ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ที่จำเป็นใน วิชาวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #6 : สถานะของสาร,การเปลี่ยนสถานะของสสาร,การจำแนกสารในชีวิตประจำวัน

    • อัปเดตล่าสุด 28 มี.ค. 52


    สถานะของสาร

           สารต่าง ๆ รอบตัวเรามีอยู่หลายรูปแบบ และมีสถานะแตกต่างกันไป
           สถานะ  หมายถึง ความเป็นไปได้ หรือความเป็นอยู่ขณะนั้น คำว่าสถานะมักจะใช้เรียกความเป็นอยู่ในขณะนั้นของสาร ตามที่มนุษย์เราสัมผัสได้ เช่น มนุษย์สัมผัสวัตถุอย่างหนึ่ง รู้สึกว่าแข็ง ก็จะบอกว่าวัตถุนั้นมีสถานะ เป็นของแข็ง หรือสสารนั้นเป็นของแข็ง
         
            สารแบ่งเป็น 3 สถานะ คือ
              1.ของแข็ง มีรูปร่างคงที่ ขนาดและรูปทรงจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ หนังสือ ดินสอ ก้อนหิน ไม้ แท่งเหล็ก ฯลฯ
              2.ของเหลว รูปร่างจะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามภาชนะที่บรรจุ แต่จะมีปริมาตรคงที่ เช่น น้ำ น้ำมัน น้ำเกลือ น้ำเชื่อม ฯลฯ
              3.แก็ส เป็นสสารที่ ดำรงรูปทรงและขนาดไม่ได้ จะมีการไหลและฟุ้งกระจายไปทั่ว เต็มภาชนะที่บรรจุอยู่เสมอ เช่น อากาศ ไอน้ำ ฯลฯ

    การเปลี่ยนสถานะของสสาร

               เมื่อสสารได้รับความร้อนจะเปลี่ยนสถานะไปสู่สถานะอื่นได้
               การควบแน่น คือ การเปลี่ยนสถานะจากไอน้ำกลับมาเป็นของเหลว เพราะมีการคายความร้อน
                การแข็งตัว คือ การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง เพราะมีการคายความร้อน เช่น เทียนไขละลายเมื่อทิ้งไว้ให้เย็นจะแข็งตัว น้ำแข็งเมื่อเเข็งตัวจะมีปริมาตรมากกว่าตอนเป็นของเหลว
                การระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่เป็นของเหลวก่อน เฃ่น การระเหิดของลูกเหม็น สารดับกลิ่นชนิดก้อน

    การจำแนกสารในชีวิตประจำวัน
                
                
    สารที่อยู่รอบตัวเรา สามารถจำแนกโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ ออกเป็นหมวดหมู่โดยอาศัย ดังนี้
                 1.สารเนื้อเดียว คือ สารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียว อาจประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว หรือหลายชนิดซึ่งจำแนกได้เป็น 
                     1.1 สารบริสุทธิ์ เป็นสารเนื้อเดียวประกอบขึ้นด้วยสารเพียงชนิดเดียว อาจจะเป็นธาตุ หรือสารประกอบก็ได้
                                   สารบริสุทธิ์ที่เป็นธาตุ เช่นเหล็ก อะลูมิเนียม ทองคำ สารเหล่านี้จะแบ่งแยกให้กลายเป็นสารอื่นไม่ได้ หรือถ้าได้ก็ทำได้ยากมาก
                                    สารบริสุทธิ์ ที่เป็นสารประกอบ เช่น น้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกลือแกง ด่างทับทิม สารเหล่านี้สามารถนำมาสลายตัวต่อไปได้อีก ซึ่งผลสุดท้ายจะได้ธาตุออกมา
                       1.2 สารละลาย คือ สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบหลายชนิดมารวมกัน โดยที่สามารถแยกองค์ประกอบออกจากันได้ สารละลายจะต้องประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลาย เช่น น้ำเชื่อมเกิดจากน้ำผสมกับน้ำตาลหรือน้ำเกลือเกิดจากน้ำผสมกับเกลือ เป็นต้น สารละลายมีได้ทั้ง 3 สถานะ คือสถานะก๊าซ สถานะของเหลว หรือในสถานะของแข็ง
                2.สารเนื้อผสม คือสารที่มองเห็นไม่เป็นเนื้อเดียว และประกอบด้วยสารมากกว่า 1 ชนิด เช่นส้มตำ น้ำพริก  ดิน คอนกรีต

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×