คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : นิติเวชวิทยา
นิติเวชวิทยา
นิติเวชศาสตร์ คือ วิชาแพทย์สาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่งนำเอาวิชาแพทย์ทุกสาขาไปประยุกต์เพื่อประโยชน์แก่ขบวนการยุติธรรม ในปัจจุบันนี้ได้มีการวิวัฒนาการเจริญไปมากเช่นเดียวกันวิชาแพทย์สาขาอื่น ๆ และได้แยกออกเป็นวิชาย่อยหลายสาขาด้วยกัน คือ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงเรื่องการตายต่าง ๆ ที่ผิดธรรมชาติ รวมทั้งการตายโดยธรรมชาติแบบกระทันหันและไม่คาดคิด ซึ่งเป็นการตายที่ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุ เพื่อแยกว่าไม่ใช่เป็นการตายที่ผิดธรรมชาติ การตายที่ผิดธรรมชาติในบางครั้งการชันสูตรพลิกศพอย่างเดียวก็ไม่สามารถบอกเหตุตายได้จำต้องทำการผ่าตัดหาเหตุตาย เช่น การตายจากยาบางชนิด เช่น กินยานอนหลับเกินขนาดต้องเอาของเหลวในกระเพาะอาหาร เลือด น้ำปัสสาวะไปตรวจหายาที่เกินขนาดทางพิษวิทยา เป็นต้น การตรวจหาเหตุตายอย่างละเอียดร่วมกับการไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการซักประวัติสามารถจะบอกพฤติการณ์ที่ตายได้ว่า การตายที่ผิดธรรมชาตินั้นเป็นการตายจากอุบัติเหตุ หรือทำอัตวินิบาตกรรม คือฆ่าตัวเองตายหรือถูกฆาตกรรมคือถูกผู้อื่นฆ่าได้ นอกจากนั้นยังสามารถช่วยพนักงานสอบสวนในเรื่องพิสูจน์ตัวบุคคลโดยตรวจศพและชิ้นส่วนของศพ ประมวลเวลาว่าศพที่ตรวจนั้นตายมานานแล้วเท่าไร โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของศพภายหลังตาย
เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับยาพิษและสารพิษทั้งหลายไม่ว่าจะมาจากสารเคมี จากพืชและจากสัตว์ อาจแยกออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 นิติพิษวิทยา (Forensic Toxicology) เป็นการตรวจหาสารพิษในอวัยวะต่าง ๆ ของคนตาย รวมทั้งจากเลือด น้ำดี น้ำไขสันหลัง และน้ำปัสสาวะ ที่สงสัยว่าจะตายจากสารพิษ และที่ตายจากสารพิษ 2.2 พิษวิทยาคลินิก (Clinical Toxicology) เป็นการตรวจหาสารพิษในผู้ป่วยที่ถูกสารพิษว่ามีขนาดมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเป็นสารพิษชนิดไหน เพื่อจะได้ให้ยาแก้พิษที่ถูกต้องรวมทั้งการรักษาที่ถูกต้อง 2.3 พิษวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Toxicology) เป็นการตรวจหาสารพิษในคนงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น โรงงานทำแบตเตอรี่ อาจมีอาการของพิษสารตะกั่ว โรงงานทำถ่านไฟฉาย อาจมีอาการของพิษสารแมงกานีส เป็นต้น 2.4 พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Toxicology) เป็นการตรวจหาสารพิษจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อากาศเป็นพิษจากมีแก๊สคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ มาจากท่อไอเสียของรถยนต์ มลภาวะไม่ดีจากโรงงานปล่อยของเสียออกจากโรงงาน ไม่ว่าจากน้ำเสียหรือควันจากการเผาไหม้ ถ้าไม่มีการควบคุมโรงงานให้ดี อาจเกิดพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ใกล้โรงงาน 2.5 พิษวิทยาผู้อุปโภค (Consumer Toxicology) เป็นการตรวจหาสารพิษในอาหารต่าง ๆ เช่น นมจากแถวประเทศสแกนดิเนเวียมีสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีในนมอาจมีปริมาณที่เป็นอันตรายได้ถ้าอุปโภคไปบ่อย ๆ การใช้กรดซัลฟูริคแทนน้ำส้มสายชู นอกจากนั้นยังมีสารพิษชนิดต่าง ๆ อาจปนมาโดยบังเอิญ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ขายก็ได้ 2.6 พิษวิทยาอวกาศหรือการสงคราม (Aviations & Chemical Warfare Toxicology) เป็นการตรวจหาสารพิษที่ใช้ในสงคราม เช่น ฝนเหลือง ที่อาจทำอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ได้ที่เคยมีข่าวแถบชายแดนไทย-เขมรซึ่งเคยมีจรวดตกมาบริเวณชายแดนไทย เอาไปตรวจสอบพบว่ามีแก๊สพิษฟอร์ลีนและไซยาไนด์ |
