ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    ลำดับตอนที่ #5 : การเมืองการปกครองช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.26K
      0
      29 ก.พ. 51


    การเมืองการปกครองช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2



                                     เหตุการณ์ที่สำคัญและน่าสนใจในช่วงนี้มีดังต่อไปนี้

    • ารประกาศสถานการณ์ความเป็นกลางของไทยในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2

      เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นมายุโรปในปี พ.ศ.2482 รัฐบาลไทยได้ประกาศยืนยันนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ในขณะนั้นญี่ปุ่นได้วางแผนการที่จะเข้าสู่สงครามโลก โดยใช้กำลังทหารของตนเข้าขับไล่ประเทศตะวันตกทั้งหมดออกจากทวีปเอเซีย เมื่อฝรั่งเศส อังกฤษ ประสบความเพลี่ยงพล่ำในยุโรป ญี่ปุ่นก็เปิดฉากโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐ ที่อ่าวเพิร์ล ตอนเช้ามืดของวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2484 หรือตรงกับเช้ามืดของวันที่ 8 ธันวาคม ตามเวลาในประเทศไทยฐานทัพเรือของสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลถูกทิ้งระเบิดเสียหายย่อยยับ พร้อมกันนั้นกองทัพญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกในดินแดนหลายแห่งในทวีปเอเซียรวมทั้งประเทศไทยด้วย

    สำหรับประเทศไทย กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกบริเวณริ่มฝั่งทะเลไทยด้านตะวันออกไปจนถึงภาคใต้ ได้แก่ บางปู ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี รวมทั้งกองทัพญี่ปุ่นในอินโดจีนก็ได้รุกเข้าสู่จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงครามของไทยอีกด้วย

    ในเกือบทุกแห่ง ทหาร ตำรวจ และยุวชนไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางการรุกรานของญี่ปุ่นอย่างกล้าหาญสุดความสามารถ ญี่ปุ่นเรียกร้องให้ไทยยุติการต่อต้านและยินยอมให้ญี่ปุ่นยกทัพผ่านไทยเพื่อไปโจมตีมลายูและพม่า โดยญี่ปุ่นสัญญาว่าจะเคารพเอกราชและอธิปไตยของไทย รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) เห็นว่า หากไทยยังสู้รบกับญี่ปุ่นต่อไป ประเทศไทยก็จะพินาศเพราะกำลังทหารและอาวุธของไทยไม่อาจต่อต้านญี่ปุ่นได้เลย ดังนั้นรัฐบาลจึงตกลงรับข้อเสนอของญี่ปุ่นและยุติการต่อต้านภายหลังจากที่ได้สู้รบกันนานประมาณ 4-5 ชั่วโมง

    • การประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร              ธงชาติญี่ปุ่ย

    หลังจากที่ไทยยอมให้ญี่ปุ่นยกทัพผ่านประเทศไทยไปโจมตีประเทศเพื่อนบ้านนั้น ญี่ปุ่นพยายามเข้าแทรกแซงกิจการภายในของไทย พยายามที่จะบงการและบีบคั้นรัฐบาลไทยให้ปฏิบัติตามที่ญี่ปุ่นต้องการ ในขณะเดียวกันฝ่ายพันธมิตรก็ได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดตามจุดยุทธศาสตร์ในกรุงเทพและหัวเมืองสำคัญ ทหารไทยจำเป็นต้องยิงต่อสู้กับเครื่องบินฝ่ายพันธมิตร ในที่สุดรัฐบาลก็ได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นผู้นำ เมื่อเดือน มกราคม พ.ศ.2485

    นายปรีดี พนมยงศ์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้หนึ่งในจำนวน 3 ท่าน ไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรในครั้งนี้ จึงมิได้ลงนามในคำประกาศสงคราม คงมีแต่ผู้สำเร็จราชการอีก 2 ท่านเท่านั้นที่ได้ลงนาม

    หลังจากนั้น ประเทศไทยก็ได้ตกอยู่ในสถานการณ์สงครามกับฝ่ายพันธมิตร และร่วมรบกับญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว ญี่ปุ่นได้เอาใจไทยโดยกดินแดนที่ญี่ปุ่นตีมาได้กลับคืนไทย เพราะเคยเป็นดินแดนของไทยมาก่อน เช่น รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส (ปัจจุบันอยู่ในปรเทศมาเลเซีย) เมืองเซียงตุง เมืองพาน (ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า) ในขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็พยายามที่จะควบคุมรัฐบาลไทยให้ปฏิบัติไปตามที่ญี่ปุ่นต้องการ โดยเฉพาะในเรื่องผลประโยชน์ทางการเงิน การค้า และวัตถุดิบซึ่งญี่ปุ่นได้รับจากไทย

