ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ประวัติ "จอมเทพ"และเหล่าเทพในการปกครองของจอมเทพ
ซุส (Zeus) เป็นราชาของบรรดาเทพเจ้าทั้งหลายและเหล่ามนุษย์บนโลก ซุสมีอาวุธเป็นอัศนีบาต
(จอมเทพที่นำพาเรื่องยุ่งๆมาให้นคร)
(จอมเทพที่นำพาเรื่องยุ่งๆมาให้นคร)
เทพซูส (อังกฤษ: Zeus, /zus/) เป็นราชาแห่งทวยเทพ ผู้ปกครองเขาโอลิมปัส (Olympus) และเทพแห่งท้องฟ้าและฟ้าร้องของตำนานเทพปกรณัมกรีก สัญลักษณ์ประจำพระองค์คือสายฟ้า โคเพศผู้ นกอินทรี และต้นโอ๊ก นามของซีอุสแปลว่าความสว่างของท้องฟ้า
นามของพระองค์ในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือเทพจูปิเตอร์ (Jupiter) และนามในตำนานอีทรูสแคนคือเทพไทเนีย (Tinia)
พระองค์เป็นพระโอรสองค์สุดท้องของโครนัส (Cronus) และรีอา (Rhea) ซึ่งเป็นเทพไททัน ในหลายๆ ตำนานกล่าวว่าพระองค์ได้สมรสกับเทพีเฮร่า (Hera) แต่ก็มีสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองดอโดน่า (Dodona) ที่อ้างว่าคู่สมรสของเทพซูสแท้จริงแล้วคือเทพีไดโอนี (Dione) นอกจากนี้มหากาพย์อีเลียด (Illiad) ยังกล่าวไว้ว่าเทพซูสเป็นพระบิดาของเทพีอโฟรไดต์ (Aphrodite) ที่กำเนิดจากเทพีไดโอเน่อีกด้วย เทพซูสมักมีชื่อเสียงในพฤติกรรมนอกลู่นอกทางเรื่องชู้สาวของพระองค์ ซึ่งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์กับเด็กหนุ่มนามแกนีมีด (Ganymede) ด้วยเช่นกัน พฤติกรรมของพระองค์ทำให้เกิดผู้สืบเชื้อสายอยู่หลายองค์และหลายคนด้วยกัน อาทิเช่น เทพีอาธีน่า (Athena) เทพอพอลโล (Apollo) และเทพีอาร์ทีมิส (Artemis) เทพเฮอร์มีส (Hermes) เทพีเพอร์ซิโฟเน่ (Persephone) เทพไดโอไนซัส (Dionysus) วีรบุรุษเพอร์ซีอุส (Perseus) วีรบุรุษเฮอร์คิวลีส (Hercules) เฮเลนแห่งทรอย (Helen) กษัตริย์ไมนอส (Minos) และเหล่าเทพีมิวเซส (Muses) ส่วนผู้สืบเชื้อสายที่เกิดจากเทพีเฮร่าโดยตรงได้แก่เทพเอรีส (Ares) เทพีเฮบี (Hebe) และเทพเฮฟเฟสตุส (Hephaestus) เทพีเอริส (Eris) และ เทพีไอไลธีเอีย (Eileithyia)
โพไซดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งท้องทะเล สัญลักษณ์ของพระองค์คือ “สามง่าม” หรือ “ตรีศูล” เทพผู้เขย่าพื้นพิภพ ผู้บัลดาลให้เกิดพายุ บิดาแห่งม้า
โพไซดอน หรือ โพเซดอน หรือ โปเซดอน (อังกฤษ: Poseidon; กรีก: Ποσειδών; ละติน: Neptūnus เนปจูน) เทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร ผู้ปกครองดินแดนแห่งท้องน้ำ ตั้งแต่แหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จนถึงใต้บาดาล มีตรีศูลเป็นอาวุธ บางตำนานกล่าวว่ามีท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าด้วย
ตามตำนานเล่าว่า โพเซดอนเป็นบุตรของโครนัสกับรีอา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาอีก 5 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพแห่งโอลิมเปียนทั้งสิ้น ได้แก่
เฮสเทีย เทพีแห่งเตาผิง ผู้ดูแลครัวเรือน
ดีมิเตอร์ เทพีแห่งธัญพืชและการเกษตร
เฮรา ชายาแห่งเทพซูส เทพีผู้คุ้มครองสตรีและการสมรส
ฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก
ซูส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส
