ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #65 : เทพเจ้าแห่งนครสุสาน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 937
      0
      10 ม.ค. 50

    เทพเจ้าแห่งนครสุสาน


            
    	นับเป็นเวลานานก่อนที่เมืองเมมฟิสจะเกิดขึ้น  บริเวณแห่งนั้นเป็นสุสานขนาดใหญ่  ซึ่งประชาชนชาวไอยคุปต์ทั่วไปนิยมนำศพญาติมิตร
    ไปฝังไว้ในช่วงก่อนยุคราชวงศ์ได้มีเทพเจ้าองค์หนึ่งปรากฎขึ้น  มีพระนามว่า "เทพเจ้าโซการ์"  ซึ่งชาวไอยคุปต์ที่เคารพบูชาถือว่าพระองค์ คือ ผู้
    พิทักษ์นครสุสาน  เดิมทีมีสัญลักษณ์เป็นรูปเครื่องรางเล็ก ๆ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรูปร่างเหยี่ยวและนกที่บินอยู่ในระดับสูงเหนือเขตทะเลทรายรอบ
    นครสุสานที่มีชื่อใหม่ว่า "นีโครโปลิส"
    	ครั้นถึงยุคอาณาจักรเก่าก็เปลี่ยนสัญลักษณ์เป็นรูปร่างมนุษย์  มีศีรษะเป็นรูปหัวเหยี่ยวคล้ายเทพเจ้าฮอรัส  แต่ภาพเขียนที่ปรากฎทั่วไป 
    ภาพเทพเจ้าโซการ์เป็นภาพที่ประทับอยู่บนก้อนหินหรือบัลลังก์  ถือสัญลักษณ์อำนาจอันยิ่งใหญ่  ต่อมาในยุคของอาณาจักรใหม่  สัญลักษณ์ได้เปลี่ยน
    เป็นรูปมัมมีหัวเป็นหัวเหยี่ยว  เน้นให้เห็นความสัมพันธ์กับพิธีกรรมฝังศพโดยเฉพาะ  พระองค์ทรงสวนหัวเหยี่ยวและมงกุฎซ้อนบนประกอบด้วย
    มงกุฎเอเทฟ  แผ่นกลมดวงอาทิตย์  เขาสองข้างและงูเห่าสองตัว
    	งานเฉลิมฉลองประจำปีจัดขึ้นในวันที่  26 ของเดือนที่สี่ของฤดูหนาว  พิธีกรรมในช่วงฤดูนี้ถือว่าเทพเจ้าโซการ์มีต้นกำเนิดเป็นเทพเจ้า
    แห่งเกษตรกรรมเช่นเดียวกับเทพเจ้าโอซิริส  ในพิธีบรรดานักบวชและสาวกที่เลื่อมใสจะลากเรือที่มีรูปปั้นเทพเจ้าโซการ์ผ่านทุ่งหญ้าที่แห้งแล้ง  เชื่อ
    กันว่าพระองค์ทรงให้พรเพื่อให้ทุ่งหญ้าทั้งสองฟากฝั่งมความอุดมสมบูรณ์และมั่งคั่ง
    	ภายหลังจากได้สร้างนครเมมฟิสแล้ว  เทพเจ้าพทาห์ได้กลายเป็นเทพเจ้าองค์ประธาน  ส่วนเทพเจ้าโซการ์ก็ยังเป็นเทพเจ้าแห่งการฝังศพ
    	เชื่อกันว่า  พระองค์ทรงประทับอยู่ภายในถ้ำลึกลับที่ชื่อว่า  "อิมเฮ็ต"  ซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้โลกบาดาล  ส่วนวิหารบูชาพระองค์ก็อยู่ในเมือง
    เมมฟิสใกล้กับพระวิหารของเทพเจ้าพทาห์
    	สัญลักษณ์ของเทพเจ้าเซเบ็คอีกแบบหนึ่งเป็นรูปมัมมีจระเข้  หรือบุรุษที่มีศีรษะเป็นรูปหัวจระเข้สวมเขา  คล้ายเทพอะมัน-รา  ตรงระหว่ง
    เขามีแผ่นดวงอาทิตย์และทั้งสองข้ามียูเรอัส (งูเห่า)  ข้างละตัว  แต่ละตัวก็สวมมงกุฎแผ่นดวงสุริยะเช่นเดียวกัน
    		http://dbsql.sura.ac.th/know/egypt/page4-2.htm  และก็ขอบคุณอีกนะขอรับ^^
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×