ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การตัดเย็บเบื้องต้น

    ลำดับตอนที่ #29 : การเลือกผ้าที่ใช้ในการตัดเย็บ [2]

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.48K
      1
      18 ก.ย. 56

    ประเภทของเส้นใย

                    ผ้าเป็นวัสดุที่ทำมาจากเส้นใยชนิดต่าง ๆ โดยการนำเส้นใยมาปั่นมาถักหรือทอเป็นผ้า ผ้าแต่ละชนิดมีคุณสมบัติตามลักษณะของเส้นใยที่ใช้ผลิต  เราควรมีความรู้เรื่องเส้นใยที่นำไปผลิตผ้าเพื่อจะได้นำความรู้ไปเลือกใช้เสื้อผ้าได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไปเส้นใยที่นำมาทอผ้า เพื่อใช้ในการสวมใส่มี  2  ประเภท  ดังนี้

          1. เส้นใยที่ได้จากธรรมชาติ

                    เส้นใยธรรมชาติเป็นเส้นใยที่ได้จากพืชและสัตว์  เช่น  ฝ้าย  ไหม  ขนสัตว์  นอกจากนี้ยังมีเส้นใยที่ได้จากแร่  คือ  เส้นใยที่ได้จากแร่ใยหิน  มีคุณสมบัติเด่นคือ ไม่ติดไฟ  ดังนั้นเส้นใยชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับทำผ้าทนไฟ  เช่น  เสื้อดับเพลิง  ถุงมือกันความร้อน  เป็นต้น  เส้นใยธรรมชาติที่นิยมนำมาใช้ทำเสื้อผ้ามีดังนี้

                    1.1  ฝ้าย  ได้จากส่วนที่ห่อหุ้มเมล็ด  เรียกว่า  ปุยฝ้าย  มีลักษณะเป็นเส้นใยเส้นเล็ก ๆ   นำมาปั่นเป็นเส้นด้ายและทอเป็นผืนผ้า
                                                   

    คุณสมบัติ  ดูดซึมน้ำและความชื้นได้ดี  ทนต่อการซักรีด  แต่ยับง่าย  ทนต่อด่าง  นิยม  นำมาทำเป็นเสื้อผ้าเพราะสวมใส่สบาย  ดูดซับเหงื่อได้ดี  ระบายความร้อนได้ดี  ติดสีย้อมได้ดี  ซักรีดได้ง่ายและราคาถูก

    การนำไปใช้  นิยมนำมาตัดเย็บชุดนอน  ชุดลำลอง  กางเกง กระโปรง  ชุดเด็กและผ้าอ้อม

                ข้อเสีย  ยับง่าย  ไม่ค่อยอยู่ตัว  เป็นราได้ง่าย  ถ้าถูกกรดจะทำให้ผ้าเสีย

    1.2  ลินิน  เป็นเส้นใยที่ได้จากส่วนลำต้นของต้นแฟล็กซ์  เมื่อนำมาทอเป็นผืนผ้าเรียกว่าลินิน  นิยมนำมาทำเสื้อผ้าและเครื่องใช้ประเภทผ้า
                                                   

    คุณสมบัติ  ดูดซึมน้ำ  ความชื้นและดูดซับเหงื่อได้ดีเช่นเดียวกันกับผ้าฝ้าย  แต่ลินินมี    ราคาแพงกว่าฝ้าย  มีความเหนียวและเนื้อผ้าเป็นมันกว่าฝ้าย  ทนต่อการซักรีดแต่ไม่ควรลงแป้งเพราะเนื้อผ้าแข็งตัวอยู่แล้ว

    การนำไปใช้  นิยมนำมาตัดเสื้อ  ทำผ้าปูโต๊ะ  ผ้าเช็ดปาก  ผ้าเช็ดจาน

    ข้อเสีย  เส้นใยหักและยับง่าย  ไม่อยู่ตัว  รีดยากและราคาแพง

                    1.3  ป่าน  เป็นเส้นใยที่ได้จากส่วนลำต้นของต้นป่านศรนารายณ์  เมื่อนำมาทอเป็นผ้าจะได้ผ้าสีน้ำตาลเข้ม  ฟอกขาวได้ยาก  ดังนั้นผ้าป่านจึงนิยมย้อมเป็นสีสดใส  นิยมทำเป็นของใช้  ของประดับตกแต่งบ้าน  ทำกระสอบและทำเสื้อผ้า
                                                   

    คุณสมบัติ  ดูดซึมน้ำและดูดความชื้นได้ดี  ทนต่อการซักรีด  ทนต่อมอด

    การนำไปใช้  นิยมทำเป็นของใช้  ของประดับตกแต่งบ้าน  ทำเชือก  ทำกระสอบและทำเสื้อผ้า

    ข้อเสีย  เป็นราง่าย

                    1.4   ไหม  เป็นเส้นใยที่ได้จากรังไหมโดยการนำรังไหมไปต้ม  และนำใยไหมออกจากรัง เรียกว่า  การสาวไหม  ผ้าที่ผลิตจากใยไหมมีความสวยงาม  มีความมันวาว  หรูหรา  ราคาแพง  ดูแล้วสวยงามแตกต่างจากผ้าที่ทอด้วยเส้นใยชนิดอื่น  เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศไทย   และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจในปัจจุบัน  ผ้าไหมนิยมนำมาตัดเป็นเสื้อผ้าได้ทุกชนิด เช่น  เสื้อสูท  กระโปรง  กางเกง ชุดกลางวัน  ชุดกลางคืน  เป็นต้น
                                                   

    คุณสมบัติ  ดูดซึมน้ำและดูดความชื้นได้ดี  มีลักษณะเรียบ  เงามันเป็นประกาย  อ่อนตัว  แต่คงรูปได้ดี  สวยงาม  ให้ความสบายเมื่อสวมใส่  สีย้อมติดง่าย  พิมพ์ลงลายได้สวยงาม  

    การนำไปใช้  นิยมนำมาตัดเสื้อผ้า  เช่น  เสื้อสูท  กระโปรง  กางเกง  ชุดกลางวัน ชุดกลางคืน

    ข้อเสีย  เนื้อผ้ายับง่าย  รีดให้เรียบยาก  ไม่ทนต่อด่าง  เก่าเร็วถ้าซักบ่อย  ไม่ทนต่อแสงแดดและความร้อน  เมื่อถูกแสงแดดและเหงื่อไคลจะทำให้ความเหนียวลดลง  

    1.5  ขนสัตว์  ที่นิยมนำมาทำเป็นผ้า  มีหลายชนิด  เช่น  ขนแกะ  แพะ  อูฐ  มิงค์  กระต่าย  เป็นต้น   ผ้าขนสัตว์เป็นผ้าสำหรับคนในเขตหนาว

                                                   

    คุณสมบัติ  ดูดความชื้นและดูดกลิ่นต่าง ๆ ได้ดี  ยืดได้เมื่อเปียก  ไม่ยับง่าย  โค้งงอได้ดี

    ให้ความอบอุ่น  สวมใส่สบาย

    การนำไปใช้  นำมาตัดเสื้อ  ได้แก่  เสื้อคลุมกันหนาว  เสื้อโค้ต  ชุดเทเลอร์เข้ารูป  เสื้อสูท และผ้าห่มนอน  สำหรับคนเขตหนาว

    ข้อเสีย  มีราคาแพง  ปัจจุบันมีการต่อต้านการนำเอาขนสัตว์มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มเพราะถือเป็นการทารุณสัตว์และทำลายธรรมชาติ

    © Tenpoints! 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×