คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : มาออกแบบตัวละครกันเถอะ
มาออกแบบตัวละครกันเถอะ
ตัวละครในเรื่อง ยิ่งเป็นตัวละครหลักในการดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะอยู่ในมุมมองไหน ก็ล้วนสำคัญทั้งสิ้น และด้วยเหตุนี้การคิดถึงหน้าตา ตลอดจนถึงอุปนิสัยก็ทำให้นิยายเรื่องนั้นๆ มีอรรถรสในความสนุกแตกต่างกันไป (อย่าลืมว่าเราอาศัยตัวละครในการดำเนินเรื่อง คงไม่มีนักเขียนหน้าไหน เขียนแต่บทบรรยายสถานที่หรอกนะ นอกจากพวกสารคดี กับบทความแนะนำ)
ทำไมในหนึ่งเรื่อง ตัวละครจึงไม่ควรมีอุปนิสัยคล้ายๆ กัน
เพราะมันไม่อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง แรงจูงใจ หรือความสนุกน่ะสิ
ถ้าตัวละครคิดเหมือนกันหมดล่ะก็ สงคราม ตลอดจนปมเรื่องต่างๆ ก็คงจะตามน้ำจนน่าเบื่อ และจบลงแบบสั้นๆ ทื่อๆ !!
เช่นนาย A มีอุปนิสัยแบบนาย B เป๊ะ! พอเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมโลกขึ้นจะเป็นยังไงกันน๊า~
ตัวละคร A : ป๊ะ! เรารอน้ำท่วมให้จมน้ำตายขึ้นอืดกันเถอะ
ตัวละคร B : อือ เราเองก็คิดแบบนั้น
จบตอนนาย A กับนาย B ก็จมน้ำตายดับอนาถกันทั้งคู่ เพราะคิดเหมือนกันเป๊ะๆ
แล้ว
ถ้าหากว่า B ไม่คิดเหมือน A ล่ะ จะต่อยอดได้มากแค่ไหน จากโครงเรื่องสถานการณ์ที่เรากำหนดขึ้น
มาลองดูกัน
ตัวละคร A : ป๊ะ! เรารอน้ำท่วมให้จมน้ำตายขึ้นอืดกันเถอะ
ตัวละคร B : สูเจ้า สิตายก็เรื่องของเจ้า ข้อยสิหนีก่อนล่ะเด้อ
ตัวละคร A : น่านะ มาตายด้วยกันเถอะ นี่น้ำกำลังจะเข้ากรุงเทพ พอดีเลย
ตัวละคร B : ห้วย! เอาโลดสู ข้อยไปล่ะก๊ะ บ่มานั่งโง่รอน้ำท่วมตายหรอก
ในตัวอย่างจะเห็นได้ว่า แค่ตัวละครคิดต่างกันก็สามารถทำให้เนื้อเรื่องมีบทมากขึ้น มีความสมจริงมากขึ้น และความน่าจะเป็นในปมขัดแย้งด้านความคิดมากขึ้น
ยิ่งนักเขียน เขียนประโยคสนทนาได้แตกต่างตามรูปแบบของตัวละครแต่ละตัว นักอ่านก็สามารถเข้าถึงตัวละครนั้นๆ ได้แบบอินสุดๆ เช่นว่าบทพูดประโยคนี้ ใครเป็นคนพูดขึ้น
เพราะตัวละครก็ต้องการเอกลักษณ์เช่นกัน
ลองนึกภาพว่า พระเอก พระรอง ตัวประกอบ ตัวร้าย หน้าตาดีหมดสิ แต่มาแตกต่างกันตรงที่นิสัย อันนี้มันก็ทำให้นักอ่านคิดว่ามันไม่หลากหลาย เพราะจะมีใครในโลกที่หน้าตาหล่อๆ ขั้นเทพกันหมด
ไอ้นั่นก็หล่อ ไอ้นี่ก็หล่อ ต้องมาวัดกันที่ความดี-เลวจากนิสัยอย่างเดียว บางทีมันก็ขาดความสมจริงไปอย่างไม่น่าเชื่อ
ตัวละครหลักบางเรื่องยังดันมีความสูงไล่เลี่ยกันอีก อะไรจะขนาดนั้นล่ะแม่เจ้า!!!
