คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : สงครามกับพม่า
ความมุ่งหมายของพระเจ้าปดุงที่เข้ามาตีไทยมีหลายประการ คือ
๑. เมืองขึ้นครองราชย์ในกรุงอังวะ พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ปราบจราจลทั้งในประเทศและหัวเมืองขึ้นได้สำเร็จ สร้างเมืองอมรปุระขึ้นเป็นราชธานี ได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง จนมาติดตอกับเขตแดนไทย พม่าจึงคิดจะขยายอาณาเขตมายังไทย พระเจ้าปดุงได้รวบรวมผู้คนได้เพียงพอคิดจะมารบไทย เป็นเหตุให้ไทยต้องทำสงครามกับพม่ารวม ๗ ครั้งในรัชกาลที่ ๑ อีก ๑ ครั้ง เป็นรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓ โปรดให้ยกทัพไปช่วยอังกฤษรบพม่าอีก ๑ ครั้ง รวมทั้งหมดไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้งในสามรัชกาลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๒. พระเจ้าปดุงต้องการจะแผ่พระเดชานุภาพ เพราะวีรกษัตริย์ของพม่า เช่น พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าตะเบงชเวตี้ พระเจ้าอลองพญา และพระเจ้ามังระ ล้วนแต่เคยมาตีไทยทั้งสิ้น
๓. เพื่อเป็นที่เกรงขามแก่ประเทศราชของพระองค์
การจัดและยกทัพของพระเจ้าปดุง กองทัพพม่าครั้งนี้เป็นทัพใหญ่ที่สุด เกณฑ์ทหารในเมืองหลวงและประเทศราชหลายชาติหลายภาษา ประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่น จัดเป็นกองทัพ ๙ ทัพ ยกเข้ามา ๕ ทาง การยกทัพมาครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้งคือเข้ามาทุกทาง แต่ครั้งก่อน ๆ นั้นพม่ายกทัพมาทางเดียวหรืออย่างมากสองทาง คราวนี้มาถึง ๕ ทาง และนัดโจมตีไทยพร้อมกันทุกจุด กองทัพทั้ง ๙ ที่ยกมา คือ.-
กองทัพที่ ๑ | ชุมนุมทัพที่เมืองมะริด ยกเข้าทางด่านสิงขร ทัพบกให้ตีชายฝั่งทะเลตะวันออก เมืองชุมพรลงไปถึงเมืองสงขลา ทัพเรือ ให้ตีเมืองตะกั่วป่าไปจนถึงเมืองถลาง |
กองทัพที่ ๒ | ชุมนุมทัพที่เมืองทวาย ยกเข้าทางด่านบ้องตี้ ยกมาตีเมืองราชบุรี ไปบรรจบกับทัพที่ ๑ ที่เมืองชุมพร |
กองทัพที่ ๓ | เข้ามาทางเมืองเชียงแสนลงมาตีเมืองลำปาง เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เมืองนครสวรรค์ ลงมาบรรจบทัพหลวงที่กรุงเทพ ฯ |
กองทัพที่ | ชุมนุมทัพที่เมืองเมาะตะมะ เข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ตรงมาตีกรุงเทพ ฯ (ทัพที่ ๖, ๗ นั้นเป็นทัพราชบุตรของพระเจ้าปดุง ส่วนทัพที่ ๘ คือ ทัพหลวงพระเจ้าปดุงทรงเป็นจอมทัพเอง) |
กองทัพที่ ๙ | ยกมาทางด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก ตีหัวเมืองทางริมแม่น้ำปิง ตั้งแต่เมืองตาก เมืองกำแพงเพชร ลงมาบรรจบทัพหลวงที่กรุงเทพ ฯ |
ทั้งเก้าทัพนี้ พระเจ้าปดุงรับสั่งให้ตีกรุงเทพฯ พร้อมกันทุกทัพในเดือนอ้าย พ.ศ. ๒๓๒๘ ประสงค์จะทุ่มกำลังใหญ่ให้พร้อมกันเพื่อมิให้ไทยสู้ได้
การจัดทัพของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
ศึกครั้งนี้ไทยเสียเปรียบเพราะมีกำลังน้อยกว่าพม่า เท่าที่รวบรวมได้ทั้งสิ้นเพียง ๗ หมื่นเศษเท่านั้น พม่ายกทัพเข้ามาหลายทางจึงทำให้การรับข้าศึกลำบาก อีกประการหนึ่งพึ่งตั้งตัวสร้างเมืองใหม่ได้ ๓ ปีเท่านั้น ไม่ทันได้ปรับปรุงหัวเมืองภาคเหนือจึงทำให้ขาดกำลังต้านทานไป ดังนั้น การจัดทัพต้องใช้ความรอบคอบอย่างมาก ใช้กำลังน้อยเอาชนะกำลังมาก
