คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : การเมืองการปกครองไทยช่วง พ.ศ.2501-ปัจจุบัน
การเมืองการปกครองช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2- พ.ศ.2500
เหตุการณ์ที่สำคัญและน่าสนใจในช่วงนี้มีดังต่อไปนี้
- การแก้ปัญหาเนื่องจากไทยอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม
สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศไทยตกอยู่ในฐานะที่น่าเป็นห่วง เพราะรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับฝายสัมพันธมิตรในระหว่างสงคราม ซึ่งอาจจะทำให้ตกอยู่ในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามก็ได้ ดังนั้นนโยบายของไทยที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรอดพ้นจากฐานะผู้แพ้สงคราม
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของไทยประกาศสันติภาพโดยถือว่าการประกาศสงครามของไทยต่อพันธมิตรในระหว่างสงครามนั้นเป็นโมฆะ และไทยพร้อมที่จะคืนดินแดนทีได้มาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส หลังจากนั้น นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่ฝ่ายพันธมิตรไว้วางใจเข้ารับตำแหน่งแทน นั่นก็คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าเสรีไทยนอกประเทศที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยอมรับ
ในเดือนกันยายน 2488 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี งานหลักของรัฐบาลชุดนี้ก็คือ การเจรจากับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเพื่อความเป็นเอกราชของชาติ โชคดีที่สหรัฐและอังกฤษไม่ติดใจไทยหรือคิดจะลงโทษอันเนื่องจากการที่เราประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ่รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศคืนดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส พร้อมทั้งให้ความร่วมมืออื่นๆ หลายประการ นอกจากนั้นรัฐบาลไทยยังได้ประกาศบริจาคข้าวสารจำนวน 1.5 ล้านตัน ให้แก่อังกฤษ เพื่ออังกฤษจะได้นำไปช่วยเหลือประชาชนที่อดอยากตามประเทศต่างๆ ในที่สุดปัญหาที่น่าวิตกของไทยเราก็ค่อยๆ ผ่านพ้นไปด้วยดี ไทยเราสามารถดำรงเอกราชไว้ได้ในขณะที่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองและปกครองประเทศไปตามนโยบายของสหรัฐอเมริกา การที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่คิดลงโทษ ก็เนื่องมาจากคุณงามความดีของขบวนการเสรีไทยนั้นเอง
ในเดือนมกราคม 2488 รัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฏรกันใหม่ นับตั้งแต่นั้นมาการเมืองของไทยก็เริ่มเข้ารูปเข้ารอยตามระบอบรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับ 2489 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะรูปแบบเป็นประชาธิปไตยมากกว่าฉบับก่อนๆ อนุญาตให้จัดตั้งพรรคการเมืองต่างๆ ได้ ดังนั้นพรรคการเมืองรุ่นแรกๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นในขณะนั้นได้แก่ พรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์ (นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้า) พรรคกสิกร พรรคธรรมาธิปัตย์ พรรคก้าวหน้า พรรคประชาชน ฯลฯ พรรคต่างๆ ที่กล่าวนามมานี้มีอยู่พรรคเดียวที่ยังดำเนินงานทางการเมืองจนถึงปัจจุบัน คือ พรรคประชาธิปปัตย์
นายควง อภัยวงศ์ (พ.ต.ควง อภัยวงศ์) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คือ แต่ดำรงตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนก็ต้องลาออก เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและภาวะเงินเฟ้ออย่างร้ายแรงอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2
- การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 และผลกระทบ
ในเดือนมีนาคม 2489 นายปรีดี พยมยงศ์ ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายปรีดี เข้าบริหารงานของประเทศได้ไม่ทันไรก็เกิดปัญหาร้ายแรงของประเทศ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เนื่องจากต้องอาวุธปืน รัฐบาลนายปรีดี ซึ่งได้ขอความเห็นชอบต่อสภาฯ ในการกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อไป
ปัญหาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลต้องอาวุธปืนนั้น รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ดำเนินการสอบสวนแต่ก็ไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุของปัญหานั้นได้ เมื่อรัฐบาลไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่แท้จริงได้ ประกอบกับประชาชนและพรรคฝ่ายค้านต่างก็พากันตำหนิรัฐบาลอย่างรุนแรง นายปรีดี พนมยงค์ จึงแสดงความรับผิดขอบโดยการกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เข้าดำรงตำแหน่งแทน เมื่อเดือน สิงหาคม 2489
