ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวิตเด็กทุนก.พ. ในอเมริกา (ตั้ง 10 ปี แน่ะ โหย..)

    ลำดับตอนที่ #8 : เขียงสัมภาษณ์..ประสบการณ์ส่วนตัว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.44K
      4
      9 ก.ย. 53

    ขอโทษนะคะ ที่หายไปนาน เพิ่งจะได้ว่างมาเขียนเนื่องจากเปิดเทอมปีหนึ่งแล้วค่ะ  ยุ่งน่าดูทีเดียว ตามประสาเด็กปีหนึ่งเนอะ  เดี๋ยววันหลังจะเล่าให้ฟังค่ะ (จะเล่า ๆ ประจำแล้วก็หายย ฟิ้วว..ว)

    คือบทความอันนี้จะเกี่ยวกับประสบการณ์ตอนสัมภาษณ์ของเราล้วน ๆ เลยนะ ว่าถามอะไร บ้าง รู้สึกอย่างไร กรรมการหน้าตาเป็นไง แก่แค่ไหน อ๊ะ ไม่เกี่ยวละ  มันผ่านมาปีกว่าแล้วนะคะ ต้องมีหลงลืม บ้าง จะกู้ได้เท่าที่กู้ละกันค่ะ (ถ้าขี้เกียจอ่านเราพล่ามบรรยากาศ ก็ข้ามไปอ่านคำถามได้เลยนะ เดี๋ยวจะไฮไลท์สีไว้ให้จ้า )

    การสัมภาษณ์ของเรานี่ เป็นสำหรับสาขา Animal Immunology

    ก็ต้องมาตึกสัมภาษณ์ตั้งแต่เช้า เพื่อมารอ เป็นชั่วโมง ๆ = ="  รอจนหายตื่นเต้นไปเลยล่ะค่ะ จริง ๆ เลยนะ ก.พ. เนี่ย
    จากนั้นเขาจะรวบรวมกลุ่มเด็กไปนั่งในห้องประชุมใหญ่เพื่อรออีกสัก ชม. พอเข้าไปปุ๊บก็จะมีการลงชื่อรายงานตัว คนมาสัมภาษณ์
    เราก็แบบแอบชะเง้อไง ว่าคู่แข่งตัวเองมาไหม (ฮ่าๆ ไม่ได้เจ้าเล่ห์นะ แค่เตรียมตัวเอ๊ง) เพราะเราอ่านประกาศทางเน็ตมาว่าทุนนี้ติดสัมภาษณ์กันแค่สองคนเอง ปกติจะให้ได้ห้าคน เราก็เลยพอมีลุ้นอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้หวังไกลอะไรมากมาย

    ปรากฏว่ายังไม่มาแฮะ เอ๊ะ หรือไม่มาจริง ๆ เนี่ย (เยส!! ในใจเบา ๆ)  ทุกคนพอลงชื่อเสร็จก็เข้าไปนั่งประจำที่เรียบร้อย
    เตรียมตัวทำข้อสอบเขียนค่ะ  แบบที่เคยเล่าไปในบทความอันที่แล้ว ๆ ว่าต้องมีการให้เขียนก่อน จะสัมภาษณ์ด้วยปากจริง
    ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่เราเขียนไปเนี่ยจะใช้เป็นฐานข้อมูลให้กับกรรมการที่จะมาสัมภาษณ์เราอีกที  ไอข้อสอบเขียนอันนั้นก็มีหลายหน้ามาก
    เป็นปึกจนเราตกใจ (นี่จะเก็บคะแนนฉันจากพวกนี้เหรอ แอบเครียดสิคะ แถมให้เวลาจำกัดมาก ๆ ทำไม่ทันอะ เครียดยิ่งกว่าเดิม)
    พอเราทำเสร็จ (ไม่เสร็จดีหรอก แต่หมดเวลา - -') เขาก็รวบรวมไป 

