ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลการเขียนนวนิยายสืบสวนสอบสวน

    ลำดับตอนที่ #19 : ตามรีเควส : อาวุธปืน ลักษณะบาดแผล การเก็บหลักฐานและการตรวจสอบ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.58K
      3
      28 พ.ย. 53

    สืบเนื่องจากคอมเม้นที่ 13 ของคุณโฮมมี่

    : อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับพวกการวางระเบิด ประเภทของระเบิด หรือ เอฟเฟ็กท์ รวมถึง อาวุธปืนประเภทต่าง ๆ

    พอว่างจากอะไรหลายๆ อย่างก็เลยรีบเอามาลงให้  ไม่ขอพูดพล่ามทำเพลงนะคะ วันนี้ปวดหัวตุบๆ ยังไงก็ไม่รู้ ตัวเบาๆ สงสัยไข้ขึ้น

    ============================================



    อาวุธปืน / ลักษณะบาดแผลจากอาวุธปืน /
    การเก็บหลักฐานและการตรวจสอบคราบเขม่าดินปืน


      

    ในภาพเป็นปืนลูกโม่จ้ะ

     

    ใน การชันสูตรผู้ที่เสียชีวิตเนื่อง จากการบาดเจ็บจากกระสุนปืนนั้นนอกจากการระบุเหตุและพฤติการณ์ที่ตายของผู้ เสียชีวิตแล้วผู้ที่ทำการชันสูตรยังต้องระบุลักษณะของบาดแผลว่าแผลใดเป็นทาง เข้าแผลใดเป็นทางออก ระยะยิง ทิศทางของการยิง และลักษณะของปืนและกระสุนปืนที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บนั้นได้อย่างคร่าวๆ รวมทั้งยังต้องเก็บวัตถุพยานได้อย่างถูกต้องด้วย ดังนั้นผู้ชันสูตรจึงต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาวุธปืน กระสุนปืนและกลไกของการยิงปืนอยู่บ้างเพื่อที่จะสามารถให้ความเห็นต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

     

    ประเภทของอาวุธปืน

    แบ่งตามลักษณะภายในลำกล้องปืน เป็น

    1. ปืนที่มีเกลียวในลำกล้อง (rifled firearms) ผิวภายในลำกล้องปืนมีร่องเกลียว (groove) และสันเกลียว (land) สลับกันและวนเป็นรอบ (spiral) ไป ตามความยาวของลำกล้องปืน เกลียวในลำกล้องปืนจะรีดให้กระสุนที่พุ่งออกมาหมุนรอบตัวเองทำให้เข้าสู่ เป้าหมายได้แม่นยำขึ้น การรีดนี้จะทำให้เกิดร่องรอยตำหนิบนหัวกระสุนซึ่งนำไปใช้ในการตรวจพิสูจน์ ได้ว่าหัวกระสุนนั้นถูกยิงออกมาจากปืนกระบอกใด ปืนที่มีเกลียวในลำกล้องมีทั้งปืนยาวและปืนสั้นซึ่งมี 2 ชนิด คือ ปืนลูกโม่ (revolver pistol) และปืนพกกึ่งอัตโนมัติ (semi-automatic pistol)

    2. ปืนที่ไม่มีเกลียวภายในลำกล้อง (smooth-bore firearms) ภายในลำกล้องไม่มีร่องเกลียว ได้แก่ ปืนลูกซองและปืนแก๊ป

     

    กระสุนปืน

    ·       กระสุนปืนลูกโดด
             ประกอบด้วยหัวกระสุนปืน (bullet) ปลอกกระสุนปืน (cartridge case) ดินปืน (propellant or gunpowder) อยู่ภายในปลอกกระสุนปืนถัดมาจากหัวกระสุนปืน และแก๊ปปืน (primer) ซึ่งอยู่บริเวณฐานของกระสุนปืน
    หัวกระสุนปืน แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่
            1. หัวกระสุนตะกั่ว (lead bullet) ประกอบด้วยตะกั่วล้วน หรืออาจมีส่วนผสมของดีบุกหรือพลวงผสมเพื่อเพิ่มความแข็ง
            2. หัวกระสุนมีเปลือกแข็ง (metal-jacketed bullet) มีโลหะแข็งหุ้มแกนตะกั่ว โดยอาจหุ้มรอบกระสุนเป็น full metal-jacketed bullet หรืออาจหุ้มเพียงบางส่วนของหัวกระสุนก็ได้ซึ่งเรียกว่า partial metal-jacketed bullet
            3. ไม่มีหัวกระสุน (blank cartridge) ใช้ สำหรับซ้อมรบหรือปล่อยตัวนักกีฬา ปลอกกระสุนปืน เป็นส่วนซึ่งบรรจุดินปืน อยู่ในส่วนท้ายของลูกกระสุนปืน ปิดด้วยจานท้ายปลอกกระสุนปืน