รูปลักษณ์ของโพเซดอน ส่วนมากจะปรากฏเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างกำยำล่ำสัน มีหนวดเครา ถือสามง่ามเป็นอาวุธ ซึ่งสามง่ามนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถดลบันดาลให้เกิดทะเลคลั่งหรือแผ่นดินไหวได้ ครั้งหนึ่งโพเซดอนเคยคิดที่จะโค่นอำนาจของซุส โดยร่วมมือกับเฮราและอะธีนา แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซุสลงโทษ โดยการให้ไปสร้างกำแพงเมืองทรอยร่วมกับอพอลโลด้วยเช่นกัน
โพเซดอนมีมเหสีองค์หนึ่งคือแอมฟิไทรท์ ซึ่งเป็นนีริอิด หรือบุตรสาวของ นีริอัสและดอริส โพไซดอนเห็นนางเต้นรำร่วมกับเหล่านีริอิดอื่นๆ จึงลักพาตัวนางไปเป็นชายาในดินแดนใต้สมุทร
ชายาอีกองค์หนึ่งของโพไซดอนเป็นหญิงรับใช้ของอะธีนา คือ เมดูซ่า ก่อนที่จะถูกสาบให้มีผมเป็นงู เพราะหลงใหลในความงามของเมดูซ่า เมื่ออะธีนาทราบเรื่องจึงสาบเมดูซ่าให้เป็นปีศาจที่มีผมเป็นงู และเมื่อมองใครก็จะกลายเป็นหินไปหมด เมื่อเปอร์ซิอุสตัดศีรษะของเมดูซ่าแล้ว เลือดของเมดูซ่าที่กระเซ็นออกมา กลายเป็นม้าบินสองตัว คือ เพกาซัส (Pegasus) และ คริสซาออร์ (Chrysaor) ดังนั้นจึงถือว่า ทั้งเพกาซัสและคริสซาออร์เป็นลูกของโพเซดอนด้วย
โพเซดอน มีพาหนะเป็นม้าน้ำเทียมรถ ที่มีส่วนบนเป็นม้าและท่อนล่างเป็นปลา ซึ่งบางครั้งจะพบรูปโพเซดอนอยู่บนรถเทียมม้าน้ำนี้ขึ้นมาจากทะเล
ในสมัยโบราณ ที่แหลมสุนิอ้อน ห่างจากกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซไม่มาก มีวิหารที่สร้างถวายแด่โพเซดอนอยู่
ดิมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรรม การเก็บเกี่ยว
ดิเมเทอร์ (Demeter) ตามชื่อกรีกหรือภาษาโรมันว่า ซีริส (Ceres) เป็นเทวีครองข้าวโพด ซึ่งหมายถึงการเกษตรกรรมนั่นเอง เจ้าแม่เดเมเทอร์มีธิดาองค์หนึ่งทรงนามว่า พรอสเสอะพิน (Proserpine) หรือ เพอร์เซโฟนี (Persephone) เป็นเทวีครองฤดูผลิตผลของพืชทั้งปวง เป็นธิดาของโครนัสและรีอา ซึ่งเป็นไททัน มีพี่น้องร่วม 5 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพโอลิมเปียนทั้งนั้น ได้แก่ ซุส โพไซดอน ฮาเดส เฮร่า และ เฮสเทีย เดเมเทอร์ไม่ค่อยมีบทบาทในตำนานกรีกมากยกเว้นเรื่องความงามของนางที่ทำให้เกิดปัญหา สามีของนางมี 2 คน ได้แก่ โพไซดอน และ ซุส โพไซดอนเป็นบิดาของแอรีออน และ ซุสเป็นบิดาของพรอสเสอะพิน
เฮรา (Hera) ราชินีแห่งสวรรค์ เป็นทั้งพี่สาวของซุสและเป็นภรรยาด้วย เฮร่าเป็นเทพีแห่งการให้กำเนิดทารก การสมรส สตรี สัตว์ประจำพระองค์คือนกยูง
ฮีรา หรือ เฮรา (อังกฤษ: Hera /ˈhɪərə/, /ˈhɛrə/; {{lang-el|Ήρα, Ήρη} }) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูส พระนางเป็นเทพีแห่งหญิงสาวและชีวิตสมรส เป็นผู้ปกป้องสตรีที่แต่งงานแล้ว พระนางทรงประทับบนพระบัลลังก์ทองคำเคียงข้างซูสบนภูเขาโอลิมปัส และทรงพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่ใส่พระทัยกับเรื่องราวรักๆ ใคร่ๆ ที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรมของสวามี ฮีราได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเทพธิดาผู้มีพระกรใสกระจ่างดุจงาช้าง ในตำนานโบราณสัตว์ประจำองค์ของเทพีฮีราคือวัว แต่ในตำนานยุคใหม่นกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ และจะตามเสด็จอยู่ไม่ห่าง
