บุหรี่ ตัวการ ก่อโรค .... - บุหรี่ ตัวการ ก่อโรค .... นิยาย บุหรี่ ตัวการ ก่อโรค .... : Dek-D.com - Writer

    บุหรี่ ตัวการ ก่อโรค ....

    บุหรี่ ตัวการ ก่อโรค ....

    ผู้เข้าชมรวม

    653

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    653

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 ม.ค. 50 / 18:50 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      บุหรี่ กับโรคถุงลมโป่งพอง

      ท่านทราบหรือไม่ว่า โรคถุงลมโป่งพอง เป็นหนึ่งในสามโรคที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่เป็นสำคัญ และเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะต้องทนทุกข์ทรมาน มากที่สุด จนกว่าจะเสียชีวิต

      โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่ทรมาน และรุนแรงมาก สาเหตุเกิดจากไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษในควันบุหรี่ ทำให้เกิดการระคายเคืองเรื้อรัง ทำลายเยื่อบุภายในหลอดลม และถุงลม ซึ่งกระจายอยู่ทั่วปอด ให้ฉีกขาดมารวมเป็นถุงลมขนาดใหญ่ กลายเป็นถุงลงโป่งพอง ทำให้ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงต้องหายใจเร็วขึ้นจนหอบ ส่งผลให้เหนื่อยง่าย นอกจากนี้ ยังมีอาการไอเรื้อรัง หอบ แน่นหน้าอก อาการเหล่านี้จะไม่มีวันหาย แต่จะทรมานไปตลอดชีวิต

      เราสามารถเลือกที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี และหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้อย่างง่ายดาย ด้วยการไม่ริเริ่มลองสูบบุหรี่ เพราะโลกกลมๆ ใบนี้ ยังมีอะไรให้น่าลิ้มลองอีกมากมาย

      บุหรี่ กับโรคหัวใจ

      โดยปกติแล้ว หัวใจของคนเรา จะเต้นประมาณ 60-80 ครั้ง/นาที ซึ่งอยู่ในอัตราที่เหมาะต่อการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อเราสูบบุหรี่เข้าไป สารนิโคติน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเส้นเลือด เกิดการจับตัวของไขมันในรูปของโคเลสเตอรอล เส้นเลือดทั่วร่างกายตีบแคบลง ทำให้เลือดเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ หัวใจขาดออกซิเจน เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ และหากเกิดกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จะทำให้สมองเสื่อม นำไปสู่การเป็นอัมพฤต อัมพาตได้

      การไม่สูบบุหรี่ จึงเป็นการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจที่สำคัญที่สุด และสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่แล้ว การเลิกสูบบุหรี่จะเป็นการลดอัตราเกิดโรคซ้ำ และลดอัตราการตายได้

      หากคุณยังสูบบุหรี่อยู่ โปรดระลึกไว้สักนิดว่า หัวใจของคุณ คือ ชีวิตของคุณ แล้ววันนี้คุณดูแลหัวใจของคุณดีเพียงใด

      บุหรี่ กับโรคมะเร็งปอด

      ผู้ที่สูบบุหรี่มาตลอด โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิต ด้วยโรคที่เกี่ยวกับบุหรี่ถึงร้อยละ 50 ซึ่งได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคระบบหลอดเลือดสมอง โรคเกี่ยวกับการอุดกั้นทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคที่สำคัญที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ นั่นคือ โรคมะเร็ง

      มะเร็งปอดจัดเป็นมะเร็งอันดับ 1 ในชายไทย การเกิดมะเร็งปอดระยะแรกๆ จะไม่มีอาการ แต่เมื่อใดที่มีอาการแสดงว่า โรคเป็นมากแล้ว อาการที่พบคือ ไอเป็นเลือด น้ำหนักลด หอบเหนื่อย ปวดกระดูกซี่โครง บวมบริเวณใบหน้า คอ แขน และอกส่วนบน กลืนอาหารลำบาก โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอด จะมีชีวิตอยู่ได้ หลังจากเริ่มมีอาการประมาณ 6 เดือน และร้อยละ 80 จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี

      หากผู้สูบบุหรี่ สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงถาวรในปอด จะสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งปอดได้ และหากเลิกได้นาน 10-15 ปี จะลดอัตราเสี่ยงของมะเร็งปอด และในกรณีที่เป็นมะเร็งปอดแล้ว แม้จะได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี จะมีอัตราการรอดชีวิต เพียงร้อยละ 2 เท่านั้น

      จากการสำรวจพบว่า การเลิกสูบบุหรี่ก่อนอายุ 35 ปี จะเป็นประโยชน์อย่างมาก มากกว่าการเลิกในอายุที่มากกว่านั้น อย่างไรก็ตาม การเลิกสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเริ่มเมื่ออายุเท่าใด และยิ่งตัดสินใจเร็วเท่าไร ล้วนเกิดประโยชน์ต่อผู้สูบ และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดด้วยกันทั้งสิ้น

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×