ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #97 : อาณาจักรนูเบีย(อาณาจักร เทียบรัศมีอียิปต์)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.06K
      3
      2 มี.ค. 50

    อาณาจักรนูเบีย

    โดย MIB = ตูน


    ในแอฟริกาเหนือ ยังมีอาณาจักรที่เรืองอำนาจนับ พันปี ราชา และราชินี ผู้ทรงอำนาจ ได้สร้างวิหารขนาดมหึมา และฝังกระศพไว้ในสุสาน ทรงปิรามิด แต่นี่ไม่ใช่อียิปต์ และคนที่สร้างสุสานเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ ชาวอียิปต์โบราณด้วยครับ นี่คือ ซูดาน ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา ต้นกำเนิดของอาณาจักรนูเบีย ดินแดนที่มีแม่น้ำไนล์หล่อเลี้ยง ในตอนนั้น เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกครับ อาณาจักรที่มีมีภาษา ซึ่งนักวิชาการ ยังไม่สามารถจะอ่านได้ ประวัติศาสตร์แห่งนูเบีย ยุคโบราณ ยังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้

    ร่องรอยการขุดค้น
    การขุดค้นเท่าที่พอจะทราบได้มี พิธีการศักดิ์สิทธิ์ ภาพการต่อสู้ และทำสงครามในอดีต
    การรุกรานอันโหดร้าย ที่อาจทำให้จักรวัติเรืองอำนาจที่นำไปสู่การล่มสลาย การทำลาย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา ในอาณาจักรแห่งนี้ครับ

    อาณาจักรนูเบียนี้ ทรงอำนาจ ประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาเดียวกับ ราชวงค์แรกของอียิปต์เริ่มก่อตั้ง ทางทิศเหนือ ชาวอียิปต์เริ่มรู้ว่า กองทหารนูเบีย คือคู่แข่งที่อันตรายทางทิศใต้ของแม่น้ำไนล์ เป็นเวลาหลายปีที่ฟาโรห์แห่งอียิปต์ มีอำนาจเหนือ นูเบีย แต่ก็มี ที่ ช่วงเวลาหนึ่งครับที่ สามารถเอาชนะอียิปต์ได้ครับ แบบว่า ผลัดกันรุก ผลัดกันรับ ทั้งสองชาตินี้ เป็นทั้งคู่สงครามและ คู่ค้า ซึ่งประวัติเกี่ยวพันกันนับพันปี

    ทุกวันนี้อียิปต์เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก แต่เรื่องราวของคู่ต่อสู้ของอียิปต์ผู้ยิ่งใหญ่ กำลังปรากฏออกมาครับ ชาวนูเบีย เจริญรุ่งเรืองโดยไม่พึ่งกับใคร การค้าทองคำ ทำให้ประมุขของนูเบีย ร่ำรวย ช่างฝีมือ มีการนำโลหะมีค่ามาทำเป็นเครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผาของนูเบีย เป็นหนึ่งในงานที่ประณีตที่สุดในยุคโบราณ
    สถาปนิคนูเบีย ไม่เพียงสร้างอาราม ไปจนถึงวิหารเทพเจ้า แต่ยังได้ฟื้นฟูประเพณีโบราณอีกด้วย ปัจจุบันนี้ ซูดาน มีปิรามิด มากกว่าอียิปต์ ถึง 3 เท่า

    ปี 1920 นักโบราณคดี จากฮาร์วาร์ด ได้ขุดสุสานนูเบีย และวางรากฐานการจัดอันดับราชาแห่งนูเบีย ในช่วงเวลากว่า 1,000 ปี แต่ยังคงมืดมน ในรหัสลับ แห่งจารึกนูเบีย เพื่อจะถอดรหัสภาษา ซึ่งเหมือนกับจารึก โรเซทตา ที่ช่วยไขรหัสภาษาแห่งจารึก เฮียโรกรีฟฟริก (จารึก โรเซทตา มี 3 ภาษาเขียนได้ด้วยกัน คือ กรีก เฮียโรกรีฟฟริก และ คอปติก ในข้อความเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการแปลครับ)