- การแย่งชิงอำนาจระหว่างนักการเมือง และระหว่างทหารบกกับทหารเรือ
การเมืองไทยเริ่มประสบความยุ่งยากอันเนื่องมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัญหาเศรษฐกิจของชาติเสื่อมโทรมมาอย่างต่อเนื่อง เกิดภาวะเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง เครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลนอย่างรุนแรง โจรผู้ร้ายชุกชุม รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนั้นรัฐบาลยังถูกตำหนิติเตียนในเรื่องพฤติกรรมฉ้อราษฏร์บังหลวง พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ถือโอกาสเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างรุนแรง
ในที่สุดฝ่ายพลเรือนซึ่งมีพลโทผิน ชุณหะวัน เป็นหัวหน้า จึงได้ก่อการรัฐประหารเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารได้มอบอำนาจให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลนายควงได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในเดือน มกราคม 2491 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์จึงเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นาน กลุ่มรัฐประหารชุดเดิมได้บังคับให้นายควง ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือน เมษายน 2491 จากนั้นจอมพลแปลก พิบูลสงครามก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สรุปได้ว่า การเมืองไทยภายใต้การบริหารงานของนักการเมืองหลังสงครามโลกประสบกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการฉ้อราษฏรบังหลวง เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ฝ่ายทหารก็ฉวยโอกาสโดยอ้างความล้มเหลวเข้ายึดอำนาจ และในที่สุดนับจากนั้นมาการเมืองไทยก็ตกอยู่ใต้อำนาจของทหาร
ความขัดแย้งทางการเมือง (ช่วง 2491-2500) เมื่อจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในปี 2491 ภายหลังจากที่ได้บีบให้นายควง ลาออกจากตำแหน่งแล้ว ความยุ่งยากทางการเมืองก็ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง นำไปสู่การกบฏของกลุ่มบุคคลที่ไม่พอใจรัฐบาล มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายและตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ปัญหาดังกล่าวทำให้ความหวังของการพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครองไทยเพื่อก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร แทนที่รัฐบาลจะได้ทุ่มเทความสามารถเพื่อพัฒนาประเทศ กลับใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อรักษาอำนาจของตน ความยุ่งยากทางการเมืองไทยระหว่าง ช่วง 2491-2500 สรุปเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดังนี้
- การแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายจอมพลแปลก พิบูลสงคราม กับฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีอดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทยให้การสนับสนุน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามเกรงว่าฝ่ายนายปรีดีจะหาโอกาสล้มอำนาจของตน จึงมีการจับกุมบุคคลสำคัญๆ ของพรรคสหชีพซึ่งมีนายปรีดี เคยเป็นหัวหน้าพรรคนี้ บางคนก็ถูกยิงตาย นักการเมืองจำนวนมากถูกจับเข้าคุก บางส่วนต้องหนีไปต่างประเทศ (รวมทั้งนายปรีดี) หรือไม่ก็หลบหนีเข้าป่า
- เกิดกบฏขึ้นหลายครั้งเพื่อต่อต้านรัฐบาลของจอมพลแปลก เช่นกบฏวังหลวง เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 มีการปะทะกันบริเวณพระบรมมหาราชวังอย่างรุนแรง ผลปรากฏว่าฝ่ายกบฏเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ นอกจากนี้ก็มีกบฏแมนฮัตตัน เกิดขึ้นเมื่อ 2494 โดยกลุ่มนายทหารกลุ่มหนึ่งบุกเข้าจับกุมจอมพลแปลก ในขณะเป็นประธานพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนชื่อ แมนฮัตตัน ซึ่งรัฐบาลอเมริกันเป็นผู้มอบให้ กลุ่มกบฏได้นำจอมพลแปลกไปขังไว้ในเรือรบชื่อ ศรีอยุธยา เพื่อต่อรองกับรัฐบาล ฝ่ายรัฐบาลไม่ฟังเสียงและลงมือปราบปรามอย่างเด็ดขาด โดยส่งเครื่องบินเข้าทิ้งระเบิดเรือศรีอยุธยาจนจมลง แต่จอมพลแปลกว่ายน้ำหนีเข้าฝั่งได้ กลุ่มกบฏไม่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือส่วนใหญ่ ในไม่ช้าก็ถูกรัฐบาลปราบจนราบคาบ หลังจากการปราบกบฏรัฐบาลได้ใช้นโยบายตัดทอนกำลังและอาวุธของกองทัพเรือ จนทำให้กองทัพเรือลดกำลังและความสามารถลงไปเป็นอันมาก แต่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อสิ้นสมัยจอมพลแปลกไปแล้ว
