กำเนิดมวยหยงชุ่น (หวิงชุ่น) - กำเนิดมวยหยงชุ่น (หวิงชุ่น) นิยาย กำเนิดมวยหยงชุ่น (หวิงชุ่น) : Dek-D.com - Writer

    กำเนิดมวยหยงชุ่น (หวิงชุ่น)

    กำเนิดมวยหยงชุ่น (หวิงชุ่น)

    ผู้เข้าชมรวม

    2,492

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    2.49K

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  23 พ.ค. 49 / 10:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เมื่อกว่าสองร้อยห้าสิบปีมาแล้วในรัชสมัยของกษัตริย์หยวนเช็งแห่งราชวงศ์ชิงวัดเสื้ยวลิ้ม ได้ถูกวางเพลิงโดยทหารมองโกล ด้วยความช่วยเหลือของศิษย์ทรยศหมานิงยี่ ซึ่งลอบวางเพลิง จากภายในวัดเพลิงครั้งนี้ส่งผลให้ห้าปรมาจารย์อาวุโส พร้อมลูกศิษย์ต้องฝ่าทหารมองโกลลงสู่ ภาคใต้ อาจารย์ทั้งห้าคือ แม่ชีหวู่เหมย (หอึมเม่ย - กวางตุ้ง) จี้ส่าน (จีซิ่น - กวางตุ้ง) คิ้วขาว แป๊ะเหมย ฟองโตตั๊ก เมียวหิ่น รวมศิษย์ฆราวาสเช่น หงชีกวน (หงเหกุ้น - กวางตุ้ง) ฟางซื่อยี่ (ฟองไสหยก - กวางตุ้ง) ลกอาชอย ปรมาจารย์จี้ส่านสอนศิษย์ฆราวาสมากมายและได้นำศิษย์ เหล่านี้ต่อต้านแมนจู บรรดาศิษย์เหล่านี้นำโดยศิษย์พี่ชื่อ หงชีกวน ตงชินกุน ฉอยอาฝก พวกเขา ปฏิบัติการในเรือแดงโดยจี้ส่านได้ปลอมตัวเป็นพ่อครัวของคณะงิ้ว เรือแดงหงชวน ส่วนปรมาจารย์เมียวหิ่น และลูกสาวเมียวซุยฟ้าได้หลบไปอยู่กับชาวเมี่ยวและเย้า ณ.พรมแดนระหว่างมลรัฐเสฉวน และยูนาน ทั้งคู่สร้างตำนานอันเรื่องชื่อเช่นการประลองของ ฟางซื่อยี่ และ หวู่เหมยฆ่าลี่ปาซ้านบนเวทีตอดอกเหมย

       

      ปรมาจารย์หวู่เหมย ศิษย์พี่หญิงอาวุโสที่สุดในห้า หนีความวุ่นวายทั้งปวงไปยังวัด กระเรียนขาวบนเขาไทซานระหว่างมลรัฐ สีฉวนและยูนาน ในขณะเดียวกันคิดค้นวิทยายุทธ์แขนงใหม่ซึ่งแตกต่างและมีประสิทธิภาพดีกว่า วิทยายุทธ์ซึ่งเธอ ศิษย์น้องรวมทั้งศิษย์ทรยศได้เรียนรู้ที่วัดเสี้ยวลิ้ม ความตั้งใจของเธอได้พบจุดเริ่มต้นโดยบังเอิญเมื่อเธอได้เห็นการต่อสู้ระหว่างจิ้งจอก และกระเรียน ซึ่งจิ้งจอกวิ่งเวียนไปรอบๆกระเรียนเป็นวงกลมหวังหาจังหวะจู่โจมขณะที่กระเรียนคงอยู่ในศูนย์กลางของวงกลมหันหน้าเจอ จิ้งจอกทุกครั้ง เมื่อจิ้งจอกโจมตีด้วยกงเล็บของมัน ส่วนกระเรียนก็จะปัดด้วยปีกในขณะเดียวตอบโต้ด้วยการจิกด้วยจงอยปาก ขณะที่จิ้งจอก อาศัยความเร็วและความเจ้าเล่ห์ของมัน กระเรียนก็สามารถตอบรับได้ทุกครั้งโดยอาศัยการป้องและโต้ตอบในขณะเดียวกันเข้าสู่ศูนย์กลาง ของจิ้งจอก การต่อสู้เป็นไปเป็นเวลานาน ส่วนฝ่ายใดจะชนะนั้นไม่สำคัญสำหรับแม่ชี เพราะท่านได้ค้นพบพื้นฐานของมวยชนิดใหม่แล้ว

