ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #51 : เล่าขานตำนาน "สฟิงซ์"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.67K
      0
      23 ธ.ค. 49

    เล่าขานตำนาน "สฟิงซ์"
    สฟิงซ์ (sphinx) เป็นภาษากรีก แปลว่า ผู้บีบคอ (strangler) เชื่อว่ามาจากภาษาอียิปต์โบราณว่า ซีเซปอังก์ (Shesep ankh) ซึ่งแปลว่า รูปที่มีชีวิต เชื่อว่าสฟิงซ์แห่งอียิปต์มีความเกี่ยวโยงไปถึงกษัตริย์ สุริยเทพ-เร อย่างแน่นอน แต่ชาวอาหรับกลับเรียก สฟิงซ์ว่า อะบูฮัล (Abu Hal) แปลว่า บิดาแห่งความน่าสะพรึงกลัว

    ความจริงสฟิงซ์ในอียิปต์มิใช่มีแต่รูปร่างสิงโตเท่านั้น หากแต่ว่าในสมัยต่อๆมาโดยเฉพาะสมัยราชอาณาจักรกลาง และ ใหม่ มักสร้างสฟิงซ์ในรูปของแกะและสัตว์อื่นๆ เพื่อตั้งเรียงรายเป็นแถวยาวเหยียดอยู่หน้าวิหาร เช่น วิหารลักซอร์ มหาวิหารคานัก และวิหารของพระนางแฮตเชปซุต เป็นต้น

    มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับสฟิงซ์ว่า เมื่อพันปีที่แล้วหลังจากการสร้างพีระมิดของฟาโรห์คาฟราเสร็จสิ้นลงแล้ว มีเจ้าชายองค์หนึ่งพระนามว่าทัตโมซิส ได้ออกล่าสัตว์บริเวณที่ตั้งพีระมิด และได้ทรงบรรทมอยู่ใต้รูปปั้นสฟิงซ์ ซึ่งสมัยนั้นถูกทรายทับถมจนปิดถึงต้นคอ พระองค์ทรงพระสุบินว่า สฟิงซ์สิงโตปรากฏกายเป็นเทพเจ้าฮาร์มาชีส

    เทพเจ้าองค์นี้ได้ทำนายว่าเจ้าชายจะได้ขึ้นครองราชย์แน่นอน และหากขึ้นครองราชย์แล้วขอให้พระองค์ช่วยปลดปล่อยตนให้เป็นอิสระจากกองทรายที่ทับถมไว้ทั้งหมดด้วย เมื่อเจ้าชายทัตโมซิสทรงตื่นขึ้น ก็จำความฝันได้อย่างแม่นยำ พระองค์ทรงสวดมนต์ภาวนาและสัญญาว่าจะปฏิบัติตามคำขอของเทพเจ้าฮาร์มาชีสอย่างแน่นอนหากขึ้นครองราชย์

    ซึ่งคงเป็นไปได้ยากเนื่องจากเจ้าชายทัตโมซิสทรงมีพระเชษฐาและพระอนุชาหลายพระองค์ แต่ด้วยความที่เป็นพระโอรสองค์โปรดของฟาโรห์ ทำให้เป็นที่อิจฉาริษยาของบรรดาพระเชษฐาและพระอนุชายิ่งนัก การต่อสู้ชิงอำนาจภายในจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง อันเป็นที่มาของความกลัดกลุ้มพระทัยของเจ้าชายจึงได้เสด็จออกไปล่าสัตว์ จนได้พบกับเทพเจ้าฮาร์มาชีสดังกล่าว

    แต่ในที่สุดเจ้าชายทัตโมซิส ได้ขึ้นครองราชย์สมดังคำทำนาย ทรงพระนามว่า ฟาโรห์ทัตโมซิสที่ 4 เมนคาพีรูเร (1419 - 1389 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ทรงปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุขถึง 33 ปี
    หลังจากขึ้นครองราชย์พระองค์สั่งระดมคนงานขุดทรายออกจากสฟิงซ์ตามคำสัญญา ทำให้สามารถเห็นรูปร่างของสฟิงซ์เต็มตัวอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้พบเห็นเป็นอันมาก อย่างไรก็ตามเหตุที่เฮโรโดตัสไม่ได้ให้ความสนใจสฟิงซ์ที่โผล่มาแค่ส่วนศีรษะก็เพราะคิดว่าเป็นรูปปั้นใหญ่ธรรมดาของฟาโรห์เท่านั้น หาทราบไม่ว่าใต้พื้นทรายที่สะสมกันนั้นเป็นร่างมหึมาของสิงโต แต่เมื่อเวลาล่วงเลยไปจนถึงสมัยฟาโรห์ราเมซิสที่ 2 (1,279-1,212 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในราชวงศ์ที่ 19 แห่งราชอาณาจักรใหม่ทรายได้ทับถมสฟิงซ์ทั้งร่างอีกครั้ง เหลือให้เห็นเพียงส่วนศีรษะและคอเท่านั้น

    เมื่อฟาโรห์ทัตโมซิสที่ 4 ทรงมีพระบัญชาให้ขนย้ายทรายออกไปจากตัวสฟิงซ์แล้ว ได้ทรงสร้างแท่งศิลาจารึกบันทึกเรื่องราวที่พระองค์ทรงสุบินไว้ รวมทั้งคำสวดต่างๆ แท่งศิลาจารึกดังกล่าวรู้จักกันในนามแท่นศิลาแห่งความฝัน (Dream Stele) ตั้งไว้ที่หน้าตัวสฟิงซ์ ระหว่างอุ้งเท้าทั้งสอง อีกทั้งทรงสร้างกำแพงอิฐดินสอโคลนล้อมรอบเพื่อความมั่นคงและแข็งแรงยิ่งขึ้น

    สฟิงซ์  มีลำตัวยาว 74 เมตร สูตร 20 เมตร ส่วนกว้างที่สุดของใบหน้าวัดได้ 4 เมตร ปากกว้าง 2 เมตร หูยาว 1 เมตร ส่วนจมูกที่หลุดหายไปยาวประมาณ 1.5 เมตร นักปราชญ์ทั้งหลายเชื่อว่าสฟิงซ์สลักขึ้นจากหินก้อนใหญ่ที่เหลือจากการขุดเจาะทำเหมืองหิน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าใบหน้าของสฟิงซ์ คือ ใบหน้าของฟาโรห์นั่งเอง ข้อสันนิษฐานนี้เป็นของนักโบราณคดีและนักวิชาการในอดีตที่บันทึกไว้ แต่นักค้นคว้าสมัยใหม่หลายคนพยายามหาข้อสันนิษฐานใหม่ขึ้นมาขัดแย้ง ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่นักวิชาการจนถึงปัจจุบัน

    http://www.aksorn.com/Lib/libshow.asp?sid=300
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×