ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นั่งนานเกินไป...ถึงตายได้!

    ลำดับตอนที่ #3 : อาการของโรค DVT

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 160
      0
      21 พ.ค. 49

      
     
    โดยทั่วไปมีดังนี้คือ มีอาการปวด บวมแดง บริเวณน่องหรือข้อเท้า จะสังเกตได้ว่าเวลาอยู่ บนเครื่องบินนานๆ นั้น จะสวมรองเท้ากลับเข้าไปอีกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากเท้าบวมเพราะไม่ได้ เคลื่อนไหวทำให้เกิดลิ่มเลือดก้อนเล็กๆ และน้ำลงมาคั่ง แต่ลิ่มเลือดเหล่านี้จะละลายไปได้เองโดย ไม่ก่ออันตรายใดๆ ยกเว้นในบางรายที่เคราะห์ร้าย ลิ่มเลือดจะแตกตัวเป็นลิ่มเล็กๆ แล้วไหลไปตาม กระแสโลหิตไปยังหัวใจห้องด้านขวา และไหลลงสู่ปอดทำให้รู้สึกเสมือนหายใจไม่เต็มปอด หรือ บางครั้งก็เกิดอาการไอได้เช่นกัน แต่ถ้าลิ่มเลือดนั้นเป็นชิ้นใหญ่ก็จะมีผลทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งเราๆ ท่านๆ คงจะได้รับฟังข่าวทำนองว่ามีผู้โดยสารเกิดหัยวใจวายขณะกำลังโดยสารเครื่องบินอยู่ ซึ่งถ้า สืบค้นทางการแพทย์อย่างละเอียดแล้ว สาเหตุของการเกิด หัวใจวายอาจจะเกิดจากการนั่งเครื่อง นานๆ จนเกิดลิ่มเลือดไหลเข้าไปอุดตันในหัวใจ ทำให้หัวใจวายก็ได้

    ที่สนามบิน Heathrow กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้มีการศึกษาถึงผู้โดยสารที่เสียชีวิต หลังจากบินมาจากที่อื่นในระยะไกล เพื่อมาที่สนามบิน Heathrow ในช่วงระยะเวลา 3 ปี พบว่าได้มี ผู้โดยสารเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายในเครื่องบินรวมกันได้ถึง 11 คน ส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตจะเป็น ผู้หญิง อายุเกินกว่า 40 ปีขึ้นไป และมีประวัติป่วยเป็นโรค DVT บางคนเป็นโรคอ้วน สูบบุหรี่จัด ดื่ม สุราเป็นประจำ และบางคนรับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ที่มีร่างกายสูงซึ่งมีท่อนขายาวนั้นจะมีแนว โน้มที่จะเกิดลิ่มเลือดในน่องมากกว่าคนที่มีท่อนขาสั้น

    ในปี พ.ศ. 2497 ได้มีรายงานถึงโรค DVT อันเกิดจากการโดยสารเครื่องบิน โดยนายแพทย์ ผู้หนึ่งได้บรรยายถึงการโดยสารเครื่องบินจากบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกาไปยัง ประเทศ เวเนซุเอลา (Venezuela) โดยต้องต่อเครื่องบินใช้เวลาเดินทางบนเครื่องทั้งหมดประมาณ 12 ชั่วโมง นายแพทย์ผู้นั้นกล่าวว่า หลังจากการเดินทางครั้งนั้นเขาก็เริ่มป่วยเป็นโรค DVT

    อีกรายหนึ่งเป็นผู้บริหารการบินเพศชายวัย 61 ปี ได้บินจากเมืองโรเซสเตอร์ (Rochester) รัฐมินเนโซต้า (Minnesota) เพื่อกลับบ้านที่อยู่ในรัฐโอกลาโฮมา (Oklahoma) สหรัฐอเมริกา ขณะที่ อยู่บนเครื่องนั้น เขาสังเกตเห็นว่าน่องข้างซ้ายของเขานั้นบวมมาก วันรุ่งขึ้นหลังจากกลับมาถึงบ้าน อาการยิ่งทรุดหนัก โดยปวดทั่วไปหมดทั้งขา มิได้ปวดเฉพาะน่องเขาจึงไปพบแพทย์และได้รับการ ผ่าตัดใน 6 สัปดาห์ต่อมา