เทพีฮีราเป็นที่รู้จักกันดีในด้านของอารมณ์ดุร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่นๆของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางจะเป็นเทพีหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกเทพีฮีราปองร้ายมีมากมาย เช่น เทพีลีโต มารดาของเทพอพอลโล่และเทพีอาร์ทีมิส เฮอร์คิวลิส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดโอนิซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม
แอรีส (Ares) เทพแห่งสงคราม บุตรของ ซูส กับ เฮร่า สัตว์ประจำพระองค์คือเหยี่ยวและสุนัขมังกรไฟ (บางตำราว่าเป็นนกแร้ง) เทพองค์นี้มีเทพที่เป็นน้องสาวชื่อว่า อีริส เธอคือเทพีแห่งการวิวาท
แอรีส (อังกฤษ: Ares /ˈɛəriz/) หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ และเป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัสด้วย
แอรีส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า
แอรีสเป็นบุตรของซีอุสมหาเทพและพระนางเฮรา มเหสีของซีอุส แอรีสเป็นเทพที่ชาวกรีกไม่นับถือบูชา เพราะถือว่าเป็นเทพที่โหดร้ายและมีเรื่องราวที่น่าอับอายเกี่ยวกับพระองค์เยอะ และถึงแม้จะเป็นเทพแห่งสงคราม แอรีสก็รบแพ้ในการสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งแก่มนุษย์กึ่งเทพเองอย่าง เฮราคลีสและกับอธีน่า เทพีแห่งสงคราม พี่น้องของพระองค์เอง
แต่แอรีสเป็นที่นับถืออย่างมากของชาวโรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่โปรดปรานการสู้รบ ถึงกับแต่งให้แอรีสเป็นบิดาของโรมูลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรมเลยทีเดียว
ในทางด้านชู้สาว พระองค์ลักลอบมีชู้กับเทพีอโฟรไดท์จนเป็นเรื่องราวใหญ่โตให้อับอายไปทั้งสวรรค์ และเป็นอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ที่จับผิดและแก้ไขพฤติกรรมของทั้งคู่
แอรีส เมื่อเสด็จไปไหน จะใช้รถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ ดีมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บางตำนานก็กล่าวว่า ทั้งดีมอสและโฟบอสเป็นบุตรชายฝาแฝดของแอรีส และชื่อของทั้งคู่ก็เป็นรากศัพท์ของคำว่า ความตื่นตระหนก (Panic) และ ความกลัว (Phobia) และในทางดาราศาสตร์ แอรีสหรือมารส์ คือดาวอังคาร ดีมอส และ โฟบอส ก็ถูกตั้งเป็นชื่อของดวงจันทร์บริวารของดางอังคารด้วย
อะพอลโล (Apollo) เทพเจ้าแห่งการทำนาย กีฬา การรักษาโรคภัย การดนตรี และ เป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ เป็นบุตรแห่ง ซีอุส และ เทพีเลโต (Leto) มีน้องสาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมิส (Artemis) อะพอลโล่มีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์คือ ต้นลอเรล Laurel สัตว์ศักดิ์สิทธิ์คือนกกาเหว่าและห่าน เครื่องดนตรีประจำพระองค์
