ความเป็นมาจังหวัดอุตรดิตถ์ - ความเป็นมาจังหวัดอุตรดิตถ์ นิยาย ความเป็นมาจังหวัดอุตรดิตถ์ : Dek-D.com - Writer

    ความเป็นมาจังหวัดอุตรดิตถ์

    ประวัติความเป้นมาของจังหวัดอุตรดิตถ์

    ผู้เข้าชมรวม

    465

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    465

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 พ.ย. 49 / 13:50 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



      ประวัติความเป็นมาจังหวัดอุตรดิตถ์
      The Historical Background of The Uttaradit

      อุตรดิตถ์มีความหมายว่า เมืองท่าแห่งทิศเหนือ และก่อนจะ มาเป็นเมืองท่าสำคัญแต่เดิมอุตรดิตถ์เคยเป็นเมืองในปกครองของ เมืองพิชัย อันเป็นเมืองเก่าแก่ ปรากฏชุมชนอาศัยมาตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์
         
         
         
             Uttaradit is the title denoting the identity of this city means “City of Northern pier”. Before it became an important pier city, Uttaradit used to be a Sub-district of Mueang Phichai, an ancient city.     


            สมัยก่อนประวัติศาสตร์
                      Pre-historic Period

                 
                   
        สมัยโบราณก่อน พ.ศ. 1000 ยังไม่มีตัวอักษรใช้กัน แต่อุตรดิตถ์มีคนอาศัยอยู่แล้วเพราะหลักฐานจากการ ค้นพบภาพเขียนสีโบราณบนหน้าผาเขาตาพรหม หลังที่ว่า การอำเภอทองแสนขันและกลองมโหระทึกทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ที่ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง อุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2470 ทำให้ เราทราบว่าอุตรดิตถ์เป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ก่อน พ.ศ. 1000 แล้ว เพราะโบราณวัตถุที่ค้นพบดังกล่าวเป็นโลหะ ที่มีใช้กันอยู่ในยุคสัมฤทธิ์หรือยุคโลหะตอนต้นอันเป็นยุคก่อน ประวัติศาสตร์นั่นเอง
       
       
       
       
       
           The discovery of pre-historic color paintings on the stone cliff, Khao Ta Prom behind Thong Saen Khan district office and a bronze drum in Tambon Tha Sao, Mueang Uttaradit district in 2470 B.E. The testimony advocative to the nation that the location of the povince of Uttaradit used to be the community of pre-historic people before. For, the drum could be traced back to the bronze age.







      สมัยสุโขทัย
      Sukothai Period

                                 
                                 
            ในสมัยสุโขทัยท้องที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มี การตั้งเมืองขึ้นหลายเมือง เช่น เมืองฝางหรือเมืองสวางคบุรี เป็นเมืองที่มีชื่อปรากฏในศิลาจารึกของกรุงสุโขทัย เมื่อคราว ที่พระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย ได้ทรงสร้าง พระมหาธาตุที่นครชุม ตอนท้ายของศิลาจารึกได้กล่าวถึง เมืองฝางซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย และยังเป็น เมืองต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา ปัจจุบันเมืองฝางอยู่ในท้องที่ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จากการพบตัวเมืองและสถูป มีลักษณะ เดียวกับเมืองโบราณสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ในกฎหมาย ลักษณะลักพา ครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่ง กรุงศรีอยุธยา มีชื่อเมืองทุ่งยั้งอยู่ในทำเนียบด้วย ปัจจุบัน อยู่ในท้องที่อำเภอลับแล เมืองโบราณอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองตาชูชก มีแม่น้ำ น่านเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีคำบรรยายลักษณะเมืองในศิลา จารึกสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอตรอน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×