โบราณคดีใต้น้ำ - โบราณคดีใต้น้ำ นิยาย โบราณคดีใต้น้ำ : Dek-D.com - Writer

โบราณคดีใต้น้ำ

เสี่ยงชีวิตใช้เงินทุนมากแต่จำเป็น ต้องทำเพื่อจะได้รู้อดีต

ผู้เข้าชมรวม

2,057

ผู้เข้าชมเดือนนี้

3

ผู้เข้าชมรวม


2.05K

ความคิดเห็น


1

คนติดตาม


0
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  17 มี.ค. 49 / 11:04 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ

    ....งานโบราณคดีใต้น้ำ....

    ##ประวัติศาสตร์การเดินเรือทะเล##
    พบว่าคนก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ ๔๐๐๐-๓๐๐๐ ปีมาแล้วออกทะเล
    เนื่องจากการย้ายถิ่น โดยพบว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มมีการ
    เดินทางโดยใช้เรือออกทะเลเมื่อ ๔๐๐๐ ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย ในประ
    เทศไทยนั้นพบเบ็ดตกปลาขนาดใหญ่ทำด้วยกระดูกและกระดูกปลา
    ฉลาม กำไลทำจากหอยมือเสือที่อาศัยในทะเลลึก จากชั้นดินที่กำ
    หนดอายุได้ทางวิทยาศาสตร์ได้ราว ๔๐๐๐-๓๐๐๐ ปีมาแล้วที่โคก
    พนมดีและเนินดินใกล้เคียงในเขตอำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี
    เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๔ มีเส้นทางทางบกติดต่อระหว่างจีนกับเปอร์เซีย
    เรียกว่า..เส้นทางสายใหม..
    มีความยาวประมาณ ๘๐๐๐ กิโลเมตร มาถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐
    อีหร่าน(เปอร์เซีย)
    เข้าควบคุมเส้นทางและเก็บภาษีผ่านทาง จีนก็เกิดความยุ่งยากภายใน
    ความนิยมในการเดินทางจึงเปลี่ยนมาเป็นเส้นทางทางทะเลแทนเรียกกันว่า
    ..เส้นทางสายเครื่องเทศ..โดยเดินเรือแล่นเรียบชายฝั่งทะเลโดยเริ่มจาก
    เมืองท่าฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย ตัดข้ามอ่าวเบงกอลมายังหมู่เกาะนิโคบาร์
    มุ่งหน้าไปยังเมืองท่าด้านตะวันตกของไทยที่เกาะคอเขาอำเภอตะกั่วป่าอ่าวพังงา
    หรือเมืองโบราณในเขตจังหวัดตรัง ขึ้นบกเดินทางข้ามคาบสมุทรมลายู ถัดจากนั้น
    เดินเรือเลียบชายฝั่งอ่าวไทยตัดออกปลายแหลมญวนขึ้นไปจีนตามลำดับ อีกทางก็
    แล่นเรียบชายฝั่งผ่านช่องแคบมะละกาไปยังหมู่เกาะชินดราทะเลชวาและหมู่เกาะ
    โมลุคกะเป็น..หมู่เกาะเครื่องเทศ..ที่มีชื่อเสียง
    ##โบราณคดีใต้น้ำ##
    เป็นสาขาหนึ่งของวิชาโบราณคดี มุ่งศึกษาเรื่องราวของมนุษย์และวัฒน
    ธรรมในอดีต อาศัยข้อมูลหลักฐานจากวัตถุซึ่งจมหรือเคยจมอยู่ใต้น้ำ
    จะเป็นมหาสมุทรทะเล แม่น้ำ คลอง ลำธาร บึง หนอง กว๊าน สระ บาราย
    (สระน้ำในปราสาทหิน)อ่างเก็บน้ำที่เกิดจากการสร้างเขื่อน ศึกษาโดย
    ตรงเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การทำมาหากิน เทคโนโลยี
     ศิลปะ การเมืองการปกครอง ศาสนาความเชื่อ การค้าขาย การสงคราม
    ให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่องความสัมพันธ์กับน้ำและแหล่งน้ำ เช่น
    การคมนาคมทางน้ำ เรือ พาหนะทางน้ำ การต่อเรือ การเดินเรือ ท่าเรือ สินค้า
     แหล่งผลิตสินค้า ตลาด ยุทธนาวี ชีวิตความเป็นอยู่คนในเรือ วิถีชีวิตชาวน้ำ
