ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คาถาอาคม ยันต์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งศรัทธา By จักรพรรดิหน่อง

    ลำดับตอนที่ #9 : จิตแข็ง (จิตที่ทรงพลัง)

    • อัปเดตล่าสุด 16 พ.ค. 51


    @จิตที่ทรงพลัง

                 ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ย่อมเป็นฝ่ายรุก ทำในสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย

                 การฝึกจิต มิใช่ฝึกให้กลัว หรือเพิ่มความกังวลใดๆ มิได้ฝึกเพื่อถอย หรือต่อต้าน 
                  หรือสู้ชนิดที่ปิดหูปิดตา หรือเก่งแล้วไม่ฟังคำเตือน

                "จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้" จิตที่เข้มแข็ง สติปัญญาที่ตื่นตัว 
                 สามารถนำพาชีวิตเดินไปในทางที่ถูกต้อง

                แสงสว่างแห่งรสพระธรรม ที่เกิดจากคอยรักษาสัมปชัญญะ ที่เรียกอีกอย่างว่า รู้สึกตัว หรือ รู้ตัว

                  เมื่อสัมปชัญญะ (รู้สึกตัว) ได้บ่อย ๆ จิตเองจะค่อย ๆ เกิดความเข้าใจต่อกาย ต่อจิตเอง  
    จนกระทั่งเกิดความเข้าใจได้ว่า กายไม่ใช่ตัวเรา จิตเองก็ไม่ใช่ตัวเรา กายนี้เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสลายดับไป 
    จิตนี้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อเข้าใจถึงระดับหนึ่ง ความเข้าใจผิด ความเห็นผิดไปว่า กายนี้ จิตนี้เป็นตัวเรา 
    ก็จะถูกละ ออกไปอย่างชนิด ไม่กลับไปเข้าใจผิด ไม่กลับไปเห็นผิดอีกเลย

    เครดิต วิทยาทาน : http://www.oknation.net/blog/wachara/2007/09/06/entry-2

                  เมื่อละความเข้าใจผิด ความเห็นผิดไปแล้ว หน้าที่คือ คอยระมัดระวังตัว รู้สึกภายใน 
    มีสัมปชัญญะที่เกิดจากการรู้สึกว่าจิตเป็นอย่างไร

                 สัมปัชชัญญะมาก่อนสติ คือเห็นถูกต้องในธรรมหลัก เมื่อสติตามหลังมา 
    ภายในก็จะพัฒนาไปตามลำดับจนในที่สุด มหาสติที่มีฐานรองรับ ระลึกอยู่ในปัจจุบัน ทุกขณะจิตนั้น  
    เข้าไปตั้งความระลึกอยู่ในฐานทั้ง ๔ สถาน เพื่อกําจัดความยินดี 
    ยินร้ายก็สลายไปสิ้น เพื่อดัดจิตให้ตั้งอยู่ได้ สติภายในนี้เป็นเครื่องกั้นของอารมณ์ 
    ไม่ให้จิตเข้าไปเสพ หรือยึดถือในอารมณ์ใดๆ เห็นการเกิดอุปาทานทั้งหลายได้ทัน

                 เทคนิดคือ เพียรรักษาจิตไว้ กลับมาเติมเต็มความรู้สึกภายใน โดยมีอาตาปี 
    เปรียบเหมือนการเผาเหล็กให้ร้อน เพื่อจะทำการทุบ - ตีเหล็ก หรือดัดเหล็กให้ไปตามความปรารถนา 
    ตั้งโปรแกรมจิตภายใน รักษาความปลอดภัยให้กับจิตใจตนเอง จิตภายในจึงมีพลังมาก 
    จากที่เราสนใจตนเอง กตัญญู ตอบแทนคุณต่อตนเอง พระคุณนี้เป็นจิตประเสริฐ มีความเจริญก้าวหน้า 
    มั่งคั่งทางจิตใจ ความยึดมั่นถือมั่น ความผูกพันใดๆ ในวัฏฏะ ที่เวียนว่ายตายเกิด รู้จักการปล่อยวางกาย 
    ปล่อยวางจิต จึงเกิดขึ้น สภาวะแห่งหลุดพ้น สู่ความเป็นอิสระก็จะปรากฏขึ้น

                  เวลาที่เหลืออยู่ วิถีชีวิตจึงเปลี่ยนไป จิตเป็นอิสระ อันทรงพลังเหนือสรรพสิ่ง 
    พร้อมทำความดี และอยู่เหนือความดี ไม่ยึดมั่นในความดี ก้าวเดินด้วยความเร็ว ทางสายกลาง 
    รู้จักใช้ธรรมจักรภายในขับเคลื่อน พ้นจากภัยพิบัติ มีความเจริญก้าวหน้าด้วยปัญญาสั่งการ 
    บรรลุถึงสันติสุขภายในอย่างแท้จริง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×