ลำดับตอนที่ #7
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : การแยกสาร,การเปลี่ยนแปลงของสาร
การแยกสาร
สารส่วนใหญ่ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมักอยู่รวมกัน เช่นเกลือในน้ำทะเล น้ำหอมในดอกไม้ สมุนไพรในรากพืช เป็นต้น การใช้ประโยชน์จากสารจึงจำเป็นต้องแยกสารออกมา เช่น เหล็ก พบในรูปของสินแร่ฮีมาไทต์ การจะนำเหล็ก มาใช้ประโยชน์ จะต้องแยกเหล็กให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีการถลุง เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการแยกสารมีหลายแบบ แตกต่างกันไปตามลักษณะของสาร เช่นการคั้นน้ำกะทิออกจากเนื้อมะพร้าว หรือการหีบอ้อย เอาน้ำอ้อยออกจากลำต้น แล้วนำสารที่ได้ไปกรองเอาสิ่งสกปรกออก
การแยกสารอย่างง่ายได้แก่ การร่อน การกรอง การกลั่น การตกตะกอน การระเหยแห้ง การตกผลึก และการสกัดสาร
การร่อน การร่อนเป็นการแยกเอาของละเอียดออกจากของหยาบ
การกรอง (Filtration) เป็นกระบวนการแยกของผสมที่ประกอบด้วยของแข็งที่ไม่ละลายในของเหลวออกจากกัน
การกลั่น(Distillation) เป็นกระบวนการที่ทำให้ของเหลวกลายเป็นไอแล้วควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง เป็นการแยกของเหลวหรือของแข็งออกจากสารละลายที่เป็นของเหลว โดยอาศัยความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของจุดเดือด
การตกตะกอน เป็นการแยกของผสมที่เกิดจากของแข็งของเหลว โดยทำให้ของแข็งที่ปนอยู่ตกตะกอนลงก้นภาชนะ
การระเหยแห้ง เป็นการแยกของผสมที่อยู่ในรูปของสารละลาย (ของแข็งละลายในคลองเหลว)โดยทำให้ตัวละลายระเหยไป
การตกผลึก เป็นกระบวนการแยกสารต่างชนิดที่มีความสามารถละลายได้เมื่ออุณหภูมิต่างกัน ทำให้ได้ของแข็งที่บริสุทธิ์ ผลึก หมายถึง ของแข็งที่มีรูปร่างแน่นอน มีจำนวนหน้าหรือเหลี่ยมที่ชัดเจนแน่นอน เกิดขึ้นจากการจัดอนุภาคของสาร อย่างมีระเบียบแบบแผน และพบว่าสารแต่ละชนิด จะมีรูปร่างผลึกเฉพาะตัว แต่อาจจะมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันได้ เช่นผลึกของเกลือแกง น้ำตาล สารส้ม กำมะถัน เป็นต้น
การระเหิด เป็ฯการแยกของผสมที่เป็นของแข็ง ซึ่งส่วนหนึ่งมีสมบัติระเหิดได้ เนื่องจากมีจะเดือดต่ำมาก ๆ
การสกัดสาร เป็นการแยกสารโดยใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมเช่นน้ำหรือแอลกอฮอล์
การเปลี่ยนแปลงของสาร
ประเภทการเปลี่ยนแปลงของสาร
1.การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (Physical Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางการยภาพ ซึ่งเป็นสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสาร สังเกตและวัดได้ โดยไม่มีผลต่อองค์ประกอบภายในของสาร ตัวอย่างสมบัติทางกายภาพ เช่น สี กลิ่น รส การละลาย ความหนาแน่น รูปผลึก การนำความร้อน การนำไฟฟ้า จุดเดือด และจุดหลอมเหลว เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสารแล้ว สมบัติของสารไม่เปลี่ยนแปลง เช่น น้ำกลายเป้นน้ำแข็ง นำน้ำตาลทรายมาละลายในน้ำร้อน
2.การเปลี่ยนแปลงทางเคมี (Chemical Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางเคมีและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายใน ทำให้เกิดสารใหม่ เช่น การเผาไหม้ กรด-เบสผสมกัน ได้เกลือกับน้ำ กรดกับโลหะทำปฏิกิริยากันเกิดเกลือและก๊าซไฮโดรเจนเป็นต้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีแล้ว จะเกิดสารใหม่ซึ่งมีองค์ประกอบภายในและสมบัติทางเคมีของสารต่างไปจากสารเดิม
ลักษณะของสารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี จะมีการเปลี่ยนแปลฃงในลักษณะดังต่อไปนี้
1. สี สารเดิมไม่มีสีเมื่อผสมกับสารอื่นมีสีใหม่เกิดขึ้นหรือสีของสารเดิมเปลี่ยนไป
2. กลิ่น สารเดิมไม่มีกลิ่นเมื่อผสมกับสารอื่นมีกลิ่นเกิดขึ้น หรือกลิ่นเปลี่ยนไปจากเดิม
3. ตะกอน สารเดิมเป็นของเหลวใส 2 ชนิด เมื่อผสมแล้วเกิดตะกอน ซึ่งเป็นสารใหม่
4. ฟองก๊าซ สารเดิมเป็นของแข็งหรือของเหลว เมื่อผสมกันแล้วเกิดฟองก๊าซ
5. เกิดการระเบิดหรือเกิดประกายไฟ สารเดิมมีหลายลักษณะเมื่อนำมาผสมกันแล้วเกิดการระเบิดหรือเกิดประกายไฟ แสดงว่าสารทั้งสองทำปฏิกิริยาเคมีกัน