       

      การต่อสู้ชนิดใหม่นี้มิได้ถูกตั้งชื่อว่าเป็นมวยจิ้งจอกหรือกระเรียน เนื่องจากมวยชนิดนี้ไม่ได้เลียนท่าทาง ของจิ้งจอกหรือกระเรียนเลย หากแต่อาศัยหลักการต่อสู่อันแยบยลตามธรรมชาติของจิ้งจอกในการหลบหลีกการปะทะโดยเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เป็น วงกลมพร้อมกับการโจมตีเป็นเส้นตรงเข้าสู่ศัตรู และของกระเรียนซึ่งใช้หลักการในการหันเข้าหาศูนย์กลางคู่ต่อสู้พร้อมกับการปิดป้องและโจมตีคู่ต่อสู้ ในเวลาเดียวกัน หากแต่กงเล็บ เขี้ยว จงอย ปาก ปีก ได้ถูกทดแทนโดยหมัดและฝ่าเท้า ซึ่งถูกคิดค้นให้ใช้ออกมาอย่างถูกสรีระของมนุษย์ที่สุด

       

      วิทยายุทธ์ชนิดใหม่นี้แตกต่างกับหลักวิทยายุทธ์เสี้ยวลิ้มเดิมโดยสิ้นเชิงแม่ชีได้ตัดกระบวนท่าอันซับซ้อนและเปลี่ยนเป็นกระบวน ท่าอันกระชับ อาศัยการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อที่จะโจมตีสู่เป้าหมายด้วยระยะทาง เวลาที่น้อยที่สุด และให้ได้พลังที่มากที่สุด (Economy of motion) ที่ลดลง คือกระบวนท่าในการฝึกฝนได้ถูกลดลงเหลือแค่มวยเพียงสามเส้น หุ่นไม้หนึ่งเส้น มีดคู่ฟันแปดท่าหนึ่งเส้น และกระบองหกแต้มครึ่งต่างกับมวยชนิดอื่นซึ่งอาจจะ มีหลายสิบกระบวนท่ารำซึ่งยากแก่การจดจำ และนำไปปฎิบัติ

       

      อีกสิ่งซึ่งต่างจากวิทยายุทธ์เสี้ยวลิ้มคือการฝึกหัดในการ ใช้พลังเป็นเวลานาน แม้การฝึกฝนของวิทยายุทธ์หยงชุ่นจะมีการฝึกพลังอยู่บ้างใน ขั้นต้น หากแต่เมื่อฝึกฝนไปได้สักระยะหนึ่ง การใช้กำลังก็จะถูกเปลี่ยนเป็นการใช้สมอง และ ไหวพริบ ในการ ต่อสู้มากกว่ากำลัง ท่ายืนของมวยชนิดนี้ต่างกับมวยจีน ชนิดอื่นซึ่งกว้างมาก อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว

       

      หยิ่มหยงชุน

       

