ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Tip : การดูแลรักษารถยนต์

    ลำดับตอนที่ #4 : วิธีการดูแล Intercooler

    • อัปเดตล่าสุด 15 ส.ค. 50


    วิธีการดูแล Intercooler


    การดูแล Intercooler
    อินเตอร์คูลเลอร์ คือ อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ทำหน้าที่ลดความร้อนของไอดีที่ส่งมาจากระบบอัดอากาศ เช่น เทอร์โบชาร์จหรือซูเปอร์ชาร์จ ก่อนผ่านเข้าสู่ท่อร่วมไอดี และเครื่องยนต์ ไอดีหรืออากาศที่มีความร้อนสูง จะมีความเบาบาง และออกซิเจนน้อย ทำให้การสันดาปไม่รุนแรงเท่าที่ควร ไม่ได้กำลังสูงอย่างที่ควรเป็น เพราะการใช้ระบบอัดอากาศแสดงว่าต้องการเพิ่มแรงบิดและ/หรือแรงม้าของเครื่องยนต์ให้มากกว่าเครื่องยนต์ธรรมดาอยู่แล้ว

    นอกจากไอดีจะเบาบางเมื่อร้อนแล้ว ยังเสี่ยงต่อการชิงจุดระเบิดอีกด้วย ดังนั้นการทำให้ไอดีลดความร้อนลง จึงเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเครื่องยนต์ที่มีระบบอัดอากาศ เพราะจะได้กำลังเต็มเม็ดเต็มหน่วย และลดความเสี่ยงต่อการชิงจุดระเบิด นอกจากข้อเสียที่ไม่ตรงตัวนัก คือ เงินที่เสียไป และอาการอรอบที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (เพราะต้องอัดอากาศในปริมาตรที่เพิ่มขึ้น) แต่โดยรวมแล้ว การติดตั้งอินเตอร์คูลเลอร์ล้วนมีแต่ผลดี โดยอินเตอร์คูลเลอร์มี 2 แบบหลัก คือ


    Air to Air
    ระบายความร้อนด้วยอากาศล้วน ๆ อุปกรณ์มีรูปร่างคล้ายหม้อน้ำ มีช่องทางเดินอากาศ หรือหลอดถี่ ๆ อยู่ภายใน และไม่มีน้ำหมุนเวียน แต่เป็นไอดีที่ถูกอัดจากระบบอัดอากาศ เมื่อไหลผ่าน ความร้อนของไอดีจะถ่ายทอดสู่ตัวอินเตอร์คูลเลอร์ ซึ่งมีครีบละเอียดอยู่ภายนอกคอยให้อากาศไหลผ่าน เพื่อดึงความร้อนออกไป ได้รับความนิยม และมีใช้กันแพร่หลายกว่าแบบที่ 2

    Water to Air
    ระบายความร้อนด้วยน้ำและอากาศ ไอดีจะไหลผ่านอินเตอร์คูลเลอร์ที่มีหลายช่องเล็ก ๆ โดยรอบ ๆ ช่องนั้น ถูกล้อมรอบและไหลเวียนด้วยน้ำ น้ำก็จะต่อท่อไปยังหม้อน้ำขนาดเล็ก (แยกจากเครื่องยนต์) และคลายความร้อนของน้ำโดยใช้อากาศผ่านครีบภายนอกของหม้อน้ำ แล้วน้ำที่ลดความร้อนลง ก็หมุนเวียนสู่อินเตอร์คูลเลอร์ต่อเนื่องไป ไม่ค่อยนิยมใช้เพราะยุ่งยาก และถ้าติดตั้งไม่ดีก็จะลดความร้อนได้ไม่ดีเท่าที่ควร

    อินเตอร์คูลเลอร์ที่ดีนั้น จะต้องลดความร้อนของไอดีให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่ขนาดใหญ่ที่สุด เพราะถ้าใหญ่เกินไป ทำให้เกิดอาการรอรอบ บูสต์มาช้า ปริมาตรโดยรวมของระบบไอดีเพิ่มขึ้น โดยไม่มีเรื่องที่ต้องกังวลว่าไอดีจะเย็นเกินไป เพราะยิ่งเย็นยิ่งดี และยังไงก็ต้องร้อนกว่าอากาศภายนอกที่ถูกดูดเข้ามา เพราะถึงจะคลายความร้อน แต่ก็เป็นอากาศที่ถูกอัดตัวเป็นแรงดันสูงกว่าอากาศปกติ

