ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #23 : คลีโอพัตรา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.71K
      1
      16 ธ.ค. 49

    คลีโอพัตรา

    คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์ (Κλεοπάτρα θεά φιλοπάτωρ ชาตะ ธันวาคม 70 ปีก่อนคริสตกาล หรือ มกราคม 69 ปีก่อนคริสตกาล– มรณะ 12 สิงหาคม? 30 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีแห่งอียิปต์โบราณ และเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของราชวงศ์ปโตเลมีแห่งมาเซโดเนีย ดังนั้น จึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย บิดาของพระนางคือปโตเลมีที่ 12 โอเลเตส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ"คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา"

    ในปัจจุบัน คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับได้ว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้นๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อนๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกับพระนางถูกลืมไปสิ้น จริงๆ แล้วพระนางไม่เคยปกครองอียิปต์ตามลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา พระอนุชา พระอนุชา-สวามี หรือไม่ก็พระโอรส แต่อย่างไรก็ดี การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น

    รูปปั้นของคลีโอพัตรา

    ขยาย
    รูปปั้นของคลีโอพัตรา


    ชีวประวัติ

    คลีโอพัตราที่ 7 เป็นชาวกรีกที่กำเนิดในดินแดนอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ได้ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ ปโตเลมีที่ 12 แห่งอียิปต์ เมื่อพระบิดาของพระนางสวรรคตในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 51 ก่อนคริสตกาล พระนางเป็นพระราชธิดาองค์โตของโอเลเตส เมื่อพระเชษฐภคินีอีกสองพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระนางยังมีพระขนิษฐาอีกองค์ที่มีชื่อว่าอาร์สิโนเอ ในช่วงแรกของการขึ้นครองราชย์ พระนางได้ครองราชย์ร่วมกับพระบิดาเป็นระยะเวลาสั้นๆ ต่อมาก็ได้ครองราชย์ร่วมกับพระอนุชาอีกสองพระองค์ ได้แก่ ปโตเลมีที่ 13 ผู้ซึ่งต่อต้านการปกครองของพวกโรมัน และปโตเลมีที่ 14 แต่เนื่องด้วยการสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ปโตเลมีนั้นนิยมการสืบเชื้อสายทางมารดา พระอนุชาทั้งสองพระองค์จึงต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินี คือคลีโอพัตรา เพื่อจะสามารถขึ้นครองราชย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎมนเทียรบาล ภายหลังจากที่กษัตริย์ผู้เป็นพระอนุชา-สวามีของพระนางสวรรคตลงทั้งสองพระองค์ คลีโอพัตราได้แต่งตั้งให้โอรสของพระนางเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป มีพระนามว่าปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน โดยการครองบัลลังก์ร่วมกัน ระหว่างปีที่ 44-30 ก่อนคริสตกาล

    ในปีที่48 ก่อนคริสตกาล คณะที่ปรึกษาของปโตเลมีที่ 13 นำโดยขันทีโปธินุส ได้ยึดอำนาจของคลีโอพัตราและบังคับให้พระนางหนีไปจากอียิปต์ โดยมีอาร์สิโนเอ พระขนิษฐาของพระนางติดตามไปด้วย ต่อมาในปีเดียวกันนี้ อำนาจของปโตเลมีที่ 13ได้ถูกริดรอนเมื่อนำตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโรม เมื่อนายพลปอมเปอุส มักนุส (ผู้ซึ่งแต่งงานกับลูกสาวของจูเลียส ซีซาร์ โดยที่นางได้เสียชีวิตขณะคลอดบุตรชาย) ที่กำลังหลบหนีจูเลียส ซีซาร์ ได้มาหาที่หลบซ่อนในเมืองอเล็กซานเดรีย ก็ถูกปโตเลมีที่ 13ปลิดชีพ เพื่อสร้างความดีความชอบแก่ตนให้ซีซาร์ได้เห็น จูเลียส ซีซาร์รู้สึกขยะแขยงกับแผนการอันโสมมดังกล่าว จึงได้ยกทัพบุกเข้ายึดเมืองหลวงของอียิปต์ และตั้งตนเป็นผู้ตัดสินคดีชิงบัลลังก์ระหว่างปโตเลมีที่ 13และคลีโอพัตรา หลังจากการสู้รบช่วงสั้นๆ ปโตเลมีที่ 13ก็ถูกสังหาร และ จูเลียส ซีซาร์ได้คืนบัลลังก์ให้แก่คลีโอพัตรา โดยมีปโตเลมีที่ 14เป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วม