- มีการแก้ไขปรับปรุงและประกาศใช้รัฐธรรมนูญหลายฉบับ แต่สาระของรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่มุ่งรักษาอำนาจของคณะรัฐประหารหรือผู้ที่กุมอำนาจทางการเมืองมิได้มุ่งเพื่อสร้างสรรค์ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
- การใช้กำลังตำรวจเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้อย่างมั่นคง โดยการเสริมสร้างกรมตำรวจทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์เช่นเดียวกับทหาร และเพิ่มกำลังพลจนเทียบเท่ากองพล นอกจากนั้นยังใช้ตำรวจเป็นเครื่องมือในการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม ทำให้ประชาชนในสมัยนั้นหวาดกลัวตำรวจไปทั่วบ้านทั่วเมือง
- บุคคลใดที่คัดค้านรัฐบาลมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกจับกุมคุมขังโดยไม่มีการไต่สวนฟ้องร้อง
- ผู้นำประเทศพยายามสร้างดุลอำนาจระหว่างกรมตำรวจกับกองทัพบกเพื่อรักษาอำนาจของตน ดังเช่นจอมพลแปลก นายกรัฐมนตรี สนับสนุนให้ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ สร้างกรมตำรวจจนเป็นกองทัพที่ใหญ่โนเพื่อรักษาอำนาจดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนกลุ่มนายทหารภายใต้การนำของ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์(ยศในขณะนั้น) ไว้คอยถ่วงดุลอำนาจกับกรมตำรวจ
- การก้าวขึ้นสู้อำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
การรัฐประหาร พ.ศ.2500 สาเหตุก็เนื่องมาจากว่ากลุ่มของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ กับกลุ่มของ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ต่อมาคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ขัดแย้งกันเรื่อยมาด้วยเรื่องการเมืองและเรื่องของผลประโยชน์หลายเรื่อง ความขัดแย้งได้เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จอมพลแปลกได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ทั้งสองฝ่ายประนีประนอมกันแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2500 รัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ผลปรากฏว่าพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งเป็นของฝ่ายรับบาลได้โกงการเลือกตั้งครั้งใหญ่ทั่วประเทศ ประชาชน นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพฯ จำนวนมากมายซึ่งไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาลอยู่แล้ว ได้พากันเดินขบวนประท้วงและขับไล่รัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ออกมาพบประชาชนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ และให้ความหวังแก่ประชาชนในทางที่ดี ฝูงชนจึงสลายตัวไป จอมพลสฤษดิ์ก็ได้รับความนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา
ในที่สุดฝ่ายทหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้ยื่นคำขาดต่อ จอมพลแปลก นายกรัฐมนตรี ให้แก้ไขสถานการณ์ทางการเมืองโดยด่วน เมื่อไม่ได้ผลฝ่ายทหารจึงถอนตัวออกจากการสนับสนุนรัฐบาล ในไม่ช้าจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้เป็นผู้นำทำการรัฐประหาร ในปี พ.ศ.2500 นั้นเอง จอมพลแปลกต้องพลบหนีออกนอกประเทศ และพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ก็ถูกคณะรัฐประหารบังคับให้ออกนอกประเทศ
หลังจากทำการรัฐประหารได้สำเร็จ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และมอบให้นายพจน์ สารสินเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมารัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งกันอีกครั้งหนึ่ง การเลือกตั้งในครั้งนี้มีพรรคสหภูมิซึ่งเป็นพรรคที่จอมพลสฤษดิ์ สนับสนุนได้ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยผลของการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคสหภูมิได้รับการเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก รองลงไปคือ พรรคประชาธิปัตย์
พลโทถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทนนายพจน์ สารสิน การบริหารประเทศของรัฐบาลพลโทถนอม ประสบปัญหายุ่งยาก และวุ่นวาย เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรฝ่ายรัฐบาลเรียกร้องผลประโยชน์และตำแหน่งต่างๆ ในทางการเมือง นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวงอีกด้วย ปัญหาความวุ่นวายเพิ่มขึ้นจน พลโทถนอม ไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ ได้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง โดยมีพลโทถนอม เข้าร่วมด้วย เมื่อยึดอำนาจได้สำเร็จแล้ว จอมพลสฤษดิ์ก็ประกาศล้มเลิกรัฐธรรมนูญ และแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่นิติบัญญัติ และร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ ครั้งนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จัดตั้งคณะรัฐบาลบริหารประเทศจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี 2506