    หลังจากนั้นก็นั่งรอนาน ๆ ในห้องนั้น แล้วสักพักก็จะโดนเรียกตัวไปยังห้องสัมภาษณ์ที่มีกรรมการนั่งประจัญหน้าอยู่ ฮ่าๆ
    ตอนไปถึงกรรมการยังไม่พร้อมเลย เจ้าหน้าที่ก็ให้เรารอหน้าห้อง เราก็รอ แล้ว เฮ้ย !  เค้าเอาสำเนาของไอ้กระดาษแผ่นนั้นมาให้เรา
    แล้วบอกว่ากรรมการจะมีอีกชุดเหมือนกัน  อ้าวตายละหว่า แล้วนี่ถ้าเราตื่นเต้นมาก ตอบไปไม่เหมือนกับที่เขียนอะ โอ๊ะ แม่เจ้า..
    ปรากฏว่ารีบเปิดอ่านทบทวนใหญ่เลยค่ะ ตลกตัวเอง เขียนเองแท้ ๆ ทำไมกลัวจำไม่ได้นะ เหอๆ

    ทีนี้กรรมการก็พร้อมละ เขาก็เรียกเราเข้าไปในห้อง
    มันก็เป็นห้องเล็ก ๆ อะนะคะ จัดโต๊ะเป็นรูปตัวยู  มีสามคนนั่งที่ขอบล่างตัวยู  ส่วนที่แขนตัวยู ก็มีนั่งประจำฝั่งละคน  ส่วนเราก็มีโต๊ะ กับเก้าอี้เล็ก ๆ ตั้งอยู่หน้าโต๊ะตัวยูค่ะ  แบบว่า ประจัญหน้าอย่างจัง เราก็เข้าไปสวัสดีตามมารยาทสัมภาษณ์ (กร๊ากก ทุกคนต้องเป็นแน่เลย อาจารย์จะบอกว่าทำอย่างนั้น นู้นนี่ เอาเข้าจริงลืม ปล่อยโก๊ะ อิอิ แต่ไม่ใช่เรานะ) 

    โอ๊ะ ลืมบอกไปค่ะ ว่าคู่แข่งสัมภาษณ์ไม่มาแล้วว!!!!  อิอิ ดีใจได้พักหนึ่งมาเครียดในห้องสัมภาษณ์ต่อ

    สรุปคือมีกรรมการห้าคน อายุราว ๆ 20 - 40 ปี ก็แก่อะนะ แก่มะ ไม่รู้สิ (อ๊ากก เดี๋ยวเขาแอบอ่านเจอ เหอๆ)
    มาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรศูนย์ใหญ่ กับ ศูนย์ที่เพชรบุรีที่ที่เราต้องกลับไปทำงาน แล้วก็มีนักจิตวิทยาหนึ่งคน คนจะไม่บอก
    ว่าคนไหน ก็ไปเดากันเองนะคะ แต่เราดูออกจากคำถามที่เขาถาม

    กรรมการ -- นั่น ๆ ดูจ้องหน้า มีจ้องหน้ากรรมการด้วย ดู ๆ
    นักเรียนตาดำ ๆ ผู้ถูกสัมภาษณ์-- (เอ้า หนูไปจ้องตอนไหน มาถึงมีแอบขู่กันเลย) เราก็แอบตกใจนิดนึง เหอๆ มันตื่นเต้นนี่ แต่ก็ทำหน้า
    ยิ้ม ๆ เข้าไว้ คิดไรไม่ออกนี่ ก็ยิ้มไว้ก่อน เหอๆๆ ให้มันดูดี (ไม่รู้ดีไหมนะ ลืมพกกระจก)

    กรรมการ -- เริ่มแนะนำตัวเองว่ามาจากนั้นนี้ ชื่อนี้
    นักเรียน -- หงึก ๆ พยักหน้ารับรู้ไป พูดไปสิ จำไม่ได้หรอก (เราความจำสั้นน่ะ)

    กรรมการ -- หยิบแฟ้มประวัติเราไปดู แล้วก็ถามขึ้นว่า ไหนลองพูดอังกฤษให้ฟังหน่อยสิ
    นักเรียน -- เอ้า ไม่ให้หายใจหายคอเลย กรรม.. โหดร้ายอ่ะ  ก็พูดเกี่ยวกับตัวเอง พ่อแม่พี่ ทำนองเล่าประวัติครอบครัวน่ะค่ะ
    แต่ว่าพูดตะกุกตะกักมากก เพราะเราไม่เก่งภาษานี่นา เบสิคสุดๆ เหอๆ กรรมการคงหนักใจ

