ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รู้รอบเรื่อง เคมี

    ลำดับตอนที่ #53 : เซลล์เชื้อเพลิง

    • อัปเดตล่าสุด 22 ก.พ. 52


         เซลล์เชื้อเพลิง เป็นกัลวานิกเซลล์ (galvanic cell) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยกระบวนการทางไฟฟ้าเคมี (electrochemical)

    เซลล์เชื้อเพลิงแตกต่างจากแบตเตอรี่อย่างไร

              1. เซลล์เชื้อเพลิงใช้แก๊สออกซิเจนกับไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง เมื่อใช้แก๊สหมด ต้องเติมเชื้อเพลิงเข้าไปเรื่อย ๆ ปฏิกิริยาในเซลล์ไม่ย้อนกลับ แต่การอัดแบตเตอรี่เป็นการทำให้ปฏิกิริยาในเซลล์ย้อนกลับ

              2. เซลล์เชื้อเพลิง เก็บพลังงานเคมีไว้ไม่ได้ จึงเป็นเซลล์กัลวานิกแบบปฐมภูมิ เนื่องจากสารตั้งต้นต้องผ่านเข้าเซลล์ตลอดเวลาและสารผลิตภัณฑ์ต้องผ่านเข้าออกเซลล์ตลอดเวลา แต่แบตเตอรี่สามารถเก็บพลังงานเคมีไว้ได้






    หลักการทำงาน

         องค์ประกอบสำคัญของเซลล์เชื้อเพลิง ได้แก่
              แอโนด (anode) เป็นขั้วไฟฟ้าที่ให้ประจุลบกับเซลล์เชื้อเพลิง มีหน้าที่ส่งผ่านประจุอิเล็กตรอนหรือประจุไฟฟ้าลบออกไปทางขั้วไฟฟ้า เมื่อต่อสายไฟกับขั้วไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าจะไหลออกไป ส่วนแก๊สไฮโดรเจนที่ถูกดึงอิเล็กตรอนออกไป จะแสดงประจุบวก เรียกว่า โปรตอน
              แคโทด (Cathode) เป็นขั้วไฟฟ้าที่ให้ประจุบวกกับเซลล์เชื้อเพลิง มีหน้าที่ต่อเข้ากับสายไฟภายนอก รับอิเล็กตรอนมารวมกับอะตอมของแก๊สออกซิเจนกับไฮโดรเจนกลายเป็นโมเลกุลของน้ำ
              อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) ทำจากวัสดุต่าง ๆ เช่น สารละลาย, แผ่นพลาสติก มีหน้าที่คือยอมให้ประจุบวกหรือโปรตอนเคลื่อนที่ผ่าน

         หลักการทำงาน

              เซลล์เชื้อเพลิงประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วคือขั้วแอโนด(ขั้วลบ) และขั้วแคโทด(ขั้วบวก) รอบสารละลายอิเล็กโทรไลต์
              ที่ขั้วแอโนด ให้แก๊สไฮโดรเจนเข้าไป แก๊สไฮโดรเจนแพร่ผ่านแอโนด แก๊สไฮโดรเจนถูกเร่งด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาให้ไฮโดรเจนไอออนกับอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนถูกส่งผ่านเข้าไปในสายไฟ เกิดกระแสไฟฟ้า จากนั้นเคลื่อนที่ไปยังขั้วแคโทด ดังสมการ

    2H2 4H++ 4e-

              ที่ขั้วแคโทด ให้แก๊สออกซิเจนจากอากาศเข้าไปที่ขั้วแคโทด เมื่อไฮโดรเจนไอออนกับอิเล็กตรอนซึ่งเคลื่อนที่มายังขั้วแคโทดทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนจากอากาศที่ให้เข้าไปเกิดเป็นโมเลกุลของน้ำ  โดยอาศัยตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งทำจากแพลตินัม จะเกิดปฏิกิริยารีดักชันได้น้ำบริสุทธิ์ออกมา ดังสมการ

    4H+ + 4e- + O2 2H2O

              แรงดันไฟฟ้าที่ได้ต่อหนึ่งเซลล์มีค่าประมาณ 1 โวลต์และได้กระแสออกมาประมาณ 10 แอมแปร์ ซึ่งถ้านำมาต่ออนุกรมกัน (fuel cell stack) 12 เซลล์ ก็จะได้แรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์เหมือนกับแบตเตอรี่ ปฏิกิริยารวมของเซลลเชื้อเพลิงเป็นการรวมตัวของไฮโดรเจนและออกซิเจนเกิดเป็นน้ำ ดังสมการ