    อินเตอร์คูลเลอร์ที่ดีของคนทั่วไปที่มองอย่างผิวเผิน คือ ใบโต ๆ กว้าง ๆ สูง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เน้นตกแต่งเพิ่มความแรง จะฮือฮาเมื่อเห็นอินเตอร์คูลเลอร์ขนาดใหญ่ ๆ ติดตั้งไว้ด้านหน้า ยิ่งคว้านกันชนโชว์ และรับลมยิ่งแจ๋ว

    ในด้านประสิทธิภาพการระบายความร้อน ไม่ได้มีแค่ขนาดพื้นที่หน้าตัด (กว้าง x ยาว) เท่านั้นที่เกี่ยวข้อง แต่ยังมีเรื่องของพื้นที่ของครีบ และรอบหลอดภายนอกที่สัมผัสกับลม และลมผ่านได้มากหรือน้อย รวมถึงอีกสารพัดเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น



    -ตำแหน่งการติดตั้ง เมื่อขนาดใหญ่แล้วต้องลมผ่าน ไม่ใช่ลมปะทะเต็มหน้า แต่ด้านหลังอินเตอร์คูลเลอร์มีช่องว่างแค่บางส่วน ลมก็ไม่ผ่าน คล้ายกับเปิดหน้าต่างห้องไว้บานเดียว ลมก็ไม่ผ่าน แต่พอเปิดหน้าต่าง 2 บานตรงกัน ลมผ่านฉิวเลย หรือซุกไว้ในส่วนที่ลมผ่านออก
    - ขนาดและจำนวนของหลอดภายในที่ไอดีต้องไหลผ่าน ถ้าเล็กเกินไป ไอดีไหลไม่สะดวก ก็เกิดการอั้นและร้อน

    - วัสดุที่นำมาผลิตอะลูมิเนียมมีสารพัดชนิดของส่วนผสม แต่ละชนิดก็มีค่าการอมและคายความร้อนแตกต่างกัน

    - ความหนาโดยรวมของตัวอินเตอร์คูลเลอร์ก็เกี่ยวข้อง บางเกินไปพื้นที่สัมผัสอากาศน้อย แต่ลมผ่านง่าย ถ้าหนาลมผ่านยากกว่าก็จริง แต่มีพื้นที่สัมผัสอากาศมากกว่า ต้องมีความพอดี ไม่ใช่หนา 6 นิ้ว จะดีกว่าหนา 2 นิ้วเสมอไป

    นอกจากนั้น ยังเกี่ยวข้องกับความสกปรกภายใน-ภายนอก และสภาพของครีบภายนอกอีกด้วย



    อินเตอร์คูลเลอร์ของเก่าเชียงกง
    อินเตอร์คูลเลอร์เชียงกง ผ่านการใช้งานมาแล้ว ย่อมมีคราบสกปรกภายใน และมีสภาพภายนอกที่ช้ำ ทั้งจากการถอดและการขนส่ง ล้วนขาดความระมัดระวัง โดยเฉพาะจากการขนส่งที่รวม ๆ กันมากับชิ้นส่วนอื่น มักมีการบุบ แอ่น และที่สำคัญ คือ ครีบลม

    อินเตอร์คูลเลอร์ที่ผ่านการใช้งานอยู่ในรถยนต์ ถ้าไม่มีการชนก็ไม่บุบ แต่ก็หนีไม่พ้นความสกปรกทั้งภายนอก และภายใน

    ความสกปรกของภายในของหลอดทางเดินไอดี และการระบายความร้อนไอดีที่ปกติต้องไหลผ่านหลอดเล็ก ๆ ถี่ ๆ ก็ลำบากอยู่แล้ว ถ้ามีคราบสกปรกทำให้หลอดเล็กลงไปอีก ก็จะเกิดอาการอั้นการไหล และไอดีที่ไม่ได้สัมผัสกับผิวด้านในของหลอดอะลูมิเนียมโดยตรง เพราะมีคราบสกปรกคั่นอยู่ ก็จะส่งผลให้การถ่ายเทความร้อนไม่ได้