      หยิมหวิ่งชุ่นสามงามจากมลรัฐกวางตุ้งได้อยู่กับบิดาชื่อยิ่มยีหลังมารดาเสียชีวิตลงเธอได้ถูกหมั้นกับพ่อค้าชาวฮกเกี้ยน ชื่อเหลียงปอกเชา ตั่งแต่เยาว์วัย หากแต่บิดาจากการช่วยเหลือผู้อื่น ได้ไปมีคดีกับทางบ้านเมืองจึงต้องหลบหนีพร้อม หย่งชุนไปยังพรมแดนระหว่างมลรัฐเสฉวนและ ยูนาน อาศัยการขายเต้าหู้ยังชีพ ณ เชิงเขาเขาไทซาน ความงามได้นำความยุ่งยากมาสู่หย่งชุ่น เมื่ออันธพาลได้มาชอบพอและมาบังคับเธอให้แต่งงาน ด้วย ทั้งเธอและบิดาเป็นกังวลอย่างยิ่ง หากแต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีกับสถานการณ์เช่นนี้ จนกระทั่งบิดาเธอเล่าเรื่องความยุ่งยากนี้ให้แม่ชี หวู่เหมยฟัง แม่ชีต้องการช่วยเหลือจึงรับหย่งชุ่นเป็นศิษย์และไปอยู่ด้วยบนเขาและสอนวิทยายุทธ์แขนงใหม่ให้ป็นเวลาสามปี หลังจากฝึกฝนจน สามารถป้องกันตนเองได้แล้วหยงชุ่นจึงกลับมาหาบิดา จริงดังคาดเมื่ออันธพาลคนเดิมตามมารังควาน ครั้งนี้หยงชุนไม่ได้หลีกเลี่ยงอีก ต่อไปแต่ได้ท้าอันธพาลประลองและเอาชนะอันธพาลในเวลาอันสั้น

       

      เหลียงป็อกเชาและเหลียงล่านไกว

       

      หยงชุ่นหลังจากนั้นได้แต่งงานกับเหลียงปอกเชาและพยายามจะสอนสามีของเธอได้ฝึก วิทยายุทธ์หยงชุ่น หากแต่สามีเธอไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่นักเนื่องจากเขาเองได้ฝึกฝนมวยเสี้ยวลิ้มมาอย่างช่ำชองแล้ว แต่หลังจากหยงชุ่นได้แสดง ให้เขาเห็นว่าเธอสามารถชนะเขาได้ครั้งแล้วครั้งเล่า เขาจึงยอมเรียนรู้วิชาการต่อสู้นี้กับหยงชุ่น และตั้งชื่อวิทยายุทธ์นี้ตามชื่อภรรยาเขาว่า หยงชุนหลังจากนั้น เขาสอนวิทยายุทธ์นี้ให้กับเหลียงหล่านไกวหมอยา ผู้พยายามปกปิดวิทยายุทธ์นี้จากผู้อื่น ยกเว้นการต่อสู้กับกลุ่มนักมวยซึ่งรุมล้อมนักมวยผู้หนึ่ง

       

      หว่องหว่าโป และเหลียงหยี่ไท

       

      วิทยายุทธ์หยงชุ่นคงจะไม่มีในวันนี้หากเหลียงหล่านไกวไม่สอนใครเลย แต่ว่าเขาได้สอนหว่องหว่าโปว นักแสดงงิ้วแห่ง คณะงิ้วเรือแดง เป็นการบังเอิญที่ปรมาจารย์ จี้ส่านก็ได้ปลอมตัวเป็นพ่อครัวในคณะงิ้วเช่นกัน จี้ส่านในเวลานั้นได้สอนลูกศิษย์อยู่จำนวนหนึ่ง เหลี่ยงหยี่ไท นายคัด ท้ายเรือคือหนึ่งในจำนวนศิษย์ซึ่งสนใจและได้รับการถ่ายทอดกระบองหกแต้มครึ่ง หว่องหว่าโปวและเหลี่ยงหยี่ไทได้รู้จักชอบพอกันและแลกเปลี่ยนวิชากัน หลังจากนั้น ทั้งสองได้ดัดแปลงกระบองหกแต้มครึ่งโดยประยุกต์หลักการฟังด้วยสัมผัสจากมวยหมัดหยงชุ่นหรือชี้เสา และเรียกการฝึกฝนด้วยกระบองlสัมผัสนี้ว่าชี้กวัน (คำอธิบาย ผู้เชียน - การฝึกฝนนี้เรียกว่า ชี้เสา โดยคู่ฝึกใช้แขนสัมผัสกันตลอดการฝึกฝน โดยต่างฝ่ายฟังการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายจากการสัมผัสในขณะที่พยายามปิดป้องและโจมตี ในเวลาเดียวกัน โดยใช้แม่ไม้ของมวยหยงชุนระหว่างการฝึก แขนทั้งสองฝายจะต้องไม่หลุดสัมผัสหรือแยกจากกันเลย)