ซึ่งเท่าที่พี่สาวได้ติดตามผลงานของน้องๆ นักเขียนหลายๆ คนในบอร์ด จึงทำให้รู้ว่า การวางตัวละครของพวกน้องๆ บางคนไม่แข็งพอ จุด PEAK บางเรื่อง มันทำให้อินไม่ได้ เพราะตัวละครแทบจะรู้สึกนึกคิดใกล้เคียงกันหมด(เวลาขัดแย้ง ก็เหมือนถูกบังคับให้ต้องขัดแย้งตามโครงเรื่องเสียแน่ะ ไม่เป็นธรรมชาติเอาซะเล้ย!)
เรื่องหน้าตาดีซ้ำๆ กันไม่ว่าหรอก เพราะนักเขียนหลายๆ คน ก็ฝันว่าอยากให้มีแต่หนุ่มๆ หล่อๆ สาวๆ สวยๆ มารายล้อมกันทั้งนั้น แต่บางทีมันก็ทำให้ไม่มีอะไรจะเขียน เพราะเอกลักษณ์ตัวละครมันซ้ำๆ กันไปหมด
บางคนวางหน้าตาตัวละคร อิมเมจได้แตกต่าง รวมไปถึงอุปนิสัย แต่มาตายน้ำตื้นด้วยความไม่สมเหตุสมผลของการกระทำตัวละครซะงั้น!
วางอุปนิสัยตัวละครเอาไว้ แต่ลืมที่จะสวมวิญญาณตัวละครตัวนั้น-ตัวนี้ เข้าไปในบทสนทนา
มันก็ลงท้าย ดำเนินไปตามจุดเดินเรื่องที่วางไว้ แบบทื่อๆ
คือถ้าอุปนิสัยเปลี่ยนกะทันหัน แต่มีบทบรรยายอารมณ์ว่าเปลี่ยนทำไมก็ยังพอเข้าใจ ว่าหมอนี่ปกติมันเป็นคนอารมณ์ดีนะ มันอกหักมันเลยซึมๆ เฉยๆ
ทว่าในส่วนที่พี่สาวเคยอ่านเจอมาจากนิยายของน้องๆ มันคือ..
ปุ๊บปั๊บ เหมือนผีร้ายเข้าสิงตัวละคร!!!
อยู่ๆ ก็ชั่วสุดขีดขึ้นมากะทันหัน แม่เจ้า แถวบ้านพี่สาวเรียกว่า อาการผีเข้านะนั่น
บทจะ ผีออก ก็ออกเอาดื้อๆ ไม่ต้องมาจ้างหมอผีให้ไล่ง่ายๆ
ในบทนี้พี่สาวอยากจะแนะนำให้ดูแลในส่วนของตัวละครให้ดีๆ หน่อย จะสูงต่ำดำขาวอะไร นิสัยยังไง ก็ให้จำลักษณะนิสัยของตัวละคร ก่อนจะสวมบทวิญญาณหลอนเข้าสิงมัน แล้วบรรเลงออกมาเป็นนิยาย
มีทั้งเตี้ย สูงเวอร์ หน้าตาหล่อสุดยอด หล่อปานกลาง ขี้เหร่ นิสัยงี่เง่า บ้าบอ สุขุม เยือกเย็น
แต่ก็ไม่ใช่ว่าให้ออกแบบมาซะหลากหลายแล้วจะมันดีหรอกนะ
เพราะมันต้องคำนึงถึงความสำคัญของตัวละครแต่ละตัวด้วย(ไม่ใช่โผล่มาแล้วก็หายไป แล้วก็โผล่มาใหม่ แบบงง งง แบบ แวบ แวบ)
และฉากแต่ละฉากควรคิดด้วยว่า เวลาแบบนี้คนแบบนั้นจะทำอย่างไร จะพูดอย่างไร จะคิดอย่างไร ลองมองดูความสมเหตุสมผล ก่อนจะปล่อยอารมณ์ให้สวมวิญญาณเป็นตัวละครนั้นๆ แล้วลงมือแต่งเข้าไปในเรื่อง
.ใช่! พี่สาวกำลังจะบอกว่าให้ทำการสร้างอารมณ์ หรือเรียกแบบอินเตอร์คือ บิ๊ว อารมณ์ ก่อนลงมือ
แล้วถ้าเราสร้างอารมณ์แล้วล่ะ?
