ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลการเขียนนวนิยายสืบสวนสอบสวน

    ลำดับตอนที่ #12 : นิติเวชวิทยา ตอนที่ 9 : การเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้า

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 462
      0
      16 พ.ย. 53


    การเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้า


      

     

              จำนวนกระแสไฟฟ้าที่ทำให้เสียชีวิตคือปริมาณกระแสไฟฟ้า 100 มิลลิแอมแปร์ในเวลา 5 วินาทีเนื่องจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวจะทำให้ หัวใจเต้นริก (ventricular fibrillation)  แต่ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่สูงมากเช่นได้รับกระแสไฟฟ้าถึง 2 แอมแปร์หรือมากกว่าหัวใจอาจจะ    หยุดเต้นทันที
              ตามสูตรการคำนวณปริมาณกระแสไฟฟ้าตามหลักฟิสิกส์  คือ
                              A= V/R
                              A=กระแสไฟฟ้า  หน่วยเป็น แอมแปร์
                              V=ความต่างศักย์ไฟฟ้า  หน่วยเป็นโวลต์,
                              R=ความต้านทานไฟฟ้า  หน่วยเป็นโอห์ม

     

              กระแสไฟฟ้าที่ทางการไฟฟ้าส่งมาให้ใช้ตามบ้านเรือนในขณะนี้ ประเทศไทยใช้ส่งกระแสโดยความต่างศักย์  220 โวลต์  ส่วนในประเทศอื่นๆอาจจะใช้ประมาณใน        ช่วง 110-220 โวลต์  แล้วแต่ความเหมาะสมภายในของแต่ละประเทศ  กระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่ร่างกายจึงขึ้นอยู่กับความต้านของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ ไฟฟ้าผ่านก่อนรั่วออกมาบวก      กับความต้านทานของร่างกาย  ความต้านทานของร่างกายมีเฉพาะที่ผิวหนังเท่านั้น  แต่ผิวหนังร่างกายของคนเรานั้นมีความต้านทานสูงมาก โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่แห้ง       และหยาบกร้านอาจจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสูงถึง 100,000 โอห์ม หากลองคำนวณโดยใช้สูตร

     

    ดังกล่าว จะได้กระแสไฟฟ้าเพียง 2.2 มิลลิแอมแปร์เท่านั้น คือ

         กระแสไฟฟ้า(แอมแปร์)  =   ความต่างศักย์ (220 โวลต์)/ ความต้านทาน(100,000 โอห์ม)
                                                 =  220/100,000
                                                 =  .0022  แอมแปร์
                                                 =  .0022 x 1,000  มิลลิแอมแปร์
                                                 =  2.2   มิลลิแอมแปร์

     

              ซึ่งกระแสไฟฟ้าปริมาณเท่านี้เพียงทำให้ร่างกายพอรู้สึกได้เท่านั้น  แต่ในบริเวณที่ผิวหนังอ่อนนุ่มหรือยิ่งถ้าเปียกชื้นแล้วละก็  ความต้านทานกระแสไฟฟ้าจะลดลงเป็นร้อยเท่าเพราะน้ำเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ร่างกายได้รับจะกลายเป็น 220 มิลลิแอมแปร์  และทำให้ถึงตายในเวลาอันรวดเร็ว จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ ไฟฟ้ารั่วเข้าสู่ร่างกายเมื่อสัมผัสให้เรารู้สึกกระตุกอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่ไม่ทำอันตรายอะไร อยู่มาวันหนึ่งเมื่อเราพึ่งออกจากห้องน้ำ ตัวยังเปียกๆอยู่เกิดไปสัมผัสมันเข้า             กลับทำให้เสียชีวิต

    กระแสไฟฟ้าระดับน้อยๆมีผลต่อร่างกายดังนี้
                    5 มิลลิแอมแปร์  ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก
                  15 มิลลิแอมแปร์  ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว
                  50 มิลลิแอมแปร์  อาจทำให้ผิวหนังไหม้พองเล็กน้อย
                  75-100 มิลลิแอมแปร์ อาจทำให้หัวใจเต้นริกและตายได้

     

              การที่มีคนจับสายไฟฟ้าและเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเข้าสู่ฝ่ามือ  ทำให้ปล่อยมือจากสายไฟฟ้าไม่ได้จนถูกไฟฟ้าดูดตาย ซึ่งก็เพราะการที่กระแสไฟฟ้าทำให้กล้ามเนื้อหดตัว     นี่เอง  ไม่ใช่เกิดจากการตกใจจนลนลานไม่  ซึ่งจะเป็นผลให้กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายจำนวนมากพอที่ทำให้เกิดหัวใจเต้น ริก

