ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรคต่างๆๆ

    ลำดับตอนที่ #2 : หนองในเทียม

    • อัปเดตล่าสุด 1 ก.ค. 51


    หนองในเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยรองจากหนองใน (ประมาณ 30-40%
    ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด) โดยจะมีอาการคล้ายหนองใน แต่ไม่ได้เกิดจากเชื้อ
    หนองใน (โกโนเรีย)

    สาเหตุ
    เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียม มีได้หลายชนิด อาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว 
    หรือเชื้อราก็ได้ ประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคนี้ยังไม่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุแน่ชัด ประมาณ
    40% 
    เกิดจากคลามีเดียทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis)    ซึ่งเป็นเชื้อกึ่งไวรัสกึ่งแบคทีเรีย
     
    (
    เชื้อนี้มีพันธุ์ย่อยอีกหลายชนิด ซึ่งบางชนิดทำให้เป็นฝีมะม่วง)  อีก 10 % อาจเกิดจากเชื้ออื่น ๆ
     
    เช่น เชื้อโปรโตซัว ที่มีชื่อว่า ทริโคโมแนสวาจินาลิส (Trichomanas vaginalis)  เชื้อไวรัสเริม
     
    เป็นต้น


    อาการ
    ในผู้ชาย อาการมักเกิดหลังติดเชื้อประมาณ 1-4 สัปดาห์ (ระยะฟักตัว)    โดยมีอาการแสบที่ปลายท่อ
    ปัสสาวะ ปัสสาวะขัดและมีหนองไหล ซึ่งลักษณะเป็นมูกใสหรือมูกขุ่น ๆ ไม่เป็นหนองข้นแบบหนองใน 
    และออกซึมเพียงเล็กน้อย ไม่ออกมากแบบหนองใน
     
    บางคนในระยะแรกอาจสังเกตมีอาการแสบที่ท่อปัสสาวะ และมีมูกออกเล็กน้อยเฉพาะในช่วงเช้าเท่า

    นั้น  ถ้าให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะลงในแก้วใส แล้วใช้ไฟฉายส่องดู จะเห็นเส้นขาว ๆ คล้ายเส้นด้ายลอยอยู่
    ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการอาจเรื้อรังเป็นแรมเดือนแรมปี
    ในผู้หญิง ส่วนมากมักไม่มีอาการแสดง ส่วนน้อยอาจมีอาการตกขาว

    อาการแทรกซ้อน
    ในผู้ชาย อาจทำให้ท่อปัสสาวะตีบ , ต่อมลูกหมากอักเสบ , อัณฑะอักเสบ
    ในผู้หญิง อาจทำให้มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ เป็นหมัน
    นอกจากนี้ ทั้งสองเพศอาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบได้ แต่พบได้น้อยมาก

    การรักษา
    1.
    หากสงสัย ควรตรวจยืนยันด้วยการนำหนองไปย้อมสี และส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือนำไปเพาะเชื้อ  
       
    ถ้าเป็นจริง ควรให้ยาขนานใดขนานหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    1.1
    ดอกซีไซคลีน  กินครั้งละ 100 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 14 วัน
    1.2
    เตตราไซคลีน  กินครั้งละ 500 มก. วันละ 4 ครั้ง นาน 14 วัน
    1.3
    อีริโทรไมซิน  กินครั้งละ 500 มก. วันละ 4 ครั้งนาน 14 วัน
    1.4
    ไมโนไมซิน (Minomycin ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเตตราไซคลีน) กินครั้งละ 100 มก. วันละครั้ง นาน 14 วัน
    1.5
    ร็อกซิโทรไมซิน(Roxithromycin ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเดียวกับอีริโทรไมซิน) กินครั้งละ 150 มก. วันละ 
          2
    ครั้ง นาน 14 วัน

    สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ควรให้ ยาขนานที่ 1.3

    ข้อแนะนำ

    1.
    ควรแนะนำให้ผู้ป่วยงดเหล้า และงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหาย
    2.
    ผู้ป่วยควรเจาะเลือดตรวจวีดีอาร์เอล และเชื้อเอชไอวี (เลือดบวก) ตั้งแต่ก่อนรักษาครั้งหนึ่ง และอีก เดือน
       
    ต่อมาตรวจอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ติดโรคซิฟิลิส หรือเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย
    3.
    โรคหนองในเทียม อาจเป็นเรื้อรังและรักษายากกว่าหนองใน เนื่องจากส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบเชื้อที่
       
    เป็นสาเหตุ       แต่โรคหนองในเทียมที่เกิดจากเชื้อคลามีเดีย มีทางรักษาให้หายขาดได้ภายใน 14 วัน 
      
    ในรายที่ไม่ได้รับการรักษา 20-30% อาจหายได้เองภายใน 1-3 สัปดาห์ และ 60% จะหายได้ภายใน

      
    สัปดาห์

    4.
    ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็นหนองในเทียมจากเชื้อคลามีเดีย   อาจได้รับเชื้อระหว่างคลอด     ทำให้เกิด 
      
    อาการตาอักเสบหลังคลอด ประมาณ 5-14 วัน แต่อาการมักจะรุนแรงน้อยกว่าตาอักเสบจากเชื้อหนองใน
     
      
    การรักษาให้ใช้ยาป้ายตาเตตราไซคลีน ป้ายวันละ 4 ครั้ง และให้อีริโทรไมซิน  ในขนาด 30 มิลลิกรัมต่อ
     
      
    น้ำหนักตัว 1 กก.ต่อวันนาน 21 วัน

    5.
    ควรแนะนำให้ผู้สัมผัสโรคไปตรวจรักษาโรคนี้ พร้อม ๆ กันไปด้วย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×