    *ดินปืน เป็นส่วนที่บรรจุอยู่ภายในปลอกกระสุนปืน เมื่อเกิดการเผาไหม้จะเกิดแก๊สขึ้นในปริมาณมาก ขับดันหัวกระสุนให้พุ่งออกไปตามลำกล้องปืน
    **แก็ปปืน เป็นตัวจุดประกายไฟผ่านเข้าไปติดดินปืนเพื่อให้เกิดการระเบิดเผาไหม้ขึ้น

     

    ·       กระสุนปืนลูกปราย
            ประกอบด้วยปลอกกระสุน (body) เม็ดกระสุนลูกปราย (pellet or shot) ซึ่งมีจำนวน ตั้งแต่ 1 เม็ดจนถึงหลายร้อยเม็ด หมอนรองกระสุน (wad) ฝาปิดปากปลอกกระสุน (hull) ดินปืน (gunpowder) และแก๊ปปืน (primer)

     

    ส่วนประกอบที่เกิดจากการยิง

    เมื่อมีการยิงเกิดขึ้นนอก จากหัวกระสุนปืนแล้วจะมีสิ่งต่างๆ พุ่งออกมาจาก ปากลำกล้องปืนด้วย ได้แก่ เปลวไฟ (flame) ควันไฟ (smoke) เขม่าดินปืนที่เผาไหม้แล้วหรือที่ยังเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ (burn or unburn powder particles) ส่วน ประกอบที่เกิดจากการยิงเหล่านี้จะปรากฏบนผิวหนังหรือเสื้อผ้าของผู้ที่ ถูกยิงได้หากยิงในระยะที่ไม่ไกลนัก ลักษณะของการปรากฏจะมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะยิงจึงใช้ในการประเมินระยะ ยิงได้

     

    บาดแผลจากกระสุนปืนลูกโดด

    ·       บาดแผลทางเข้า (entrance wound)
            มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
            1. รูปร่างกลมหรือรี ยกเว้นแผลทางเข้าในระยะประชิดติดผิวหนังบริเวณศีรษะหรือบริเวณที่มีกระดูกรองรับ ซึ่งจะเป็นรูปแฉกหรือรูปดาว (star-shaped or stellate wound)
            2. รอยถลอกรอบแผล (abrasion collar หรือ marginal abrasion) เกิดจากการที่ หัวกระสุนเสียดสีผิวหนังที่ถูกยืดขณะฉีกขาด
            3. รอยเปื้อนน้ำมันรอบแผล (grease ring) เมื่อ หัวกระสุนปืนถูกรีดออกจากลำกล้องปืน น้ำมันที่เคลือบอยู่จะติดหัวกระสุนออกไปด้วย และเมื่อหัวกระสุนปืนผ่านผิวหนัง น้ำมันนั้นก็จะติดเปื้อนอยู่ที่ขอบแผล ปรากฏเป็นวงสีเทาดำ
            4. ขนาดของบาดแผลโดยทั่วไปจะเล็กกว่าบาดแผลทางออก
            5. พบลักษณะที่เกิดจากเปลวไฟ ควันไฟและเขม่าดินปืนในบริเวณรอบแผล หากเป็นระยะที่ส่วนประกอบจากการยิงเหล่านี้ไปถึงได้ โดยมีความแตกต่างกันตามระยะยิง ดังนี้
                5.1 ระยะประชิดติดผิวหนัง ในระยะนี้ทั้งเขม่าดินปืน ควัน และความร้อนจะถูกพ่นเข้าไปในแผลทั้งหมด ทำให้ผิวหนังใต้ขอบแผลมีลักษณะเป็นโพรงซึ่งประกอบด้วยควันและเขม่าดินปืนสี ดำติดอยู่ทั่วไป เรียกว่าโพรงดินปืน (gunpowder cavity) ที่ขอบนอกของบาดแผลอาจพบรอยกดของปากลำกล้องปืนเรียกว่า muzzle imprint ได้ หากการยิงในระยะประชิดนี้มีการเผยอปากลำกล้องปืนเล็กน้อย ควันบางส่วนจะรอดช่องว่างออกไปติดอยู่รอบๆ บาดแผลทางเข้าได้
                5.2 ระยะใกล้ มีเขม่าดินปืนเป็นจุดดำเล็กๆ กระจายรอบๆ แผลเป็นวงกว้าง คล้ายกับโรยพริกไทยลงในอาหาร เขม่าเหล่านี้เป็นส่วนของดินปืนที่เผาไหม้ไม่หมดหรือยังไม่ถูกเผาไหม้ ถูกดันโดยความแรงของแก๊สทำให้ฝังอยู่ในผิวหนังเห็นเป็นลักษณะคล้ายรอยสัก (powder tattooing) โดยทั่วไปสำหรับปืนพกสั้นเขม่าดินปืนจะพบได้ในระยะไม่เกิน 12-18 นิ้ว ส่วนปืนยาวจะพบได้ในระยะยิงที่มากกว่านี้ นอกจากเขม่าดินปืนแล้ว ควันที่เกิดจากการยิง จะพุ่งออกมาด้วยแต่จะไปได้ไม่ไกลเท่าเขม่าดินปืน เมื่อควันสัมผัสผิวหนัง จะจับเป็นคราบสีเทารอบๆ แผลเรียกว่า smudging หรือ soot ซึ่งสามารถล้างหรือเช็ดออกได้ โดยทั่วไปควันสามารถไปถึงผิวหนังได้หากระยะยิงไม่เกิน 6 นิ้ว สำหรับระยะยิงที่ใกล้กว่านี้ คือประมาณไม่เกิน 4 นิ้วความร้อนหรือเปลวไฟที่ออกมาจะทำให้ผิวหนังรอบๆ บาดแผลทางเข้านั้นไหม้เป็นสีดำ
    5.3 ระยะไกล ไม่พบรอยไหม้จากเปลวไฟ ควัน หรือเขม่าดินปืน
    ลักษณะของบาดแผลทางเข้าที่ผิวหนังตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจเปลี่ยนแปลงไปหากเป็นการยิงวัตถุอื่นมาก่อน เช่น เสื้อผ้า กระจกรถยนต์ เป็นต้น