    แต่รายที่เป็นที่กล่าวขวัญกันมากก็คือ อดีตรองประธานาธิบดี แดน เควล (Dan Quayle) ของ สหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งในปี พ.ศ. 2537 นั้นท่านได้ป่วยเป็นโรค DVT ที่ขาหลังจากการเดินทางระยะ เวลายาวนานบนเครื่องบิน ก้อนเลือดเล็กๆ ได้ไหลไปอุดตันที่ปอด ทั้งสองข้าง อดีตรอง ประธานาธิบดี แดน เควล ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 47 ปี ได้บ่นว่าหายใจขัด ครั้งแรกแพทย์ได้วินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรค ปอดบวม หลังจากได้รับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งในโรงพยาบาล คณะแพทย์จึงได้พบว่ามีก้อน เลือด อุดตันในปอดทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นอันตรายมาก คณะแพทย์จึงได้ให้ยารับประทานเพื่อละลายลิ่มเลือด ทำให้ความข้นของเลือดจางลง แดน เควล ต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาลถึง 8 วัน จึงกลับบ้านได้ และ จะต้องอยู่ในช่วงระวังรักษาสุขภาพอยู่ถึง 4 เดือน จึงจะกลับไปทำงานได้ตามปกติ ตลอดระยะเวลา การดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา แดน เควล ต้องผจญกับโรค DVT ตลอดมา

    อีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นแพทย์ชาย สุขภาพแข็งแรง ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไม่มีประวัติว่าเป็นโรคหัวใจ ครั้งหนึ่งแพทย์ผู้นี้ได้เดินทางโดยเครื่องบินบ่อยครั้งมากในระยะ เวาลา 4 สัปดาห์ เพื่อไปบรรยายในแถบประเทศตะวันออกไกล ปกติเขาจะเลือกนั่งตรงที่นั่งด้านในของ เครื่องเช่นตรงริมหน้าต่าง ในวันสุดท้ายของการเดินทางครั้งนั้น เขารู้สึกปวดตึงที่น่องข้างซ้าย และมี อาการบวมร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้ยังคงเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ และต่อมาเขารู้สึกเจ็บที่หน้าอก ขณะเล่นเทนนิส ซึ่งเขาก็ยังละเลยไม่ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค

    สามสัปดาห์ต่อมา แพทย์ผู้นั้นมีความจำเป็นต้องเดินทางจากสหรัฐอเมริกามายังประเทศ ญี่ปุ่น และอยู่ทำธุระประมาณ 2 วัน จึงบินกลับ เมื่อกลับมาถึงบ้าน เขารู้สึกเจ็บหน้าอกด้านซ้ายมาก ขึ้น จะมีอาการปวดหัวไหล่าซ้ายร่วมด้วย ครั้งแรกแพทย์วินิจฉัยว่าเขาป่วยเป็นโรคปอดบวมและให้ ยาปฏิชีวนะ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จึงได้ตรวจรักษาอีกครั้ง และพบว่ามีลิ่มเลือดเล็กๆ อุดตันอยู่ตาม ปอด ดังนั้นแพทย์จึงให้รับประทานยาละลายลิ่มเลือดเป็นเวลา 3 เดือนจนหายป่วย และไม่กลับมา ป่วยอีก แพทย์แนะนำให้เขารับประทานยาแอสไพรินวันละ 150 มก. เพื่อป้องกันโรคนี้ อันอาจจะ เกิดซ้ำขึ้นได้อีก และเมื่อใดก็ตามที่เขาต้องเดินทางโดยเครื่องบินในระยะไกลๆ เขาจะเลือดที่นั่งตรง เก้าอี้ริมทางเดิน เพราะมีพื้นที่ให้เหยียดแข้งเหยียดขามากกว่าเก้าอี้ตัวในที่เขาเคยชอบนั่ง หลีกเลี่ยง เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และ รับประทานน้ำมากๆ และลุกขึ้นเดินไปมาบ้าง เพื่อไม่ให้เลือดที่ขาจับตัวเป็นลิ่ม

    นักบินก็เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน มีรายงานว่าได้มีนักบินชายสุขภาพแข็งแรง รูปร่างสูงใหญ่ อายุราว 30 ปี ได้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกหลังจากทำการบินเสร็จสิ้นแล้ว แพทย์ตรวจพบว่าป่วยเป็น โรคเส้นเลือดดำอุดตันที่บริเวณน่อง แพทย์จึงได้ทำการให้ยาบำบัดจนกระทั่งเป็นปกติ แพทย์ได้แนะ นำให้บรรดานักบินได้เดินไปเดินมาเพื่อยืดเส้นยืดสายบ้าง หรือทำท่าบริหารง่ายๆ เพื่อผ่อนคลาย ความเมื่อยล้าและความตึงเครียด


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×