อะพอลโล (อังกฤษ: Apollo, กรีก: Ἀπόλλων อพอลลอน) บุตรชายคนโตของมหาเทพซีอุส เป็นหนึ่งใน 12 เทพแห่งโอลิมปัส เป็นบุตรของซีอุส จอมเทพแห่งสวรรค์และนางเลโต เป็นเทพแห่งแสงสว่าง หรือเทพแห่งดวงอาทิตย์ รวมถึงเป็นเทพแห่งสัจจะและการดนตรีด้วย อพอลโลมีน้องสาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมีส หรือ ไดอาน่า (ในโรมัน) ซึ่งเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์คู่กัน อพอลโล เป็นบุรุษหนุ่มรูปงาม มักเล่นดนตรีด้วยพิณ เชี่ยวชาญการใช้ธนู ในสงครามกรุงทรอย อพอลโลมีบทบาทเป็นเทพที่รักษาชายฝั่งเมืองทรอย ที่เมืองเดลฟี่มีเทวสถานบูชาอพอลโลอยู่
นอกจากนี้แล้ว อพอลโลยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ฟีบัส (Phoebus) อาเบล (Abel) ไพธูส (Pytheus) หรือ เฮลิออส (Helios) ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายถึง แสงสว่างทั้งสิ้น
ปัจจุบัน อพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่างๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น
อพอลโลเป็นเทพที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า เทวรูปโคโลสซูส นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์
อาร์เทมีส (Artemis) เทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์ เป็นบุตรีของซูสและ เทพีเลโต เป็นน้องสาวแฝดของอะพอลโล่ พระองค์เป็นเทพีพรหมจรรย์องค์หนึ่งใน 3 องค์ ภาพที่ผู้คนเห็นอยู่เสมอๆ คือพระองค์จะถือธนูและศร มีสุนัขติดตาม สวมกระโปรงสั้น บางครั้งอาจเห็นเธออยู่บนรถศึกเทียมด้วยกวางขาว
อาร์เทอมีส (อังกฤษ: Artemis (เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈɑrtəmɪs/)) หรือในภาคโรมันคือไดอานา (Diana)คือเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ เทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเทพีแห่งความรักทางใจ ตำนานการกำเนิดกล่าวว่าเป็นธิดาฝาแฝดของเทพซุสกับนางอัปสร ลีโต(Leto) หรือ แลโตนา (Latona) มีพี่ชายร่วมอุทรคือ เทพอพอลโลซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ และการดนตรี
เทพฝาแฝดทั้งสองถูกปองร้ายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะเทพีเฮราซึ่งเป็นมเหสีเอกของเทพซุสเกลียดชังชายาน้อยของสวามีจึงลามไปถึงบุตรที่เกิดจากอนุเหล่านั้นด้วย เมื่อรู้เรื่องของนางลีโต พระนางจึงสาปแช่งนางลีโตว่าจะไม่สามารถคลอดบุตรบนแผ่นดินใดได้ อีกทั้งยังส่งงูร้าย ไพธอน (Python)ตามฉกกัดนางลีโตตลอดเวลา นางลีโตประสบเคราะห์กรรมอย่างน่าสงสารเพราะไปที่ใดก็ไม่มีใครต้อนรับด้วยกลัวเกรงอาญาของเทพีเฮรา ทั้งต้องหลบหนีงูร้ายจนอยู่ไม่เป็นสุข และเทพซุสก็กลัวเทพีเฮราเกินกว่าจะช่วยเหลือนางลีโตกับบุตรในครรภ์
กระทั่งครบกำหนดครรภ์ นางลีโตเจ็บปวดทุกข์ทรมานปางตายเพราะไม่อาจคลอดบุตรได้ ทำให้เทพโพไซดอนเกิดความสงสาร จึงบันดาลเกาะดีลอส (Delos)ให้โผล่ขึ้นกลางทะเล ไม่ติดต่อกับแผ่นดินใด นางลีโตจึงพ้นคำสาป จนกระทั่งสามารถประสูติเทพฝาแฝด เทพอพอลโล และเทพีอาร์เทอมิส ออกมาอย่างปลอดภัย
ทันทีที่ประสูติออกจากครรภ์ เทพอะพอลโลก็ฆ่างูไพธอนตาย จนได้นามอีกว่า ไพธูส เมื่อเทพทั้งสองประสูติ เทพบิดาซุสจึงอัญเชิญเทพทั้งสองขึ้นเป็นเทพบนเขาโอลิมปัส และคลายความหมางใจระหว่างเทพีเฮรากับเทพฝาแฝดจนเป็นผลสำเร็จ
เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการค้า การโจรกรรม และผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ เป็นบุตรของ ซูส กับ เทพธิดาไมอา เทพไททัน พระองค์มักจะปรากฏกายในลักษณะสวมหมวกขอบกว้าง สวมรองเท้ามีปีก ถือคทาที่มีงูพัน ชื่อ คะดูเซียสซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการแพทย์
เฮอร์มีส (อังกฤษ: Hermes) เป็นชื่อเทพเจ้าในปกรณัมกรีก เรียกชื่อในตำนานเทพเจ้าโรมันว่า เมอร์คิวรี่ เป็นเทพผู้คุ้มครองเหล่านักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจรผู้เร่ร่อน กวี นักกีฬา นักประดิษฐ์ และพ่อค้า อาจเรียกได้ว่า เฮอร์มีสเป็นเทพแห่งการสื่อสาร พระองค์เป็นบุตรของเทพซูสเกิดแต่นางเมยา (Maia) มีของวิเศษคือหมวกและรองเท้ามีปีก เรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) ซึ่งเป็นของขวัญที่ได้รับจากเทพบิดา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเทพสื่อสาร และมีคถาคาดูเซียส (Caduceus) ซึ่งรูปร่างของคถาจะมีคถางูไขว้อยู่สองตัว เฮอร์มีสพบงูสองตัวนี้เมื่อเห็นมันสู้กันเลยเอาคถาทิ่มระหว่างงูสองตัวเพื่อห้ามไม่ให้เกิดความวิวาท งูเลยเลื้อยมาพันอยู่รอบไม้แล้วหันหัวเข้าหากันจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย
บุตรของเทพเฮอร์มีสได้แก่ เทพแพน เทพเฮอร์มาโฟรไดทัส และเทพออโตไลคัส
อาธีน่า (Athena) หรืออีกนามหนึ่ง มิเนอร์วา (Minerva) เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด และศิลปศาสตร์ทุกแขนงของกรีกรวมถึงศิลปะการต่อสู้ด้วย ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์คือต้นมะกอก โดยเทพีอธีน่า เป็นผู้ที่มอบมะกอกให้กับมนุษย์เป็นองค์แรก ทำให้เมืองเอเธนส์ ได้ใช้ชื่อของพระองค์เป็นชื่อเมืองเพื่อเป็นเกียรติ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่ นกฮูก
เทพีอธีนา (อังกฤษ: Athena (เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /əˈθinə//)) หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซูส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮเฟสตัส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีเมทิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซูสโดยตรง
และนอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา โดยที่ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีสที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า
นอกจากนี้ อาธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และเฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน
อะโฟรไดต์ (Aphrodite) เทพีแห่งความรักและความงาม เป็นบุตรีของ ซูส กับ เทพีไดโอนี่ (บางตำราว่าเกิดจากฟองคลื่น) สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่นกกระจอก นกนางแอ่น ห่าน และเต่า ส่วนดอกไม้และผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระนางได้แก่กุหลาบ และแอปเปิล กล่าวกันว่าพระนางเป็นเทพีผู้คุ้มครองเหล่าโสเภณีด้วย นางได้สมรสกับเฮเฟสทัส เทพแห่งการช่างที่ทีรูปร่างอัปลักษณ์ จึงได้มีสัมพันธ์ชู้สาวกับแอเรส หรือมาร์ส เทพแห่งสงคราม ต่อมาได้มีบุตรชื่อคิวปิด(อิรอส)เทพแห่งความรัก และบุตรคนเล็ก แอนติรอส เทพผู้บันดานให้เกิดความรักตอบ