    แดนเกล คือเมืองนูเบียหนึ่ง ที่ยังคงสภาพดี มีอายุ 2,000 ปี มีขนาด พอ ๆ กับ สนามฟุตบอล 24 สนาม
    จูลี่ และซาราห์ นักโบราณคดี ได้มาสำรวจ เมืองโบราณแห่งนี้ครับ
    การขุดเมืองทั้งเมืองจะต้องใช้เวลาหลายปี ใช้แรงงานมหาศาล พวกเขาค้นพบสากวิหารขนาดใหญ่ วิหารนี้ ที่อุทิศแด่เทพที่ชาวนูเบีย และ อียิปต์ สักการบูชา คือ เทพอามุน ซึ่งมีเศียร เป็นแกะ วิหารของเทพองค์นี้มีโครงสร้างตามแบบโบราณ เช่นเดียวกับวิหารที่ชาวอียิปต์สร้างขึ้นใน คานัค

    จากการขุดค้น พบ รูปสลัก และ การพบภาพที่บูชาเทพเจ้าด้วยน้ำ ไม่ใช่เรื่องแปลก น้ำคือชีวิตครับ ในฤดูร้อนที่นี่อาจร้อนถึง 50 องศาเซลเซียส น้ำจึงมีค่ามาก ถือเป็นเครื่องบูชาที่มีค่ามากทีเดียว

    ที่เสาหิน มีภาพของ ฮาร์ปีร์ เทพผู้คุ้มครองสายน้ำ และคำจารึกปริศนาของชาวนูเบีย ชาวนูเบีย ประดิษฐ์อักษรจารึกเมื่อ ประมาณ 200 ปี ก่อนคริสตกาล เมื่อตั้งเมืองที่อาณาจักร เมโรเอด้วยวัฒนธรรมที่เจริญเฟื่องฟู ชาว เมโรอิด จึงสร้างตัวอักษรของตนเอง แทนอักษร เฮียโรกริฟฟริก ของอียิปต์ ครับ

    แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีใครแปลออก แต่นักวิชาการก็ หาวิธี จากผู้มาเยือนนครแห่งนี้ครับ
    มีนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกเขียนถึง และพวกเขาทำการค้า กับโรมัน และอียิปต์
    เมืองโบราณที่แดนเกล เป็นศูนย์กลางการค้า ตลอดมาในประวัติศาสตร์ อาณาจักรนูเบียดึงดูพ่อค้าจากแดนไกล ซึ่งมีสินค้า เช่น งาสัตว์ หนังสัตว์ และทองคำ ผุ้คนมากมายต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ทั้งกรีก อียิปต์ และโรมัน ต่างค้าขายกับนูเบีย ครับ

    รูปคาทุส มีเพียงเชื้อพระวงค์เท่านั้น ที่ล้อมกรอบพระนามด้วยสัญลักษณ์ รูปวงรี รูปทรงเหมือนเส้นเชือกที่มีปลายติดกัน ซึ่งเชื่อกันว่าจะปกป้องพระนามของกษัตริย์ จากภยันตราย ถ้าพบชื่อในโบราณสถาน ก็หมายความว่าพระองค์คือผู้ที่สร้างวิหารแห่งนี้ ขึ้นมาครับ


    แม้จูลี่ และซาราห์ จะยังไม่แน่ใจว่า ใครสร้างวิหารเทพ อามุนที่แดนเกล พวกเขาก็สันนิฐานว่า มันสร้างในยุค เนโรติก ใน 2,000 ปีก่อน กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่หลายพระองค์ของเมือง เมโรเอ ทรงถูกฝังไว้ในสุสานหลวง
    การอยู่ใกล้อียิปต์ ส่งผลให้ชาวนูเบีย ชื่นชมสุสาน โบราณที่กีซา และเริ่มฝังกษัตริย์ในแบบฉบับชาวนูเบีย พวกเขาปรับรูปทรงปิรามิด ให้แต่ละด้านสูงชันยิ่งขึ้น ห้องบูชาที่สร้างติดกัน สลักด้วยภาพ แสดงชีวิตหลังความตาย ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยข้าทาสบริวาร