    ครีบภายนอกที่ล้ม ก็ส่งผลให้ลมผ่านได้น้อยลง กลายเป็นเพียงลมปะทะด้านหน้าของส่วนที่ตันเท่านั้น ส่วนคราบสกปรกที่เกาะอยู่ภายนอก ก็ส่งผลให้ลมไม่ได้ปะทะและไหลโดนอะลูมิเนียมโดยตรง การถ่ายเทความร้อนต้องมีคราบสกปรกคั่นอยู่เสมอ จึงลดความได้ไม่ดีเท่าที่ควร

    การล้างภายในอินเตอร์คูลเลอร์ที่มีหลอดเล็ก ๆ ถี่ ๆ ต้องใช้ของเหลวใส่เข้าไป อุดแล้วเขย่า และเทออก ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ของเหลวที่ใส่เข้าไปต้องมีคุณสมบัติเป็นตัวทำลาย เช่น รอบแรกใส่น้ำมันโซล่า รอบที่สองที่สามใส่น้ำมันก๊าด หรือเบนซิน ให้ระวังเรื่องเพลิงไหม้จากความไวไฟของน้ำมันที่ใช้ล้างด้วย ไม่มีความจำเป็นต้องเป้าแห้ง ถ้าจะเป่าต้องใช้ลมจากปั๊ม ไม่ใช่ไดร์เป่าผมหรือโบล์เวอร์ เพราะอาจเกิดการลุกไหม้ขึ้น

    การล้างภายนอก จะใช้โฟมสเปย์ในการล้าง แต่อาจล้างด้วยวิธีง่าย ๆ ใช้แช่ในน้ำมัน แล้วใช้แปรงช่วยทำความสะอาด ล้างออกด้วยน้ำสะอาด และถ้าจะให้ดี ควรตามด้วยการเป่าลมไล่สิ่งสกปรก

    นอกจากการล้างครีบแล้ว การทำความสะอาดฝาครอบหัวท้ายก็มีความจำเป็น เพื่อให้อากาศได้สัมผัส และไหลผ่านส่วนนั้นได้โดยตรง ไม่มีคราบสกปรกคั่งอยู่ แม้ส่วนนี้จะไม่ใช่ครีบ แต่ก็สามารถช่วยระบายความร้อนได้

    การแต่งครีบ ไม่ยาก ใช้คีมปากจิ้งจกขนาดเล็ก หรืออะไรแบน ๆ ไล่ตัดไล่แซะให้ครีบมกลับมาเป็นทรงปกติ

    ทำไม่กี่ขั้นตอน ก็จะได้อินเตอร์คูลเลอร์ที่มีหลอดอากาศภายในที่โล่งสะอาด และครีบภายในอกที่สะอาดและไม่ล้ม ลมผ่านได้สะดวก


    ขั้นตอนการรีบิลด์อินเตอร์คูลเลอร์ด้วยตัวเอง
    1. สภาพของอินเตอร์คูลเลอร์มือ 2 แม้ว่าจะโทรมสักหน่อย แต่ก็ไม่ยากที่จะรีบิลด์ด้วยตัวเอง

    2. ขั้นตอนง่าย ๆ ของการทำความสะอาดอินเตอร์คูลเลอร์ก่อนนำมาใช้ เริ่มจากการใส่สารละลาย เช่น น้ำมันเบนซิน หรือน้ำมันโซล่าเข้าไปข้างใน จากนั้นเอามือปิดหัวท้ายแล้วเขย่าสัก 1-2 นาที และถ่ายออกเป็นอันเสร็จ ถ้าไม่มั่นใจในความสะอาดก็ทำหลาย ๆ รอบ

    3. สำหรับความงามภายนอก ก็ใช้พวกครีมขัดโลหะจัดการเช็ดฝา และใช้โฟมสเปรย์ ทำความสะอาดเครื่องยนต์ ทำความสะอาดบริเวณครีบ

    4. ส่วนครีบที่ล้ม ๆ ก็ใช้ครีมปากจิ้งจก และไขควงค่อย ๆ ดัดให้คืนสู่สภาพเดิม เพื่อให้ลมผ่านได้ดี เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อน

    5. หลังผ่านขั้นตอนการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งไม่ยากอย่างที่ติด ก็จะได้อินเตอร์คูลเลอร์เก่าที่มีสภาพเหมือนใหม่ ด้วยการลงเงินและลงแรงไม่มากนัก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×