    • ขบวนการเสรีไทย                                                ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

    นายปรีดี พนมยงศ์ มีความเชื่อว่า ในสุดท้ายแล้วญี่ปุ่นต้องแพ้สงคราม หากไทยยังร่วมหัวจมท้ายกับญี่ปุ่น ไทยก็จะเป็นฝ่ายแพ้สงคราม อาจถึงขั้นพันธมิตรเข้ายึดครองประเทศไทยได้ ดังนั้น นายปรีดี พนมยงศ์ จึงจัดตั้ง ขบวนการเสรีไทย ใช้รหัสย่อว่า X.O.Group รวบรวมคนไทย ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใด อาชีพใด ทั้งที่พำนักอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีอุดมการณ์ตรงกัน คือ ความมุ่งหมายในการขับไล่ญี่ปุ่นให้ออกไปจากผืนแผ่นดินไทย โดยมีนายปรีดี พนมยงศ์เป็นหัวหน้าใหญ่ ในขณะเดียวกันท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่ด้วย นับว่าเป็นโชคดีของประเทศไทยที่ญี่ปุ่นไม่รู้เลยว่า นายปรีดี พนมยงศ์ คือหัวหน้าใหญ่ของขบวนการเสรีไทย ต่อมาชายไทยทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพที่มีใจรักชาติต่างก็สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของขบวนการเสรีไทย ซึ่งได้ขยายงานไปสู่ต่างจังหวัด บรรดาคนหนุ่มๆ ได้รับการฝึกในการใช้อาวุธและยุทธวิธีการสู้รบตามป่าตามเขา สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้สนับสนุนขบวนการเสรีไทยอย่างลับๆ โดยจัดส่งอาวุธยุทธปัจจัยต่างๆ ตลอดจนครูฝึกทหารมาฝึกเสรีไทย จำนวนสมาชิกของขบวนการเสรีไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับขีดความสามารถในการรบ

    ทางด้านเสรีไทยนอกประเทศ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชฑูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ประกาศไม่ยอมรับรู้และคัดค้านความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น และการที่รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับพันธมิตรนั้นเป็นเพราะญี่ปุ่นบีบบังคับ ประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วย โชคดีที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเข้าใจไทยในเรื่องนี้ พร้อมทั้งสนับสนุนขบวนการเสรีไทยที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เสรีไทยที่มีชื่อเสียงท่านนี้คือ นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้ขึ้นเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตรร่วมกับเสรีไทยนอกประเทศอีกหลายคนเข้าสู่ดินแดนไทยเพื่อร่วมมือกับเสรีไทยในประเทศ

    สำหรับการบริหารประเทศของรัฐบาลในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากรัฐบาลประสบกับปัญหาที่ญี่ปุ่นพยายามบีบบังคับให้รัฐบาลยินยอมมอบผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ญี่ปุ่นแล้ว รัฐบาลยังประสบปัญหาในเรื่องที่รัฐบาลประกาศพระราชกำหนดย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เพชรบูรณ์ และพระราชกำหนดสร้างพุทธบุรีมณฑล พ.ศ.2487 เพื่อจัดสร้างศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่สระบุรี ปรากฏว่า สภาผู้แทนราษฏรไม่เห็นชอบกับพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับ รัฐบาลหลวงพิบูลสงครามหรือจอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง และนายควง อภัยวงศ์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน

    ต่อมาในปี พ.ศ.2488 กำลังกองทัพของญี่ปุ่นร่อยหรอและอ่อนเปลี้ยพ่ายแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตรทุกแนวรบ ในขณะนั้นกองกำลังเสรีไทยนับแสนคนพร้อมที่จะลงมือขับไล่กองทหารญี่ปุ่นให้ออกจากผืนแผ่นดินไทยแล้ว แต่บังเอิญสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณู 2 ลูก ลงสู่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม 2488 ยังผลทำให้ประชาชนญี่ปุ่นบาดเจ็บล้มตายจำนวนมหาศาล ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้ต่อสหรัฐอเมริกา สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงยุติลง โดยที่เสรีไทยไม่ได้ลงมือขับไล่ญี่ปุ่นก็ยอมแพ้เสียก่อน





                                                     การชักธงชาติไทยคู่กับธงชาติญี่ปุ่นที่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อแสดงความยินดี                                การสวนสนามเนื่องในงานฉลองชัยชนะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×