    จูเลียส ซีซาร์ได้พำนักในอียิปต์ตลอดช่วงฤดูหนาว ระหว่างปีที่48 ก่อนคริสตกาล47 ก่อนคริสตกาล และคลีโอพัตราได้สร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่ตนด้วยการเป็นคนรักของซีซาร์ ทำให้อียิปต์ยังคงเป็นความเป็นเอกราชไว้ได้ แต่ยังคงมีกองกำลังทหารโรมันสามกองประจำการอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างคลีโอพัตรากับซีซาร์ในช่วงฤดูหนาวได้ทำให้นางตั้งครรภ์และให้กำเนิดพระโอรสชื่อปโตเลมี ซีซาร์ (หรือมีชื่อเล่นว่าซีซาเรียน ซึ่งแปลว่าซีซาร์น้อย) อย่างไรก็ดี จูเลียส ซีซาร์ปฏิเสธการให้ซีซาเรียนเป็นผู้สืบทอดของตน และได้แต่งตั้งให้หลานชายชื่อ ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียน เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทน

    คลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ไปเยือนกรุงโรมในระหว่างปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล และ 44 ก่อนคริสตกาล และอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ซีซาร์ถูกลอบสังหาร ก่อนเดินทางกลับถึงอียิปต์เพียงเล็กน้อย ปโตเลมีที่ 14ก็สวรรคตอย่างลึกลับ คลีโอพัตราจึงได้แต่งตั้งให้ซีซาเรียนเป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วมกับพระนาง มีการสันนิษฐานว่านางได้ลอบวางยาพิษปโตเลมีที่ 14 ผู้เป็นอนุชาของตนเอง

    ในปีที่42 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม ผู้ซึ่งปกครองกรุงโรมในช่วงที่เกิดสูญญาากาศทางอำนาจ หลังการถึงแก่อสัญกรรมของซีซาร์ ได้ขอให้คลีโอพัตราเดินทางมาพบเขาที่เมืองทาร์ซุส ในแคว้นซิลิเซีย เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความจงรักภักดีของพระนางต่ออาณาจักรโรมัน เมื่อคลีโอพัตราเดินทางมาถึง เสน่ห์ของพระนางทำให้มาร์ค แอนโทนีเลือกที่จะใช้เวลาช่วงฤดูหนาวระหว่างปีที่42 ก่อนคริสตกาล–ปีที่41 ก่อนคริสตกาล กับพระนางในอเล็กซานเดรีย ในช่วงฤดูหนาวนั้น พระนางได้ทรงพระครรภ์เป็นโอรส-ธิดาฝาแฝด ผู้มีพระนามว่าอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตรา เซเลเน

