น "สมบัติของขาติ" บางเล่มถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงโตเกียว และบางเล่มอยู่ในท้องพระคลังมหาสมบัติ ประกอบด้วย

    ดาบโดจิกิริ ดาบยาวขนาด 79.9 เซน ของยอดนักตีดาบคู่แผ่นดิน ยัตสุซึนะ ดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบคู่มือของ มินาโมโต้ โยริมิตซึ และตกทอดมาเรื่อย


    ดาบโดจิกิริ

    ดาบโอนิมารุ ดาบยาว 78.2 เซน เป็นดาบตกทอดของสกุล "โฮโจ" ที่มีชื่อเสียง

    ดาบโอนิมารุ

    ดาบมิคะซึงิมุเนะจิกะ ยาว 80 เซน มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า "ซันโจว" ไม่ปรากฏชื่อเจ้าของดาบ

    ดาบมิคะซึงิมุเนะจิกะ

    ดาบโอเดนตะ สั้นที่สุดในบรรดา 5 พี่น้อง ยาวเพียง 65.75 เซน เป็นดาบสืบตระกูล ไดเมียว "มาเอดะ" สมัยเอโดะ

    ดาบโอเดนตะ

    ดาบจูซึมารุ น้องนุชสุดท้อง แต่ขนาดยาวที่สุด 81.1 เซน ดาบสมัยคามาคุระ ของนักบวชนาม นิชิเรน

    ดาบจูซึมารุ

    นอกจาก ห้าเล่มสำคัญ ก็ยังมี "ดาบในตำนาน" อีกหลายเล่ม ขอกล่าวถึงเฉพาะที่สำคัญๆ

    อา เมะ โนะ โทซึคาโน ซึรุงิ ดาบเปิดประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น คู่มือของ... "ซูซาโนะโอะ" ผู้พิชิตมังกรเจ็ดหัว ยามาตะ โนะ โอโรจิ จนกลายเป็นประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน

    คุซานางิ อีกชื่อนึงของ อาเมะ โนะ โทซึคาโน ซึรุงิ ดาบประจำมือซูซาโนะโอะ
    ซึ่งถือเป็น 1 ใน 3 ดาบสวรรค์

    โอนิ คิริมารุ (ดาบพิฆาตมาร) ดาบคู่มือ วาตานาเบะ โนะ ซึนะ ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น
    มินาโมโต้ โนะ ซึนะ หรือที่ใครๆ รู้จักใน โยริมิตซึ ชิเทนโน

    คาเมะวาริโตว ดาบคู่บารมี อิตโต้ อิตโตไซ ปรจารย์ดาบมือเดียว หรือ อิตโตริว ผู้โด่งดัง

    โคการาสุมารุ ยอดดาบที่สร้างสมัยเฮอัน ตกทอดหลายมือ

    บิเซนโจเซน ดาบคู่มือ และโด่งดังที่สุด สร้างวีรกรรมมากมาย คู่มือของขุนพลผู้ยิ่งใหญ่ โอดะ โนบุนากะ

    และ ซาซากิ โคจิโร่ ซึ่งบางประวัติได้กล่าวไว้ว่า ซาซากิ โคจิโร่ ใช้ "โมโนโฮชิซาโอะ" หรือที่แปลว่า ไม้ตากผ้า ก็ไม่ผิดแต่อย่างไร ด้วยความยาวของดาบนั่นเอง

    มาซามุเนะ ยอดดาบชื่อดัง ไม่ปรากฏเจ้าของ แต่ถูกเขียนลงในนิยาย การ์ตูนมากมาย

    โค เท็ตซึ หรือ พยัคฆ์คะนอง ซึ่งเป็นดาบคู่มือของ คอนโด อิซามิ หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อ แต่ถ้าหากบอกว่าเป็นหัวหน้ากลุ่มซินเซน ที่มีชื่อเสียงกล่าวถึงในยุคปฏิวัติก็คงรู้จักกันดี

    นอกจากนี้ยังมีดาบขึ้นชื่อที่ไม่ปรากฏเจ้าของอีกหลายเล่ม ได้แก่
    มุราซาเมะ
    มุรามาสะ

