ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้ประเทศญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #5 : ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคโบราณ (2)

    • อัปเดตล่าสุด 19 ส.ค. 50


    สมัยนาระ (ค.ศ. 710-794)

    - ค.ศ. 710 ได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เฮโจเกียว (เมืองนาระ ในปัจจุบัน) จากนั้นบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองด้วยหลักกฎหมายและจริยธรรม แต่ในเวลาต่อมาก็เริ่มเกิดความวุ่นวายเมือชาวนายากจนลง คนไร้ที่อยู่อาศัยมีมากขึ้น และจากการที่มีโชเอน ซึ่งเป็นที่ดินที่ได้รับการยกเว้นภาษีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ระบบโคชิโคมิน (ระบบที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ครอบครองที่ดินทั้งหมด และบันส่วนให้ขุนนางกับชาวนา โดยที่ชาวนาต้องเสียภาษีที่ดิน) เสื่อมลง
    - ค.ศ. 712 บันทึก“โคจิกิ” ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่เป็นทางการชิ้นแรกของญี่ปุ่น
    - ค.ศ. 720 บันทึก“นิฮอน โชกิ” เป็นบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาฉบับเก่าแก่ที่สุด
    - ค.ศ. 751 หนังสือรวมบทกวี “ไคฟูโซ” ฉบับเก่าแก่ที่สุด เป็นผลงานรวมบทกวีจีนโดยนักกวีญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก
    - ค.ศ. 752 จัดพิธีฉลององค์พระพุทธรูปไดบุทสึของวัดโทไดจิ ที่ได้สร้างเสร็จสิ้นลง


    (พระพุทธรูปไดบุทสึ วัดโทไดจิ)

    - ค.ศ. 754 พระจีนชื่อ กันจิน นำศาสนาพุทธนิกายลี่จง มาเผยแพร่ในญี่ปุ่น ในสมัยนี้ศาสนาพุทธได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างดี จึงทำให้วัฒนธรรมทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านศิลปะเจริญรุ่งเรืองมาก เริ่มจากวัฒนธรรมอาสึกะ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาอันดับแรกสุดของญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 7 หรือวัฒนธรรมฮากุโฮ ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 ที่แสดงให้เห็นถึงความสดใสแปลกใหม่ของมนุษย์ จนถึงวัฒนธรรมเทมเปียว ในกลางศตวรรษที่ 8 ที่แสดงถึงความรู้สึกอันเต็มเปี่ยมของมนุษย์แบบสมจริงซึ่งได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง
    - ค.ศ. 759 “มันโยชู” เป็นงานชิ้นเอกแห่งยุคซึ่งได้รวบรวมบทกวีของคนทุกระดับชั้นตั้งแต่สามัญชนจนถึงจักรพรรดิไว้ประมาณ 4,500 บท ใช้เวลารวบรวมจนถึงกลางศตวรรษที่ 8 รวมเป็นเวลาถึง 400 ปี ใน มันโยชู ได้บรรยายความรู้สึกของการใช้ชีวิตอย่างสมถะของคนญี่ปุ่นในสมัยโบราณได้อย่างตรงไปตรงมา และยังคงเป็นที่ประทับใจของคนญี่ปุ่นจำนวนมากในปัจจุบัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×