ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~ประวัติบุคคลสำคัญของโลก~

    ลำดับตอนที่ #7 : มหาตมะ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi)

    • อัปเดตล่าสุด 15 ม.ค. 51


    มหาตมะ คานธี


    มหาตมะ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi มักเรียกกันว่า Mahatma Gandhi) (2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 - 30 มกราคม ค.ศ. 1948) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดีย

    มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำคนสำคัญกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพของอินเดียจากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร โดยใช้วิธีอหิงสา ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นต้นแบบของการประท้วงแบบสันติที่ได้รับการยกย่อง

    โมหันทาส กรรมจันทร์ คานธี เกิดเมื่อปี 1869 ในครอบครัวชาวฮินดู รัฐคุชราต อินเดียตะวันตก เขาเข้าพิธีแต่งงานกับกัสตูร์ (กะปะเธีย สกุลเดิม) คานธี เมื่ออายุ 13 ปี ต่อมา เขาได้ไปเรียนต่อด้านกฎหมายที่ลอนดอน และในปี 1891 เขาเข้าร่วมกลุ่ม Inner Temple เขาทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงเรื่องสิทธิของผู้อพยพชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ และเขาได้พัฒนาลัทธิต่อต้านความอยุติธรรมขึ้นที่นั่น เขามักถูกจับขังคุกบ่อย ๆ เพราะการประท้วงที่เขาเป็นผู้นำ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เขาจะเดินทางกลับอินเดียพร้อมครอบครัวในปี 1915 เขาก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินเดียในแอฟริกาได้อย่างมาก

    ในเวลาไม่นานหลังกลับมาอินเดีย เขาก็กลายเป็นผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ เขาไม่เคยลังเลในความเชื่อที่มั่นคงเกี่ยวกับการประท้วงโดยไม่ใช้ความรุนแรงและความอดทนตามหลักศาสนา ไม่ว่าเมื่อประชาชนชาวมุสลิมและชาวฮินดูก่อเหตุรุนแรงต่อชาวอังกฤษผู้ปกครองอินเดีย หรือเมื่อทั้งสองกลุ่มสู้รบกันเอง เขาจะอดอาหารประท้วงจนความรุนแรงยุติลง การที่อินเดียได้รับเสรีภาพจากอังกฤษในปี 1947 ไม่ได้เกิดจากชัยชนะทางการทหาร แต่เป็นชัยชนะแห่งความพยายามของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม คานธีรู้สึกหมดหวังที่ประเทศต้องถูกแบ่งแยกเป็นฝ่ายฮินดูในอินเดีย และมุสลิมในปากีสถาน ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของชีวิต เขาพยายามจะยุติความรุนแรงที่น่าหวาดกลัวซึ่งเป็นผลจากการแบ่งแยกประเทศ ทำให้คานธีต้องอดอาหารประท้วงจนเกือบเสียชีวิต เหตุจลาจลจึงสงบลงได้ ในเดือนมกราคม ปี 1948 คานธีมีอายุ 79 ปี เขาถูกลอบสังหารขณะกำลังเดินผ่านฝูงชนที่แออัดในสวนแห่งหนึ่งในกรุงนิวเดลีเพื่อไปสวดมนต์ตอนเย็น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×