     

              ในกรณีสายไฟฟ้าแรงสูง  ซึ่งเป็นสายไฟที่ความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงตามชื่อ  เนื่องจากต้องส่งกระแสไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ  เช่นส่งจากเขื่อนกำเนิดไฟฟ้าไปยังจังหวัดต่างๆเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร  ศักย์ไฟฟ้าในสายไฟเหล่านี้อาจสูงถึง 100,000 โวลต์(ในสายไฟฟ้าที่วิ่งมาตามถนน อาจจะถึง60,000-70,000 โวลต์)  หรือเป็นสายไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกันไปมาภายในแหล่งผลิตไฟฟ้า  หรือภายในสถานีจำหน่ายไฟฟ้าย่อยต่างๆ  การมีศักย์ไฟฟ้าสูงมากๆนั้น  ไฟฟ้าสามารถวิ่งฝ่าอากาศ(หรือจะเรียกว่ากระโดดก็ได้)ไปยังอีกที่หนึ่งโดยไม่ ต้องมีสายไฟฟ้า  ระยะห่างที่ไฟฟ้าสามารถ"กระโดด" ได้ขึ้นอยู่กับศักย์ไฟฟ้าในสิ่งนั้นๆดังนี้

                   ศักย์ไฟฟ้า      1,000     โวลต์  สามารถ "กระโดด" ได้เป็นระยะทาง    2 - 3  มิลลิเมตร
                   ศักย์ไฟฟ้า      5,000     โวลต์  สามารถ "กระโดด" ได้เป็นระยะทาง         1  เซนติเมตร
                   ศักย์ไฟฟ้า    20,000     โวลต์  สามารถ "กระโดด" ได้เป็นระยะทาง         6  เซนติเมตร
                   ศักย์ไฟฟ้า  100,000     โวลต์  สามารถ "กระโดด" ได้เป็นระยะทาง       30  เซนติเมตร
     
     

    กรณีฟ้าผ่า ก็เป็นปรากฏการณ์การกระโดดของไฟฟ้านี่เอง  เนื่องจากศักย์ไฟฟ้าในอากาศในขณะนั้นอาจสูงถึง 1,000,000 โวลต์ และการ"กระโดด" ทำให้เกิดเสียงดัง และมีพลังงานความร้อนเกิดขึ้นด้วย  ผู้ที่อยู่ใกล้หรือถูกฟ้าผ่าจึงมักมีร่างกายไหม้เกรียม  ฉะนั้นผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าจากการ"กระโดด"จากสายไฟแรงสูงก็จะมีสภาพเช่นเดียว กัน  โดยปกติสายไฟแรงสูงจะถูกโยงไว้สูงจากพื้นดินมากและสถานที่ที่มีสายไฟแรงสูง ก็มักจะมีรั้วกั้นแบ่งเขตไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว  หาควรที่จะฝ่าฝืนเข้าไปในเขตหวงห้ามแต่อย่างใด

    ผู้เสียชีวิตจากไฟฟ้าถูกกระแสไฟฟ้า  หรือที่เรียกว่าไฟฟ้าลัดวงจรนี้  มักจะได้รับจากกระแสไฟฟ้าภายในบ้านนั้นเอง  อีกส่วนหนึ่งจะเป็นผู้ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการปรับศักย์ไฟฟ้า ให้สูงขึ้นเพื่อใช้ในการทำงานบางอย่างซึ่งคนงานเหล่านี้อาจไม่ได้รับคำแนะนำ ให้ระมัดระวังอย่างดีพอ    และอีกส่วนหนึ่งคือ   ผู้ที่ใช้ไฟฟ้ากับน้ำ เช่น  ใช้ไฟฟ้าช๊อตปลา  ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าร่างกายได้อย่างง่ายดายถ้าเผอิญส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกายสัมผัสกับน้ำซึ่งเป็นอันตราย  อย่างยิ่ง  สิ่งที่เกิดขึ้นคล้ายกรณีนี้คือถ้ามีน้ำท่วมปลั๊กไฟฟ้าภายในบ้านและไฟฟ้าใน บ้านยังไม่ถูกตัด  ผู้อยู่ในน้ำใกล้ปลั๊กไฟฟ้าก็จะได้รับผลเช่นเดียวกัน ในทำนองเดียวกันผู้เขียนเคยตรวจศพผู้ตายชาวต่างประเทศสองคนสามีภรรยาเสีย ชีวิตจากกระแสไฟฟ้า เพราะเดินไปดูไฟไหม้ที่ใกล้โรงแรมที่พัก  แล้วสัมผัสกับสายไฟฟ้าที่หักลงมาอยู่ก่อนแล้วและพื้นก็นองด้วยน้ำที่ใช้ดับ ไฟอยู่