    ประวัติ + สาระน่ารู้
    ดาบซามูไร ตำนานของอาวุธสังหาร และงานศิลปะ
    ภาย ใต้ความประณีตผสมผสานเนื้อเหล็กชั้นดี และวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของชาวญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณราวหนึ่งพันปีเศษ ทำให้ดาบญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดเหนือกว่าดาบของชนชาติ อื่นๆ อย่างสิ้นเชิง
    ราวพันปีก่อนช่างตีดาบเขาผลิตดาบเนื้อดีแข็งแกร่งและคมอย่างมีดโกนได้อย่างไร
    ภาย ใต้อาวุธสังหารอันคมกริบ ดาบซามูไรก็เป็นงานศิลปะชั้นยอด เป็นของที่มีค่าและวิธีการตีดาบซามูไรยังเป็นศาสตร์ที่สูงส่งอย่างไม่น่า เชื่อ
    คนไทยเริ่มรู้จักดาบซามูไรเมื่อติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นตั้งแต่สมัย อยุธยา สงครามโลกครั้งที่สอง...ดาบซามูไรเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทหารญี่ปุ่นใช้ตัด หัวเชลยศึกขาด...ได้ด้วยการฟันเพียงครั้งเดียวและทำให้ดาบซามูไรเริ่มรู้จัก กันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา และแทบไม่น่าเชื่อว่า...ยุคทองของดาบซามูไรนั้นมีมานานกว่า ๗๐๐ ปี ถือเป็นยุคที่ดาบมีคุณภาพดีที่สุดเหนือกว่ายุคใดๆ ของดาบญี่ปุ่น
    ซามูไร (Samurai) คือนักรบหรือมีความหมายว่าผู้รับใช้ ดาบคู่กายซามูไรเปรียบเหมือนจิตวิญญาณของซามูไรทุกคน หากซามูไรลืมดาบ...เท่ากับว่านำตนเองไปสู่ความตายได้ทุกเมื่อ ลัทธิ "บูชิโด" สอนให้เหล่าซามูไรยึดมั่นในความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และจงรักภักดีต่อเจ้านาย ของตน ซามูไรถือว่าความตายเป็นเรื่องเล็กน้อย ปรัชญาแห่งบูชิโดกล่าวไว้ว่า "ความตายเป็นสิ่งเบาบางยิ่งกว่าขนนก"
    ชาวญี่ปุ่นโบราณยกย่องชาวนาและช่าง ฝีมือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ "ช่างตีดาบ" เดิมนักรบชาวญี่ปุ่นใช้ดาบจากจีนและเกาหลีในการสู้รบ ในสมัย "นาร่า" (Nara Period) ประมาณปี พ.ศ. ๑๑๙๓-๑๓๓๖ หรือประมาณ ๑,๓๐๐ ปีเศษล่วงมาแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือเวลาสู้รบดาบมักหักออกเป็นสองท่อน จักรพรรดิจึงสั่งให้ช่างตีดาบปรับปรุงดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิม
    ช่างตีดาบยุค แรกมีชื่อว่า "อามากุนิ" เขาพัฒนาการตีดาบไม่ให้หักง่ายด้วยการใช้เหล็กที่ดี และมีการศึกษาวิธีทำให้เหล็กแข็งแกร่งกว่าเดิม เหล็กที่ดีของญี่ปุ่นได้จากการถลุง มีชื่อว่า "ทามาฮากาเน่" (Tamahagane)
    อา มากุนิพบว่า...การที่จะให้ได้ดาบคุณภาพดีต้องควบคุมของสามสิ่ง คือ การควบคุมความเย็น, การควบคุมปริมาณคาร์บอน และการนำสิ่งปะปนที่อยู่ในเหล็กออก
    ปริมาณคาร์บอนคือหัวใจสำคัญในการตีดาบ หากใส่คาร์บอนในเหล็กมากไปเหล็กจะเปราะ, ใส่น้อยไปเหล็กจะอ่อน จึงต้องใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ
    เหล็ก ถูกนำมาหักแบ่งเป็นชิ้นเล็กวางซ้อนกันก่อนหลอม และนำไปตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นจึงพับเหล็กเป็นสองชั้นขณะยังร้อนๆ แล้วตีซ้ำอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เหล็กจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหมื่นๆ ชั้น ทำให้คาร์บอนกระจายไปจนทั่วเนื้อเหล็ก แล้วจึงนำไปตีแผ่ออกให้เป็นใบดาบ จะได้ใบดาบที่ดีเนื้อเหล็กแกร่งและคมไม่หักอีกต่อไป
    แต่...นี่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นดาบที่สุดยอด