ถ้าทำแบบนั้นแล้ว บางทีก็ทำให้คนอ่านยิ้มได้ในบางฉาก เช่นว่า คนอ่านนั้นจดจำนิสัยของตัวละครอย่างนาย A ได้ ว่าเจ้านี่เป็นคนเงียบ ไม่ค่อยพูดค่อยจา แต่เวลาสำคัญๆ มันจะพูดแค่หนึ่งที
เอาล่ะพี่สาวจะมาจำลองเหตุการณ์ให้อ่านกันนะ เวลาที่กำหนดฉากให้มีเรื่องยกแก๊งค์ชกต่อยกัน
ยกตัวอย่าง
พี่สาววางอุปนิสัยตัวละครดังนี้
ตัวละคร B : เจ้าหมอนี่ขี้ขลาด มันต้องร้องบอกเพื่อนๆ ก่อนแน่ ในเวลาที่มีเรื่อง และก็วิ่งหนีแบบไม่คิดชีวิต
ตัวละคร C : ไอ้หมอนี่มันประเภท ดุเดือด ล้างผลาญ ขี้คุย ตลกในกลุ่มเพื่อนๆ เอาไง เอากัน จริงใจ รักเพื่อน
ตัวละคร A : เป็นคนใจเย็นสุขุม ไม่ค่อยแสดงออก ในหัวสมองของมันไม่รู้ว่าคิดอะไรอยู่
และพอพี่สาวสวมวิญญาณเป็นตัวละครนั้นๆ ลงไป บทสนทนาเวลาที่ตัวละครนั้นๆ กระทำจะเกิดขึ้นดังนี้
ตัวละคร B : “ฉิบหายละ พวกมันเยอะกว่าพวกเราว่ะ” ว่าแล้วนาย B ก็ออกวิ่งไปด้านหลัง หลบหลีกพวกอันธพาลด้านหน้า หายลับเข้ากลีบเมฆ
ตัวละคร C : “ลุยเป็นลุยสิ กลัวอะไร เราก็มีมือมีเท้าเหมือนกัน” พูดพร้อมหยิบเศษไม้จากถังขยะขึ้นมาพาดไหล่ ก่อนจะยกไม้ชี้ไปทางพวกอันธพาล
แต่จุดเด็ดที่ทำให้คนอ่านอมยิ้ม สะดุ้ง หรือ PEAK อาจเติมเต็มด้วยเจ้า A เพราะจากการที่เคยสัมผัสตัวละคร A มาก่อนเราพบว่าหมอนี่เป็นคนเงียบๆ ไม่ค่อยพูด และเดานิสัยมันไม่ออก เพราะมันเป็นคนขรึมๆ นี่แหละ
แต่ถ้าในฉากนั้น ตัวละคร A มันทำแบบนี้ล่ะ?
ตัวละคร A : “น่าสนุกดีเนอะ” พูดแล้วก็ก้มลงไปหยิบฝาถังขยะขึ้นมา
หรือ
ตัวละคร A : ออกวิ่งตั้งแต่ตัวละคร B ยังไม่ตะโกนบอกประโยคแรกแล้ว ซึ่งพอ B วิ่งไป ก็พบว่ามันกำลังวิ่งตามหลังเจ้า A อยู่
น้องๆ คิดว่า การใช้อุปนิสัยของตัวละครให้เป็นประโยชน์น่าจะช่วยให้นิยายน้องๆ น่าอ่านขึ้นมาบ้างไหมคะ?