       

      เหลียงจั่น

       

      เหลี่ยงหยี่ไทได้สอนเหลียงจั่นศิษย์คนเดียวเมื่อเขาเกือบเข้าสู่วัยชรา เหลียงจั่นเป็นหมอแผนโบราณชื่อดังแห่งฟอสานแห่งมลฑล กวางตุ้ง เหลียงจั่นต่อมาได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งมวยหมัดหยงชุน หรือราชามวยประลอง เนื่องจากนักมวยทั่วสารทิศได้มาประลองกับเหลียงจั่น แต่ทุกคนก็ได้แพ้ไป ในที่สุด ทุกเย็นหลังเลิกงานเหลี่ยงจั่นได้ถ่ายทอดหยงชุ่นให้กับบุตรชายทั้งสอง คือ เหลี่ยงชุนและเหลี่ยงปิ๊ก รวมทั้งหมกหยั่นหว่า(หว่าหุ่นไม้)ผู้มีแขนทั้งสองอันแข็ง แรง ลูกศิษย์ที่สำคัญของเหลียงจั่นคือฉั่นหว่าซุน หรือผู้แลกเงินเจ๋าฉิ่นหว่าผู้ซึ่งได้แอบฝึกมวยหยงชุ่นโดยมองผ่านเข้ามาตามซอกประตู จนกระทั่งเหลี่ยงจั่นจับได้หลัง จากที่เหลี่ยงซุ่นและฉานหว่าซุ่นได้ทำเก้าอี้ตัวโปรดหักระหว่างการประลองกัน และรับเป็นศิษย์ในที่สุด

       

      ฉานหว่าซุนและศิษย์

       

      ฉานหว่าซุ่นรับลูกศิษย์ทั้งหมดสิบหกคน มีศิษย์คนโตชื่อว่าหงึงชงโซวและศิษย์คนสุดท้ายคืออาจารย์ยิบมั่น ยิบมั่นเป็นลูกเศรษฐีผู้มี ความสนใจในวิชาป้องกันตัวเป็นอย่างมากจึงได้เก็บสะสมเงินเพื่อมาขอเป็นศิษย์อาจารย์ฉานหว่าซุนเมื่อเขาอายุได้ประมาณสิบเอ็ดปี ฉานหว่าซุ่นด้วยเห็นว่ายิบมั่น เป็นเด็กอาจจะขโมยเงินมาจากผู้อื่นจึงไม่ยอมรับ และขอพบบิดาของยิบมั่น หลังจากทราบความจริงฉานหว่าซุ่นจึงรับยิบมั่นเป็นศิษย์คนสุดท้ายและสอนหยิบมั่นเป็น เวลาหกปีก่อนจะสิ้นชิวิต หลังจากนั้นยิบมั่นฝึกฝนต่อภายใต้การชี้นำของศิษย์พี่ใหญ่หงึงชงโซว

       

      ยิบมั่นได้เข้าศึกษาต่อที่ฮ่องกง ด้วยความคนองได้ท้าประลองไปทั่วเกาะฮ่องกง ความหึกเฮิมมีมากขึ้นเมื่อเขาชนะเสมอ จนกระทั่งวันหนึ่งเขา ได้ไปพบคนแก่คนหนึ่งซึ่งผู้คนรู้จักกันดีว่ามีความสามารถในวิชาหมัดเป็นอย่างมาก ด้วยความคนองยิบมั่นจึงได้ขอทดสอบฝีมือ แต่ที่สุดก็แพ้ครั้งแล้วครั้งเส่า คนแก่ ผู้นั้นแท้จริงคือเหลียงปิ๊ก อาจารย์อา บุตรเหลียงจั่น หรือศิษย์น้องของฉานหว่าซุนนั่นเอง เหลียงปิ๊กในฐานะอาจารย์อาจึงรับยิบมั่นเป็นศิษย์และถ่ายทอดความรู้เพิ่ม เติมให้ ยิบมั่นหลังเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจึงลาอาจารย์กลับเมืองจีน

