ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ที่จำเป็นใน วิชาวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #2 : แรงลอยตัว ,แรงดันของของเหลว

    • อัปเดตล่าสุด 24 มี.ค. 52


    แรงลอยตัว

             เรือสามารถลอยและเคลื่อนที่อยู่ในน้ำได้ นอกจากเพราะรูปร่างของเรือแล้ว  ยังมีปัจจัยอื่นที่สามารถทำให้เรือลอยอยู่ในน้ำได้
             น้ำหนักของวัตถุเมื่อชั่งในน้ำจะลดลง เพราะมีแรงอีกแรงหนึ่งที่เกิดจากน้ำช่วยพยุงน้ำหนักของวัตถุ ทำให้เราชั่งน้ำหนัก ได้น้อยลง แรงนี้เรียกว่า \"แรงลอยตัว\"
             แรงลอยตัวจะช่วยให้วัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำมีน้ำหนักน้อยลง แรงลอยตัวนั้นพบโดยอาร์คิมีดีส นัคิดชาวกรีก ซึ่งเป็นผู้ให้หลักการเกี่ยวกับการลอยและจมของวัตถุ และเรียกหลักการนี้ว่า ๆ \"หลักการของอาร์คิมีดีส\" ซึ่งกล่าวว่า \"วัตถุใด ๆ ที่อยู่ในของเหลว จะถูกแรงลอยตัวกระทำ โดยแรงลอยตัวที่กระทำนี้จะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยส่วนที่จมอยู่ในของเหลวนั้น ๆ \"

    แรงดันของของเหลว
            ของเหลวที่บรรจุในภาชนะปิด ณ อุณหภูมิใด ๆ จะมีปริมาตรคงที่ของเหลวสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ 
             หากลองนำขวดพลาสติกมาเจาะรูที่ตำแหน่งต่าง ๆ ในแนวดิ่ง แล้วใส่น้ำจนเต็มขวด จะพบว่ามีน้ำพุ่งออกมาจากรูที่เจาะไว้ แสดงว่ามีแรงมากระทำต่อน้ำในภาชนะ เราเรียกแรงนี้ว่า แรงดันของน้ำ
              แรงดันนี้เกิดขึ้นทุกทิศทาง เราสามารถพบแรงดันในลักษณะดังกล่าวได้ในของเหลวทุกชนิด เรียกว่า ความดันของเหลว

    เครื่องมือวัดความดันของเหลว
              
    เครื่องมือวัดความดันของเหลวเรียกว่า แมนอมิเตอร์ มีลักษณะเป็นหลอดแก้วรูปตัวยู โดยปลายทั้งสองข้างหลอดแก้วจะเปิด ในสภาวะปกติขณะไม่ได้ใช้งานระดับความสูงปรอทในหลอดแก้วทั้งสองข้างจะสูงเท่ากัน เมื่อเราต้องการวัดความดันของเหลว ให้นำภาชนะที่บรรจุของเหลวต่อเข้ากับอีกปลายด้านหนึ่งของหลอดแก้วปรอทภายในหลอดแก้วจะถูกดันให้เคลื่อนที่ไปอีกข้างหนึ่ง ซึ่งมีสเกลบอกค่าความดันของของเหลวนั้น ๆ
                แมนอมิเตอร์ไม่ได้วัดเฉพาะความดันของของเหลวเท่านั้นแต่ยังสามารถนำไปวัดความดันของแก๊สได้ด้วย จึงนิยมเรียกแมนอมิเตอร์ว่า "เครื่องวัดความดันของของไหล"  (ของไหล คือ สารต่าง ๆ ที่อยู่ในสถานะของเหลวและแก๊สสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ หรือสามารถไหลได้)









    อ้างอิงจาก สัญญาเซนเตอร์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×