    สี่ร้อยปีผ่านมาเข้าสู่สมัยคามาคูระ (Kamakura Period) ราวปี พ.ศ. ๑๗๓๕-๑๘๗๙ จักรพรรดิบอกให้ช่างตีดาบศึกษาวิธีการตีเหล็กจากยุคโบราณ
    ยุค นี้ถือเป็นจุดเริ่มยุคทองของดาบซามูไร มีการพัฒนาดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อกว่า ๔๐๐ ปีก่อน ถือเป็นเทคนิคที่สุดยอดของดาบ มีการเพิ่มวิธีการผสมเหล็กสองชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีความแข็งจะมีปริมาณคาร์บอนสูงใช้ทำเป็นตัวดาบ และเหล็กอ่อนที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำใช้ทำเป็นไส้ดาบเพื่อให้ยืดหยุ่น
    จาก เหล็กสองชนิดที่ถูกนำมาพับและตีมากกว่าสิบชั้น ทำให้เกิดชั้นเล็กๆ เป็นทวีคูณเป็นหมื่นชั้น ช่างตีดาบจะพับเหล็กแข็งให้เป็นรูปตัว ย และนำเหล็กอ่อนมาวางไว้ตรงกลางเพื่อทำเป็นไส้ใน แล้วนำไปหลอมและตีรวมกันใหแผ่ออกเป็นใบดาบ จากนั้นนำไปหลอมในอุณหภูมิที่เหมาะสมซึ่งมากกว่า ๗๐๐ องศาเซลเซียส แล้วจึงนำมาแช่น้ำเย็น
    การแช่น้ำต้องระมัดระวังมาก หากแช่ไม่ดีดาบจะโค้งเสียรูป เหล็กที่มีความแข็งต่างกันเมื่อทำให้เย็นทันทีจะหดตัวต่างกัน ถือเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ใบดาบโค้งได้รูปตามธรรมชาติ
    ดาบสามารถฟันคอขาด ได้เพียงครั้งเดียว บาดแผลที่ได้รับจากดาบจะเจ็บปวดมาก ซามูไรยังต้องเรียนรู้การใช้ดาบอย่างช่ำชองว่องไวและคล่องแคล่ว ให้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย จากความสามารถนี้เองทำให้ซามูไรเพียงคนเดียวสามารถสังหารศัตรูที่รายล้อมตน กว่าสิบคนได้ภายในชั่วพริบตาด้วยดาบเพียงเล่มเดียว
    แต่ประเพณีการต่อสู้ ของชนชั้นซามูไรคือการต่อสู้ "ตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทด้วยดาบ" ผู้แพ้ที่ยังมีชีวิตอยู่คือผู้ที่ไร้เกียรติ ซามูไรจึงไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ การฆ่าตัวตายอย่างสมเกียรติด้วยการทำ "เซปปุกุ" คือเกียรติยศของซามูไร
    เดือน พฤศจิกายนปี พ.ศ. ๑๘๑๗ ชาวมองโกลของกุบไลข่านบุกญี่ปุ่นที่อ่าวฮากาตะ ด้วยกองทัพเรือ ๘๐๐ ลำ และกองพลสามหมื่นนาย เหล่าซามูไรต้องการจะสู้กันตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทเยี่ยงสุภาพบุรุษกับนักรบ ระดับผู้นำ แต่ไม่ได้ผล พวกซามูไรต้องปะทะสู้ที่ชายหาดกับฝูงธนูอาบยาพิษและระเบิด เป็นสงครามที่ไม่มีระเบียบและตกเป็นรอง พายุไต้ฝุ่นช่วยทำลายกองเรือของชาวมองโกลจนหมดสิ้น การรบครั้งแรกเหมือนการหยั่งเชิงของชาวมองโกลเพื่อดูกำลังของศัตรู
    อีก เจ็ดปีต่อมาพวกมองโกลกลับมาอีกครั้งด้วยกองเรือ ๔,๐๐๐ ลำ กองทหารอีกสองแสน พวกซามูไรรบพุ่งกับลูกธนูอย่างกล้าหาญ พวกเขาตัดเรื่องมารยาททิ้งไป ตกกลางคืนเหล่าซามูไรพายเรือลอบเข้าโจมตีพวกมองโกลประชิดตัวด้วยการใช้ดาบ ที่ช่ำชอง ดาบทหารมองโกลไม่มีทางสู้ดาบซามูไรได้เลย ระหว่างสงครามพายุไต้ฝุ่นก็ทำลายกองเรือของมองโกลอีกครั้ง กองเรือสองในสามจมไปกับทะเลพายุ, ทหารมองโกลจมน้ำตายนับหมื่น พวกที่ว่ายน้ำเข้าฝั่งก็ตายด้วยคมดาบอย่างหมดทางสู้ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมืองนี้ถูกปกป้องจากพระเจ้า และตั้งชื่อลมพายุนี้ว่า "กามิกาเซ่" (Kami-Kaze) หมายถึงลมศักดิ์สิทธิ์ หรือลมผู้หยั่งรู้
    หลังจากนั้นพวกมองโกลก็ไม่ได้กลับมาตีญี่ปุ่นอีกเลย