การจัดทัพไม่สามารถจัดรับศึกได้ทุกด้าน จะรับเฉพาะด้านที่สำคัญที่สุด เมื่อปราบด้านสำคัญแล้วจึงจะจัดการทัพอื่นต่อไป การรับศึกคราวนี้ไม่ใช้เมืองหลวงเป็นที่มั่นอย่างแต่ก่อน แต่ออกไปสู้ศึกนอกกรุง แต่ถ้าเหลือกำลังจึงจะเอาเมืองหลวงเป็นที่มั่น
ไทยได้จัดทัพเป็น ๔ ทัพ คือ
๑. ทางด้านเหนือ โปรดให้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ คุมพลไปตั้งที่นครสวรรค์ รับทัพพม่าทางด้านเหนือไม่ให้ยกเข้ากรุงได้
๒. ทางด้านกาญจนบุรี ใหญ่กว่าทุกด้าน ด้านนี้สำคัญที่สุด เพราะพระเจ้าปดุงยกทัพเข้ามาด่านนี้ โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทคุมพลไปรับทัพพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า เมืองกาญจนบุรี
๓. ทางตะวันตกเฉียงใต้ โปรดให้เจ้าพระยาธรรมากับเจ้าพระยายมราช คุมพล ๕ พันคน ไปรับทัพพม่าที่จะเข้ามาทางด่านบ้องตี้ (ราชบุรี)
๔. ทัพหลวง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าทรงคุมทัพหลวงคุมเชิงที่กรุงเทพฯ เพื่อรักษาพระนคร และถ้าศึกด้านใดหนักก็จะได้ยกไปช่วยทันที
การรบ ที่สำคัญมีดังนี้
๑. การรบที่ทุ่งลาดหญ้า สำคัญที่สุด ชัยชนะของไทยอยู่ที่ยึดทุ่งลาดหญ้าไว้ได้ก่อนพม่า ทำให้พม่าต้องค้างอยู่บนเขา (เขาบรรทัด) ซึ่งเป็นการลำบากในการรวมกำลัง การส่งเสบียงอาหารและการต่อสู้ โดยใช้แบบกองโจรออกตัดการลำเลียงของพม่าเป็นผลสำเร็จ ทำอุบายให้พม่าเข้าใจผิดจึงเกิดการระส่ำระสาย ไทยคอยทีอยู่แล้วก็โจมตีพม่าแตกไป เมื่อกองหน้าแตกพระเจ้าปดุงจึงสั่งให้เลิกทัพกลับ
๒. การรบทางด่านบ้องตี้ แม่ทัพไทยที่ตั้งรับอยู่นั้นไม่ทันรู้ตัวว่าพม่าเข้ามาถึงเขางู พอดีกรมพระราชวังบวร ฯ เสร็จศึกทางลาดหญ้าจึงยกทัพไปช่วยต้านได้ทัน ได้สู้รบพม่าแตกหนีไป
๒. การรบทางด้านเหนือ กองทัพที่สามของพม่าซึ่งกำหนดให้มาทางเมืองเชียงแสนได้แบ่งกันยกลงมาสองทาง ตีได้หัวเมืองต่าง ๆ จนถึงพิษณุโลกแล้วเข้าล้อมลำปางไว้ พระยากาวิละเจ้าเมืองเป็นผู้เข้มแข็งต่อสู้รักษาเมืองอยู่ได้ การที่พม่าตีหัวเมืองได้รวดเร็วเพราะเมืองเหล่านี้อ่อนแอมาแต่ครั้งศึกอะแซหวุ่นกี้
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เสด็จยกทัพไปนั้น พม่ายกล่วงแดนเข้ามาแล้ว จึงทรงตั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าเสด็จยกทัพหลวงออกจากกรุงเทพฯ ไปช่วยทางเหนือ โปรดให้ระดมกำลังเข้ารบพม่า พม่าแตกหนี แล้วจึงโปรดให้กองทัพหนึ่งขึ้นไปช่วยนครลำปางตีพม่าแตกหนีกลับไป ส่วนพม่าซึ่งเข้ามาทางด่านแม่ละเมา ตั้งที่เมืองตาก ทราบว่าไทยยกมาก็ถอยหนี
๓. การรบทางด้านใต้ เมื่อเสร็จศึกด้านสำคัญแล้ว ไทยจึงยกไปช่วยทางใต้ มีกรมพระราชวังบวร ฯ เป็นแม่ทัพ ตีได้หัวเมืองต่าง ๆ จนถึงพิษณุโลกแล้วเข้าล้อมลำปางไว้ พระยากาวิละเจ้าเมืองเป็นผู้เข้มแข็งต่อสู้รักษาเมืองอยู่ได้
กองทัพเรือของพม่าตีได้ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่าได้แล้วล้อมเมือถลาง เวลานั้นพระยาถลางถึงแก่กรรมยังมิได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ คุณหญิงจันทร์ ภรรยาพระยาถลางกับนางมุกน้องสาวช่วยกันกับกรรมการเมืองสู้รบพม่ารักษาเมืองไว้ได้ พม่าขาดเสบียงจึงยกทัพกลับไป เมืองถลางจึงไม่เสียแก่พม่า เมื่อเสร็จศึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดให้ คุณหญิงจันทร์ เป็น ท้าวเทพสตรี นางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ทัพบกพม่าตีได้เมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง ที่เมืองพัทลุงมีคนดีต่อสู้พม่าชื่อมหาช่วย นับเป็นความดีความชอบ จึงโปรดแต่งตั้งให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์