       

      ยิบมั่น และศิษย์

       

      หลังจากที่คอมมูนิสต์เข้าปฎิวัติประเทศจีน ยิบมั่นจึงอพยบมาที่ฮ่องกงอีกครั้ง และจึงเริ่มรับลูกศิษย์ทั่วไปมากมาย ลูกศิษย์ซี่งมีชื่อ เสียงจนถึงปัจจุบันมีมากมาย ยกตัวอย่างคือ ซุยเซียงทิ้น หว่องซั่มเหลี่ยง เจี้ยงจอกเฮง หลีเซียวเส้ง (บรู๊ซ ลี) ฮ่อกกิ่นเชียง และอื่นๆ อาจารย์เหล่านี้ได้เผยแพร่มวยหยงชุน จนมีผู้ฝึกฝนทั่วโลกในปัจจุบันเป็นหมี่นหรือแสนคน

       

      บรู๊ซลีได้ไปอเมริกาและนำพลังหมัดช่วงสั้นหนึ่งนิ้วและสามนิ้วไปสาธิตที่การแข่นขันศิลปป้องกันตัวของเอ็ด ปารค์เกอร์ ครูมวยคาราเต้ระบบ อเมริกันแคมโป้ (American Kempo)จนเป็นที่ตื่นเต้นแก่ผู้สนใจชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก ภายหลังบรู๊ซได้ถูกทาบทามไปแสดงหนังจนกระทั่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม ของ เค้โต้ และ อ้ายหนุ่มซินตึ้ง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างลูกศิษย์และอาจารย์เป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก เมี่อยิบมั่นไม่ยอมถ่ายทอดวิชาทั้งหมดให้บรู๊ซในเวลาอันสั้น ด้วยความผิดหวังบรู๊ซกลับไปอเมริกาคิดค้นมวยประยุกต์ขึ้นใหม่โดยรวบรวมข้อดีของศิลปป้องกันตัวทุกชนิดเข้าด้วยกันและเรียกมวยขนิดนี้ว่า จิ๊ดคุนโด หรือ วิชา หยุดหมัดสำหรับผู้ที่รู้จักมวยของทั้งสองแล้ว ย่อมรู้ว่าบรู๊ซได้คงไว้ซึ่งหลักวิชาหยงชุ่นไว้อย่างมากมายในมวยจิ๊ดคุนโด

       

      ยิบมั่นเสียชิวิตลงในปี ค.ศ. 1972 และถูกยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในยุคปัจจุบันของหยงชุ่น เคียงข้าง เช็งหม่านชิง (แต้หมั่งแช - แต้จิ๋ว) แห่ง สำนักไท้เก็ก ยูอิชิบ้าแห่งสำนักไอกิโด้ ส่วนบรู๊ซลีเสียชีวิตอีกหนึ่งปีถัดไปด้วยโรคปัจจุบัน

       

      เจี้ยงฮ่อกกิ่น จูเสาไหล่ และ อนันต์ ทินะพงศ์

       

      บรู๊ซ ลี มีเพื่อนสนิทในโรงเรียนและสำนักมวยชื่อ เจี้ยงฮ่อกกิ่น ทั้งคู่เรียนหนังสือวิชาป้อง กันตัว และออกประลองด้วยกัน ทั้งคู่ฝึกมวยหยงชุ่นภายใต้การชี้แนะของยิบมั่นและศิษย์พี่จอมราวี หว่องซั่มเหลี่ยงและเจี้ยงจอกเฮง เจี้ยงฮอกกิ่นนอกจากศึกษา วิชามวยหยงชุนแล้วยังได้ศีกษา มวยไทเก็กตระกูลวู และปัจจุบันได้สอนมวยทั้งสองชนิดเป็นการส่วนตัวที่มลรัฐลอสแอนเจลิส อเมริกาและได้รับศิษย์เอกในวิชา หยงชุนคือจูเสาไหล่

