ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Cage คลังเก็บของจิปาถะส่วนตัว. บุคคลไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้า!!!

    ลำดับตอนที่ #88 : ส่งงาน : ฮอกวอตส์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 89
      0
      17 มี.ค. 56

    ส่งงาน

     

    ชื่อ สเตลลิเท เวลช์

    บ้าน กริฟฟินดอร์

    ชั้นปีที่ 3

    ชนิดของงาน - งานพิเศษ

    หัวข้อเรื่อง – เห็ดพันธุ์หลากพิษ

    คำสั่ง จงหาเห็ดมีพิษชนิดใดก็ได้ของมักเกิ้ลมา 3 อย่าง แล้วจงใส่ข้อมูลของเห็ดชนิดนั้นๆ ลงในแบบสำรวจต่อไปนี้ (หากเห็ดชนิดนั้นไม่มีข้อมูลบางอย่างให้ข้ามไปข้อต่อไป)

    1.

    เห็ดไข่เน่า

            1.1 ชื่อเห็ด เห็ดไข่เน่า

            1.2 ชื่อภาษาอังกฤษหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Clarkeinda tiachodes (Berk.) Sing.

            1.3 ลักษณะของเห็ด

    หมวก รูปกระทะค่ำสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 – 15 เซนติเมตร มีเกล็ดสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งปลายรวมเป็นกระจุกและงอนขึ้น ยกเว้นกลางหมวกที่มีสีน้ำตาล เกล็ดกระจายไปยังขอบหมวก ครีบสีขาวเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนอมน้ำตาลไม่ยึดติดก้าน

    ก้าน รูปทรงกระบอก สีขาว ผิวเรียบ ยาว 9 – 12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 – 2 เซนติเมตร บนก้านตอนบนมีวงแหวนสีขาว เนื้อในสีขาว เมื่อฉีกขาดหรือช้ำเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือน้ำตาลแดง

    สปอร์ สีเหลืองอมเขียว รูปไข่ ขนสด 3 – 4 x 6 – 7 ไมโครเมตร ผิวเรียบผนังหนา ปลายบนมีรูเปิดและตัดตรง เห็ดชนิดนี้ขึ้นดอกเดี่ยว

    กลุ่มละ 3 – 4 ดอก บนพื้นดิน ริมทางหรือสนามหญ้า

            1.4 มีพิษอย่างไร

    เห็ดชนิดนี้สร้างสารพิษ Gastrointestinal และสารพิษอื่น

    สารพิษในกลุ่มนี้ทำให้เกิดอาการกับระบบทางเดินอาหารมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน และท้องร่วง เห็ดพิษในกลุ่มนี้มีมากมาย บางชนิดก็พบสารพิษว่าเป็นชนิดใดบ้างแล้ว และอีกหลายชนิดยังไม่มีการวิจัย ถ้าเด็กรับประทานเห็ดพิษกลุ่มนี้ปริมาณที่มากก็อาจถึงตายได้ นอกจากนี้เห็ดพิษชนิดเดียวกัน บางคนมีอาการแต่บางคนไม่แสดงอาการเมื่อรับประทานพร้อมกัน เห็ดพิษในกลุ่มนี้มีหลายชนิดเมื่อรับประทานดิบจะเป็นพิษ แต่ถ้าต้มสุกแล้วไม่เป็นอันตรายเพราะความร้อนทำให้พิษถูกทำลายหมดไปกลายเป็น เห็ดรับประทานได้

     

    2.

    เห็ดห้า

            2.1 ชื่อเห็ด เห็ดห้า

            2.2 ชื่อภาษาอังกฤษหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phaeogyroporus portentosus (Berk.et Broone) Mc. Nabb.

            2.3 ลักษณะของเห็ด

    หมวก รูปกระทะคว่ำและแบนลง เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 – 30 เซนติเมตร ดอกอ่อนมีขนละเอียดคล้ายกับมะหยี่สีน้ำตาล

    ผิวสีน้ำตาลเข้มปนเหลืองอ่อน เมื่อบานเต็มที่กลางหนวดเว้าลงเล็กน้อย ผิวปริแตกเป็นแห่งๆ

    เนื้อในสีเหลืองอ่อน ด้านล่างเต็มไปด้วยรูติดกับเนื้อสีเดียวกันสีเหลืองค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินอมสีปนเปื้อน

    โดยเฉพาะเหนือรูขึ้นไปจนเกือบถึงผิวหมวกและบริเวณก้านตอนบน ก้าน อวบใหญ่ สีน้ำตาลอมเหลือง ยาว 4 – 8 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 4 เซนติเมตร

    โคนก้านโปร่งเป็นกระเปาะ บางส่วนนูนและเว้าเป็นแอ่งหรือร่อง ผิวมีขนละเอียดคล้ายกับมะหยี่สีน้ำตาลเหมือนหมวก

    สปอร์ ค่อนข้างกลม ขนาด 5.2 – 6.2 x 6.6 – 9.4 ไมโครเมตร ผิวเรียบ ผนังหนาเห็ดชนิดนี้พบทางภาคเหนือขึ้นเป็นกลุ่มโคนติดกัน

    กลุ่มละ 5 –10 ดอก

            2.4 มีพิษอย่างไร ทำให้คลื่นไส้ เวียนศีรษะและท้องเดิน พิษจะหายภายใน 3 – 5 ชั่วโมง

     

    3.

    เห็ดไข่หงส์

            3.1 ชื่อเห็ด เห็ดไข่หงส์

            3.2 ชื่อภาษาอังกฤษหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Scleroderma citrinum Pers.

            3.3 ลักษณะของเห็ด 

    หมวก รูปกลม สีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 6 เซนติเมตร สูง2 – 3 เซนติเมตร ด้านบนแบนลงเล็กน้อย

    ผิวแตกเป็นเกล็ดใหญ่ โคนมีเส้นใยหยาบเป็นกระจุกยึดติดกับดิน(สีนวลขาว) เปลือกหนา 3 – 4 มิลลิเมตร เมื่อดอกเห็ดแก่ด้านบนปริแตกออก

    สปอร์ ภายในดอกเห็ดสีม่วงน้ำตาลบรรจุอยู่ รูปกลม ผิวขรุขระเป็นร่องแห เห็ดชนิดนี้ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวใกล้กัน และกระจายทั่วไปในป่าสน

            3.4 มีพิษอย่างไร  เป็นเห็ดพิษทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน ไม่ควรรับประทานทั้งดิบและสุก

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×