คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #22 : อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (Rate of Reaction)
ความหมายของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึง
- ปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงใน 1 หน่วยเวลา (อัตราการลดลงของสารตั้งต้น)
- ปริมาณของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นใน 1 หน่วยเวลา (อัตราการเพิ่มขึ้นของสารผลิตภัณฑ์)
การวัดปริมาณของผลิตภัณฑ์หรือสารตั้งต้น
การวัดปริมาณของสารผลิตภัณฑ์หรือสารตั้งต้น ขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติของสาร เช่น
- เป็นของแข็ง ชั่งมวล มีหน่วยเป็น กรัม(g) , กิโลกรัม(kg)
- เป็นแก๊ส วัดปริมาตร มีหน่วยเป็น cm3 , dm3
วัดความดัน มีหน่วยเป็น atm , torr
- สารละลาย วัดความเข้นข้น มีหน่วยเป็น mol/dm3 , mol/l
การเปลี่ยนแปลงพลังงานของสารในระหว่้างการดำเนินไปของปฏิกิริยา
มี 2 แบบ คือ
1. ปฏิกิริยาดูดความร้อน พลังงานของสารผลิตภัณฑ์จะมี Ep (พลัีงงานศักย์ของสารผลิตภัณฑ์) สูงกว่าพลังงานของสารตั้งต้นซึ่งมีค่า Er
2. ปฏิกิริยาคายความร้อน พลังงานของสารผลิตภัณฑ์จะมี Ep (พลัีงงานศักย์ของสารผลิตภัณฑ์) ต่ำกว่าพลังงานของสารตั้งต้นซึ่งมีค่า Er
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฎิกิริยา
1. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น กรณีที่สารตั้งต้นเป็นสารละลายถ้าเข้มข้นมากจะเกิดเร็ว เนื่องจากตัวถูกละลายมีโอกาสชนกันมากขึ้นบ่อยขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าเราเพิ่มปริมาตรของสารละลายโดยความเข้มข้นเท่าเดิม อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเท่าเดิม
2. อุณหภูมิ การที่อุณหภูมิของสารตั้งต้นเพิ่มขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โมเลกุลของสารในระบบมีพลังงานจลน์สูงขึ้นเมื่อมีการชนกันของโมเลกุลจะทำให้มีจำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานอย่างน้อยหรือมากกว่าพลังงาน Eaมากขึ้น
3. พื้นที่ผิวสัมผัส สารที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากจะทำปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น เนื่องจากสัมผัสกัน (ชนกัน)มากขึ้น ใช้พิจารณากรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะของแข็ง
4. ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) หมายถึง สารเคมีที่ช่วยทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้นเนื่องจาก ตัวเร่งจะช่วยในการลดพลังงานกระตุ้นโดยช่วยปรับกลไกในการเกิดปฏิกิริยาให้เหมาะสมกว่าเดิม โดยจะเข้าไปช่วยตั้งแต่เริ่มปฏิกิริยา แต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาจะกลับมาเป็นสารเดิม
5. ตัวหน่่วงปฏิกิริยา (Inhibitor) หมายถึงสารที่ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาช้าลงโดยขัดขวางกลไกของการเกิดปฏิกิริยาเดิมเสียใหม่ซึ่งยุ่งยากกว่เาดิมให้ช้าลง
6. ธรรมชาติของสาร เนื่องจากสารมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งแตกต่างกัน โดยปกติสารประกอบไอออนิกจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสารประกอบโคเวเลนต์ ดังนั้นสารประกอบไอออนิกจะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสารประกอบโคเวเลนต์
ความคิดเห็น