ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ••× Mix Room ห้องรวมความรู้× ••

    ลำดับตอนที่ #3 : ==>Around

    • อัปเดตล่าสุด 6 ก.ย. 51


    สัญลักษณ์กีฬาโอลิมปิก ครั้งที่1-29
    Name : ด.ญ.โอ่ง ญาติตุ่ม < My.iD > [ IP : 124.120.48.193 ]
    Email / Msn:
    วันที่: 10 สิงหาคม 2551 / 15:58


    สัญลักษณ์กีฬาโอลิมปิก ครั้งที่1-29

    สัญลักษณ์ดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า "ปักกิ่งเริงระบำ" จำลองรูปแบบจากตราประทับจีนโบราณ ซึ่งตราประทับนี้ส่วนพื้นเป็นสีแดง ส่วนอักษรแกะสลักเป็นตัว "จิง京" ซึ่งหมายถึง "เป่ยจิง (ปักกิ่ง)" อีกทั้งมีลักษณะคล้ายตัวอักษร "เหวิน" ซึ่งหมายถึงอารยธรรมที่สืบถอดมายาวนานของชนชาติจีน นอกจากนั้น ตัวอักษรที่ปรากฏยังเป็นลักษณะท่าทางของคนที่วิ่งไปข้างหน้าขณะกำลังยินดีที่ได้รับชัยชนะ

             ด้านล่างตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่เขียนจากปลายพู่กันจีน คำว่า "Beijing 2008" ถัดลงไปเป็นสัญลักษณ์ 5 ห่วงของโอลิมปิก (ซินหัวเน็ต / ไชน่านิวส์ / เป่ยฟางเน็ต)
              
    ภายหลังที่มีการเปิดตัวสัญลักษณ์โอลิมปิก "ปักกิ่งเริงระบำ" บรรดาผู้ผลิตต่างใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวประทับอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น เสื้อยืด หมวก แสตมป์พวกกุญแจ และเหรียญที่ระลึก เป็นต้น ปัจจุบันสินค้าดังกล่าวกลายเป็นสินค้าที่ชาวเมืองปักกิ่งพากันแย่งเป็นเจ้าของ เพราะมีจำหน่ายในกรุงปักกิ่งแห่งเดียวเท่านั้น

             เสื้อยืดประทับตราโอลิมปิก 2008 ของแท้ ราคาประมาณ 100 หยวน เมื่อยกขึ้นส่องดูแล้วจะต้องโปร่งแสง เมื่อลูบจะต้องรู้สึกว่าตรานูนขึ้น เมื่อซักแล้วตราจะต้องไม่หลุดลอก และวัสดุที่ใช้ตัดเสื้อจะต้องเป็นผ้าฝ้ายเนื้อดี
        
         นอกจากนี้ จะเปิดตลาดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศก่อน ซึ่งเป็นระยะที่ 5 ของโครงการ คือ ตั้งแต่ปี 2001-2004 หลังจากนั้นในปี 2005-2008 ซึ่งเป็นระยะที่ 6 จะมีการขยายขอบเขตไปยังต่าง
    ประเทศ

    สัญลักษณ์การจัดแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่1-28

    ภาพสัญลักษณ์การจัดแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 1-15 (เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา)


    แถวแรกบน
    ครั้งที่ 1 (ปี ค.ศ. 1896) กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
    ครั้งที่ 2 (ปี ค.ศ. 1900) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
    ครั้งที่ 3 (ปี ค.ศ. 1904) เมืองเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
    ครั้งที่ 4 (ปี ค.ศ. 1908) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
    ครั้งที่ 5 (ปี ค.ศ. 1912) กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน

    แถวที่ 2
    ครั้งที่ 7 (ปี ค.ศ. 1920) เมืองแอนท์เวิร์บ (Antwerp) ประเทศเบลเยียม
    ครั้งที่ 8 (ปี ค.ศ. 1924) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
    ครั้งที่ 9 (ปี ค.ศ. 1928) กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
           
    แถวที่3
    ครั้งที่ 10 (ปี ค.ศ. 1932) เมืองลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
    ครั้งที่ 11 (ปี ค.ศ. 1936) กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
    ครั้งที่ 14 (ปี ค.ศ. 1948) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
    ครั้งที่ 15 (ปี ค.ศ. 1952) กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์

    ภาพสัญลักษณ์การจัดแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 16-19 (เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา)



    แถวแรกบน
    ครั้งที่ 16 (ปี ค.ศ. 1956) เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และในครั้งที่ 16 (ปี ค.ศ. 1956) จัดให้การแข่งขันกีฬาขี่ม้า ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
    ครั้งที่ 17 (ปี ค.ศ. 1960) กรุงโรม ประเทศอิตาลี
    ครั้งที่ 18 (ปี ค.ศ. 1964) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
          
    แถวที่ 2
    ครั้งที่19 (ปี ค.ศ. 1968) กรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก

    ภาพสัญลักษณ์การจัดแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 20-28 (เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา)


    แถวแรกบน
    ครั้งที่ 20 (ปี ค.ศ. 1972) เมืองมิวนิค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
    ครั้งที่ 21 (ปี ค.ศ. 1976) เมืองมอนทรีโอ ประเทศแคนาดา
    ครั้งที่ 22 (ปี ค.ศ. 1980) กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต
          
    แถวที่2
    ครั้งที่ 23 (ปี ค.ศ. 1984) เมืองลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
    ครั้งที่ 24 (ปี ค.ศ. 1988) กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
    ครั้งที่ 25 (ปี ค.ศ. 1992) กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน
          
    แถวที่3
    ครั้งที่ 26 (ปี ค.ศ. 1996) เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา
    ครั้งที่ 27 (ปี ค.ศ. 2000) เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
    ครั้งที่ 28 (ปี ค.ศ. 2004) กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
           หมายเหตุ :
    ครั้งที่ 6 (ปี ค.ศ. 1916) ไม่มีการจัดแข่งขัน เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1
    ครั้งที่ 12 (ปี ค.ศ. 1940) และครั้งที่13 (ปี ค.ศ. 1944) ไม่มีการจัดแข่งขัน เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2

    ข้อมูลจาก : http://www.tlcthai.com/club/club.php?club=china_chiness&club_id=1162



       > My.Emotion Vote
    Vote ความรู้สึกต่อกระทู้นี้
        > นี่คืออะไรเหรอ?
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×