ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สยอง

    ลำดับตอนที่ #1 : แด่ผู้กล้า ทั้งหลายขอให้สู่สุคติ

    • อัปเดตล่าสุด 17 ก.ย. 49



    เลือด วีรชน
    นองถนนราชดำเนินและ
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ในระบอบเผด็จการ  ถือได้ว่าเป็นยุค "มืด" ที่ประชาชนในสมัยนั้น หวาดกลัวหวาดผวาภัยมืดการกลั่นแกล้งจากผู้ปกครองผู้ที่เป็นปรปักษ์ทางการเมือง ถูกจับกุม กักขัง ทารุณ สังหาร การสร้างหลักฐานเท็จพยานเท็จโดยไร้ขบวนการไต่สวนยุติธรรม กระทำตามอำนาจอำเภอใจรวบกุมอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ รัฐบาลเผด็จการปกครองประเทศอย่างกดขี่ ยึดธุรกิจผูกขาดเบ็ดเสร็จก่อประโยชน์แก่วงศาคณาญาติตน


    ผู้ที่ท้าทายอำนาจเผด็จการอย่างกล้าหาญออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยในสมัยนั้นต้องฝ่าฟันกับอำนาจเถื่อนสารพันต้องโซ่ตรวนที่ผู้ปกครองพร้อมคล้องจองให้ด้วยเครื่องมือกฎหมายครอบจักรวาล คือข้อหามีการกระทำเป็น"คอมมิวนิสต์"จากผู้ปกครองเผด็จการ


    ประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของชาติไทยได้บันทึกถึงวีรกรรมของ "วีรชน" ผู้กล้าทั้งผองที่ได้เสียสละแม้กระทั่งชีวิตแลกสิ่งที่ปวงชนชาวไทยทุกผู้ต้องการจนได้ "ประชาธิปไตย"มา

    รวมภาพเหตุการณ์
    วันมหาวิปโยค
    14 ตุลาคม พ.ศ. 2516


    จอมพลถนอม กิตติขจร-ประภาส จารุเสถียร-ณรงค์ กิตติขจร(ลูกเขยประภาส)
    3 เผด็จการผูกขาดอำนาจมายาวนาน ต้องให้ประชาชนออกมาไล่ กว่าจะสำเร็จทั้งประชาชนและนักศึกษาต้องพลีชีพและสูญหายไปมากมาย กว่าจะได้ประชาธิปไตย มีเสรีภาพ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
      14 ตุลาคม พ.ศ.2516 นิสิตนักศึกษา ประชาชน พร้อมใจกันลุกฮือกันขับไล่เผด็จการ
    "ถนอม-ประภาส-ณรงค์" ที่ผูกขาดการปกครองมานานนับสิบปี
    ทรราชปล่อยให้ทหารเลือกยิงได้ตามอำเภอใจ  ชีวิตผู้เรียกร้องประชาธิปไตยดั่งผักปลา
    1
    ทุรนทุรายกลางแดดแผดเผา ไม่มีน้ำ ไม่มีใจ มีแต่ความตาย โอ้ลูกโดม ลูกแม่
    ยิงพวกเราทำไม พวกเราชุมนุมอย่างสันติ ทำไมไม่หันกระบอกปืนไปใส่ทรราชเล่าทหารกล้า
    1
     

    ภาพบน
    หนี
    ั่งโน้นออกมาทางนี้ก็เจอปืน วิ่งกลับไม่ทันก็โดนยิงโดนทุบตีจนตาย

    ภาพล่าง
    จลาจนเผากองสลากที่ราชดำเนิน


     
    นายสั่งลุย...เอาให้เต็มที่กับคนมือเปล่าๆ....
     

     
    ถ้าเขาเหล่านี้ไม่เอาชีวิตเข้าแลกประชาธิปไตยก็ยังไม่ได้มามาสุขเถิดในภพฝัน "วีรชนคนกล้า"
    1
    เรียกร้องเสรีภาพอย่างบริสุทธิ์ เสียชีวิตอย่างบริสุทธิ์
    ที่ตายก็ตายไปที่เห็นเพื่อนตายต่อหน้า ก็บ้าเลือดสู้
    1
    รถถัง อาวุธหนักถูกระดมมายิงประชาชนคนมือเปล่าๆอย่างอาจหาญ
    เหมือนสงครามต่างเผ่าพันธุ์
    หลังห่าฝนกระสุนปืนสงบ ร่างก็สงบนิ่ง ทิ้งไว้เป็น "วีรกรรม"
    หนุ่มสาวในริ้วขบวนจำนวนหนึ่งที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
    ตรงนั้นยังมีคนรอด ทหารชี้นิ้ว