เมื่อเสร็จศึกพม่าแล้ว เลยไปตีปัตตานี ได้เมืองและปืนใหญ่ชื่อ นางพญาตานี ไทยได้รับดินแดนเพิ่มเนื่องด้วยเมืองไทรบุรี เมืองตรังกานู และเมืองกลันตันขอขึ้นกับไทย
฿ -
ครั้งที่ ๒ ศึกท่าดินแดง สามสบ พ.ศ. ๒๓๒๙
พระเจ้าปดุงไม่เคยแพ้สงครามเกรงเมืองขึ้นจะดูหมิ่น จึงยกทัพมาอีกใน พ.ศ. ๒๓๒๙ คราวนี้คิดแก้ความบกพร่องคราวก่อน เปลี่ยนยุทธวิธีคือยกทัพใหญ่ทัพเดียวเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ เตรียมเสบียงอาหารอย่างดี ให้พระมหาอุปราชาราชบุตรพระองค์ใหญ่คุมพล ๓ หมื่น เข้ามาเตรียมการ ส่วนพระเจ้าปดุงยกทัพหลวงตามมาตั้งที่มั่นที่ท่าดินแดงและสามสบ ทัพหลวงตีค่ายท่าดินแดง รบอยู่ ๓ วัน ไทยได้ชัยชนะ
ครั้งที่ ๓ คราวพม่าตีลำปางและป่าซาง พ.ศ. ๒๓๓๐
การที่พม่าแตกทัพกลับไปสองครั้ง ประเทศราชทางเหนือมีเชียงตุง เชียงรุ้ง พากักระด้างกระเดื่อง พระเจ้าปดุงให้ยกทัพมาปราบได้แคว้นลานนา ตีได้เชียงใหม่ พระยากาวิละได้รับคำสั่งให้ไปช่วย ครั้นถึงเชียงใหม่เห็นกำลังน้อยจึงยกไปตั้งที่ป่าซาง ต่อมาโปรดให้กองทัพเมืองกำแพงเพชรและเมืองสวรรคโลกไปช่วยรักษาป่าซาง พระเจ้าปดุงส่งทัพจากเมาะตะมะมาตีป่าซางฝ่ายไทยสู้เข้มแข็งพม่าตีไม่ได้
ขณะนั้น ทางกรุงเทพฯ กำลังเตรียมทัพไปตีพม่าเพื่อแก้แค้น โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชฯ เสด็จยกทัพไปช่วยตีพม่าที่ล้อมลำปางแตกแล้ก็ไปช่วยด้านป่าซางอีก เมื่อเสร็จสงครามแล้วได้เชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงใหม่มากรุงเทพฯ ด้วย
ครั้งที่ ๔ ตีเมืองทวาย พ.ศ. ๒๓๓๐
ไทยยกไปตีเมืองทวาย แต่ไทยไม่รู้จักทางดี ได้เลือกเดินทางผิดได้รับความลำบากมากในการปีนเขาสูง ขาดเสบียงอาหาร แม้ว่าแม่ทัพนายกองจะอาสารีบตีเมืองทวาย แต่ก็ทรงงพระราชดำริว่าถึงตีได้ก็ยากที่จะรักษาไว้ จึงโปรดให้เลิกทัพกลับ ศึกทวายครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๓๖
เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริดเป็นอิสระหันมายอมสวามิภักดิ์กับไทย ทำให้ไทยสะดวกในการที่จะคิดไปตีพม่า เหตุที่ได้มาเพราะมังจันจาเจ้าเมืองทวายมีความหวังจะได้ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการหัวเมืองปักษ์ใต้แทนอะแซหวุ่นกี้ เมื่อผิดหวังก็เข้ามาอ่อนน้อม มีรับสั่งให้เอาตัวมังจันจากับพวกมาไว้ที่กรุงเทพฯ พระราชทานที่ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้วัดยานนาวา ตำบลนั้นจึงได้ชื่อว่า "บ้านทวาย"
การรบกับพม่าต่อไปอีกเพียงสองสามครั้ง หลังจากตีเมืองทวายแล้ว พม่ามาตีเชียงใหม่อีกแต่ไม่สำเร็จ เหตุการณ์ภายในตอนนี้ กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จสวรรคตทำให้ตำแหน่งอุปราชว่างลง ทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนอิสระสุนทรเป็นอุปราชแทน
สงครามระหว่างไทยกับพม่าว่างลงจนถึง พ.ศ. ๒๓๕๒
ความคิดเห็น