    ·       บาดแผลทางออก (exit wound)
            ไม่มีรูปร่างที่เฉพาะเจาะจง อาจกลม รี หรือเป็นรูปกระสวยก็ได้ มักมีขนาดใหญ่กว่าบาดแผลทางเข้า และอาจพบเศษอวัยวะหรือเนื้อเยื้อต่าง ๆ มาจุกอยู่

     

    บาดแผลจากกระสุนปืนลูกปราย (shotgun wounds)

    ·       บาดแผลทางเข้า (entrance wound)
              มีลักษณะแตกต่างกันไปตามระยะยิง ได้แก่
               1. ระยะประชิดติดผิวหนัง บาดแผลเป็นรูเดียว อาจกลมหรือรีแล้วแต่มุมของลำกล้อง ปืน หรืออาจเป็นแฉกหากมีกระดูกรองรับอยู่ข้างใต้ และพบโพรงดินปืนอยู่ใต้บาดแผล
               2. ระยะใกล้ (ไม่เกิน 1 หลา) บาดแผลเป็นรูเดียวขนาดใหญ่เนื่องจากลูกปรายยังรวมตัวกันเป็นกระจุก ภายในแผลจะพบหมอนส่งกระสุนติดอยู่ หากยิงในระยะใกล้มากจะพบรอยไหม้สีดำเป็นวงและมีเขม่าดินปืนติดอยู่เป็นจำนวน มากรอบบาดแผล แต่หากระยะยิงห่างจากผิวหนังออกไป การกระจายของเขม่าดินปืนก็จะกว้างออกไปอีก
               3. ระยะปานกลาง (ประมาณ 1-3 หลา) บาดแผลมีรูใหญ่อยู่ตรงกลางซึ่งเกิดจากกลุ่มลูกปรายจำนวนหนึ่งยังรวมกลุ่มกัน อยู่ และมีรูเล็กๆ ที่เกิดจากลูกปรายที่เริ่มกระจายตัวห่างออกไปจากกลุ่ม รอบแผลไม่ปรากฏรอยของเขม่าดินปืน หมอนส่งกระสุนอาจเข้าไปอยู่ในแผลขนาดใหญ่ตรงกลางหรืออาจปลิวห่างออกจากบาด แผลตรงกลางแล้วไปกระแทกกับผิวหนังทำให้เกิดบาดแผลถลอกได้
               4. ระยะไกล (3 หลาขึ้นไป) บาดแผลเป็นรูขนาดเล็กจำนวนหลายรู อาจพบบาดแผลถลอกที่เกิดจากหมอนส่งกระสุนกระแทกที่ผิวหนังได้

