ลำดับตอนที่ #13
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #13 : *เสริมความรู้ เรื่อง พระจันทร์ยิ้ม และ เซิร์น ข่าววิทยาศาสตร์ยอดนิยามแห่งปี
พระจันทร์ยิ้มเหนือฟ้าเมืองกรุง
คืนวันที่ 1 ธ.ค.2551 ปรากฎการณ์บนท้องฟ้าที่ไม่มีให้ชมกันบ่อยนัก หลายคนขนานนามว่า "พระจันทร์ยิ้ม"
ภาพปรากฎการณ์ "พระจันทร์ยิ้ม" นี้ สถานบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า เป็นปรากฎการณ์ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ และ ดาวพฤหัสบดี อยู่ใกล้ากัน (Conjunction of Moon Venus and Jupiter) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 1 ธ.ค. นี้ โดย ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างกันเพียง 2 องศา และดวงจันทร์ปรากฎเป็นเสี้ยว หันด้านมืดเข้าหาดาวเคราะห์ทั้งสองพอดี ทั้งนี้ดาวศุกร์จะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี และอยู่เยื้องต่ำกว่าเล็กน้อย
เซิร์น : การทดลองสุดยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์ ค้นหาจุดเล็กสุดสู่กำเนิดจักรวาล
เซิร์น (อังกฤษ : CERN หรือ The Organisation europeenne pour la recherche nucleaire) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยุ่ที่กรุงเจนีวา ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
งานหลักของเซิร์น ณ ปัจจุบันนี้ คือ โครงการเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider : LHC) ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งอยู่ใต้พื้นแผ่นดินสวิส - ฝรั่งเศส เพื่อค้นหาว่า "จักรวาลประกอบขึ้นจากอะไร"
ทั้งนี้ เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี สามารถเร่งอนุภาคให้มีความเร็วเข้าใกล้แสง 99.9999% โดยการเร่งอนุภาคดังกล่าวเกิดขึ้นภายในท่อที่ขดเป็นวงกลม 27 กิโลเมตร ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินลึกลงไป 100 เมตร ระหว่างชายแดนฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลน์
สำหรับ หนึ่งในเป้าหมายสูงสุดของการทดลองสุดยิ่งใหญ่ครั้งนี้ คือการหาอนุภาคตามที่ทฤษฎีทำนายไว้ที่เรียกว่า "ฮิกก์ส" (Higgs) ที่จะสามารถอธิยายความลึกลับของมวล และอนุภาคนี้ยังมีชื่อเรียกซึ่งเป็นที่รู้จักอีกชื่อว่า "อนุภาคพระเจ้า" ซึ่งมีอยู่ทั่วไปแต่หาได้ยาก
ตามเวลาประเทศไทยประมาณ 14.15 น. ของวันที่ 10 ก.ย.51 เซิร์น กำหนดเดินเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider) เป็นครั้งแรก ทั้งนี้เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี นับเป็นเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี นับเป็นเครื่องเร่งอนุภาคอันทรงพลังที่สุดในโลก โดยมีพลังงานมากกว่าเครื่องเร่งอนุภาคที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ถึง 7 เท่า
อย่างไรก็ดีหลายคนอดหวั่นใจไม่ไดว่าการทดลองของเซร์นอาจทำให้เกิดหลุมดำที่กลืนกินโลกทั้งใบได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าหลุมดำที่เกิดขึ้นจาการทดลองครั้งนี้จะไม่ขยายใหญ่ขนาดพอที่จะดูดโลกทั้งใบเข้าไปได้
คืนวันที่ 1 ธ.ค.2551 ปรากฎการณ์บนท้องฟ้าที่ไม่มีให้ชมกันบ่อยนัก หลายคนขนานนามว่า "พระจันทร์ยิ้ม"
ภาพปรากฎการณ์ "พระจันทร์ยิ้ม" นี้ สถานบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า เป็นปรากฎการณ์ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ และ ดาวพฤหัสบดี อยู่ใกล้ากัน (Conjunction of Moon Venus and Jupiter) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 1 ธ.ค. นี้ โดย ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างกันเพียง 2 องศา และดวงจันทร์ปรากฎเป็นเสี้ยว หันด้านมืดเข้าหาดาวเคราะห์ทั้งสองพอดี ทั้งนี้ดาวศุกร์จะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี และอยู่เยื้องต่ำกว่าเล็กน้อย
เซิร์น : การทดลองสุดยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์ ค้นหาจุดเล็กสุดสู่กำเนิดจักรวาล
เซิร์น (อังกฤษ : CERN หรือ The Organisation europeenne pour la recherche nucleaire) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยุ่ที่กรุงเจนีวา ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
งานหลักของเซิร์น ณ ปัจจุบันนี้ คือ โครงการเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider : LHC) ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งอยู่ใต้พื้นแผ่นดินสวิส - ฝรั่งเศส เพื่อค้นหาว่า "จักรวาลประกอบขึ้นจากอะไร"
ทั้งนี้ เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี สามารถเร่งอนุภาคให้มีความเร็วเข้าใกล้แสง 99.9999% โดยการเร่งอนุภาคดังกล่าวเกิดขึ้นภายในท่อที่ขดเป็นวงกลม 27 กิโลเมตร ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินลึกลงไป 100 เมตร ระหว่างชายแดนฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลน์
สำหรับ หนึ่งในเป้าหมายสูงสุดของการทดลองสุดยิ่งใหญ่ครั้งนี้ คือการหาอนุภาคตามที่ทฤษฎีทำนายไว้ที่เรียกว่า "ฮิกก์ส" (Higgs) ที่จะสามารถอธิยายความลึกลับของมวล และอนุภาคนี้ยังมีชื่อเรียกซึ่งเป็นที่รู้จักอีกชื่อว่า "อนุภาคพระเจ้า" ซึ่งมีอยู่ทั่วไปแต่หาได้ยาก
ตามเวลาประเทศไทยประมาณ 14.15 น. ของวันที่ 10 ก.ย.51 เซิร์น กำหนดเดินเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider) เป็นครั้งแรก ทั้งนี้เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี นับเป็นเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี นับเป็นเครื่องเร่งอนุภาคอันทรงพลังที่สุดในโลก โดยมีพลังงานมากกว่าเครื่องเร่งอนุภาคที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ถึง 7 เท่า
อย่างไรก็ดีหลายคนอดหวั่นใจไม่ไดว่าการทดลองของเซร์นอาจทำให้เกิดหลุมดำที่กลืนกินโลกทั้งใบได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าหลุมดำที่เกิดขึ้นจาการทดลองครั้งนี้จะไม่ขยายใหญ่ขนาดพอที่จะดูดโลกทั้งใบเข้าไปได้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น