    ไม่ใช่กษัตริย์เท่านั้นที่ถูกฝังในปิรามิดแห่งเมโรเอ ราชินีผุ้เรืองอำนาจพระองค์หนึ่ง อาจเป็นช่วงก่อนสร้างวิหารที่แดนเกล
    อามานิชาเกโท เป็นราชินี นูเบีย พระนางทรงถือคันศร และลูกศร ซึ่งปกติเป็นอาวุธของผู้ชาย และพระนางก็มีนักโทษล่ามเอาไว้ มีความเป็นได้สูงที่พระนางทรงนำทัพ ขับไล่พวกโรมัน
    23 ปีก่อนคริสตกาล ทหารโรมันโจมตีอาณาจักรนูเบีย นำโดยหญิงที่ตาบอดข้างหนึ่ง ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่า อาจจะเป็น อามานิชาเกโท พระนางประสบความสำเร็จในการยับยั้งการจู่โจมของโรมัน และยังได้แก้ไขสนธิสัญญาที่เอื้อประโยชน์ แม้ภาพจะเลือนลาง ภาพของ อามานิชาเกโท ยังคงปรากฏอยู่บนวิหารบูชาเทพของพระนาง พระนางเป็นสตรีร่างใหญ่ และเป็นการแสดงความงาม มีพระวรกายสมบูรณ์ สวมกำไลมากมายที่แขน สวมแหวนที่นิ้ว และพระนางอาจประดับด้วยเครื่องทองทั้งพระองค์

    กรุสมบัติ
    กรุสมบัติหลวงของอามานิชาเกโท ถูกค้นพบในปี 1834 เมื่อนักสำรวจชาวอิตาลี เดินทางไปยังซูดาน เขาอ้างว่าเป็นการทางไปเพื่อประโยชน์ทางประวัติศาตร์ แต่แท้จริง เขามา หาสมบัติครับ นักล่าสมบัติว่างั้นเถอะ เขาชื่อ เฟอร์ลินิ หวังความร่ำรวยจากของโบราณ ความโลภนำเขาไปถึง ปิรามิด ในเมโรเอ จากบันทึกของเขา เฟอร์ลินิ สั่งคนงาน ขุดสุสาน อามานิชาเกโท เป็นหนึ่งในที่เก็บศพ ระหว่างคนงานด้วยอากาศที่ร้อน เฟอร์ลินิ นั่งพักอยู่ในร่ม และความตื่นเต้นก็เริ่มขึ้น เมื่อคนรับใช้คนหนึ่ง เรียกเขาจากยอดปิรามิด ในยอดปิรามิด เฟอร์ลินิ รายงานว่า เขาค้นพบห้องลับซึ่งค้นพบภายใต้ก้อนหิน ด้านในมีโถทองสำฤทธิ์ ห่อเอาไว้ในผ้าลินิน เฟอร์ลินิ ได้พบกองเพชรพลอยที่ละลานตา กำไลทองคำ ตกแต่งด้วยแถบแก้ว ที่นำมาหลอมรวมกัน เครื่องประดับ และแหวนทองคำจำนวนมาก บางวงสลักรูปเทพอามุน ปัจจุบันสมบัติถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ในอียิปต์ ครับ

    เรื่องราวการทำลายล้างอีกเรื่องหนึ่ง ซากปรักหักพัง อาจจะเป็นผลจากการเสียหาย วิหารนี้อาจถูกทิ้งไปด้วยเหตุผลบางอย่าง จากใต้พื้นดิน ปรากฏการณ์หายนะ จากการขุดค้น มีร่องรอยการเผาไหม้ สันนิฐานว่า ที่นี่ มีเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่เกิดขึ้นครับ อาจเป็นเพราะสงครามครั้งใหญ่ หรือวิหารเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ เหตุการณ์ไฟไหม้ รุนแรงพอที่จะทำให้ผู้คนอพยพออกจากวิหาร นี่อาจเป็นสุญสิ้นอาณาจักรนูเบีย

