ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รู้รอบเรื่อง เคมี

    ลำดับตอนที่ #21 : ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.11K
      4
      17 ต.ค. 51

    สมบัติของของแข็ง



    อนุภาคของของแข็งมีพลังงานจลน์น้อยมาก แต่ก็ยังสั่นได้ เนื่องจากอนุภาคของของแข็งอยู่ชิดกันมากกว่าของเหลว และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของแข็งมีมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของเหลว ของแข็งจึงมีรูปร่างแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ ของแข็งบางชนิดระเหิดได้ เช่น แนพทาลีน โดยเกิดที่ผิวหน้าของของแข็ง

    สมบัติของของเหลว




    ถ้าลดอุณหภูมิและเพิ่มความดันให้กับก๊าซ ก๊าซจะกลายเป็นของเหลว เนื่องจากมีช่องว่างอยู่ทั่วไป และ มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลว และ แรงดึงดูด ของโลกที่กระทำต่อของเหลว ของเหลวจึงไหลได้และรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ
    การระเหยจะเกิดขึ้นที่ผิวของเหลว ระหว่างที่ของเหลวระเหย พลังงานจลน์เฉลี่ยของของเหลวที่เหลือจดลดลง ของเหลวจึงดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาแทนพลังงานส่วนที่เสียไป
    และหลักการระเหยนี้ใช้อธิบาย
    เมื่อเหงื่อระเหยไปจากร่างกายเราจึงรู้สึกเย็นและ การทำความเย็นในตู้เย็นหรือเครื่องทำความเย็น

    ก๊าซ




    ประกอบด้วยอนุภาคที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาอย่างรวดเร็วและไม่เป็นระเบียบ แต่ละอนุภาคอยู่ห่างกันมากจนอาจถือว่าไม่มีอันตรกิริยาต่อกัน



    อุณหภูมิมีผลต่อสถานะของสาร ดังนี้








    กฎของบอยล์


    เมื่ออุณหภูมิและมวลของก๊าซคงที่ ปริมาตรของก๊าซจะแปรผกผันกับความดัน










     

    กฎของชาร์ล


    เมื่อความดันและมวลของก๊าซคงที่ ปริมาตรของก๊าซ จะ แปรผันตรง กับ อุณหภูมิเคลวิน










     
     
    กฎรวมก๊าซ


    โดยการรวมกฎของบอลย์และชาร์ลเข้าด้วยกัน เมื่อมวลของก๊าซคงที่


    เมื่อโจทย์มีมวลของก๊าซ

    เมื่อโจทย์มีความหนาแน่นของก๊าซ









    ทฤษฎีจลน์ของก๊าซ ใช้อธิบายสมบัติของก๊าซ เสนอว่า

      1. ก๊าซประกอบด้วยโมเลกุลที่มีขนาดเล็กมากอยู่ห่างกัน และไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน

      2. แต่ละโมเลกุลเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงอยู่ตลอดเวลาด้วยอัตราเร็วคงที่ (แต่ไม่จำเป็นต้อง เท่ากัน) จนกระทั่งชนกันเองหรือชนผนังภาชนะที่บรรจุ จึงจะเปลี่ยนทิศทางและอาจเปลี่ยนอัตราเร็วด้วย เมื่ออุณหภูมิคงที่อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของก๊าซชนิดหนึ่ง ๆ จะ คงที่

      3. โมเลกุลของก๊าซมีพลังงานจลน์ค่าหนึ่ง เท่ากับ 1/2 mV2 เมื่อ m คือ มวลของโมเลกุล และ V คือ อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ของโมเลกุล

      4. เมื่อโมเลกุลชนกันหรือชนผนังภาชนะ อาจจะมีการถ่ายพลังงาน แต่ไม่มีการสูญเสีย พลังานรวม

      5. ที่อุณหภูมิเดียวกัน ก๊าซทุกชนิดจะมีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน พลังงานจลน์เฉลี่ยของก๊าซ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวิน ก๊าซที่มีสมบัติครบถ้วนตามทฤษฎีจลน์เรียกว่า ก๊าซสมบูรณ์ ซึ่งไม่มีจริง ก๊าซจริงอาจมี สมบัติใกล้เคียงกับก๊าซสมบูรณ์ได้ ถ้าอยู่ในระบบที่อุณหภูมิสูงและความดันต่ำ ก๊าซ ส่วนใหญ่โดยเฉพาะก๊าซเฉื่อยที่อุณหภูมิห้อง ความดัน 1 บรรยากาศ มีสมบัติใกล้เคียง กับก๊าซสมบูรณ์ 







        ความดันไอกับจุดเดือดของของเหลว

        ภาวะสมดุล คือ ภาวะที่ความดันของไอเหนือของเหลวมีค่าคงที่ หรือภาวะที่จำนวนโมเลกุล ของไอเหนือของเหลวมีค่าคงที่

        ความดันไอ คือ ความดันไอเหนือของเหลว ณ ภาวะสมดุล

        ความดันไอของของเหลวแต่ละชนิด มีค่าเฉพาะตัวค่าหนึ่งที่อุณหภูมิหนึ่ง และถ้าอุณหภูมิเพิ่ม ความดันไอจะเพิ่มด้วย

        จุดเดือด คือ อุณหภูมิขณะที่ของเหลวเดือด โดยความดันไอของของเหลวที่จุดเดือดจะเท่ากับ ความดันบรรยากาศขณะนั้น

        ของเหลวการระเหยความดันไอแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ
        จุดเดือดต่ำ
        เร็ว
        สูง
        น้อย
        น้อย
        จุดเดือดสูง
        ช้า
        ต่ำ
        มาก
        มาก





     
    การจัดเรียงอนุภาคในของแข็ง

    การจัดเรียงอนุภาคในของแข็ง กำมะถันมอนอคลินิก ผลึกเป็นรูปเข็ม คงตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 96 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิปกติกำมะถันมอนอคลินิกจะเปลี่ยนรูปมาเป็นกำมะถันรอมบิก ผลึกเป็นรูปเหลี่ยมซึ่ง คงตัวที่อุณหภูมิปกติ กำมะถันทั้งสองรูปมีสูตรโมเลกุลเป็น S8เหมือนกันละลายในโทลูอีน การที่มีการจัดเรียงโมเลกุลต่างกัน จึงทำให้มีรูปผลึกต่างกัน และสมบัติอื่น ๆ ต่างกัน

    โมเลกุลของกำมะถันประกอบด้วยกำมะถัน 8 อะตอม ต่อกันเป็นวง โดยอะตอม 1, 3, 5, 7 อยู่ในระนาบหนึ่งเหนืออะตอม 2, 4, 6, 8 ซึ่งอยู่อีกระนาบหนึ่ง แบบจำลองโมเลกุลของ กำมะถันแสดงได้โดยใช้ลูกทรงกลม 8 ลูกต่อกัน แบบจำลองบอกแต่เพียงลักษณะและทิศทาง ที่แต่ละอะตอมจัดตัวเองเท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่า กำมะถันอะตอม อยู่ห่างกันเท่าไร

    การเปลี่ยนแปลงของกำมะถันเมื่อได้รับความร้อน

    เมื่อเทกำมะถันเดือดลงในน้ำ จะได้กำมะถันเหนียว มีลักษณะยืดหยุ่นได้ เพราะกำมะถันเหนียวมีโมเลกุลลักษณะเป็นสาย ซึ่งมีความยาวไม่เท่ากันปนกันอยู่
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×