    กรรมการ -- จบจากโรงเรียนไหน
    นักเรียน -- ภูเก็ตวิทยาลัยค่ะ

    กรรมการ -- ทำไมถึงมาสอบทุนนี้ รู้จักได้อย่างไร แล้วทำไมเลือกสาขานี้ล่ะ
    นักเรียน -- พี่สาวบอกมา แล้วก็อยากเป็นนักวิจัยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เลือกสาขานี้เพราะว่าน่าสนใจ ตัวเองชอบชีววิทยาอยู่แล้ว
    เรียนได้หมดถ้าเป็นชีวะ อยากทำงานค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับระดับโมเลกุล เพราะคิดว่ามันน่าทึ่งดี

    กรรมการ -- รู้ไหมว่าต้องกลับมาใช้ทุนกี่ปี
    นักเรียน -- ทราบค่ะ สองเท่าของระยะเวลาที่เรียนไป

    กรรมการ -- มีพี่น้องเรียนที่ไหน หรือทำอะไรอยู่
    นักเรียน -- พี่สาวเรียนอยู่... ก็ว่าไป

    กรรมการ -- แล้วจบกลับมาต้องทำงานไกลบ้านนะ ทำได้เหรอ ไม่ห่วงบ้าน คิดถึงบ้าน อยากกลับบ้างเหรอ
    นักเรียน -- ไม่เป็นไรอยู่แล้ว ขอแค่ได้ทำในสิ่งที่รักก็พอ แค่นั้นก็พอใจแล้ว ไม่เกี่ยงว่าที่ไหน

    กรรมการ -- อืม ส่วนใหญ่เด็กต่างจังหวัดจะเป็นแบบนี้แหละ ทำที่ไหนก็ได้ ไม่เหมือนพวกกทม. ต้องติดบ้าน
    นักเรียน -- หงึก ๆ ยิ้ม

    นักจิตวิทยา -- แล้วไปอยู่ไกลบ้านแบบนั้น ไม่กลัวเหรอ ถ้าเกิดเหงา ท้อแท้ ขึ้นมาจะทำไง คิดว่าจะใช้ชีวิตได้เหรอ
    นักเรียน -- ก็ถ้าเป็นแบบนั้นก็ต้องหาวิธีแก้ โทรกลับบ้าน คุยกับเพื่อน อย่าปล่อยให้ตัวเองฟุ้งซ่าน อะไรก็ว่าไปเถอะค่ะ บลา ๆๆ

    กรรมการ -- นี่คงไม่เคยออกห่างจากบ้านไกล ๆ เลยใช่ไหม แม่ไม่ว่าเหรอ ไม่ห่วงเหรอ คงคิดถึงแย่
    นักเรียน -- ก็บลา  ๆๆ

    กรรมการ (อยู่ ๆ คนที่นั่งเงียบอีกคนหนึ่งก็ถาม นึกว่าจะไม่พูดซะอีก) -- ไหนลองบอกวิธีแก้โรคติดต่อ หรือ ผลิตวัคซีนหน่อย พูดมาได้เลยนะ ไม่มีถูกผิด เอาตามที่คิด
    นักเรียน -- (ความจริงเราแอบทำค้นคว้ามาแล้วแหละ เหอๆๆๆ แต่มันตื่นเต้นนน ก็เลยไม่เหมือนที่เตรียมมา ฮ่าๆ) ก็ร่ายไปตามหลักการทำวัคซีนธรรมดา

    กรรมการ -- Genetics กับ Immunology นี่เหมือนกันไหม หรือต่างกัน เกี่ยวกันยังไง
    นักเรียน -- (เพราะเราไปบอกเขาว่าเราชอบพันธุศาสร์น่ะ เขาเลยถาม ความจริง เรารู้ว่ามันต่างกัน แต่เราตอบว่าเกี่ยวกัน ออกแนวจะเหมือนกันด้วยซ้ำ ก๊ากกก ฉันทำอะไรลงไปนี่)  เราก็ร่ายไปตามที่เรียนมา ไปโยงให้มันเกี่ยวอะนะ แต่ก็ทำได้ไม่ดี

