คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : รัชกาลที่ 9 วันที่ 9 เดือน 9 ค.ศ. 09 เวลา 9.09
ชาวพิมลวิทย์ร่วมถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ
ด้วย ในวันนี้ตรงกับวันที่ 9 เดือนกันยายน พุทธศักราช 2552 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันที่ 9 เดือน 9 ค.ศ. 2009 ซึ่งทางโหราศาสตร์ถือได้ว่าเป็นวันดี เป็นวันมงคล เพราะประกอบด้วย เลข 9 หลายตัว คือทั้งวัน เดือน และปี ซึ่งหมายถึงความเจริญก้าวหน้า เหมาะที่จะกำหนดงานมงคล เริ่มต้นสิ่งใหม่ในชีวิต และเหมาะที่จะอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
ดัง นั้น ทางราชการจึ่งได้เชิญชวนให้พวกเราทุกคนพร้อมใจกันถวายพระพรให้แก่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่เป็นที่รักและบูชาของปวงชนชาวไทยทุกคนให้ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีพระชนมายุยิ่งนาน
สิ่ง ต่างๆ ที่เราทำในเช้าวันนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งซึ่งเราในฐานะที่เป็นปวงชนชาวไทยคน หนึ่งที่จะตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ซึ่งเป็นผู้ที่มีแต่การให้โดยตลอด โดยมิได้หวังสิ่งตอบแทนแต่อย่าใด
คำกล่าวถวายสดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ทรงเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นอเนกประการ สุดที่จะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้นทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ” ได้แก่
1. ทาน หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครองแผ่นดิน พระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและแนวทางพัฒนาชาติ พระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์
2. ศีล หรือการตั้งและทรงประพฤติพระจริยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ
3. บริจาค ได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของพระองค์
4. ความชื่อตรง ได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อพระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร์
5. ความอ่อนโยน หรือเคารพในเหตุผล ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่เสมอกันและต่ำกว่า
6. ความเพียร หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือการที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้เป็น ไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน
7. ความไม่โกรธ หรือ ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับพระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใดไม่ทรง พระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้ทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้
8. ความไม่เบียดเบียน คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครองประชาชนดังบิดาปกครองบุตร
9. ความอดทน คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัยและพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย
10. ความเที่ยงธรรม คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปภัมภ์ ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดยปราศจากอำนาจอคติ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย
ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฏิบัติโดยเคร่งครัดและส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับ เป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ แก่ประชาชนชาวไทยและชาวประเทศที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทุกชาติทุกภาษา
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงสนพระทัยต่อความเป็น อยู่ของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน และทรงมีน้ำพระทัยต่อปวงชนประชาอย่างยากที่จะประมุขของชาติใด และองค์ใดเสมอเหมือน อีกทั้งทรงเป็นศูนย์รวมน้ำใจและเป็นที่สักการะของเหล่าปวงประชาอย่างแท้จริง พระองค์ทรงลดพระองค์ลงใกล้ชิดกับราษฎรอย่างมิได้ทรงถือพระองค์หรือทรง รังเกียจแม้แต่น้อย
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประมุขที่คำนึงถึงการศึกษาของชาติอีกทั้งทรง เป็นนักศึกษาที่ทรงเปรื่องปราชญ์อย่างยิ่ง ยิ่งกว่านั้นยังทรงตระหนักในเรื่องคุณภาพของคนอันเป็นหัวใจของการพัฒนา ประเทศให้เจริญรุ่งเรืองอีกด้วย
โดย ที่พระราชกรณียกิจและพระราชจริยานุวัตรที่ทรงปฏิบัติล้วนมีคุณประโยชน์ยิ่ง ใหญ่แก่ชาติบ้านเมือง เมื่อเสด็จฯ ณ แห่งหนตำบลใดจึงมีประชาราษฎร์เข้าเฝ้าฯ ชื่นชมพระบารมีอย่างคับคั่ง พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจโดยมิเห็นแก่เหน็ดเหนื่อยอย่างสม่ำเสมอมิได้ ขาด นี่คือ “สายใจไทย” ของพระองค์
ข้อมูลโดย ว่าที่ร้อยตรีเศกสรรค์ ใยพิมล
ภาพประกอบกิจกรรมโรงเรียนพิมลวิทย์
ภาพประกอบกิจกรรมโรงเรียนพิมลวิทย์
ภาพโดย ทวี เนื่องอาชา
ความคิดเห็น