ถ้าเลือกใช้ให้ลงจังหวะดีๆ ล่ะก็ อรรถรสและความสนุกของนิยายในฉากนั้นๆ ก็จะเพิ่มขึ้นอีก จากโครงเรื่องนิยายที่เคยคิด หรือวางเอาไว้เป็นเท่าตัว
มาพูดถึงการสร้างอารมณ์ให้เป็นตัวละครนั้นๆ กันดีกว่า
เป็นนักเขียนนี่ดีนะคะ ได้เป็นผู้กำกับ ดารา และเข้าไปอยู่ในโลกที่ตัวเองเป็นพระเจ้า แถมสามารถเข้าไปควบคุมตัวละครได้ด้วยตัวเองอีก
การที่เราเป็นผู้กำกับ นั่นก็หมายความว่าเรา ได้จัดฉาก จัดเหตุการณ์ในนิยายไว้ ควบคุมนักแสดงไปในตัวด้วย (บทบรรยายสถานที่ กริยาต่างๆ ของตัวละคร)
เป็นดาราด้วย นั่นหมายความว่าเราต้องสวมบทบาทเป็นตัวละครที่เราเขียนขึ้น ผู้กำกับให้บทมายังไง เราก็เล่นให้สมบทบาทซะ (บทสนทนา และกิริยาของตัวละครในการเข้าฉากของตัวละครแต่ละตัว)
เป็นพระเจ้า แหม! ก็แน่ละ เราเป็นคนสร้างโลกใบนี้ขึ้นมาให้ตัวละครอยู่นะเนี่ย เราทำได้หมดแหละ แต่ถ้ากำหนดดีๆ ก็ลิขิตชีวิตตัวละครได้ราวกับพระอินทร์ พระพรหมเลยนะนั่น
สุดท้ายอยากจะสวมบทบาทเล่นเป็นใครก็ได้ ตั้งแต่พระเอก นางเอก พระรอง ตัวโกง สนุกที่สุดไปเลย
แต่อย่าลืมว่า ในบทนี้เราพูดถึงในส่วนของดารา(ตัวละคร)
และสิ่งที่ดาราต้องทำก็คือ เล่นให้ สมบทบาท
สวัสดีค่ะ สำหรับบทนี้ไม่มีอะไรมาก น้องๆ บางคนอาจจะทำได้ดีอยู่แล้ว แต่บางคนก็ยังอ่อนในเรื่องนี้อยู่ รวมไปถึงบางคนเป็นหนักเข้าจนกระทั่งคิดชื่อตัวละครไม่ออกอีกแน่ะ
บอกตรงๆ ว่า ง่ายค่ะ ลองดูแล้วจะสนุก ถ้าอ่านจบแล้วย้อนกลับไปเขียน ไปแก้ได้เลย เอาให้สมบทบาทของดารานะคะ สายัณสวัสดิ์
หวังว่างานเขียนชุดนี้น้องๆ จะได้ประโยชน์สักหน่อยเนอะ และ ได้โปรดสละเวลาอันมีค่าคอมเม้นต์ให้พี่สาวกันสักนิดด้วยเถิดค่ะ(ห้าๆ (หัวเราะร่า) เห็นนักเขียนหลายคนทำกัน เอ้า! ลองเขียนแบบนี้ดูมั่ง ทั้งๆ ที่จริงขอแค่น้องๆ ได้อ่านแล้วได้ประโยชน์กันไปก็พอใจแล้ว แต่คำคอมเม้นต์นี่ มันช่วยกระตุ้นให้สร้างงานได้ง่ายจริงๆ เลยนะตัวเอ๊ง!!!)
จากบทนี้ขอหยุดงานเขียนแนะนำสัก วันสองวันก่อนนะเจ้าคะ ใครคิดถึงกัน อยากอ่านเพื่อเพิ่มกำลังใจในการเขียนนิยาย ก็ไปต่อกันได้ที่นี่เลยเจ้าค่ะ
รวมเรื่องสั้นเสริมสร้างแรงบันดาลใจ ชุด แรงบันดาลใจนี้ เพื่อเธอ คลิกโลด แม่เจ้า!!!
ซึ่งน่าจะช่วยได้ไม่มากก็น้อยล่ะค่ะ จากงานเขียนชุดนี้
ส่วนช่วงนี้พี่สาวกำลังซุ่มแต่งนิยายแฟนตาซีอยู่ กำลังคิดว่าจะเอามาลงไว้ในนี้ดีไหม และเอาพวกงานที่เคยตีพิมพ์แล้วมาบอกกล่าวด้วยไปเลยดีรึเปล่า(แอบโฆษณา คริ คริ)
แต่จริงๆ แล้ว ก็แค่อยากลงเรื่องให้อ่านฟรีแบบเรื่องของคนอื่นเขามั่ง จะได้มีน้องๆ ที่สนใจมาพูดคุยถึงโลกที่พี่สร้างบ้างก็เท่านั้นแหละ (จริงๆ แล้วเป็นการกระตุ้นตัวเองให้ปั่นงานได้เร็วไปในตัว ดังนั้นเร็วๆ นี้ ถ้าไม่ติดอะไรน้องๆ (ที่รอติดตาม) คงได้อ่านกันตามปกติ)
สวัสดีอีกครั้ง ทิงนองนอย
ความคิดเห็น