    รวมภาพเหตุการณ์
    ทรราชคืนถิ่นเลือด
    6 ตุลาคม 2519

    เวทีชุมนุมของนักศึกษาและประชาชนที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์
    และเกิดเหตุการณ์เลือดนองลานแห่งนี้ เมื่อทหาร ตำรวจ กระทิงแดง
    ดาหน้าเข้ามา "ฆ่าแต่ฝ่ายเดียว"กับคนมือเปล่าๆ
    ชายที่ถูก"กระทิงแดง"มัดเชือกผูกคอลากไปตามพื้นคือ นายจารุพงษ์ นักศึกษาปี 2 คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เขาถูกยิงเสียชีวิตระหว่างระวังหลังให้เพื่อนๆที่ดาหน้าลงมาจากตึกกิจกรรมหนีการไล่ล่าจากผู้ถืออาวุธ.
    1
    ทรราชมันสั่งฆ่าอย่างไม่ปราณีกับทุกผู้ที่บังอาจไปขัดขวางอำนาจเถื่อนของมัน
    กระสุนก็ของประชาชน ปืนก็ของประชาชน เงินเดือนก็ของประชาชน แล้วฆ่าประชาชน
    1
    นักศึกษาโดนทารุณกรรมกลางลานธรรมศาสตร์ รองเท้าตำรวจยำศพ ถ่างขาตีจนตาย
    *
    ขนศพเพื่อนออกไปไหนก็ไม่ได้เต็มไปด้วยห่ากระสุน บ้างก็โดนจับเผาทั้งเป็น
    *
    *
    หนังสือพิมพ์ขวาจัดและสถานีวิทยุทหารบางแห่ง ยุยงให้ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มนวพล
    กระทิงแดง เข้าไปทำร้ายนักศึกษาประชาชน หลังจากศพผ่านคมกระสุนของเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว
    ภาพบน

    6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พระกิตติวุฒโฑขวาจัดผู้สนับสนุนเผด็จการ

    ภาพล่าง
    ตำรวจไทยใจกล้าหาญ สูบบุหรี่ไป ยิงปืนไปใส่ประชาชนคนมือเปล่าๆ ต่อมาลูกหลาน
    ของตำรวจทหารเหล่านั้น ก็ได้รับผลพวงได้ดมกลิ่นประชาธิปไตยจากคนตายที่ตนเองยิง
    1
    แบกบาซูก้าจะไปรบจับศึกกับคนต่างด้าวท้าวต่างแดนหรือ?
    1

     
    วิทยุยานเกราะโยนไฟใส่อารมณ์มวลชนให้ทำร้ายนักศึกษาประชาชนบนความถี่
     

     
    ทั้งรอยคมกระสุนปืน รอยเสียมเสียบแทง มวลชนที่ขาดสติกำลังปกป้องทรราชให้ยั่งยืนยง
    1
    หลังสถานการณ์สงบ ทุกศพเต็มไปด้วยรูกระสุนปืนและการทารุณกรรมระหว่างคนไทยด้วยกัน
    ใครเผยอ ใครลุก ยิงได้ทันที นายสั่ง เฉียบขาด
    1
    นักศึกษาและประชาชนที่รอดจากการถูกสังหารหมู่อย่างทารุณประมาณ 3,000 คน
    ถูกตั้งข้อหาและถูกควบคุมตัวไปกักขังที่ ร.ร.พลตำรวจบางเขน
    หลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่สยองดำเนินไปตลอดครึ่งวัน ผู้ชุมนุมต่อต้านเผด็จการ
    ที่เหลือรอดตายก็กลายเป็นผู้ต้องหา
    1

    เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535
    ประชาชนขับไล่เผด็จการหลงยุค
    คณะ รสช.สุจินดา คราประยูร

     "วีรชน พฤษภาทมิฬ"

     

       ประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีศูนย์รวมอำนาจไว้ที่คนเพียงกลุ่มเดียวหรือไม่กี่กลุ่มกับระบบราชการขนาดมหึมา ต่างร่วมกันเป็นตัวแทนแห่งการครอบงำสังคมอันกว้างใหญ่ไพศาลตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของ "คณะราษฎร์" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จากระบอบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย

        เหตุการณ์นองเลือดเมื่อ 6 ตุลาคม 2516 และ 14 ตุลาคม 2519 ก็เป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้ของนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่ต้องการให้พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายหลุดพ้นจากการปกครองแบบกดขี่ของเผด็จการทรราช

        เหตุกาณ์พฤษภาทมิฬ เกิดจากการหลงอำนาจผิดยุคผิดสมัยของ นายทหารกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งประกอบด้วย

    พล.อ.สุจินดา คราประยูร
    พล.อ.สุนทร์ คงสมพงษ์
    พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล
    พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี ฯลฯ