อะโฟรไดต์ (อังกฤษ: Aphrodite (เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˌæfrəˈdaɪti/); กรีก: Ἀφροδίτη; ละติน: Venus) เป็นเทพเจ้ากรีกแห่งความรัก, ความปรารถนา, และความงาม ชื่ออื่นๆ ที่เรียก “ไคพริส” (Kypris) “ไซธีเรีย” (Cytherea) ตามชื่อสถานที่ ไซปรัส และ ไซธีราซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เกิดของอาโฟร์ไดร์ทิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอาโฟร์ไดร์ทิได้แก่ต้นเมอร์เติล (Myrtle), นกพิราบ, นกกระจอก และ หงส์
เทพีแอฟรอไดทีทิเทียบได้กับเทพีวีนัส ในตำนานเทพเจ้าโรมัน
อะโฟรไดต์ทรงเป็นเทพธิดาแห่งความรักและความงาม ทั้งความรักที่บริสุทธิ์ และความรักที่เต็มไปด้วยตัณหา และความริษยา ทรงครอบครองสายคาดวิเศษที่สามารถมัดใจเทพและชายทุกคนได้ในทันที ทรงเป็นผู้ให้พรเพื่อให้ผู้มีความรักสมหวัง ในขณะเดียวกันก็ทรงสามารถที่จะทำลายความรักของผู้ที่พระนางไม่พอใจได้ในทันที
เฮเฟสตัส (Hephaestus) เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของ ซูส กับ เฮร่า (บางตำราว่าเป็นบุตรของเฮราผู้เดียว) พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์
เฮเฟสตัส (อังกฤษ: Hephaestus /hɪˈfɛstəs/) เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของซูส กับฮีรา (บางตำราว่าเป็นบุตรของฮีรา ผู้เดียว) พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ถูกซูสโยนลงจากสวรรค์เมื่อครั้งเข้าไปช่วยฮีรา จากการทะเลาะกับซูส
เนื่องด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถูกพระบิดาและมารดาทอดทิ้ง อีกทั้งพระชายาคือเทพีอโฟรไดท์ยังดูแคลนจนกระทั่งไปมีชู้รักมากมาย รวมทั้งอนุชาร่วมอุทรของเทพฮีเฟสตัสเอง คือเทพอาเรสจนมีโอรสธิดาหลายองค์ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีสายเลือดสวามีอัปลักษณ์องค์นี้แม้แต่องค์เดียว
ฮีเฟสตัสใช้เวลาช่วง 10 ปีแรกอยู่ในทะเล และได้สร้างโรงหล่อไว้ใต้ภูเขาไฟเอตนา มีไซคลอปส์เป็นคนงาน โดยสิ่งที่พระองค์สร้างขึ้น มีดังนี้
อาวุธของ อคิลลีส และ อีเนียส
คทาของ อะกาเมมนอน
สร้อยคอของ Harmonia ซึ่งผู้สวมใส่จะประสบเคราะห์ร้าย
โล่ของ เฮราคลีส
เทพเฮเฟสตัสมีรักครั้งแรกคือเทพีอะธีนา แต่พระนางไม่ตกลงปลงใจด้วย (คงเพราะเทพเฮเฟสตัสใช้กำลังพยายามลวนลามพระนาง) และเหตุนี้ทำให้เทพีอะธีนามุ่งมั่นจนกลายเป็น 1 ใน 3 เทพีครองพรหมจรรย์
ไดโอนีซุส (Dionysus) เทพแห่งไวน์ การทำไวน์ และการเก็บเกี่ยวผลไม้ และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพแห่งละครอีกด้วย
ไดอะไนเซิส (อังกฤษ: Dionysus หรือ Dionysos, ˌdaɪəˈnaɪsəs; กรีกโบราณ: Διόνυσος หรือ Διώνυσος) หรือ แบคคัส (อังกฤษ: Bacchus, ˈbækəs)
ใน ตำนานเทพเจ้ากรีก “ไดอะไนเซิส” เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ ผู้เป็นแรงบันดาลใจของความประเพณีความคลั่งและความปิติอย่างล้นเหลือ (ecstasy) และเป็นเทพองค์ล่าสุดในสิบสองเทพโอลิมปัส ที่มาของไดอะไนเซิสไม่เป็นที่ทราบ แต่ตามตำนานว่าได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ
เทพไดโอไนซูส เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แบคคัส เทพแห่งเมรัย และไวน์องุ่น เป็นบุตรของเทพซูสกับนางซิมิลี่ ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซูสได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์ เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส
นางซิมิลี่ จึงได้ให้เทพซุสในรูปมนุษย์ ไปสาบานกับแม่น้ำสติ๊กซ์ ว่าจะให้ของขวัญแก่นาง แล้วนางซิมิลี่ ก็ให้เทพซุสเปลี่ยนร่างที่แท้จริงออกมา พระองค์เกรงว่า ถ้าให้นางเห็นร่างที่แท้จริงของพระองค์ จะทำให้นางซิมิลี่มอดไหม้ เพราะ รัศมีของพระองค์ จึงบอกแก่นางซิมิลี่ว่า จะดูแลลูกในครรภ์ของนาง ส่วนนางก็จะได้รับของขวัญสมใจ แล้วพระองค์ก้ได้ เปลี่ยนร่างเป็นเทพซูส นางซิมิลี่ก็มอดไหม้ไป แต่บุตรของนางไม่เป็นอะไรเพราะ เป็นบุตรแห่งเทพ จากนั้น เทพซูส จึงได้ให้พวกนิมฟ์ล นางไม้ ดูแลเทพไดโอไนซูส พวกนิมฟ์ล ได้สอนให้เทพไดโอไนซูส ปลูกพืชต่างๆ โดยเฉพาะองุ่น ต่อมาพระองค์ได้ทดลองนำองุ่นไปหมักเอาไว้ และก็ได้ค้นพบ นำองุ่นที่รสชาติดีอย่างประหลาด ที่ยิ่งดื่ม ยิ่งมึนเมา ยิ่งอยากดื่ม ยิ่งสนุกสนาน พระองค์จึงได้เผยแพร่การทำไวน์องุ่นไปทั่วแดน และต่อมา เทพซูส ได้รับพระองค์ไปเป็นเทพโอลิมปัสอีกพระองค์ (เทพไดโอไนซูส และเทพีดิมีเตอร์ เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่ชาวกรีกและโรมันให้ความเคารพบูชายิ่งนัก)
ไดอะไนเซิสผู้เป็นเทพของการเกษตรกรรม และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า “ผู้ปลดปล่อย” (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น หน้าที่ของไดอะไนเซิสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนเซิสกับ “คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณ” และความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว
ฮาเดส (冥王ハーデス, Meiō Hādesu?, Meiō (เมโอ) แปลว่า "เจ้าแห่งความมืด") เทพเจ้าแห่งยมโลก เป็นเทพผู้ที่ทำสงครามกับอาธีนามาแต่ครั้งสมัยเทพนิยาย สงครามระหว่างเทพทั้งสองนี้ ถูกเรียกว่า "สงครามศักดิ์สิทธิ์" และการที่อาธีนาต้องมาจุติบนโลกในยุคนี้ ก็เพื่อทำสงครามศักดิ์สิทธิ์เป็นครั้งสุดท้ายกับฮาเดส หลังจากสงครามศักดิ์สิทธิ์ครั้งก่อนเกิดขึ้นเมื่อ 234 ปีก่อน
...ในตำนานกรีกโบราณเทพที่เทพผู้เป็นใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า โปเซดอน อีกองค์หนึ่งก็คือ ฮาเดส (หรือชาวโรมัน เรียกว่า พลูโต) แดนบาดาลหรือยมโลกและคนตายต่างก็อยู่ในความปกครองของเทพองค์นี้ทั้งหมด
คำว่า"พลูโต"นี้มีความหมายว่า เทพแห่งทรัพย์ เพราะถือกันว่า นอกจากยมโลกแลัว ท้าวเธอฮาเดสยังครองมวลธาตุล้ำค่าใต้พื้นพิ�� พอีกด้วย บางทีจึงมีชือว่า ดีส (Dis) แปล ตรงตัวว่า ทรัพย์ [ บางแห่งกล่าวว่า ฮาเดสครองยมโลกและคนตายเท่านั้น ส่วนเทพผู้ครองความตายนั้นมี อีกองค์หนึ่ง เรียกว่า แธนาทอส (Thanatos)ใน�� าษากรีก หรือ ออร์คัส (Orcus) ใน�� าษาลาตินเป็นคู่กันกับ ฮิปนอส (Hpnos) เทพประจำ ความหลับ ]