    สี่ปีต่อมา ในปีที่ 37 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี ได้เดินทางเยือนอเล็กซานเดรียอีกครั้ง ระหว่างทางไปออกรบกับจักรวรรดิพาร์เธีย เขาได้สานสัมพันธ์กับคลีโอพัตรา และถือเอาอเล็กซานเดรียเป็นบ้านนับแต่นั้นเป็นต้นมา มาร์ค แอนโทนีอาจจะเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับคลีโอพัตราตามประเพณีอียิปต์ (ตามที่กล่าวไว้ในจดหมายของสุเอโตนิอุส) แต่อย่างไรก็ดี เขาได้แต่งงานแล้วกับอ็อกตาเวีย น้องสาวของเพื่อนชื่ออ็อกตาเวียน หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม เขามีบุตรกับคลีโอพัตราอีกหนึ่งคน ชื่อว่าปโตเลมี ฟิลาเดลฟุส ในพิธีมอบดินแดนอเล็กซานเดรียเป็นของขวัญชิ้นใหญ่แก่คลีโอพัตราและโอรสธิดา ช่วงปลายปีที่34 ก่อนคริสตกาล หลังจากที่มาร์ค แอนโทนีได้มีชัยเหนืออาร์เมเนีย คลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ปกครองอียิปต์กับไซปรัสร่วมกัน อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาร์เมเนีย เมเดีย และ พาร์เธีย คลีโอพัตรา เซเรเน ได้เป็นราชินีปกครองซีเรไนกา และ ลิเบีย ส่วนปโตเลมี ฟิลาเดลฟุสได้เป็นกษัตริย์ปกครองโฟนิเซีย ซีเรีย และ ซิลิเซีย นอกจากนี้แล้วคลีโอพัตรายังดำรงตำแหน่งราชินีแห่งราชาทั้งปวงอีกด้วย

    มีเหตุการณ์อันโด่งดังเกี่ยวกับคลีโอพัตราหลายเหตุการณ์ แต่เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดและไม่อาจตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่ ได้แก่เหตุการณ์เกี่ยวกับพระกระยาหารค่ำของพระนางกับมาร์ค แอนโทนีมื้อหนึ่งที่มีราคาแพงลิบ พระนางได้หยอกเย้ากับมาร์ค แอนโทนีด้วยการพนันกันว่า เขาเชื่อหรือไม่ว่าพระนางจะสามารถใช้เงินสิบล้านเซสเตอร์ซีอุสกับพระกระยาหารมื้อเดียวได้ ซึ่งเขาก็รับพนัน ในคืนต่อมา พระนางได้เสิร์ฟพระกระยาหารค่ำธรรมดาไม่ได้หรูหราอะไร ทำให้พระนางถูกมาร์ค แอนโทนีล้อ แต่พระนางก็ได้รับสั่งให้เสิร์ฟพระกระยาหารสำรับต่อมา ซึ่งมีเพียงน้ำส้มสายชูอย่างแรงหนึ่งถ้วย จากนั้นพระนางก็ถอดต่างหูไข่มุกอันประมาณค่ามิได้ของพระนางออก หย่อนลงไปในน้ำส้มสายชู ปล่อยให้ไข่มุกละลาย แล้วดื่มส่วนผสมนั้น

    พฤติกรรมของมาร์ค แอนโทนี นับว่ากระด้างกระเดื่องมากในสายตาของพวกโรมัน อ็อกตาเวียนจึงได้โน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล กองกำลังของมาร์ค แอนโทนีได้เผชิญหน้ากับทหารโรมันด้วยทัพเรือนอกชายฝั่งแอคติอุม คลีโอพัตราได้ร่วมออกรบโดยมีทัพเรือของพระนางเอง แต่พระนางก็ได้เห็นกองเรือของมาร์ค แอนโทนี ที่มีเรือขนาดเล็กและขาดแคลนยุทโธปกรณ์ต้องพ่ายแพ้กับกองเรือโรมันที่มีเรือขนาดใหญ่กว่า พระนางต้องหลบหนีและมาร์ค แอนโทนีได้เลิกรบและหนีตามพระนางไป

