คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #13 : มาใช้จิตวิทยากับคนอ่านกันเถอะ
ขอประชาสัมพันธ์กันก่อน
อยากให้นักเขียนทุกเพศทุกวัย เข้าร่วมที่นี่ [คลิก]
เพราะ 1 เรื่องสั้นดีๆ (แนวให้กำลังใจ)ของท่าน อาจสามารถช่วยเพื่อนนักเขียนด้วยกันได้อีกหลายคน เชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา เพื่อพัฒนาสังคมนักเขียนออนไลน์ให้ก้าวกระโดด เสียสละเวลาสักนิด เพื่อเป็นหนึ่งแรงเพื่อส่งเสริมวงการ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาใช้จิตวิทยากับคนอ่านกันเถอะ
ขึ้นชื่อว่าจิตวิทยา หลายๆ คนคงคิดไปไกลว่า “ฉันต้องเรียนหลักสูตรนี้มาโดยตรงหรือเปล่า ถึงจะนำมันมาใช้ได้” แต่เปล่าเลยค่ะ ทุกคนใช้ได้ เพียงแค่คิดให้เป็นเท่านั้น
จิตวิทยาในงานเขียนนิยาย เรามักรู้จักกันในนามว่า หักมุม
ซึ่งมันคือการเขียนให้คนอ่านถูกชี้นำไปอีกทาง แต่ที่จริงนั้นไม่ใช่ และด้วยเหตุนี้เอง พอถึงตอนเฉลย คนอ่านถึงกับต้องจดจำฉากนั้นๆ ไปตลอดระยะเวลาหนึ่งเลยทีเดียว
ฉากแบบนี้ถูกนำมาใช้ในนิยาย ชุด แฮรี่ พอตเตอร์
ยกตัวอย่างเช่นตอน นักโทษแห่งอัซคาบัน (คิดว่าน้องๆ คงเคยอ่านนิยายชุดนี้ หรือเคยดูหนังชุดนี้แน่ๆ เลยนำมายกตัวอย่าง)
สังเกตได้ว่าจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผู้แต่ง เขียนชักจูงให้ความหวังว่า คนที่ช่วยตัวเอกผ่านพ้นวิกฤติคือพ่อของเขา
ซึ่งระยะเวลาในบทบรรยายทั้งหลายที่ตัวเอกบอกกล่าว จะพูดถึงว่า เวลานั้นเขาเห็นอะไร (ผู้พิทักษ์ที่เป็นกวาง ที่ตัวเอกคิดว่าพ่อของเขาเป็นคนเสกขึ้นมา)
และพอเอาเข้าจริงๆ ตัวเอกกลับย้อนเวลาได้จากนาฬิกาของเฮอไมโอนี่ และก็เป็นตัวเขาเองอีกครั้งที่เป็นผู้เสกคาถาผู้พิทักษ์ไล่ผู้คุมวิญญาณ หาใช่พ่อของเขาไม่!!
ในเวลานี้เองที่ทำให้คนอ่านรู้สึกคลี่คลาย เพราะผู้อ่านหลายๆ คนคงคิดจินตนาการไปคนละแบบแล้ว พอเจอเฉลยเข้า บางคนอาจจะจับทางถูก แต่สำหรับคนที่จับทางไม่ถูกเลยนั้น จะรู้สึกประทับใจขึ้นมาทันที
ใช่ ในบทนี้เราจะมาสอนให้นักเขียนหลายๆ คนรู้จักคำว่า หักมุม จิตวิทยา หรือนิยายที่ต้องใช้หัวสมองของคนอ่านในการคาดเดาเรื่อง
จะเขียนให้หักมุมได้ ต้องมีการเขียนชักจูงให้คนอ่านรู้สึกว่าแนวเรื่องไปอีกทางก่อน ก่อนจะตลบหลังว่ามันไม่ใช่
โดยทั้งหมดที่ว่ามานั้น มันสำคัญที่โครงเรื่อง การวางโครงเรื่องที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
ยิ่งเขียนให้นักอ่านไม่สามารถเดาเรื่องออกเลย(ต้องใช้มันสมองมากหน่อย) เรื่องนั้นยิ่งสนุก ไม่ว่าจะเป็นนิยายประเภทไหนก็ตาม
คำถาม?