- การแก้ปัญหาเนื่องจากไทยอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม
สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศไทยตกอยู่ในฐานะที่น่าเป็นห่วง เพราะรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับฝายสัมพันธมิตรในระหว่างสงคราม ซึ่งอาจจะทำให้ตกอยู่ในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามก็ได้ ดังนั้นนโยบายของไทยที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรอดพ้นจากฐานะผู้แพ้สงคราม
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของไทยประกาศสันติภาพโดยถือว่าการประกาศสงครามของไทยต่อพันธมิตรในระหว่างสงครามนั้นเป็นโมฆะ และไทยพร้อมที่จะคืนดินแดนทีได้มาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส หลังจากนั้น นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่ฝ่ายพันธมิตรไว้วางใจเข้ารับตำแหน่งแทน นั่นก็คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าเสรีไทยนอกประเทศที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยอมรับ
ในเดือนกันยายน 2488 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี งานหลักของรัฐบาลชุดนี้ก็คือ การเจรจากับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเพื่อความเป็นเอกราชของชาติ โชคดีที่สหรัฐและอังกฤษไม่ติดใจไทยหรือคิดจะลงโทษอันเนื่องจากการที่เราประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ่รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศคืนดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส พร้อมทั้งให้ความร่วมมืออื่นๆ หลายประการ นอกจากนั้นรัฐบาลไทยยังได้ประกาศบริจาคข้าวสารจำนวน 1.5 ล้านตัน ให้แก่อังกฤษ เพื่ออังกฤษจะได้นำไปช่วยเหลือประชาชนที่อดอยากตามประเทศต่างๆ ในที่สุดปัญหาที่น่าวิตกของไทยเราก็ค่อยๆ ผ่านพ้นไปด้วยดี ไทยเราสามารถดำรงเอกราชไว้ได้ในขณะที่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองและปกครองประเทศไปตามนโยบายของสหรัฐอเมริกา การที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่คิดลงโทษ ก็เนื่องมาจากคุณงามความดีของขบวนการเสรีไทยนั้นเอง
ในเดือนมกราคม 2488 รัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฏรกันใหม่ นับตั้งแต่นั้นมาการเมืองของไทยก็เริ่มเข้ารูปเข้ารอยตามระบอบรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับ 2489 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะรูปแบบเป็นประชาธิปไตยมากกว่าฉบับก่อนๆ อนุญาตให้จัดตั้งพรรคการเมืองต่างๆ ได้ ดังนั้นพรรคการเมืองรุ่นแรกๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นในขณะนั้นได้แก่ พรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์ (นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้า) พรรคกสิกร พรรคธรรมาธิปัตย์ พรรคก้าวหน้า พรรคประชาชน ฯลฯ พรรคต่างๆ ที่กล่าวนามมานี้มีอยู่พรรคเดียวที่ยังดำเนินงานทางการเมืองจนถึงปัจจุบัน คือ พรรคประชาธิปปัตย์
นายควง อภัยวงศ์ (พ.ต.ควง อภัยวงศ์) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คือ แต่ดำรงตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนก็ต้องลาออก เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและภาวะเงินเฟ้ออย่างร้ายแรงอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2
- การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 และผลกระทบ
ในเดือนมีนาคม 2489 นายปรีดี พยมยงศ์ ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายปรีดี เข้าบริหารงานของประเทศได้ไม่ทันไรก็เกิดปัญหาร้ายแรงของประเทศ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เนื่องจากต้องอาวุธปืน รัฐบาลนายปรีดี ซึ่งได้ขอความเห็นชอบต่อสภาฯ ในการกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อไป
ปัญหาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลต้องอาวุธปืนนั้น รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ดำเนินการสอบสวนแต่ก็ไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุของปัญหานั้นได้ เมื่อรัฐบาลไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่แท้จริงได้ ประกอบกับประชาชนและพรรคฝ่ายค้านต่างก็พากันตำหนิรัฐบาลอย่างรุนแรง นายปรีดี พนมยงค์ จึงแสดงความรับผิดขอบโดยการกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เข้าดำรงตำแหน่งแทน เมื่อเดือน สิงหาคม 2489
- การแย่งชิงอำนาจระหว่างนักการเมือง และระหว่างทหารบกกับทหารเรือ