    หลังจากการรบที่อ่าวแอคติอุม อ็อกตาเวียนก็ได้ยกพลขึ้นบกบุกอียิปต์ ในขณะที่ทัพของอ็อกตาเวียนเกือบจะถึงอเล็กซานเดรีย กองกำลังทหารของมาร์ค แอนโทนีก็หนีทัพไปร่วมกับกองกำลังของอ็อกตาเวียน คลีโอพัตรากับมาร์ค แอนโทนีตัดสินใจปลิดชีพตนเองด้วยกันทั้งคู่ โดยที่คลีโอพัตราได้ใช้งูพิษปลิดชีพพระองค์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในปีที่30 ก่อนคริสตกาล ซีซาเรียน โอรสของพระนางที่เกิดกับจูเลียส ซีซาร์ก็ถูกอ็อกตาเวียนปลงพระชนม์ โอรสธิดาอีกสามพระองค์ที่เกิดกับมาร์ค แอนโทนีได้รับการไว้ชีวิตและนำกลับไปยังกรุงโรมโดยอ็อกตาเวีย อดีตภรรยาของมาร์ค แอนโทนี

    มักกล่าวกันว่าคลีโอพัตราได้ใช้ แอสพฺ (งูพิษชนิดหนึ่ง) ปลิดชีพพระองค์เอง "asp" เป็นศัพท์เทคนิค หมายถึงงูพิษหลากหลายประเภทในอาฟริกาและยุโรป แต่ในที่นี้ หมายถึงงูเห่าอียิปต์ ซึ่งใช้ในการประหารนักโทษในบางครั้ง ยังมีเรื่องเล่าว่าคลีโอพัตราได้ทดสอบวิธีการฆ่าตัวตายต่างๆนานากับข้าราชบริพารหลายคน ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการที่พระนางเห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุด

    ด้วยที่เป็นชนเชื้อสายกรีก-มาเซโดเนีย ทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรม คลีโอพัตรามีชื่อเสียงในแง่ที่ว่า ตลอดระยะเวลากว่า 300 ปีที่ราชวงศ์ปโตเลมีปกครองอียิปต์นั้น พระนางเป็นสมาชิกคนแรกของปโตเลมีในที่เรียนรู้ภาษาอียิปต์ได้แตกฉาน และ ยังเรียนรู้ภาษาอื่นๆถึง 14 ภาษา ได้แตกฉาน

    คลีโอพัตราปลิดชีพพระองค์เอง โดย เรจินัลด์ อาร์เธอร์

    คลีโอพัตราปลิดชีพพระองค์เอง โดย เรจินัลด์ อาร์เธอร์

    ข้อถกเถียงเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของคลีโอพัตรา
    ยังเป็นข้อถกเถียงระหว่างนักไอยคุปต์ศาสตร์ กับนักประวัติศาสตร์ที่นิยมแอฟริกา ว่าแท้จริงแล้วคลีโอพัตรานั้นมีเชื้อสายใดกันแน่ นักไอยคุปต์ศาสตร์บอกว่าคลีโอพัตรานั้นสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ปโตเลมีของกรีก โดยมีบรรพบุรุษเป็นหนึ่งในนายพลของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และยังกล่าวว่าผังตระกูลของราชวงศ์ปโตเลมีนั้นระบุไว้ว่า มีการสมรสข้ามเผ่าพันธุ์อยู่มาก มีการระบุว่าคลีโอพัตราเป็นราชนิกูลพระองค์แรกที่เรียนภาษาอียิปต์ และบอกว่าพระนางมีผิวขาว รูปปั้นโบราณรวมทั้งรูปบนเหรียญตรายังชี้ไปว่าพระนางมีเชื้อสายคอเคเชียน อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์สายนิยมแอฟริกาได้อ้างว่าดินแดนไอยคุปต์นั้นได้ถูกปกครองโดยอารยธรรมของชาวชนผิวดำ และชาวอียิปต์โบราณส่วนใหญ่เป็นชนผิวดำ และถึงแม้ว่ากลุ่มนักประวัติศาสตร์ที่นิยมแอฟริกาจะยอมรับว่าราชวงศ์ปโตเลมีนั้นเป็นชนผิวขาว แต่ก็เชื่อว่าจะราชวงศ์กับชาวอียิปต์น่าจะมีการสมสู่กัน และในเมื่อไม่มีใครทราบว่ามารดาของคลีโอพัตราเป็นใคร (ไม่ได้ถูกระบไวุ้ในผังตระกูลของราชวงศ์ปโตเลมี) ทำให้หลายคนเชื่อว่านางน่าจะเป็นพระสนมผิวดำคนหนึ่ง
    นักไอยคุปต์ศาสตร์อ้างว่า การกล่าวว่าคลีโอพัตราเป็นชนผิวดำนั้น เป็นแนวคิดแต่งเติมของนักโบราณคดีที่นิยมแอฟริกา โดยมีวัตถุประสงค์จะสร้างความภาคภูมิใจให้กับเยาวชนเชื้อสายแอฟริกัน ส่วนนักโบราณคดีที่นิยมแอฟริกาอ้างว่า ความเชื่อว่าคลีโอพัตราเป็นชนผิวขาวนั้น เป็นเพียงอีกหนึ่งตัวอย่างของการที่ชนผิวขาวขโมยวัฒนธรรมของชนผิวดำ