    กรรมการ -- ความจริงสองตัวนี้มันก็คนละเรื่องกันอะนะ แต่ก็..(จำไม่ได้ว่าพูดไร)
    นักเรียน -- อ๋อค่ะ (ก๊ากก หน้าแตก)

    กรรมการ -- จบมานี่ทำงานไรบ้างรู้ไหม
    นักเรียน -- เป็นอาจารย์ กับนักวิจัยที่ม.ศิลปากรสาขาบลาๆๆ

    กรรมการ -- รักสัตว์ไหม หรือว่าเลี้ยงสัตว์อะไรไหม
    กรรมการ -- ให้ทำงานกับสัตว์นี่จะทำได้ไหม
    กรรมการ -- แล้วให้มาสอนเด็กนี่สอนได้ไหม

    ก็ต้องตอบว่าได้อยู่แล้วอ่ะ แต่ถ้าเป็นงานที่รัก ยังไงก็ทำได้

    กรรมการ -- ถ้ามีคนมาซื้อตัวไปจะไปไหม จะแบบว่าหนีทำงานเมืองนอก แล้วไม่กลับไทยอะไรแบบนี้ไหม
    นักเรียน -- ไม่ (ตอบอย่างมั่นใจ เพราะเราคนข้างอุดมการณ์หน่อย ๆ ด้วยแหละ เหอๆ) ไม่เด็ดขาด เพราะถ้าทำแบบนั้นก็สูญเปล่า แล้วเมื่อไหร่ประเทศจะพัฒนาสักที ถ้าคนดี ๆ เก่ง ๆ หนีไปหมด จะมีทุนนี้ไว้ทำไม แล้วความตั้งใจจริงที่มาสอบทุนนี้ ก็ตั้งใจมานานแล้วตั้งแต่เด็กว่าอยากช่วยเหลือและพัฒนาประเทศจริงๆ เพราะฉะนั้นจะไม่หันหลังให้ไทยเด็ดขาด (ว๊ายย เหอๆ  แต่เราคิดแบบนี้จริงนะเนี่ย )

    กรรมการ -- หมดคำถามแล้วล่ะ  คราวนี้มีอะไรอยากจะถามกรรมการไหม
    นักเรียน -- สภาวะภูมิคุ้นกันในไทยเป็นไง  มีสถาบันวิจัยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันในไทยโดยตรงหรือไม่ จำได้แค่นี้ค่ะ เราไม่รู้เหมือนกันว่าถามไรไปบ้าง  ที่เราถามแบบนั้นไปเพราะตั้งใจไว้ไงว่าจะกลับมาทำวิจัยด้านนี้ให้โด่งดัง มีประสิทธิภาพ ไม่น้อยหน้าต่างชาติ ก็เลยต้องรู้ที่มาอะไรหน่อยน่ะ


    แล้วพอจบคำถามเสร็จสิ้นกรรมการก็ชม ขอบคุณ ว่าอย่างโน้นอย่างนี้ ตามภาษาแกไป
    เราก็โล่งอกเลยล่ะ จบแล้ว ผลเป็นไงไม่รู้ รู้ว่าทำดีสุดแล้วล่ะ 

    จากนั้นเราก็เดินทางไปสนามบินกับเพื่อน ๆ เตรียมกลับภูเก็ต  ระหว่างกินข้าวอยู่ หนึ่งในกรรมการสัมภาษณ์โทรมาหา มาขอเบอร์ติดต่อเรา ก๊ากกกกก ดีใจ โทรมาแปลว่า... ไม่ ๆ ไม่เอา ๆ ไม่เข้าข้างตัวเองนะ อย่าคิดไกล ใจเย็น ๆ (แต่ยิ้มไปถึงหูแล้ว ก๊ากก)

    จบละ ก็แค่นี้แหละค่ะ เพราะมันลืม ๆ น่ะ






    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×