สารส่วนใหญ่ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมักอยู่รวมกัน เช่นเกลือในน้ำทะเล น้ำหอมในดอกไม้ สมุนไพรในรากพืช เป็นต้น การใช้ประโยชน์จากสารจึงจำเป็นต้องแยกสารออกมา เช่น เหล็ก พบในรูปของสินแร่ฮีมาไทต์ การจะนำเหล็ก มาใช้ประโยชน์ จะต้องแยกเหล็กให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีการถลุง เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการแยกสารมีหลายแบบ แตกต่างกันไปตามลักษณะของสาร เช่นการคั้นน้ำกะทิออกจากเนื้อมะพร้าว หรือการหีบอ้อย เอาน้ำอ้อยออกจากลำต้น แล้วนำสารที่ได้ไปกรองเอาสิ่งสกปรกออก
การแยกสารอย่างง่ายได้แก่ การร่อน การกรอง การกลั่น การตกตะกอน การระเหยแห้ง การตกผลึก และการสกัดสาร
การร่อน การร่อนเป็นการแยกเอาของละเอียดออกจากของหยาบ
การกรอง (Filtration) เป็นกระบวนการแยกของผสมที่ประกอบด้วยของแข็งที่ไม่ละลายในของเหลวออกจากกัน
การกลั่น(Distillation) เป็นกระบวนการที่ทำให้ของเหลวกลายเป็นไอแล้วควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง เป็นการแยกของเหลวหรือของแข็งออกจากสารละลายที่เป็นของเหลว โดยอาศัยความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของจุดเดือด
การตกตะกอน เป็นการแยกของผสมที่เกิดจากของแข็งของเหลว โดยทำให้ของแข็งที่ปนอยู่ตกตะกอนลงก้นภาชนะ
การระเหยแห้ง เป็นการแยกของผสมที่อยู่ในรูปของสารละลาย (ของแข็งละลายในคลองเหลว)โดยทำให้ตัวละลายระเหยไป
การตกผลึก เป็นกระบวนการแยกสารต่างชนิดที่มีความสามารถละลายได้เมื่ออุณหภูมิต่างกัน ทำให้ได้ของแข็งที่บริสุทธิ์ ผลึก หมายถึง ของแข็งที่มีรูปร่างแน่นอน มีจำนวนหน้าหรือเหลี่ยมที่ชัดเจนแน่นอน เกิดขึ้นจากการจัดอนุภาคของสาร อย่างมีระเบียบแบบแผน และพบว่าสารแต่ละชนิด จะมีรูปร่างผลึกเฉพาะตัว แต่อาจจะมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันได้ เช่นผลึกของเกลือแกง น้ำตาล สารส้ม กำมะถัน เป็นต้น
การระเหิด เป็ฯการแยกของผสมที่เป็นของแข็ง ซึ่งส่วนหนึ่งมีสมบัติระเหิดได้ เนื่องจากมีจะเดือดต่ำมาก ๆ
การสกัดสาร เป็นการแยกสารโดยใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมเช่นน้ำหรือแอลกอฮอล์
การเปลี่ยนแปลงของสาร
ประเภทการเปลี่ยนแปลงของสาร
1.การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (Physical Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางการยภาพ ซึ่งเป็นสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสาร สังเกตและวัดได้ โดยไม่มีผลต่อองค์ประกอบภายในของสาร ตัวอย่างสมบัติทางกายภาพ เช่น สี กลิ่น รส การละลาย ความหนาแน่น รูปผลึก การนำความร้อน การนำไฟฟ้า จุดเดือด และจุดหลอมเหลว เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสารแล้ว สมบัติของสารไม่เปลี่ยนแปลง เช่น น้ำกลายเป้นน้ำแข็ง นำน้ำตาลทรายมาละลายในน้ำร้อน
2.การเปลี่ยนแปลงทางเคมี (Chemical Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางเคมีและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายใน ทำให้เกิดสารใหม่ เช่น การเผาไหม้ กรด-เบสผสมกัน ได้เกลือกับน้ำ กรดกับโลหะทำปฏิกิริยากันเกิดเกลือและก๊าซไฮโดรเจนเป็นต้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีแล้ว จะเกิดสารใหม่ซึ่งมีองค์ประกอบภายในและสมบัติทางเคมีของสารต่างไปจากสารเดิม
ลักษณะของสารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี จะมีการเปลี่ยนแปลฃงในลักษณะดังต่อไปนี้
1. สี สารเดิมไม่มีสีเมื่อผสมกับสารอื่นมีสีใหม่เกิดขึ้นหรือสีของสารเดิมเปลี่ยนไป
2. กลิ่น สารเดิมไม่มีกลิ่นเมื่อผสมกับสารอื่นมีกลิ่นเกิดขึ้น หรือกลิ่นเปลี่ยนไปจากเดิม
3. ตะกอน สารเดิมเป็นของเหลวใส 2 ชนิด เมื่อผสมแล้วเกิดตะกอน ซึ่งเป็นสารใหม่
4. ฟองก๊าซ สารเดิมเป็นของแข็งหรือของเหลว เมื่อผสมกันแล้วเกิดฟองก๊าซ
5. เกิดการระเบิดหรือเกิดประกายไฟ สารเดิมมีหลายลักษณะเมื่อนำมาผสมกันแล้วเกิดการระเบิดหรือเกิดประกายไฟ แสดงว่าสารทั้งสองทำปฏิกิริยาเคมีกัน
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น