ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ที่จำเป็นใน วิชาวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #11 : ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 52


    ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

             วิทยาศาสตร์ (SCIENCE) คือความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติและกระบวนค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอน มีระเบียบแบบแผน
              ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
              1.วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ คือความรู้ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ข้อเท็จจริง หลักการ กฏ ทฤษฎีต่าง ๆ    นักวิทยาศาสตร์ ผู้ค้นคว้า ความรู้ขั้นพื้นฐานว่า นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก   ไมเคิล ฟาราเดย์ ผู้ค้นพบว่า อำนาจแม่เหล็กเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นรากฐานของวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าในปัจจุบัน
              2.วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี คือความรู้ที่มุ่งนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในสังคม โดยนำความรู้ขั้นพื้นฐานหรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ไปคิดสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เป็นประโยชน์โดยตรงต่อมนุษย์ เรียกนักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ โดยใช้ความรู้พื้นฐานว่า นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ตัวอย่าง เช่น ทอมัส อัลวา เอดิสัน เป็นผู้ประดิษฐ์ เครื่องเล่นจานเสียง หลอดไฟฟ้า และเครื่องส่งโทรเลข

    ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

           กระบวนการทำงานอย่างมีระบบ และมีขั้นตอน เพื่อค้นคว้า หาความรู้ เรียกว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือ ระบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

    1.การระบุปัญหา
           เป็นขั้นตอนที่สำคัญซึ่งการจะตั้งปัญหาให้ดีนั้น จะต้องเป็ฯคนช่างสังเกต เมื่อสังเกตแล้วจำทำให้ได้ข้อมูลบางอย่างที่รู้แล้ว บางอย่างยังไม่รู้ จะทำให้เกิดความสงสัย เกิดเป็นปัญหาขึ้นมา ปัญหาที่ดีจะต้องสัมพันธ์ กับข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกต
    2. ตั้งสมมติฐาน
            คือการคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่อาจเป็นไปได้ สมมติฐานที่ดี จะต้องสัมพันธ์กับปัญหาและแนวทางในการพิสูจน์ สำหรับปัญหาหนึ่งควรมีสมมติฐานหลาย ๆ อัน
    3.ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
           ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น  ๆ ให้มากที่สุด
    4.ทดลอง
            เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกต้องหรื่อไม่ การทดลองนั้นจะต้องสัมพันธ์กับสมมติฐาน เป็นการทดลองที่มีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ และควรมีการทดลองซ้ำเพื่อประโยชน์ในการช่วยสรุปผลการทดลองให้ถูกต้องแน่นนอนยิ่งขึ้น
    5.สรุปผล
             เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า และการทดลองมาสรุปผล ซึ่งปัญหาบางปัญหานั้นไม่ต้องทำการทดลองก็สรุปได้จากการรวบรวมข้อมูล แต่บางปัญหาก็ต้งทำการทดลองก่อนจึงจะสรุปได้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×