    คลีโอพัตราในงานศิลปะ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และวรรณคดี

    เรื่องราวของคลีโอพัตราสร้างความทึ่งให้กับนักประพันธ์และศิลปินตลอดเวลาหลายศตวรรษ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ภาพลักษณ์ของพระนางส่วนใหญ่จะออกมาในรูปของสตรียั่วสวาท ผู้สามารถกุมหัวใจของชายผู้มีอำนาจสูงสุดของแผ่นดินไว้ได้ถึงสองคนในคราเดียวกัน (จูเลียส ซีซาร์ กับ มาร์ค แอนโทนี)

    บางส่วนของบทประพันธ์เกี่ยวกับคลีโอพัตรา:

    • The Memoirs of Cleopatra โดย Margaret George

      ภาพยนตร์เกี่ยวกับ คลีโอพัตรา

      ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคลีโอพัตรา ได้แก่เรื่อง Antony and Cleopatra (ปีค.ศ. 1908) นำแสดงโดย Florence Lawrence ในบทของคลีโอพัตรา ส่วนภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีคลีโอพัตราเป็นเนื้อหาหลักได้แก่เรื่อง Cleopatra, Queen of Egypt นำแสดงโดย เฮเลน การ์ดเนอร์ (ค.ศ. 1912)

      บางส่วนของภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากราชินีแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์:

      • (1964): Carry On Cleo ภาพยนตร์ตลกขบขัน ล้อเลียนภาพยนตร์ที่สร้างในปีค.ศ. 1963 โดยมี Amanda Barrie รับบทเป็นคลีโอพัตรา, Sid James เป็น มาร์ค แอนโทนี และ Kenneth Williams เป็นซีซาร์
      • (1999): Cleopatra: Leonor Varela (คลีโอพัตรา), ทิโมที ดาลตัน (ซีซาร์), Billy Zane (แอนโทนี) สร้างจากหนังสือ Memoirs of Cleopatra โดย Margaret George และเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุด

      Teresa Pavlinek รับบทคลีโอพัตราในฉากการรบที่อ่าวแอคติอุม จากภาพยนตร์เรื่อง History Bites

      คลีโอพัตราในโทรทัศน์

      The Cleopatras (ค.ศ. 1983) ละครสั้นของสถานีโทรทัศน์บีบีซี บอกเล่าเรื่องราวของราชินีอียิปต์ทั้งเจ็ดพระองค์ที่มีพระนามว่าคลีโอพัตรา