    นักวิชาการ ยังมีความรู้น้อยในยุคนี้ จากการขุดค้นที่แดนเกล
    ณ ยอดเขา เจเบบัลขาล เป็น สุดยอดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนูเบีย ครับ เป็นวิหารของเทพอามุน ที่ใหญ่ที่สุด และอาจจะเก่าแก่ที่สุดในประเทศ มันหันหน้าไปทางแม่น้ำไนล์ ซากเหล่านี้คือความลี้ลับ ที่ชาวบ้านในแถบนี้ ยังไม่ทราบ ว่ามันคืออะไรกันแน่ครับ ปริศนาแห่งเขาลูกนี้ครับ

    สิ่งที่พอจะคาดเดาได้ ความลึกลับ เมื่อ 3,000 ปี ในสมัยฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอียิปต์ คู่ต่อสู้ทางทิศเหนือของนูเบีย พวกเขาเห็นยอดเขา เจเบบัลขาล เป็นรูปสัญลักษณ์แห่งความเป็นกษัตริย์ รูปงูเห่า งูศักดิ์สิทธิ์ (จากรูป แท่งหินที่แยกกันออกไป ฟาโรห์ ทรงเห็น เป็นรูปงูครับ) สัญลักษณ์ของความเห็นกษัตริย์ เนื่องจากเทพอามุน คือผู้รับรองความเป็นกษัตริย์ ชาวอียิปต์จึงสร้างวิหารไว้ที่นี่ ต่อมากษัตริย์นูเบีย ได้ขยายการสร้างวิหารออกไป

    ฟาโรห์ผุ้ยิ่งใหญ่ของอียิปต์ จะเดินทางนับ 100 ไมล์มาที่นี่ เพื่อให้นักบวชชั้นผุ้ใหญ่แห่งเทพอามุน แต่งตั้งเป็นกษัตริย์



    ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล อียิปต์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยแข็งแกร่ง กลับอ่อนแอลง และสูญเสียอำนาจในการครอบครองภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ชาวนูเบีย ซึ่งเรียกตัวเองว่า บุตรที่แท้จริงของเทพอามุน ได้เข้ายึดครอง เจเบบัลขาล และมีอำนาจเหนืออียิปต์ พวกเขาพิชิตคู่แข่งทางทิศเหนือ และก่อตั้งราชวงค์ที่ 25 ขึ้น

    ทุกคนคิดว่าอียิปต์คือเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ครับ ในยุคหนึ่ง ซึ่งยาวกว่า 100 ปี ชาวนูเบีย คือเจ้าแห่งแอฟริกา ราชา คาฮาโค คือ ฟาโรห์นูเบียที่ทรงอำนาจ อาณาจักรของพวกเขาได้รวมความมั่งคั่ง เกือบ 1 ศตวรรษที่ ชาวนูเบีย ปกครองดินแดน ตั้งแต่ คาทูม ไปจนถึง ปาเลสไตล์ ในเวลานั้นเคยเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครับ

    แม้นูเบียจะสูญเสียการครอบครองอียิปต์ จากการรุกรานมาบ้าง แต่ก็ไม่สามารถทำให้อาณาจักรของพวกเขาสิ้นสุดลงไป พวกเขารวมตัวกันอีกครั้งทางทิศใต้ และเฟื่องฟู ไปอีกนับ พันปี ด้วยการสร้างวิหาร แห่งมหาเทพไว้ทั่วแคว้น

