ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #53 : แรงงานชาวนา (โดย สวัสดีอียิปต์ )ขอบคุณคร้าบ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 752
      0
      23 ธ.ค. 49

    แรงงานชาวนา (โดย สวัสดีอียิปต์ )
    หากแม้นว่าฟาโรห์จะทรงขาดแคลนอะไรไปบ้าง แต่สิ่งที่พระองค์ไม่ทรงขาดอย่างแน่นอน คือ เวลาและแรงงาน นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชื่อ เฮโรโดตุส อ้างคำบอกของพระชาวอียิปต์ในสมัยของเขาเอง (450 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ว่าปิรามิดใช้คนงาน 100,000 คนทำงานคราวละ 3 เดือน ซึ่งก็มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือยืนยันคำบอกเล่านี้ คือในแม่น้ำไนล์ ในแต่ละปีจะท่วมพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลา 3 เดือน ทำให้ชาวนาเพาะปลูกอะไรไม่ได้ ช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีแรงงานให้ใช้เหลือเฟือ เฮโรโดตุส กล่าวว่า การก่อสร้างมหาปิรามิดใช้เวลาถึง 20 ปี ซึ่งยังไม่รวมเวลาอีก 10 ปีในการเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง ตลอดจนการสร้างวิหาร 2 หลังสำหรับพิธีศพและการสร้างทางเชื่อมต่อระหว่างวิหาร 2 หลังนั้น ทางเชื่อมนี้ใช้ขนส่ง ก้อนหินจากแม่น้ำไนล์ด้วย สันนิษฐานว่าในแต่ละช่วงเวลาคงจะมีแรงงานฝีมือประจำทำเลก่อสร้างประมาณ 4,000 คน และ คงจะมีอีกมากมายที่ทำงานสกัดหินอยู่ในเหมืองและลำเลียงหินไปยังกิซา งานสร้างปิรามิดเริ่มด้วยการสกัดและตัดแต่งหินแต่ละก้อน หินที่ใช้เป็นหลักคือ หินปูน ส่วนหนึ่งนำมาจาก เหมืองใกล้ที่ก่อสร้าง แต่หินปูนสีขาวเนื้อละเอียดที่ใช้หุ้มผิวนอกของปิรามิดนั้นมาจากเหมืองข้างหน้าผาที่เมืองทูรา ซึ่งอยู่ห่าง ออกไป 13 กิโลเมตร ทางคนละฝั่งของแม่น้ำไนล์ สำหรับหินที่ใช้กรุภายในผนังห้อง คือ หินแกรนิต จากเหมืองที่เมืองอัสวาน ซึ่งอยู่เหนือลำน้ำขึ้นไป 960 กิโลเมตร ร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ตามหินแสดงให้เห็นวิธีการทำงานในเหมืองโบราณเหล่านี้ คือ คนงานจะใช้สิ่วทองแดง เซาะลงไปจนถึงชั้นหินปูน แล้วจึงแยกเอาหินปูนออกจากเนื้อหินทีละก้อน สิ่วทองแดงนี้ทำได้โดยการเผาเพื่อตีขึ้นรูป แล้วจุ่มลง ในน้ำจนเนื้อทองแดงแกร่ง หินปูนคือหินตะกอนซึ่งมักแตกออกเป็นชั้นในทางแนวนอนและเป็นรอยร้าวได้ง่ายตามแนวตั้งซึ่งคุณสมบัติทั้ง สองนี้ทำให้การสกัดหินสะดวกขี้น
    หินแกรนิตเป็นหินอัคนี จึงไม่มีรอยแยกตามธรรมชาติแบบหินปูน วิธีสกัดคือเขาจะก่อไฟบนผิวของหินแกรนิต เมื่อหินร้อนได้ที่ก็ราดน้ำเย็นลงไป ทำให้หินส่วนบนซึ่งมีตำหนิแยกออก เผยให้เห็นเนื้อหินแกรนิตคุณภาพดี อยู่ข้างใต้ ชาวอียิปต์แยกหินแกรนิตแต่ละก้อนออกจากเนื้อหินได้โดยการใช้ก้อนหินโดเลอไรต์ตอกทั้ง 4 ด้าน เพราะหินโดเลอไรต์มีเนื้อแข็งกว่าหินแกรนิต จากนั้นก็แยกก้อนหินจากเนื้อหินข้างใต้ โดยช่างหินจะเซาะฐานล่างของก้อนหินให้เป็นร่อง แล้วตอกลิ่มไม้ลงไปตามร่องนี้ จากนั้นเอาน้ำราดลงไปบนลิ่มไม้ เมื่อลิ่มเปียกน้ำก็จะพองตัว และแยกก้อนหินให้หลุดออกจากเนื้อหินดังกล่าว ขั้นต่อไปคือ การแต่งก้อนหินปูนและแกรนิตให้เข้ารูปโดยใฃ้สิ่วทองแดงและก้อนหินโดเลอไรต์เป็นอุปกรณ์ มี การค้นพบก้อนหินโดเลอไรต์ที่เหมืองหินในเมืองอัสวานหลายก้อนด้วยกัน การแต่งก้อนหินอย่างหยาบ ๆ คงจะทำกันที่เหมือง แต่การตกแต่งขั้นสุดท้ายนั้น ทำกันที่จุดก่อสร้างซึ่งมีช่าง ฝีมืออยู่ จากนั้นก็ยกหินใส่ในไม้โยกแล้วโยกเอาก้อนหินลงใส่ในจุดที่ต้องการ ระหว่างการสกัดหินเป็นก้อน เขาก็เตรียมพื้นที่ก่อ สร้างปิรามิดไปพร้อมกันด้วย การปรับระดับพื้นที่ก่อสร้างนั้นคงใช้วิธีเดียวกับการสกัดก้อนหิน คือตอกด้วยก้อนหินโดเลอไรต์ ก่อนแล้วเซาะด้วยสิ่วทองแดง ซึ่งคงต้องอาศัยช่างหินที่ชำนาญ แม้จะไม่มีเครื่องมือวัดระดับใช้ แต่ชาวอียิปต์ก็รู้กฎธรรมชาติว่า น้ำจะไหลไปรวมที่ระดับใดระดับหนึ่งเสมอ ดังนั้นเขาจึงขุดคูล้อมรอบบริเวณเนินซึ่งจะเป็นที่ตั้งของปิรามิด แล้วขุดคลองชักน้ำ จากแม่น้ำไนล์ให้ไหลมาหล่อเลี้ยงคู

    http://www.wichintinso.cjb.net/  เชิญเข้าดูได้ที่นี่นะครับผม
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×