      ภาพวาดของคลีโอพัตรา

      ภาพวาดคลีโอพัตราที่มีชื่อเสียงมากที่สุด อาจจะไ่ม่ได้ถูกวาดขึ้นมาในประวัติศาสตร์เลยก็ได้ ตำนวนกล่าวว่า เนื่องจากพระนางได้สวรรคตในอียิปต์หลายปีก่อนที่ออกุสตุสจะได้ประกาศชัยชนะของตนในกรุงโรม เขาจึงสั่งให้ศิสปินวาดภาพขึ้นมา เป็นภาพพระนางถูกล่ามโซ่ตรวนเดินไปตามท้องถนน เพื่อแสดงถึงชัียชนะอันยิ่งใหญ่ของเขา จากนั้นก็สั่งให้ประหารชีวิตของพระนางด้วยพิษงู เรื่องราวนี้อ้างอิงจากเว็บไซท์ Plut. Ant. 86 และ App. Civ. II.102 ซึ่งแหล่งข้อมูลหนังนี้ได้กล่าวถึงรูปปั้นแทนที่จะเป็นภาพวาด นอกจากนั้น Cass. Dio LI.21.3 ยังกล่าวด้วยว่าภาพตัวแทนของพระนางที่เป็นสีทองนั้นไ่ม่ใช่ภาพวาดแน่นอน ว่ากันว่าได้พบภาพวาดดังกล่าวในเมืองซอเรนโต ในสมัยคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นภาพในคอลเล็ัคชันส่วนตัว จากนั้นก็พบภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งในคอลเล็คชันที่เมืองคอร์โทนา แ่ต่ก็ไม่พบร่องรอยของภาพนี้แต่ประการใด สาเหตุของการหายไปอย่างลึกลับของภาพวาดดังกล่าว น่าจะเป็นเพราะว่ามันเป็นภาพปลอมนั่นเอง

      นอกจากนี้แล้ว ความตายของคลีโอพััตราก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ศิลปินหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการจนถึงยุคปัจจุบัน แต่ก็ไม่มีภาพใดเลยที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นภาพที่ใช้เป็นหัวข้อในการเรียนของโรงเรียนช่างวาดฝรั่งเศส ดังรายชื่อต่อไปนี้ (เรียงตามลำดับเหตุการณ์):

      • อัตวินบาตกรรมของคลีโอพัตรา ภาพวาดสีน้ำมัน ขนาด 46 x 36-3/4 นิ้ว (116.8 x 93.3 ซ.ม.) วาดโดย จีโอวานนี ฟรานเซสโก บาร์บีเอรี ฉายา แกร์ซีโน วาดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1621 และปัจจุบันเปิดแสดงในคอลเล็คชันที่พิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน ในเมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย ในภาพดังกล่าวคลีโอพัตราจับงูพิษไว้ในมือข้างหนึ่ง เตรียมจะปลิดชีพตนเอง
      • งานเลี้ยงโต๊ะยาวของคลีโอพัตรา (ค.ศ. 1743–5) ภาพสีน้ำมัน 248.2 x 357.8 ซ.ม. วาดโดย จีแอมบัตติสตา ทีเอโปโล (ค.ศ. 16961770) ถูกนำมาเปิดแสดงในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ในภาพแสดงงานเลี้ยงที่คลีโอพัตราเอาต่างหูมุกมาละลายในแก้วน้ำส้มสายชู
      • คลีโอพัตรากับชาวนา (ค.ศ. 1838) ภาพสีน้ำมัน วาดโดยอูเจน เดอลาครัว ถูกนำออกแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะอาคแลนด์ มหาวิทยาลัยนอร์ทคาโลไลนา ในภาพมีชายผู้หนึ่งนำงูพิษมาถวายคลีโอภัตราเื่พื่อให้พระนางปลิดชีัพตนเอง
      • คล๊โอพัตรากับซีซาร์ (ค.ศ. 1866) ภาพสีน้ำมัน วาดโดยชอง-เลอง เกโรม (ค.ศ. 18241904) ภาพวาดต้นฉบับได้หายสาปสูญไป เหลือไว้แต่สำเนา เป็นภาพคลีโอพัตรายืนอยู่ต่อหน้าแท่นประทับของซีซาร์ วาดในแบบศิลปะตะวันออก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×