    ·       บาดแผลทางออก
               ในการยิงระยะใกล้ หากโดนส่วนของร่างกายที่อ่อน เช่น ลำคอ หรือ บริเวณริมของร่างกาย บาดแผลทางออกอาจฉีกขาดกระรุ่งกระริ่งเป็นแผลกว้าง แต่ถ้าโดนส่วนหนาของร่างกาย เช่น ทรวงอกหรือท้อง บาดแผลทางออกจะเป็นรูเล็กๆ จากลูกปรายที่ทะลุออกไปแต่ละเม็ด

     

    บาดแผลกระสุนปืนผ่านกระดูก

    กระดูก จะแตกเป็นรูกลมขอบเรียบทางด้านที่หัวกระสุนเจาะกระดูกเข้าไป ส่วนกระดูกทางด้านที่หัวกระสุนทะลุออกจะแตกกว้างออกไปเป็นแอ่งเหมือนกับเป็น รูปครกที่มีขอบขรุขระ

     

    เหตุตาย

    ขณะที่หัวกระสุนปืนผ่าน เนื้อเยื่อ การเคลื่อนที่ของหัวกระสุนจะมีอำนาจในการทำให้อวัยวะภายในต่างๆ ถูกตัดหรือฉีกขาดเป็นทางกระสุนถาวร (permanent cavity) ทำ ให้มี การเสียเลือดมาก ในขณะเดียวกับที่หัวกระสุนปืนผ่านไปนั้นเอง พลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นจะ ถ่ายทอดไปยังเนื้อเยื่อทำให้มีการขยายโป่งขึ้นเป็นโพรงออกไปจากแนวที่หัว กระสุนปืนผ่านเรียกว่าโพรงชั่วคราว (temporary cavity) ทำให้การบาดเจ็บมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งหากอวัยวะที่บาดเจ็บนั้นเป็น vital organ ก็จะเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำงานได้ เป็นเหตุให้ผู้เสียชีวิตถึงแก่ความตายจาก vital organ damage

     

     

    พฤติการณ์ที่ตาย

           การระบุพฤติการณ์ที่ตายจากบาดแผลกระสุนปืนว่าเป็นการกระทำตนเอง (suicide) ถูกฆาตกรรม (homicide) หรืออุบัติเหตุ (accident) นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องอาศัยพยาน หลักฐานหลายอย่างประกอบกัน ดังนี้

    บาดแผล

    suicide

    homicide

    ตำแหน่ง

    ขมับ กลางหน้าผาก ปาก ใต้คาง ทรวงอกด้านซ้าย

    บริเวณใดก็ได้

    ระยะยิง

    ระยะประชิด หรือระยะใกล้

    ระยะใดก็ได้

    ทิศทางการยิง

    เป็นทิศทางที่ทำตนเองได้

    จำนวนนัด

    มักเป็น 1 นัด

    มักมากกว่า 1 นัด

    อาวุธ

    อยู่ในสถานที่เกิดเหต

    อาจอยู่ในสถานที่เกิดเหตุหรือไม่ ก็ได้

     

     

    การตรวจเขม่าปืน

    วัตถุประสงค์หลักในการตรวจเขม่าปืนมี 2 กรณี ได้แก่
    1. เพื่อระบุว่าผู้นั้นผ่านการยิงปืนมาหรือไม่

    ทำได้โดยการตรวจเขม่าแก๊ปปืน (gun primer) ที่มือ เป็นการตรวจหาธาตุที่เป็นองค์ประกอบของแก๊ปปืนซึ่งได้แก่ ตะกั่ว แบเรียมและพลวง

    ใน กรณีที่สงสัยว่ายิงตัวตาย การตรวจเขม่าแก๊ปปืนจากมือของผู้เสียชีวิตจะสามารถนำมาใช้ในการแปลผลว่ายิง ปืนมาหรือไม่ได้ก็ต่อเมื่อเก็บตัวอย่างจากมือออกมาภายใน 24 ชั่วโมงหลังการยิง

    2. เพื่อระบุว่าบริเวณนั้นๆ อยู่ห่างจากปากลำกล้องปืนมากน้อยเพียงใด

    ทำได้โดยการตรวจเขม่าดินปืน (gunpowder) เป็นการตรวจหาสารไนเตรทและไนไตรท์

     

    ตัวอย่างวิธีการตรวจหาไนเตรท

    ·       วิธีลดแคดเมี่ยม (ใช้สารละลายทำปฎิกิริยา)

    ·       การใช้เครื่องมือNitrate electrodes and meters

     

     

     

    **หากมีข้อสงสัยหรือสนใจอยากทราบเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

    กลุ่มตรวจสอบอาวุธปืนและวัตถุพยานทางฟิสิกส์  สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

    โทร 02-913-7715 ในวันและเวลาราชการ**

     

     

     

    ขอบคุณ

    http://medboard.med.cmu.ac.th

    http://www.cifs.moj.go.th

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×