    2H2 + O2 2H2O



    เซลล์เชื้อเพลิงแต่ละประเภท

    ประเภทของ
    เซลล์เชื้อเพลิง

    อิเล็กโทรไลต์
    ทำงานที่
    อุณหภูมิ(°C)
    การประยุกต์
    ข้อดี
    ข้อเสีย
    เยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน
    พอลิเมอร์
    60 - 80
    - การขนส่ง
    - ยานพาหนะ
    - โรงไฟฟ้า
    - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่
    เคลื่อนย้ายได้สะดวก
    - ไม่ต้องใช้เวลา
    อุ่นเครื่อง
    - ใช้อุณหภูมิต่ำ
    - ไม่มีปัญหา
    การสึกกร่อน
    ของอิเล็กโทรไลต์
    - ไวต่อเชื้อเพลิงที่มี
    สิ่งปนเปื้อน
    แอลคาไลน์
    โพแทสเซียม-
    ไฮดรอกไซด์(KOH)
    90 - 100
    - การขนส่ง
    - การทหาร
    - ยานอวกาศ
    - เรือดำน้ำ
    - ปฏิกิริยาที่แอโนด
    เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
     
    กรดฟอสฟอริก
    กรดฟอสฟอริก
    (H3PO4)
    175 - 200
    - การขนส่ง
    - โรงไฟฟ้าแบบ
    ความร้อนร่วม
    - ประสิทธิภาพ 85%
    - ใช้ H2 ที่มี
    สิ่งเจือปนเป็น
    เชื้อเพลิงได้
    - ใช้ Pt ซึ่งมีราคาแพง
    เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
    - ให้กระแสไฟฟ้าน้อย
    - ขนาดใหญ่
    คาร์บอเนตหลอมเหลว
    โซเดียม
    คาร์บอเนต
    (Na2CO3)
    600 - 800
    - โรงไฟฟ้าแบบ
    ความร้อนร่วม
    - ประสิทธิภาพสูง
    - ปรับชนิดของ
    เชื้อเพลิงได้หลายแบบ
    - ใช้อุณหภูมิสูงทำให้
    เกิดการสึกกร่อนและ
    สารประกอบของ
    เซลล์เชื้อเพลิงเสียไป
    ออกไซด์แข็ง
    เซอร์โคเนียม-
    ออกไซด์
    (ZrO2)
    600 - 1000
    - โรงไฟฟ้าแบบ
    ความร้อนร่วม
    - ประสิทธิภาพสูง
    - ตัวเร่งปฏิกิริยา
    ราคาถูก
    - ใช้อุณหภูมิสูงทำให้
    เกิดการสึกกร่อนและ
    สารประกอบของ
    เซลล์เชื้อเพลิงเสียไป

    ข้อดี

         - เป็นแหล่งพลังงานสะอาด
         - ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
         - เป็นเชื้อเพลิงในยานอวกาศ

         - ผลิตไฟฟ้า
         - น้ำดื่มสำหรับนักบินอวกาศ ผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาคือไอน้ำ เมื่อกลั่นตัวแล้วใช้เป็นน้ำดื่มให้นักบินอวกาศดื่ม
         - ประสิทธิภาพสูง เซลล์เชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพสูงถึง 70% ประมาณ 2 เท่าของประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน
         - ปราศจากเสียง การสั่นสะเทือนและการถ่ายเทความร้อน



    ปัญหา

         1. การกักเก็บแก๊สไฮโดรเจน เพื่อนำไปใช้งานในเซลล์เชื้อเพลิงทำได้ยาก ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด ปัจจุบันนักวิจัยพยายามแก้ปัญหานี้โดยผลิตอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า รีฟอร์มเมอร์ (reformer) มีหน้าที่เปลี่ยนสารไฮโดรคาร์บอน(เมทานอล, แก๊สโพรเพน) หรือแอลกอฮอล์ให้เป็นไฮโดรเจน แต่การออกแบบรีฟอร์มเมอร์ยังไม่สมบูรณ์ ขณะใช้งานมีความร้อนเกิดขึ้นและได้แก๊สอื่นออกมาด้วย ทำให้ประสิทธิภาพของเซลล์เชื้อเพลิงลดลง

           2. ต้นทุนในการผลิตสูง การทำราคาขายให้ผู้บริโภคทั่วไปเป็นเจ้าของยังคงห่างไกลความจริง

           3. สถานีเติมเชื้อเพลิง เนื่องจากเซลล์เชื้อเพลิงต้องใช้พลังงานจากแก๊สไฮโดรเจน จำเป็นต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท

         4. เป็นสนิมง่าย เนื่องจากเซลล์เชื้อเพลิงบางชนิดต้องใช้อุณหภูมิสูงทำให้เกิดสนิมได้ง่าย

         5. การเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่างเกิดขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าและตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น เกิดการปนเปื้อนจากสารอื่น ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีขั้วไฟฟ้าชนิดใดที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสำหรับการทำงานเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่มีการปนเปื้อนจากสารอื่น

         6. เกิดการรั่วได้ เซลล์เชื้อเพลิงเกิดการรั่วได้ง่ายเพราะสารที่ใช้เป็นเบสแก่

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×