    หลัง จากสงครามสิ้นสุด บ้านเมืองอยู่ในความสงบ พบว่าหลังจากการรบที่ผ่านมาดาบมักจะบิ่น จักรพรรดิจึงบอกให้ช่างตีดาบหาวิธีแก้ไข ช่างตีดาบที่สร้างสมดุลของความแข็งและความอ่อนของเหล็กและพัฒนาโครงสร้างของ ดาบออกเป็นเหล็กสามชิ้น คือ "มาซามูเน่" (Masamune)
    ราวปี พ.ศ. ๑๘๔๐ ดาบของมาซามูเน่ถือเป็นดาบที่พัฒนาถึงขั้นสูงสุด ในญี่ปุ่นไม่มีช่างตีดาบคนใดจะเทียบได้ เขาสร้างความสมดุลของความแข็งของคมดาบ
    เคล็ดลับการทำดาบคือการผสมเหล็ก สามชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนสูงจะใช้เป็นใบดาบด้านข้างที่เรียกว่า Gawa-gane และด้านคมดาบ (Ha-gane) ใช้เหล็กที่แข็งมากโดยผ่านการพับและตีถึง ๑๕ ครั้ง ซึ่งสามารถสร้างชั้นของเหล็กที่ซ้อนกันถึง ๓๒,๗๖๘ ชั้น ทำให้เหล็กเหนียวและแกร่งมากกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะใช้เป็นส่วนไส้ใน (Core Steel) ทำให้มีความยืดหยุ่นเรียกว่า Shi-gane แล้วนำไปหลอมที่อุณหภูมิประมาณ ๘๐๐ องศาเซลเซียสให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงนำมาตีแผ่ออกเป็นใบดาบ
    ช่างตีดาบคนอื่นๆ เริ่มเลียนแบบในเวลาต่อๆ มา

