นครนิรมิต (The Region of Naga) - นิยาย นครนิรมิต (The Region of Naga) : Dek-D.com - Writer
×

    นครนิรมิต (The Region of Naga)

    โดย Paramloja

    ภารกิจของแม่ทัพหนุ่ม นามว่า แสงสิงห์ คือการลักพาตัว ชายหนุ่มทั้งสี่คน ซึ่งเป็นผู้สื่อสารกับเทวนาคา ในการบันดาลฟ้าฝนออกมาจากเมืองกลับไปยังนครนิมิต นครที่ถูกซุกซ่อนไว้ใต้เงาอดีตกาล

    ผู้เข้าชมรวม

    438

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    438

    ความคิดเห็น


    10

    คนติดตาม


    11
    จำนวนตอน : 10 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  29 ส.ค. 60 / 22:06 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    ปฤศา คือดินแดนแว่นแคว้นหนึ่ง ผู้ยึดถือศรัทธาในเทวนาคา ด้วยเชื่อว่าเทพนาคาเป็นผู้กำหนดความอุดมสมบูรณ์และบันดาลให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยมีผู้สื่อสาร อันเป็นตัวแทนมนุษย์ ผู้ที่ได้รับเลือกจากเทวนาคา ในการบูชาขอฝน ผู้สื่อสาร มิได้แต่เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา หากแต่มีอำนาจและฤทธาประดุจตัวแทนเทวนาคา และเหตุนี้เอง ที่ทำให้ ยโสสุริยา อดี่ตขุนนางจอมเจ้าเล่ห์คิดการใหญ่ เขาวางอุบายสังหาร กษัตริย์ผู้ครองเมืองสุเรนทร์พิศาล เมืองอันทรงอำนาจเมืองหนึ่งในดินแดนปฤศา และขึ้นนั่งเป็นกษัตริย์แทน จากนั้นจึงยกทัพไปตี นครนิรมิต นคราอันเป็นที่สถิตย์ของเทวนาคา และกุมตัวผู้สื่อสารทั้งไว้ให้สาปแช่ง นครนิรมิตให้แห้งแล้งปราศจากฝน และพาตัวกลับมายังสุเรนทร์พิศาล อำนาจในการกำหนดฝนฟ้าจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของยโสสุริยาแต่เพียงผู้เดียว เมื่อทนเห็นความวิบัติอันเกิดจากน้ำมือตนไม่ได้ ผู้สื่อสารทั้งสี่จึงปลิดชีพตัวเองตาย ยโสสุริยาจึงเหมือนขาดอำนาจ จนกระทั่งดวงดาวแห่งเทวนาคาปรากฏขึ้นอีกครั้ง นั่นหมาย เทวนาคา ได้เลือกผู้สื่อสารคนใหม่แล้ว และยโสสุริยาต้องกุมตัวทั้งสี่คนมายังสุเรนทร์พิศาล เพื่อจะได้มี่อำนาจดังเดิม
    เทวนาคาทั้งสี่คน ถูกจับมาและกักขังไว้ในเขตวังหลวง ท่ามกลางภัยอันแห้งแล้งร้ายกาจนั้น บังเกิดชายผู้กล้าหาญนามว่าแสงสิงห์ เขากับพรรคพวก รวบรวมกำลังเพือหมายชิงตัว ผู้สื่อสารทั้งสี่ กลับมายังนครนิรมิต เพื่อถอนคำสาปแช่งและทำให้ดินแดนปฤศา กลับคืนสู่ีความสงบสุขดังเดิม


    ผู้สื่อสารทั้งสี่
    ระย้า     นายละครจากคณะละครเร่เมืองศามณ   ผู้สื่อสารแห่งนาคสีรุ้ง นาคา ตระกูลฉัพยาปุตตะ ยึดครองมณีสีรุ้งอันเป็นต่างหู้ชิ้นเล็ก มีฤทธิ์ทางสายตา ผู้สบตาและจ้องมองจะตาบอดและสิ้นสติ

    สุดหล้า  บุตรชายคหบดีมั่งคั่งแห่งสุเรนทร์พิศาล        ผู้สื่อสารแห่งนาคีทอง นาคา ตระกูลวิรูปักษ์  ยึดครองมณีสีทองอันเป็นสร้อยคอห้อยมณีสีทองสุกสว่าง มีฤทธิ์ในการใช้กระแสจิตสะกดร่างและทำให้เจ็บปวด

    ธารา     เด็กหนุ่มชาวบ้านสามัญจากเมืองมูลละ     ผู้สื่อสารแห่งนาคสีเขียว  นาคา ตระกูลเอราปถ  ยึดครองมณีสีเขียวอันเป็นกำไลฝังมรกต มีฤทธิ์ทางการสัมผัส พิษแผ่ซ่านอยู่ทั่วทุกส่วนของร่างกายแม้เพียงปลายเล็บ กระแสพิษรุนแรงทำให้ร่างกายบาดไหม้และเจ็บปวด

    ธันย์ (องค์ชายธีรภาพวิภพ) ราชบุตรแห่งเมืองนิลกาฬ  ผู้สื่อสารแห่งนาคสีดำ  นาคา ตระกูล เอราปถ ยึดครองมณีสีดำอันเป็นแหวนสลักลายนาคาฝังนิล มีฤทธิ์ทางลมหายใจ ผู้ได้รับพิษจะเกิดแผลทั่วตัว ทุรนทุรายและขาดใจตาย

    เมืองนิรมิต     (องค์หญิงสุดาวดี) พระธิดา กษัตริย์องค์สุดท้าย ผู้รอคอยการกอบกู้จากผู้สื่อสาร
    เมืองมูลละ,ท่าวารี     (แสงสิงห์) แม่ทัพหนุ่ม ผู้ลักพาตัวผู้สื่อสารกลับคือสู่นครนิรมิตเพื่อปลดปล่อยคำสาปแช่ง
                                 (หัสรา)  สหายคู่กายของแสงสิงห์
                                 (ทิวา) ทหารร่วมทัพ
    เมืองสุเรนทร์พิศาล (กษัตริย์ยโสสุริยา) กษัตริย์โหดเหี้ยมผู้ครองเมืองสุเรนทร์พิศาล
                           (องค์ชายสุริยจักร) รัชทายาทผู้จะนั่งบัลลังก์ต่อจากยโสสุริยา
                           (นางกุดั่นหลงค่อม) หญิงแก่คนสนิทของยโสสุริยา
                           (สุเภทะ) หัวหน้าผู้คุมปราสาทอันเป็นที่กักของผู้สื่อสาร
                           (เมฆา,อำภุช,เกราะกล้า) ทหารเอกสุเรนทร์พิศาล
                           (เทพพยากรณ์ทั้งสาม)
                           (เจ้านางกังสดาล ชายาขององค์ชายสุริยจักร)
    เมืองมหินทร์บรรพต (ไตรภพ) องค์ชายผู้หาญกล้าต่อต้านอำนาจชั่วจากสุเรนทร์พิศาลและหมายช่วงชิงผู้สื่อสารมาครอบครอง
                               (นิรันดร์) องครักษ์คนสนิทของไตรภพ
    ดินแดนปฤศา
    เมือง     นครนิรมิต,สุเรนท์พิศาล,มหินทร์บรรพต,นิลกาฬ,ศามณ,มูลละ,ท่าวารี
    แม่น้ำ     มูลละ,ชีวา


    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น