    เทพแห่งแม่น้ำไนล์ที่ชาวนูเบียนับถือ เรียกว่า เทพฮาปีร์ เทพแห่งสายน้ำ ในท่าต่าง ๆ กัน น้ำสำคัญอย่างยิ่งต่อชาวนูเบีย น้ำคือสูญกลางของวิหารแห่งนี้ นักบวช จะบูชาเทพเจ้าด้วยน้ำ เป็นการหลั่งน้ำ หรือน้ำนม บนแท่นบูชา เพื่อถวายต่อเทพเจ้า ครับ

    พิธีการแต่งตั้งกษัตริย์อย่างเป็นทางการ
    อามานิโธรี และราชา นาทาคามานิ ปกครองในช่วงแรกๆ ของคริสตกาล ทั้งสองพระองค์สักการะเทพเจ้า ด้วยการสร้างวิหารมากกว่า ประมุของค์อื่น โบสถ์วิหารที่เมืองนากา วิหารมีรูปปั้นรูปแกะเรียงราย แสดงถึงการคารวะต่อเทพอามุน เช่นเดียวกับประมุขนูเบียพระองค์อื่น ทั้งสองพระองค์ ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการครั้งแรก ที่ เจเบลบาคาล จากนั้น จึงเสด็จมายังวิหารแห่งนี้ครับ

    นักบวชชั้นผู้ใหญ่ จะนำ ราชินี อามานิโธรี และราชา นาทาคามานิ เข้าสู่วิหาร ตามด้วยบรรดาข้าทาสบริวาร พวกเขาถือกำยาน ทำให้อาราม อบอวนไปด้วยควัน และกลิ่นของยางไม้หอม เพื่อบวงสรวงเทพอามุน ครับ จากนั้นนักบวช จะกล่าวในนามเทพอามุน จะบอกว่า "ใครคือผู้สืบทอดบัลลัง คนต่อไป" และมีการแต่งตั้ง กษัตริย์จะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ จากเทพอามุนครับ

    แม้การเข้าไปในอาราม จะจำกัดเฉพาะนักบวช แต่ส่วนอื่น ของวิหาร จะเปิดกว้าง ให้ผู้คนได้ไปสักการบูชาด้วย มีรอยจากรึกรอยเท้า ที่ทิ้งไว้ โดยนักแสวงบุญที่มายังที่วิหาร ก็เป็นการแสดงให้รู้ว่า คนมายังวิหารแห่งนี้ครับ เป็นร่องรอยของคนจริง ๆ ที่ศรัทธา ต่อเทพอามุนครับ

    ยุคมืดของอาณาจักร
    การรุกราน กองกำลังที่ทรงอำนาจจงใจรุกรานอย่างโหดเหี้ยม และทำลายวิหารศักดิ์สิทธิ์ ผุ้รุกรานรื้อค้นอาราม ลบชื่อของกษัตริย์นูเบียออกไป และทำลายสัญลักษณ์เทพเจ้าของพวกเขา คนพวกนั้นได้แย่งชิงสิ่งที่มีค่า และเผาวิหารจนเรียบเป็นหน้ากลอง คนพวกนั้นได้โค่นล้ามอาณาจักรนูเบียหรือไม่ มีศัตรูอยู่มากมาย จากโจรเร่ร่อนในทะเลทราย และอาณาจักรคุ่แข่ง ปัจจุบันคือ เอธิโอเปีย ความตกต่ำในศตวรรษที่ 3 อาจจะทำโดนโจมตี และไม่ฟื้นตัวอีกเลยหลังเกิดหายนะครั้งนั้นครับ เมื่อเมืองถูกทำลาย ผู้คนจึงทิ้งวิหาร และที่อยู่ ย้ายที่อยู่อาศัยออกไปครับ
    และพวกเขา ก็ไม่หันกลับมาอีกเลย...



    http://www.mythland.org/  บางระจัน  บางระจัน  บางระจัน  มิอาจยืนอยู่ถึงวันเพ๊ญเดือยสิบสอง~~~~  ก็แค่อยากจะร้องเพลงเท่านั้นเองอย่าทำหน้าแบบนั้นสิขอรับ  ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆ นะขอรับ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×