3. นิติเวชคลินิก (Clinical Jurisprudence or Clinical Forensic Medicine) หมายถึง การตรวจผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจแล้วต้องให้ความเห็นแก่พนักงานสอบสวนโดยอาศัยจากอาการและการตรวจร่างกาย และสิ่งตรวจพบ วัตถุพยานต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยถูกข่มขืนกระทำชำเรา ผู้ป่วยได้รับอันตรายเกิดบาดแผลชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจากอุบัติเหตุ ทำตัวเอง หรือถูกทำร้ายจากบุคคลอื่น ผู้ป่วยถูกสารพิษชนิดต่าง ๆ ถูกสารทางกายภาพ เช่น ความร้อน ไฟฟ้า เป็นต้น ได้รับอันตรายจากกลุ่มพวกขาดอากาศ เช่น จมน้ำ แขวนคอ เป็นต้น รวมทั้งบุคคลต่าง ๆ ที่พนักงานสอบสวนส่งมาให้แพทย์ทำการตรวจได้ เช่น คนถูกวางยาสลบชนิดต่าง ๆ โสเภณี หญิงถูกข่มขืนกระทำชำเรา ตรวจอายุบุคคลว่าอายุเท่าไร เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่อาจได้รับค่าชดเชยจากกรมแรงงาน แพทย์ก็จะต้องตรวจผู้ป่วยและให้ความเห็นแก่กรมแรงงานว่าการที่ผู้ป่วยได้รับอันตรายบาดเจ็บ ต้องพิการสูญเสียอวัยวะคิด เป็นกี่เปอร์เซนต์เพื่อจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้บาดเจ็บ การตรวจผู้ป่วยคดีชนิดต่าง ๆ นี้ การที่แพทย์ให้ความเห็นแก่พนักงานสอบสวนในทางคดีอาญาอาจนำไปใช้ในคดีแพ่งเกี่ยวกับฟ้องร้องในเรื่องละเมิดได้อีกด้วย การทำพินัยกรรมของผู้ป่วยอาจจะต้องให้แพทย์เป็นพยานเพื่อรับรองว่าขณะทำพินัยกรรมผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะดี ไม่หมดสติ หรือสติฟั่นเฟือน หรือวิกลจริต 4. นิติซีโรวิทยา (Forensic Serology) เป็นวิชาที่ตรวจเลือดและน้ำเหลืองในส่วนที่เกี่ยวกับแอนติเจนและแอนติบอดี้ (Antigen and Antibody) และดีเอ็นเอ
เป็นการตรวจวัตถุพยานทางชีววิทยา เช่น เลือด น้ำลาย ขน เส้นผม ตัวอสุจิ และน้ำอสุจิ เป็นต้น เป็นการตรวจยืนยันว่าเป็นของใครในที่เกิดเหตุ และที่พบในร่างกายของผู้เสียหาย 6. แอลกอฮอล์กับเวชศาสตร์การจราจร (Alcohol and Traffic Medicine) เป็นการตรวจหาความเมาโดยการวิเคราะห์หาปริมาณแอกอฮอล์ในเลือดในคนขับยวดยานชนิดต่าง ๆ และที่ตายจากอุบัติเหตุการจราจร รวมทั้งโรคชนิดต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุการจราจรได้ เช่น โรคลมชัก โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบและอุดตัน เป็นต้น
7. นิติจิตเวชศาสตร์ (Forensic Psychiatry) เป็นแขนงหนึ่งของสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ (Psychiatry) เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องทางจิตและโรคทางจิต เช่น มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน มีประโยชน์มากในกระบวนการยุติธรรมทั้งในคดีอาญาและในคดีแพ่ง
เป็นวิชาหนึ่งของวิชาทันตแพทย์ในเรื่องของการตรวจฟัน เช่น ตรวจเรื่องอายุ การตรวจเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลโดยเปรียบเทียบกับการบันทึกของฟันขณะที่มีชีวิตอยู่ กับลักษณะฟันของคนตาย โดยเฉพาะในรายเน่ามาก ๆ หรือศพที่พบในกองเพลิง หรือเครื่องบินตกแล้วมีเพลิงลุกไหม้