    ช่าง ตีดาบในยุคเดียวกันที่มีชื่อเสียงเทียบเคียงมาซามูเน่ คือ "มารามาซะ" กล่าวกันว่าใครที่มีดาบของ "มารามาซะ" ไว้ครอบครอง เลือดจะสูบฉีดให้อยากที่จะชักดาบออกมาสังหารคู่ต่อสู้เพราะความคมของมัน ในขณะเดียวกันซามูไรที่ครอบครองดาบของ "มาซามูเน่" กลับสงบนิ่งเยือกเย็น
    ดาบ ญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาช่วงสมัยเอโดะ (พ.ศ. ๒๑๔๖-๒๔๑๐) จากการติดต่อค้าขาย ญี่ปุ่นนำพัดและดาบเข้ามาในอยุธยา
    โดย เฉพาะดาบมีความสำคัญต่อพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางในราชสำนักสยามแต่งตัวในชุดเต็มยศ ห้อยดาบเข้าพิธีสำคัญๆ ต่างๆ ในพระราชสำนัก อีกทั้งหนึ่งในห้าของ "เบญจราชกกุธภัณฑ์" คือ "พระแสงขรรค์ชัยศรี" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สูงสุดแห่งอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ดาบหรือกระบี่ของตำรวจและทหารในชุดเต็มยศของไทยในปัจจุบัน เรียกว่าดาบทหารม้า (Parade Saber) ซึ่งได้รับอิทธิพลพื้นฐานมาจากดาบญี่ปุ่นทั้งสิ้น
    ซามูไรเหล่านี้ได้กลายเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นในเวลาต่อมา



    ยุคสมัยของดาบซามูไร แบ่งออกได้ ๔ ยุค

    ๑. ยุคดาบโบราณ (Ancient Sword) ก่อนคริสต์ศักราช ๙๐๐ (ก่อน พ.ศ. ๑๔๔๓) ยุคที่ดาบของ "อามากุนิ" ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการถลุงเหล็กเนื้อดีในสมัยนาร่า

    ๒. ยุคดาบเก่า (Old Sword) ราวปี พ.ศ. ๑๔๔๓-๒๐๗๓ ถือเป็นยุคทองของดาบซามูไร แทบไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ศิลปะไทย จะอยู่ในช่วงเดียวกับศิลปะสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘) จนถึงสมัยศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐) ในขณะที่ปี พ.ศ. ๑๘๔๐ เป็นปีที่ดาบของ "มาซามูเน่" ถือกำเนิดขึ้นและภูมิปัญญาขั้นสูงสุดที่ตกทอดเป็นมรดกของดาบชั้นยอด

    ๓. ยุคดาบใหม่ (New Sword) ราวปี พ.ศ. ๒๑๓๙-๒๔๑๐ ซึ่งอยู่ช่วงเดียวกับศิลปะสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ คือช่วงสมัยเอโดะ และยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศห้ามคนเข้าออกอย่างเด็ดขาด (พ.ศ. ๒๑๘๒)

    ๔. ยุคดาบสมัยโมเดิร์น (Modern Sword) ราวปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ถึงปัจจุบัน ยุคที่ดาบทหารถือกำเนิดขึ้น (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๘๘) การผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการสงครามไม่มีพิธีกรรมแบบโบราณ ดาบญี่ปุ่นมัวหมองเพราะถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ การตัดคอเชลยศึกไม่ใช่ประเพณีของชนชั้นซามูไร พอมาถึงสมัยปัจจุบันดาบกลายเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีราคาแพง



    ชนิดของดาบซามูไร
    ดาบมีหลายแบบและหลายประเภท แต่สามารถแบ่งชนิดหลักๆ ออกได้ ๓ ชนิดดังนี้

    ดาบยาว (Long Sword)
    ๑. "ตาชิ" (Tachi) ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า ๗๐ เซนติเมตร
    ๒. "คาตานะ" (Katana) ดาบที่มาแทนที่ดาบตาชิของทหารม้า ตั้งแต่กลางสมัยมุโรมาชิ (ราว พ.ศ. ๒๐๐๐) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ ๖๐.๖ เซนติเมตรขึ้นไปถึง ๗๐ เซนติเมตร

    ดาบขนาดกลาง (Medium Sword)
    "วา กิซาชิ" (Wakizashi) ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ ๑๒ นิ้วถึง ๒๔ นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซปปุกุ" เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือน ได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้
    ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น

    ดาบขนาดสั้น (Short Sword)
    ๑. "ตันโตะ" (Tanto) มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ
    ๒. "ไอกุชิ" (Aikuchi) คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×