เนื่องด้วยอุปนิสัยของเทพฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ออกจะเย็นชาแข็งกร้าว ปราศจากความเวทนาสงสารให้แก่ผู้ใด แต่เต็มไปด้วยความยุติธรรมทุกขณะ เช่นนี้ จึง เป็นเหตุให้ ท้าวเธอยากจะหาสตรีมาเป็นชายาครองบัลลังก์ปรโลกคู่กันได้เลย ดังนั้น เมื่อท้าวเธอเสด็จขึ้นมาบนพื้นพิ�� พในวันหนึ่ง และประสบพบพานโฉมงามนาม เพอร์เซโฟนี (Persephone) ธิดาองค์เดียวของเจ้าแม่โพสพเทวี ดีมีเตอร์ เข้าให้ ฮาเดสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า อนงค์นางนี้ที่แท้จริงคือหลานในไส้ของตน เพราะว่า ดีมิเตอร์เทวีเป็นน้องนางของพระองค์นั่นเอง จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงไม่รอช้า ฉุดคร่าเอาตัวเพอร์เซโฟนีลงไปสู่ดินแดนใต้พิ�� พ เพื่อครองคู่เป็นราชินีปรโลกด้วยความมิเต็ม ใจของนาง
ครั้งหนึ่งได้แก่ ทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรนามว่า มินธี (Minthe) แต่ทว่าความรักนี้มิยั่งยืน ด้วยเหตุที่พระแม่ยายดีมิเตอร์เทวีทรงร้ายเหลือ ทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบหน้าฮาเดสเท่าใดนัก แต่เมื่อท้าวเธอทำท่าจะนอกใจ ธิดาของตนเข้าให้ เจ้าแม่ก็พิโรธโกรธเกรี้ยวจนกระทั่งไล่กระทืบมินธีนางอัปสรผู้น่าสงสารตายคาบาทของเจ้าแม่ จ้าว แดนบาดาลเวทนาสงสารนางอัปสรน้อยนั้น จึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายเป็นพืชชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม และได้กลายเป็น พืชประจำพระองค์ตลอดมา
ผู้คนในสมัยโบราณจะถวายสักการะแด่เทพฮาเดสด้วยแกะดำ ทำให้กลายเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบมาที่จะบูชา ยัญแด่เทพแห่งมรณะหรือเทพแห่งความชั่วร้ายอื่น ๆ ด้วยแพะหรือแกะสีดำเช่นเดียวกัน
ฮาเดส เป็นพี่ชายของมหาเทพซีอุส และเป็นจักรพรรดิแห่งบาดาล หรือยมโลก ดังนั้นฮาเดสจึงมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่าเทพโลกันตร์ พระยม หรือเทพแห่งความตาย ยมโลกหรืออาณาจักรของฮาเดส เป็นดินแดนเร้นลับ �� ายใต้พื้นพิ�� พที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ส่องไม่ถึงอาณาจักรแห่งนี้จึงมืดมิด และทนทางที่จะลงไปก็ลำบากเอาการเพราะต้องเดินทางไปถึงสุดขอบพิ�� พโดยข้ามมหาสมุทรไป(คนกรีกโบราณเชื่อว่าโลกแบน และรายล้อมด้วยมหาสมุทร)
จากความเชื่อนี้เอง จึงเกิดธรรมเนียมเอาเงินใส่ปากคนตายก่อนฝัง นอกจากแม่น้ำสองสาย ยังมีแม่น้ำอีก 3 สาย คือ 1. แม่น้ำสติกซ์ (Styx) แปลว่าแม่น้ำแห่งควาเกลียด เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 2. แม่น้ำลีธี หรือ เลเธ แปลว่าแม่น้ำแห่งความลืม เมื่อดวงวิญญาณคนตายได้ดิ่มน้ำแล้วจะลืมความหลัง 3. แม่น้ำเฟลจีธอน หรือ เฟลเกทธอน แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำไฟ มีเปลวไฟลุกไหม้โชติช่วงอยู่บนผิวน้ำ และอยู่ล้อมรอบนรกขุมลึกสุด คือ ทาร์ทะรัส
........ท่านฮาเดสปกครองยมโลกอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย โดยมีเพียงผู้ช่วยกิจการงาน คราวหนึ่ง มหาเทพจูปิเตอร์ จองจำยักษ์สี่ตนไว้ในถ้ำบนยอดเขาเอตน่า แต่บางตำราว่า ยักษ์ที่ถูกจองจำมีเพียงตนเดียว
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น