การเมืองไทยเริ่มประสบความยุ่งยากอันเนื่องมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัญหาเศรษฐกิจของชาติเสื่อมโทรมมาอย่างต่อเนื่อง เกิดภาวะเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง เครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลนอย่างรุนแรง โจรผู้ร้ายชุกชุม รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนั้นรัฐบาลยังถูกตำหนิติเตียนในเรื่องพฤติกรรมฉ้อราษฏร์บังหลวง พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ถือโอกาสเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างรุนแรง
ในที่สุดฝ่ายพลเรือนซึ่งมีพลโทผิน ชุณหะวัน เป็นหัวหน้า จึงได้ก่อการรัฐประหารเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารได้มอบอำนาจให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลนายควงได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในเดือน มกราคม 2491 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์จึงเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นาน กลุ่มรัฐประหารชุดเดิมได้บังคับให้นายควง ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือน เมษายน 2491 จากนั้นจอมพลแปลก พิบูลสงครามก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สรุปได้ว่า การเมืองไทยภายใต้การบริหารงานของนักการเมืองหลังสงครามโลกประสบกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการฉ้อราษฏรบังหลวง เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ฝ่ายทหารก็ฉวยโอกาสโดยอ้างความล้มเหลวเข้ายึดอำนาจ และในที่สุดนับจากนั้นมาการเมืองไทยก็ตกอยู่ใต้อำนาจของทหาร
ความขัดแย้งทางการเมือง (ช่วง 2491-2500) เมื่อจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในปี 2491 ภายหลังจากที่ได้บีบให้นายควง ลาออกจากตำแหน่งแล้ว ความยุ่งยากทางการเมืองก็ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง นำไปสู่การกบฏของกลุ่มบุคคลที่ไม่พอใจรัฐบาล มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายและตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ปัญหาดังกล่าวทำให้ความหวังของการพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครองไทยเพื่อก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร แทนที่รัฐบาลจะได้ทุ่มเทความสามารถเพื่อพัฒนาประเทศ กลับใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อรักษาอำนาจของตน ความยุ่งยากทางการเมืองไทยระหว่าง ช่วง 2491-2500 สรุปเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดังนี้
- การแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายจอมพลแปลก พิบูลสงคราม กับฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีอดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทยให้การสนับสนุน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามเกรงว่าฝ่ายนายปรีดีจะหาโอกาสล้มอำนาจของตน จึงมีการจับกุมบุคคลสำคัญๆ ของพรรคสหชีพซึ่งมีนายปรีดี เคยเป็นหัวหน้าพรรคนี้ บางคนก็ถูกยิงตาย นักการเมืองจำนวนมากถูกจับเข้าคุก บางส่วนต้องหนีไปต่างประเทศ (รวมทั้งนายปรีดี) หรือไม่ก็หลบหนีเข้าป่า
- เกิดกบฏขึ้นหลายครั้งเพื่อต่อต้านรัฐบาลของจอมพลแปลก เช่นกบฏวังหลวง เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 มีการปะทะกันบริเวณพระบรมมหาราชวังอย่างรุนแรง ผลปรากฏว่าฝ่ายกบฏเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ นอกจากนี้ก็มีกบฏแมนฮัตตัน เกิดขึ้นเมื่อ 2494 โดยกลุ่มนายทหารกลุ่มหนึ่งบุกเข้าจับกุมจอมพลแปลก ในขณะเป็นประธานพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนชื่อ แมนฮัตตัน ซึ่งรัฐบาลอเมริกันเป็นผู้มอบให้ กลุ่มกบฏได้นำจอมพลแปลกไปขังไว้ในเรือรบชื่อ ศรีอยุธยา เพื่อต่อรองกับรัฐบาล ฝ่ายรัฐบาลไม่ฟังเสียงและลงมือปราบปรามอย่างเด็ดขาด โดยส่งเครื่องบินเข้าทิ้งระเบิดเรือศรีอยุธยาจนจมลง แต่จอมพลแปลกว่ายน้ำหนีเข้าฝั่งได้ กลุ่มกบฏไม่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือส่วนใหญ่ ในไม่ช้าก็ถูกรัฐบาลปราบจนราบคาบ หลังจากการปราบกบฏรัฐบาลได้ใช้นโยบายตัดทอนกำลังและอาวุธของกองทัพเรือ จนทำให้กองทัพเรือลดกำลังและความสามารถลงไปเป็นอันมาก แต่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อสิ้นสมัยจอมพลแปลกไปแล้ว
- มีการแก้ไขปรับปรุงและประกาศใช้รัฐธรรมนูญหลายฉบับ แต่สาระของรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่มุ่งรักษาอำนาจของคณะรัฐประหารหรือผู้ที่กุมอำนาจทางการเมืองมิได้มุ่งเพื่อสร้างสรรค์ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