    การใช้เครื่องตัดไฟอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วติดตั้งภายในบ้านมีประโยชน์ อย่างมากในการรักษาชีวิตเมื่อสัมผัสกับกระแสไฟโดยไม่เจตนา

     

    ในทางพยาธิสภาพอาจจะแบ่งออกเป็นพยาธิสภาพของการถูกกระแส ไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ต่ำ (ต่อไปจะเรียก"ไฟ แรงต่ำ") กับ ความต่างศักย์สูง ("ไฟแรงสูง") ในรายที่ถูกกระแสไฟแรงต่ำและเกิดอาการหัวใจเต้นริกนั้นผู้ตายอาจจะยังไม่หมด สติทันทีและมักพบว่ามีเวลาร้องเตือนผู้อื่นหรือร้องขอความช่วยเหลืออยู่ชั่ว ขณะหนึ่งก่อนเสียชีวิต    เชื่อว่าสมองสามารถขาดออกซิเจนได้ 15 วินาทีก่อนจะหมดสติ  การที่หัวใจเต้นริกจากถูกไฟแรงต่ำนี้หัวใจอาจจะกลับคืนมาเต้นเป็นปกติเอง ได้  หรือการใช้การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าก็อาจจะช่วยได้เช่นกัน

    ในรายถูกกระแสไฟแรงสูง  กระแสไฟมักทำอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆด้วย เช่น สมอง ซึ่งอาจจะเกิดจากผลของการเกิดความร้อนขันในร่างกาย  เช่น ผู้ตายอาจจะมีหัวใจเต้นได้จากการรักษาหรือบางรายสามารถกลับเต้นได้เอง  แต่อวัยวะอื่นเช่นการหายใจไม่กลับคืนเพราะศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองถูก ทำลายไปเสียแล้ว

    บาดแผลที่ผิวหนัง  ในพวกถูกไฟแรงสูงทุกรายจะมีแผลผิวหนังไหม้เกรียม หรือไหม้พอง     แต่ในรายที่ถูกไฟแรงต่ำมีเพียง 50 %ซึ่งมักจะเกิดบริเวณ  จุดที่กระแสไฟเข้ากับจุดที่ไฟออกจากร่างกายที่ใดที่หนึ่งหรือมีทั้งสองที่  ในกรณีที่กระแสไฟเข้าโดยตัวนำไฟฟ้ามีพื้นผิวกว้างอาจจะไม่พบแผล  แต่มักจะพบถ้าสัมผัสกับวัตถุที่มีพื้นผิวเล็กๆ เช่น การถูกไฟฟ้าขณะอยู่ในอ่างน้ำ หรือ ขณะกำลังจับปลาด้วยไฟฟ้า  แต่ถ้านิ้วมือถูกสายไฟฟ้าหรือเอานิ้วมือถูกน้ำที่มีกระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้เกิดแผลได้  และแผลทางเข้าส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณฝ่ามือ  ขณะที่แผลออกมักจะเป็นที่เท้า  ลักษณะด้วยตาเปล่าที่รุนแรงน้อยที่สุดคือเริ่มพบว่ามีผิวหนังบริเวณนั้นมีสี ขาวผิดกับส่วนที่อยู่ข้างเคียง         ขอบแผลจะนูนสูงขึ้นและเว้าลงที่ตรงกลางแผล  มากขึ้นจะพบว่าอาจมีเปลี่ยนเป็นสีไหม้เหลือง หรือสีดำเกรียมจากความร้อน มากขึ้นอาจพบว่าการไหม้นั้นไหม้ลึกเข้าเนื้อ เนื้อส่วนนั้นบุ๋มลงไป  กลายเป็นแผลไหม้เว้าลงตื้นๆมีขอบไม่เรียบ  บางครั้งรอบแผลอาจมีบริเวณที่มีสีแดงจากการคั่งเลือด  โดยทั่วไปแผลมักมีขนาดเล็กไม่เกิน 1 - 2 ซม. ทางกล้องจุลทรรศน์  ผิวหนังจะมีลักษณะ Swiss cheese  ความร้อนที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่กระแสะไฟฟ้าพบสิ่งที่มีความต้านทาน ผิวหนังของผู้ที่ตายแล้วก็มีความต้านทาน       ทำให้ผิวหนังได้รับความร้อนและมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังด้วยเช่นกัน  จึงไม่สามารถวินิจฉัยว่าแผลไหม้นี้เกิดจากเพราะถูกกระแสไฟก่อนตายหรือหลัง ตายในแผลที่ไหม้เพราะไฟฟ้าลัดวงจรนี้อาจจะตรวจพบเศษส่วนเล็กๆของสิ่งที่นำ ไฟฟ้ามาได้โดยการใช้แสกนนิ่งอีเล็คตรอนไมโครสโคป  (scanning electronmicroscope)