ได้แก่ พระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พระราชบัญญัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ พระราชบัญญัติยา เป็นต้น |
วิชานิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine) เป็นวิชาแพทย์สาขาหนึ่งของการแพทย์และเป็นส่วนหนึ่งของนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) ซึ่งหมายความว่าเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขานำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์กับกฎหมาย โดยเฉพาะในการสืบสวนสอบสวนของตำรวจในคดีความต่าง ๆ เรียกวิชาการพิสูจน์หลักฐาน (Criminalistics) เป็นกองหนึ่งของกรมตำรวจ เรียกว่า กองพิสูจน์หลักฐาน ได้แก่ 1. การตรวจสถานที่เกิดเหตุและการถ่ายรูป (Crime Scene Investigation and Forensic Photography) เพื่อประกอบคดีหาหลักฐานต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในคดี 2. การตรวจลายนิ้วมือ (Finger Prints) เพื่อพิสูจน์ตัวบุคคล รวมทั้งลายนิ้วมือที่สงสัยในสถานที่เกิดเหตุเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายนิ้วมือ ที่มีในแฟ้มประวัติของกรมตำรวจเพื่อตรวจสอบ 3. การตรวจเอกสาร (Questioned Documents) เป็นการตรวจลักษณะและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการตรวจธนบัตรปลอม เป็นต้น 4. การตรวจอาวุธปืน กระสุนปืน และวัตถุระเบิด (Firearms & Ballistics) เป็นการตรวจอาวุธปืนเพื่อพิสูจน์ปืนของกลางในคดีฆาตกรรมต่าง ๆ 5. การตรวจทางเคมี (Forensic Chemical) เป็นการตรวจสารเคมี เช่น การตรวจวัตถุที่ใช้ในการวางเพลิง การตรวจสถานที่เกิดเหตุที่มีแก๊สคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ เป็นต้น 6. การตรวจทางฟิสิกส์ (Forensic Physics) เป็นการตรวจทางฟิสิกส์ เช่น การตรวจสถานที่เกิดเหตุไฟไหม้จากไฟฟ้าช็อต การตรวจไฟเบอร์ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะจากสิ่งทอ เป็นต้น
ในประเทศไทยก็มีนิติวิทยาศาสตร์สมาคมแห่งประเทศไทย (The Forensic Science Association of Thailand) ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2504 ด้วยความเห็นชอบของคณะบุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับนิติเวชศาสตร์ ได้แก่ แพทย์นิติเวชแห่งโรงพยาบาลศิริราช นักวิทยาศาสตร์จากกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ กองวิเคราะห์ยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กลุ่มแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ ทุกท่านมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะรวมกลุ่มกันก่อตั้ง เป็นสมาคมเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมการศึกษา การวินิจฉัยในทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและเผยแพร่และโฆษณาความรู้อันจะเป็นประโยชน์ ต่อประชาชนในด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับกฎหมาย ทางสมาคมฯ มีการประชุมวิชาการและอบรมในวิชานิติวิทยาศาสตร์ประจำทุกปี มีการออกวารสารนิติวิทยาศาสตร์ปีละ 2 เล่ม เพื่อเผยแพร่วิชาความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักและนำประโยชน์มาใช้แก่ขบวนการยุติธรรม |
ภาพจากเว็บไซต์สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ : http://www.ifm.go.th/newIFM2010/about/about_structure.php
ความคิดเห็น