จะเริ่มใช้จิตวิทยากับนักอ่านได้อย่างไร
ลองจินตนาการก่อนนะว่า น้องๆ เดาใจคนอ่านได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าน้องๆ คิดอยากจะทำให้คนอ่านจับทางน้องๆ ไม่ได้ น้องๆ ต้องหัดคิดแบบคนอ่านเขาเสียก่อน
ง่ายๆ เราเริ่มจากการดูหนังที่เรายังไม่เคยดูสักเรื่องหนึ่ง และพยายามนั่งเดาเหตุการณ์ข้างหน้าของมัน ถ้าหนังเรื่องไหนที่น้องๆ ไม่สามารถเดาทางมันได้เลย ให้ลองยกวิธีที่มันใช้มาพิจารณา(ไม่ใช่ให้ลอกเขามานะเอ้อ)
มุมมองในการบรรยาย(มุมมองในภาพยนตร์) ส่วนมากเจ้าพวกนี้จะทำให้เราคิดว่าเรื่องจะไปทางไหน ดังนั้นการเลือกใช้มุมมองเพื่อจูงใจคนอ่านก่อนจะหักมุมนั้นมีโอกาสทำได้ดี และมากกว่าวิธีอื่นๆ
แนะนำให้ไปหาหนังเรื่อง Butterfly Effect มาดู แล้วแนวคิดน้องๆ จะเปิดกว้างขึ้นอีก หรือเสาะหาหนังประเภทนี้แหละ มาลิ้มรส(มีหลายเรื่อง)
สาเหตุที่พี่สาวแนะให้ไปดูนู่น หัดนี่ ไม่ใช่เพราะว่าอธิบายออกมาไม่ได้หรอกนะ แต่เพราะมันเข้าใจลำบากมากกว่า เพราะการจะสอนให้เขียนแบบนี้ แบบนั้น มันก็ใช่ว่าจะประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
สู้แนะนำให้น้องๆ ไปสัมผัสเองโดยตรง มันจะทำให้น้องๆ รู้ทริค วิธีการต่างๆ ได้เองจะดีกว่า
ก็ดังสุภาษิตเขาเล่าว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือทำ
น้องๆ ควรจะเริ่มเขียนจากเรื่องสั้น ฝึกปรือมันเข้าไป เพราะเรื่องสั้นมันมีความกระชับ ง่าย สะดวก และหักมุมได้ง่าย
มันอาจจะเริ่มจาก 1 หน้ากระดาษในตอนที่น้องๆ ฝึกหัด และพัฒนาไปเรื่อยๆ จนมีความยาวกว่า 150 หน้าก็เป็นได้
สิ่งสำคัญคือต้องฝึก การฝึกที่ง่ายที่สุด คือนั่งเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า ในนิยายที่น้องๆ อ่าน หรือภาพยนตร์ที่น้องๆ ดู(ไม่ใช่มานั่งเดาเหตุการณ์ในหนัง หรือนิยายที่เคย ดู/อ่าน แล้วนะ ต้องเป็นเรื่องที่เรายังไม่เคยสัมผัสกันมาก่อน)
แล้วมานั่งประเมินว่า เราเดาได้ถูกกี่ตอน กี่บท กี่ย่อหน้า ซึ่งพอเราเดาได้บ่อยๆ เราก็จะจับทางได้ว่า คนอ่านมักโดนชักจูงไปทางไหน และเราจะเขียนอย่างไรให้แตกต่าง(เพื่อให้คนอ่านเดาไม่ออก)
แน่นอน พอเรารู้แล้วว่าแนวทางนั้นมีคนใช้บ่อยๆ มันนำมาใช้ไม่ได้แล้ว เพราะคนอ่านจะเดาเรื่องได้ เราก็ต้องคิด และประยุกต์ออกมาสักหน่อย เพื่อให้คนอ่านจับทางเราไม่ได้
สิ่งสำคัญที่ต้องใช้คือ
การเขียนบทบรรยาย
เนื่องด้วยว่าเราจะเขียนบรรยายอย่างไรให้คนอ่านจับทางเราไม่ได้ เพราะเราต้องการจะหักมุมในตอนท้าย
เช่นว่า มีฆาตกรต่อเนื่อง ฆ่าคนเป็นร้อยศพ พระเอกตามสืบอยู่นาน แต่จริงๆ แล้วพระเอกนี่แหละที่เป็นฆาตกรเสียเอง
แล้วเราจะใช้เทคนิคอย่างไรล่ะ ให้คนอ่านจับไม่ได้
ตอบได้เลยว่า มุมมอง เจ้าค่ะ ถ้าวางหมากดีๆ ตอนเฉลยยิ่งได้ใจคนอ่าน ดังนั้น ลองย้อนกลับไปอ่านบท POV มุมมองที่พี่สาวเคยเขียนไว้นะคะ
จิตวิทยา หักมุม สามารถนำไปใช้ได้ทุกประเภทของนิยาย ตั้งแต่หวานแหวว ซึ้งกินใจ แฟนตาซี ผจญภัย สืบสวน หรือบทความเชิงปรัชญา
นักเขียนที่ใช้เทคนิคนี้ในการเขียน ส่วนมากจะทำให้คนอ่านชื่นชอบ เพราะคนอ่านไม่สามารถเดาเรื่องได้ จึงเหมาะแก่การติดตามอ่านเรื่อยๆ
สุดท้ายพี่สาวอยากขอฝากฝังว่า ความรู้ไม่มีวันจบสิ้นเจ้าค่ะ อยากเขียนอะไร แบบไหน พี่สาวอยากให้พยายามค้นคว้ามาเสียก่อน แล้วดูภาพโดยรวมทั้งหมด ว่ามีใครใช้เทคนิค บท หรือไอเดียแบบไหนไปแล้ว แล้วเราค่อยนำมันมาพัฒนาเป็นสิ่งใหม่เพื่อนำเสนอจะดีกว่า
สวัสดี
ท้ายบทความนี้ขอขอบคุณน้องๆ เพื่อนๆ(ถ้ายังมีรุ่นอายุ 30 Up มาอ่าน) และพี่ๆ ที่กรุณาติดตามบทความชุดนี้อย่างเสมอมา ซึ่งกลเม็ดที่อยากส่งท้ายให้ไปคิดกันจริงๆ แล้วนั้น
มีเพียง จินตนาการ (ไอเดีย) เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าเจ้านี่ไม่ดีแล้ว อย่างอื่นก็ไม่น่าจะดีเท่าไหร่
ดังนั้น การรีแลก หาสิ่งแปลกใหม่จากรอบๆ ตัวมาใช้ พี่สาวถือว่าเป็นกลเม็ดที่ฉลาดที่สุดก็ว่าได้
ความคิดเห็น