    ฉะนั้นถ้าพบผู้ตายที่คิดว่าถูกกระแสไฟฟ้า แต่ไม่พบบาดแผลทางเข้า แปลว่าผู้ตายอาจจะถูกไฟฟ้าที่ไม่แรงสูงและพื้นที่ที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า กว้าง

    ในรายที่ถูกกระไฟแรงสูง  จะพบว่ามีความร้อนเกิดขึ้นอย่างมาก  ผู้ตายอาจจะไหม้เกรียมทั้งตัวจนเป็นตอตะโก หรือถึงแม้ว่าทางเข้าจะเป็นการสัมผัสกับพื้นที่มีผิวหน้ากว้าง  ผิวหนังก็ยังไหม้  หรือไหม้ระดับสามขึ้นไป (third degree burn)  และอวัยวะภายในจะถูกทำลายด้วยความร้อน  ถ้าพบเป็นจุดไหม้หลายๆแห่งไม่ต่อเนื่องกันบนผิวหนังอาจจะเกิดเพราะการกระโดด ของกระแสไฟที่มีความต่างศักย์สูงดังกล่าวข้างต้น

    พยาธิสภาพทางกล้องจุลทรรศน์ อาจจะเห็นผิวหนังปรากฏเป็นถุงน้ำเล็กๆหลายอัน หรือกรณีที่ไม่ตายทันทีเซลล์ของผิวหนังอาจมีการเรียงตัวของนิวเคลียสมาขนาน กัน(streaming of nuclei)

    การตายจากกระแสไฟฟ้าเกือบทั้งหมดเป็นอุบัติเหตุ  การฆ่าตัวตายหรือฆาตกรรมโดยวิธีนี้พบน้อยมาก

    พยาธิสภาพของการตายจากฟ้าผ่า ตามที่กล่าวแล้วว่าจะมีความร้อนเกิดขึ้นอย่างมาก และกระแสไฟฟ้าที่แรงสูงมากกระแทกเข้าร่างกาย จะพบว่าผู้ถูกฟ้าผ่ามีเสื้อผ้าฉีกขาด รองเท้าอาจแตกด้วย ผมมีสภาพหงิกงอ สิ่งของที่ติดกายที่เป็นโลหะจะทำให้เกิดการไหม้ที่ผิวหนังเป็นรูปนั้น เช่น ซิป ปากกา แก้วหูแตก  บางครั้งจากการที่เสื้อผ้าฉีกขาด รองเท้าขาดและผู้ถูกฟ้าผ่านอนตายอยู่ข้างถนนอาจมีคนเข้าใจผิดว่าเป็นรถชน ได้  การตายเกิดจากกระแสแรงสูงทำให้หัวใจหยุดเต้นทันที  หรือเกิดจากความร้อนทำลายอวัยวะต่างๆ หรือเป็นทั้งสองอย่างก็ได้

    ถ้าฟ้าผ่าไม่ถูกตัวแต่ผ่าลงใกล้ๆ  อาจจะรอดชีวิตได้  แต่ผู้นั้นมักจะมีบาดแผลแดงเป็นทางบนผิวหนังเนื่องจากประจุไฟฟ้าบวกผ่านไปบน ผิวหนัง ลักษณะจะเป็นเส้นสีแดงเป็นแฉกคล้ายรากไม้ เกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมงหลังฟ้าผ่า และมักจะจางหายไปใน 24 ชั่วโมง เรียกว่า "arborescent"

     

     

     

    เขียนขึ้นโดย :   โดย พลตำรวจตรี เลี้ยง  หุยประเสริฐ พบ.,อว.(นิติเวชศาสตร์)  ผู้บังคับการ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×