ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้ประเทศญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #4 : ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคโบราณ (1)

    • อัปเดตล่าสุด 19 ส.ค. 50


    สมัยโคฟุน (สมัยสุสานโบราณ) (ค.ศ.300-710)

    - ราว ค.ศ. 300 เริ่มมีการสร้างสุสานโบราณขนาดใหญ่ เป็นเนินพระศพของพระจักรพรรดินินโทกุ มีลักษณะเป็นรูปกุญแจ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหลุมฝังพระศพของจักรพรรดิจีน แสดงให้เห็นว่า สังคมญี่ปุ่นได้มาถึงยุคที่มีความแตกต่างกันของชนชั้น


    (ลักษณะสุสานโบราณ)


    (เนินสุสานของจักรพรรดินินโทกุ ในปัจจุปัน)

    - ภายในแผ่นดินญี่ปุ่นยังแบ่งออกเป็นรัฐหรือแคว้นต่างๆ


    (ลักษณะการแต่งกายสมัยโคฟุน)

    - แต่ละแคว้นอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มชนตระกูลต่างๆ และตระกูลที่มีอำนาจทางทหารและการเมืองมากที่สุดคือ ตระกูลยามาโตะ ซึ่งมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เขตคันไซ
    - ราว ค.ศ. 360 แคว้นต่างๆค่อยๆรวมตัวกันอยู่ใต้อำนาจของราชสำนักยามาโตะ ซึ่งตระกูลยามาโตะได้อ้างว่าตนสืบเชื้อสายมาจากเทพีพระอาทิตย์ และได้รับมอบหมายจากพระนางให้เป็นผู้ปกครองญี่ปุ่น แต่ยังไม่มีการสถาปนาตระกูลยามาโตะขึ้นเป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น (ตระกูลยามาโตะ จึงเป็นเหมือนรัฐบาลปกครองประเทศ)
    - ช่วงศตวรรษที่4 ญี่ปุ่นได้ช่วยเหลืออาณาจักรปักเช ของเกาหลีรบกับอีก 2 อาณาจักรแห่งเกาหลี ในเวลานั้นผู้คนจากอาณาจักรปักเช ก็ได้นำวัฒนธรรมจากภาคพื้นทวีปเข้าเผยแพร่สู่ญี่ปุ่น
    - ช่วงศตวรรษที่5 วิทยาการต่างๆจากจีนเข้ามาสู่ญี่ปุ่น เช่น การผลิตเครื่องโลหะ เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า การถลุงเหล็ก วิศวกรรมโยธา การฟอกหนัง การต่อเรือ และเริ่มใช้อักษรคันจิ ซึ่งเป็นอักษรจีนด้วย และโดยผ่านทางสื่อตัวอักษรนี้เอง ชาวญี่ปุ่นจึงได้เรียนความรู้เบื้องต้นทางการแพทย์ การใช้ปฏิทินและดาราศาสตร์
    - ค.ศ. 507 จักรพรรดิเคไต ซึ่งเป็นทายาทตระกูลยามาโตะ ขึ้นครองราชย์
    - ค.ศ. 538 (หรือบางทฤษฎีบอกว่าเป็น ค.ศ. 552) ศาสนาพุทธแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่น เมื่อกษัตริย์แห่งอาณาจักรปักเช (อาณาจักรทางตะวันตกของเกาหลี) ส่งทูตพร้อมกับพระคัมภีร์และพระพุทธรูปมามอบให้ โดยหวังที่จะขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นต่อต้านการรุกรานของอาณาจักรสิลลา (อาณาจักรทางตะวันออกของเกาหลี) ปรากฎว่าก่อน ค.ศ. 552 ญี่ปุ่นก็ได้รู้จักศาสนาพุทธมาบ้างแล้ว
    - ค.ศ. 539 จักรพรรดิคิมเมอิ ขึ้นครองราชย์  มีตระกูลโสกะ ซึ่งเป็นตระกูลที่สนับสนุนศาสนาพุทธ มีอำนาจอิทธิพลสูงในราชสำนัก โดยได้มีโอกาสที่จะให้สตรีของครอบครัว สมรสกับเจ้านายในราชตระกูล ซึ่งทำให้ฐานะของครอบครัวสูงขึ้นเสมอระดับเดียวกับราชตระกูล
    - ค.ศ. 587 ตระกูลโสกะ ได้สนับสนุนให้หลานชายของตนขึ้นเป็นจักรพรรดิสุชุน ซึ่งเมื่อพระองค์ไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งอยู่ใต้อำนาจพวกโสกะ ก็ถูกปลงพระชนม์  และพวกโสกะก็หันไปสนับสนุนหลานสาวสาว คือ พระนางซุยโกะ ขึ้นนั่งบัลลังก์เป็นจักรพรรดินี เป็นจักรพรรดินีองค์แรกของญี่ปุ่น แต่ตระกูลโสกะก็ไม่ได้มีอำนาจเหนือราชสำนักโดยสิ้นเชิง เพราะยังมีเจ้าชายแห่งราชตระกูลอีกมากที่มีอิทธิพลทางการเมือง โดยเจ้าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกลุ่มราชตระกูล คือ เจ้าชายโชโตกุ


              (เจ้าชายโชโตกุ)

    -  ค.ศ. 593 เจ้าชายโชโตกุ สำเร็จราชกาลแทนจักรพรรดินีซุยโกะ พระองค์เป็นผู้นำที่สำคัญในการปฎิรูปส่วนกลาง นอกจากนี้ยังเชื่อว่า พระองค์เป็นผู้สร้างวัดโฮริวจิ บริเวณขอบนอกของเมืองนาระในปัจจุบันด้วย ซึ่งจัดว่าเป็นอาคารไม้เก่าแก่ที่สุดของโลกที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน


    (อาคารไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก)

    -  ค.ศ. 603 เจ้าชายโชโตกุ กำหนดให้มีระบบขุนนางราชการ 12 ตำแหน่ง
    - ค.ศ. 604 เจ้าชายโชโตกุ ตรารัฐธรรมนูญ 17 มาตรา กำหนดให้เมืองยามาโตะ (เมืองนาระ) เป็นศูนย์กลางการปกครอง และกำหนดให้จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุด  โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้อยู่ในรูปกฎหมายหรือข้อบังคับการบริหารที่แน่นอนเลย แต่เป็นเพียงการรวบรวมธรรมะในพุทธศาสนาและคติพจน์ต่างๆตามลัทธิขงจื้อในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน ซึ่งให้หลักเกณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการเป็นข้าราชการที่มีคุณธรรม
    - ค.ศ. 645 เกิดการปฏิรูปไทกะ มีการปฏิรูปที่ดิน ทำลายระบบนายทุนที่ดิน ญี่ปุ่นได้เรียกชื่อประเทศของตนเป็นทางการว่า “นิฮอน” ส่วนชื่อ “เจแปน” ที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นการเลียนเสียงภาษาจีนที่ใช้เรียกญี่ปุ่น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังแบ่งหน่วยการปกครองใหม่ตามอิทธิพลจากจีน รวมอำนาจสู่ศูนย์กลางไว้ที่จักรพรรดิ
    - ค.ศ. 672 ศึกจินชิน เป็นศึกชิงบัลลังก์จักรพรรดิ
    - ค.ศ. 701 เกิดประมวลกฎหมายไทโฮ ตรากฎหมายเพื่อใช้ร่วมกันทั้งประเทศ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×