       

      อาจารย์จูเสาไหล่ศึกษาศิลปป้องกันตัวตั่งแต่ยังเล็กๆ ในวิชาคาราเต้โชรินริว ต่อมาได้ฝึกวิชามวยตระกูลหงทั้งหมดในฐานะศิษย์เอก จากยีจีเหวย ศิษย์อาจารย์ต๋องฟ้งศิษย์อาจารย์หวองเฟยหง อาจารย๋จูเสาไหล่ได้ให้ความสนใจหมัดหยงชุนมาเป็นเวลานานจึงได้เริ่มหัดมวยหยงชุนกับ อากว้าน ศิษย์ หยงชุนสำนักยิมเชียวซาน หลีหมุ่ยซ้าน ศิษย์อาจารย์หมุ่ยยัดศิษย์อาจารย์ยิบมั่น อาจารย์จูเสาไหล่ยังได้พัฒนาตัวเองเพิ่มเติมด้วยการศึกษาเพิ่มเติมจากหลุ่ย หยันซัน ราชากระบองยาวแห่งประเทศจีน สำนักเสือทยานมังกรบิน (เฟยหลงฝู) และปากัวหมัดแปดทิศ ซิงยี่หมัดจากใจและไทเก็ก อาจารย์จูเสาไหล่ยังศึกษาเพิ่มเติม จากอาจารย์ฮอกกิ่นเป็นครั้งคราวเมื่ออาจารย์ฮอกกิ่นมาเยือนที่มลรัฐนิวยอร์ค หลังจากที่อาจารย์จูเสาไหล่ย้ายมาที่มลรัฐ ลอสแอนเจลิส อเมริกา จึงได้ปรมาตัวเป็นศิษย์ อาจารย์ฮอกกิ๋นจนถึงทุกวันนี้

       

      อาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาป้องกันตัวตั่งแต่อายุได้สิบเอ็ดปี ในวิชาเทควันโด้และมวยเสี้ยวลิ้มใต้จากอาจารย์คันศรเป็นเวลา 6-7 ปี และมวยไทย เมื่อคุณพ่อเปิดค่ายมวยไทยหลังจากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาจนจบปริญญาโทด้านคอมพิวเตอร์ ขณะอยู่ในอเมริกาอาจารย์อนันต์ได้คลุกคลีกับศิลป ป้องกันตัวโดยตลอดโดยได้เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของร้านขายอุปกรณ์กีฬาศิลปป้องกันตัวเป็นเวลากว่าสิบปี ที่นี่เองอาจารย์อนันต์ได้พบกับอาจารย์ จูเสาไหล่จนเป็นมิตร ที่สนิทกัน ด้วยความอยากแลกเปลี่ยนวิชา ทั้งสองได้ตกลงทดสอบฝีมือกัน โดยใครแพ้ก็ต้องเรียนกับอีกฝ่ายหนี่ง ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดสิ่งที่ตนเรียนมาให้โดยไม่มีเงื่อนไข

       

      อาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาหยงชุนกับอาจารย์จูเสาไหล่เป็นเวลาหลายปีก่อนกลับเมื่อไทยในปีค.ศ. 1988 จากนั้นจึงเริ่มสอนวิชามวยหยงชุนเป็น วิทยาทานโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ทุกสองปีอาจารย์อนันต์ได้กลับไปยังสหรัฐเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์จูเสาไหล่และอาจารย์ฮ่อกกิ่น ปัจจุบันอาจารย์อนันต์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของสองบริษัท



      information from
       

      http://www.geocities.com/yuttha015/biography.html

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×