ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ปกรณัมฟังก์ชั่น ข้อมูลมากมายเพื่อการแต่งนิยายครับผม

    ลำดับตอนที่ #37 : สรุปฤดูของไทยในภาษาบาลี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.78K
      15
      18 มี.ค. 52

    การแบ่งฤดูในปีหนึ่ง ๆ ของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิอากาศ
    อาจแบ่งเป็น ๒ ฤดู ๓ ฤดู ๔ ฤดู หรือ ๖ ฤดู ก็ได้

    ประเทศไทยแบ่งฤดูออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
    หากจะเรียกชื่อฤดูเหล่านี้ด้วยคำบาลีสันสกฤต ก็จะเรียกได้ว่า
    คิมหันตฤดู (อ่านว่า คิม-หัน-ตะ-รึ-ดู) คือ ฤดูร้อน.
    เหมันตฤดู (อ่านว่า เห-มัน-ตะ-รึ-ดู) คือ ฤดูหนาว.
    ส่วนฤดูฝน มีผู้เรียกว่า วสันตฤดู (อ่านว่า วะ-สัน-ตะ-รึ-ดู) ซึ่งไม่ถูกต้องตามรูปศัพท์.
    เพราะ วสันตฤดู แปลว่า ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งไม่มีในประเทศไทย
    แต่เป็นฤดูของประเทศอินเดียทางภาคเหนือซึ่งแบ่งออกเป็น ๖ ฤดู
    ชื่อ ฤดูฝน ในภาษาบาลีใช้ว่า วัสสาน (อ่านว่า วัด-สา-นะ)
    ดังนั้นถ้าจะเรียกฤดูฝนให้ถูกตามรูปศัพท์ ต้องใช้ว่า วัสสานฤดู (อ่านว่า วัด-สา-นะ-รึ-ดู).

    สรุปฤดูของไทยในภาษาบาลี
    คิมหันตฤดู (อ่านว่า คิม-หัน-ตะ-รึ-ดู) คือ ฤดูร้อน.
    เหมันตฤดู (อ่านว่า เห-มัน-ตะ-รึ-ดู) คือ ฤดูหนาว.
    วัสสานฤดู (อ่านว่า วัด-สา-นะ-รึ-ดู) คือ ฤดูฝน.

    ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
               เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
    เครดิต :
    http://www.sarapee.ac.th/index.php?name=Content&pa=showpage&pid=834

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×