    ได้ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534โค่นอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน
    ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งแล้วตรารัฐธรรมนูญการปกครอง(ชั่วคราว)ขึ้นโดยเสนอตั้ง นาย อนันท์ ปันยารชุน เป็นนายรัฐมนตรี ขัดตาทัพรสช.ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นมาด้วยอำนาจเผด็จการ ทำการคลอดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 "ฉบับหมกเม็ด" เตรียมสืบทอดอำนาจให้ตนเอง เพาะเชื้อเผด็จการขึ้นมาเต็มรูปแบบอีกครั้ง โดยกำหนดว่า
     

  •  โดยกำหนดว่านายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง (ไม่ต้องเป็น ส.ส.)
  • ให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งได้ (ควบตำแหน่งได้)
  • แต่งตั้งนายทหารในกลุ่มเครือญาติคนสนิทขึ้นมาคุมกองทัพ
  • การผนึกอำนาจทางการเมืองและการทหารเป็นศูนย์อำนาจ

    เมื่อกระแสประชาชนคัดค้าน "สุจินดา" ก็ยอมรับปากจะไม่รับตำแหน่งผู้นำ แต่ในที่สุด "สุจินดา" ก็ยอมเสียสัตย์แก่ตนเองและสาธารณะชนยอม "เสียสัตย์" เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง จนนำไปสู่การประท้วงคัดค้านของประชาชนนับแสนคนบนถนนราชดำเนิน และหัวเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศและถูก 3 หัวโจ๊กเผด็จการดังกล่าว ใช้กำลังปราบปรามประชาชนและนิสิตนักศึกษาอย่างนองเลือดโหดร้ายทารุณ สร้างรอยด่างพร้อย
    ให้กับประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยอีกตำนานหนึ่ง


    "พฤษภาทมิฬ"มีการยิง สังหาร ทำร้ายผู้บริสุทธิ์เรียกร้องประชาธิปไตยดั่งใบไม้ร่วง ระหว่างวันที่ 17,18 พฤษภาคม  2535 ดั่งโฮมเพจนี้ได้นำ "ภาพเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" ดังกล่าวมาเสนอ ให้รำลึกถึง "วีรชน" และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุพลภาพและผู้สูญหายไปเป็นจำนวนมาก ที่ได้ต่อสู้บนแนวหน้ากับเผด็จการนำประชาธิปไตยสู่ปวงชนอีกครั้งหนึ่ง.

     
    1
    ประชาชนคัดค้านการสืบทอดอำนาจแบบถอยหลังเข้าคลองของ "สุจินดา"
    ทหารมีหน้าที่เป็นรั้วของชาติเป็นสถาบันที่ทรงเกียรติ
    มิใช่เป็นนักปกครองเผด็จการทรราช ประชาคนคัดค้านสิ่งนี้
     ประชาชน,นักศึกษา ไร้อาวุธใดๆในมือต่อสู้กับเผด็จการอย่างอหิงสาคำสั่ง "นาย" ให้ทหาร,ตำรวจ ยิงตายไปต่อหน้าเพื่อนๆคำสั่ง "แผนพิฆาติไพรี/33" ยิงแม้ข้างหลังคนล้มตายไปเหมือนหมูหมาข้างถนนผู้คนนับแสนที่อยู่ในเหตุการสุดหฤโหดบ้างขวัญเสียสติแตกถึงกับเสียสติไปก็มี.


    ใคร? ออกคำสั่งฆ่าประชาชน
    ฆาตกรยังลอยนวล!!!


    กระสุนที่ยิงขู่และยิงจริงใช้กันนับแสนกระสุนเกลื่อนถนนราชดำเนิน
    ปราบปรามหนักหวังสลายการชุมนุมประท้วงไล่เผด็จการหลงยุค
    ที่รอดตายและบาดเจ็บถูกบังคับถอดเสื้อ ใครช้าถูกซ้อมต่อหน้าเพื่อนๆทันที

    1

    "มัน" ยิงเฉียดหนูนิดเดียวค๊ะ โดนคนข้างๆหลายคน "มัน"ทำได้ลงคอโฮ
    ที่บาดเจ็บสาหัสเพื่อนๆร่วมอุดมการณ์ประชาธิปไตยช่วยกันพยาบาล
    ที่ตายไปด้วย"คมห่ากระสุน"เพื่อนๆพากันหาธงชาติมาคลุมร่าง
    บ้างก็ถูกขนขึ้นรถทหารพาสูญหายไป

    ศพประชาชน,นักศึกษา ถูกขนขึ้นรถพาหายไปประมาณ 69 คนศพอยู่ที่ไหน?โปรดเถิด โปรดคืนศพให้แก่ญาติพี่น้องของเขาโดยเร็วแต่ทุกวันนี้ ยังไม่มีคำตอบ?จากรัฐบาลใดๆ


    ญาติวีรชนเรียกร้องให้ทางราชการหาศพผู้สูญหายไปแต่รัฐบาลใดๆที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจ

  •  
     
    1
    1
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×