- การใช้กำลังตำรวจเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้อย่างมั่นคง โดยการเสริมสร้างกรมตำรวจทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์เช่นเดียวกับทหาร และเพิ่มกำลังพลจนเทียบเท่ากองพล นอกจากนั้นยังใช้ตำรวจเป็นเครื่องมือในการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม ทำให้ประชาชนในสมัยนั้นหวาดกลัวตำรวจไปทั่วบ้านทั่วเมือง
- บุคคลใดที่คัดค้านรัฐบาลมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกจับกุมคุมขังโดยไม่มีการไต่สวนฟ้องร้อง
- ผู้นำประเทศพยายามสร้างดุลอำนาจระหว่างกรมตำรวจกับกองทัพบกเพื่อรักษาอำนาจของตน ดังเช่นจอมพลแปลก นายกรัฐมนตรี สนับสนุนให้ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ สร้างกรมตำรวจจนเป็นกองทัพที่ใหญ่โนเพื่อรักษาอำนาจดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนกลุ่มนายทหารภายใต้การนำของ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์(ยศในขณะนั้น) ไว้คอยถ่วงดุลอำนาจกับกรมตำรวจ
- การก้าวขึ้นสู้อำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
การรัฐประหาร พ.ศ.2500 สาเหตุก็เนื่องมาจากว่ากลุ่มของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ กับกลุ่มของ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ต่อมาคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ขัดแย้งกันเรื่อยมาด้วยเรื่องการเมืองและเรื่องของผลประโยชน์หลายเรื่อง ความขัดแย้งได้เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จอมพลแปลกได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ทั้งสองฝ่ายประนีประนอมกันแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2500 รัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ผลปรากฏว่าพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งเป็นของฝ่ายรับบาลได้โกงการเลือกตั้งครั้งใหญ่ทั่วประเทศ ประชาชน นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพฯ จำนวนมากมายซึ่งไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาลอยู่แล้ว ได้พากันเดินขบวนประท้วงและขับไล่รัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ออกมาพบประชาชนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ และให้ความหวังแก่ประชาชนในทางที่ดี ฝูงชนจึงสลายตัวไป จอมพลสฤษดิ์ก็ได้รับความนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา
ในที่สุดฝ่ายทหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้ยื่นคำขาดต่อ จอมพลแปลก นายกรัฐมนตรี ให้แก้ไขสถานการณ์ทางการเมืองโดยด่วน เมื่อไม่ได้ผลฝ่ายทหารจึงถอนตัวออกจากการสนับสนุนรัฐบาล ในไม่ช้าจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้เป็นผู้นำทำการรัฐประหาร ในปี พ.ศ.2500 นั้นเอง จอมพลแปลกต้องพลบหนีออกนอกประเทศ และพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ก็ถูกคณะรัฐประหารบังคับให้ออกนอกประเทศ
หลังจากทำการรัฐประหารได้สำเร็จ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และมอบให้นายพจน์ สารสินเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมารัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งกันอีกครั้งหนึ่ง การเลือกตั้งในครั้งนี้มีพรรคสหภูมิซึ่งเป็นพรรคที่จอมพลสฤษดิ์ สนับสนุนได้ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยผลของการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคสหภูมิได้รับการเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก รองลงไปคือ พรรคประชาธิปัตย์
พลโทถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทนนายพจน์ สารสิน การบริหารประเทศของรัฐบาลพลโทถนอม ประสบปัญหายุ่งยาก และวุ่นวาย เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรฝ่ายรัฐบาลเรียกร้องผลประโยชน์และตำแหน่งต่างๆ ในทางการเมือง นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวงอีกด้วย ปัญหาความวุ่นวายเพิ่มขึ้นจน พลโทถนอม ไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ ได้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง โดยมีพลโทถนอม เข้าร่วมด้วย เมื่อยึดอำนาจได้สำเร็จแล้ว จอมพลสฤษดิ์ก็ประกาศล้มเลิกรัฐธรรมนูญ และแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่นิติบัญญัติ และร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ ครั้งนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จัดตั้งคณะรัฐบาลบริหารประเทศจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี 2506
ความคิดเห็น