ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #140 : ศิลาโรเซตตา

    • อัปเดตล่าสุด 21 ส.ค. 50


    ศิลาโรเซตตา

     ศิลาโรเซตตา หรือจารึกโรเซตา ในบริติชมิวเซียม ศิลาโรเซตตา หรือจารึกโรเซตา ในบริติชมิวเซียม

    ศิลาโรเซตตา (Rosetta) เป็นหินแกรนิตสีเทาเข้มแกมชมพู (เดิมคิดว่ามีส่วนประกอบของหินบะซอลต์) เป็นศิลาจารึก 2 ภาษา คือภาษาอียิปต์ และภาษากรีก โดยใช้อักษร 3 แบบ คือ อักษรภาพอียิปต์ หรืออักษรที่พัฒนามาจากอักษรภาพอียิปต์ก่อนคริสตกาล อักษรเดโมติกของกรีก(ก่อนคริสตกาล 520 ปี) และอักษรกรีก นับเป็นจารึกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์และภาษาอียิปต์โบราณ เนื่องจากนักโบราณคดีรู้จักภาษากรีก ทำให้สามารถไขความหมายจากอักษรอื่นๆ ซึ่งจารึกไว้โดยมีเนื้อความอย่างเดียวกันได้

     

    ศิลาโรเซตตาได้ขุดค้นพบที่เมืองโรเซตตา (ปัจจุบันคือเมืองราชิด) ประเทศอียิปต์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) โดยกองทัพฝรั่งเศสครั้งนโปเลียน โบนาปาร์คได้บุกเข้ามายึดครองอียิปต์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งชื่อ ชอง-ฟรองซัวส์ ชอมโปลิยง (Jean-François Champollion) ได้ไขความลับอักษรภาพอียิปต์ได้ ซึ่งสามารถถือได้ว่าเป็นปฐมบทสมัยใหม่ของไอยคุปต์วิทยาก็ว่าได้

     

    ศิลาโรเซตตานี้ถูกนำไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์อังกฤษ ในประเทศอังกฤษ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2345 (ค.ศ. 1802) เป็นต้นมา โดยเว้นอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ครั้นปลายสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) ทางพิพิธภัณฑ์กังวลว่าจะมีการระเบิดอย่างหนักในกรุงลอนดอน จึงได้ย้ายจารึกนี้ไปยังสถานที่ปลอดภัย พร้อมกับวัตถุสำคัญอื่นๆ ที่สามารถจะเคลื่อนย้ายได้สะดวก อีกสองปีต่อมา จารึกนี้ได้อยู่ในสถานีรถไฟใต้ดินโพสทัลบูบ ซึ่งลึกลงไป 50 ฟุต ที่เมืองโฮลบอร์น

     

    จารึกแท่งนี้มีความสูง 114.4 เซนติเมตร ปลายยอดแหลม มีความกว้าง 72.3 เซนติเมตร และหนา 27.3 เซนติเมตร

     
    ที่มา :

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×