    และเมืองท่าต่างๆในประเทศประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ แนวทางและหลักการ
    ในการศึกษาเป็นเช่นเดียวกับการศึกษาโบราณคดีบนบก แตกต่างที่วิธีค้นหา
    และเก็บข้อมูลที่ออกจะยุ่งยากซับซ้อนกว่าและผู้ปฏิบัติต้องดำน้ำเป็นและเข้าใจ
    ในงานโบราณคดีใต้น้ำอย่างแท้จริง ความเสี่ยงต่อชีวิตก็มีสูงกว่าใช้เวลาในการ
    ทำงานนานและใช้งบประมาณมากกว่างานบนบกหลายเท่า
    ##แหล่งและหลักฐานทางโบราณคดีใต้น้ำมี ๓ ประเภท##
    ๑.หลักฐานติดที่ เช่นเมืองหรือที่ตั้งหมู่บ้าน ชุมชนโบราณ ศาสนสถาน เหมือง แหล่งผลิต
    เครื่องถ้วยชาม ท่าเรือ ป้อมปราการตามเมืองท่าชายฝั่งทะเลและแม่น้ำใหญ่ๆ เขื่อนและฝาย
    กั้นน้ำ และแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมู่บ้านกลุ่มชนเผ่าดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ใกล้
    แหล่งน้ำหรือชายฝั่งทะเล
    ๒.ประเภทซากเรือโบราณเช่นซากเรือโบราณและโบราณวัตถุที่อยู่ในเรือหรือครั้งหนึ่งเคย
    อยู่ในเรือ ซากเรือสินค้าโบราณที่จมอยู่ในทะเลและมหาสมุทร เป็นหลักฐานและข้อมูลสำคัญ
    ในการศึกษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิธีการเดินเรือ การพาณิชย์นาวี
    ประเภทของสินค้า แหล่งผลิตสินค้า วิทยาการต่อเรือ การแสวงหาทรัพยากร การขนย้าย อำนาจ
    และสงคราม รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเรือ ด้วยเรือเดินทะเลลำหนึ่งๆนั้นเป็นทั้งบ้าน
    สำนักงาน พาหนะเดินทาง สถานที่ค้าขาย บางครั้งก็เป็นที่ผลิตสินค้าบางประเภท ในเรือจะมี
    การแบ่งสัดส่วนพื้นที่มีข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเสื้อผ้าอาหารอาวุธเครื่องมือจับปลาและ
    เครื่องมือหาทิศทางอุปกรณ์ซ่อมแซมเรือเครื่องดนตรีรูปเคารพสักการบูชาและสินค้านานาชนิด
    เรือลำที่มีอายุยาวนานและเดินทางไปมาหลายที่หลายแห่งก็จะมีประวัติและข้อมูลทางประวัติศาสตร์
    มากขึ้นตามระยะเวลาและจำนวนแห่งที่ไปจอดเทียบท่า
    ๓.โบราณวัตถุที่จมอยู่ใต้น้ำ ได้แก่ รูปเคารพ ชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้าง เครื่องถ้วยชาม เครื่องมือเครื่องใช้
    เครื่องประดับ โครงกระดูกมนุษย์ ซากสัตว์ไม้ซุง ที่จมอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆและที่ตกหล่นจากเรือแพ
    หรือมีผู้ทิ้งลงไปหรือเอาไปซ่อนไว้ใต้น้ำ จะพบมากในสายน้ำสำคัญๆและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เคยมี
    ชุมชนเรือนแพอาศัยอยู่ และเคยเป็นย่านสัญจรทางน้ำ รวมไปถึงโบราณวัตถุที่จมอยู่ในแหล่งน้ำตาม
    ชุมชนโบราณทางตอนในของแผ่นดิน
    ##งานโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทย##
    เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๑๗ ที่อ่าวสัตหีบจังหวัดชลบุรี เป็นอ่าวประวัติศาสตร์เกิดงานแบบนี้
    อย่างจริงจังและกระทันหันโดยที่ไทยยังไม่มีเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติงานใน
    ทะเลยังไม่มีอุปกรณ์ปฏิบัติงานใต้น้ำก็ด้วยมาจากมีชาวประมงพบซากเรือจมมีโบราณวัตถุ
    ประเภทเครื่องสังคโลกจำนวนมากในร่องน้ำลึกใกล้กับเกาะคราม ในระยะแรกกรมศิลปากร
    ได้ขอความร่วมมือไปยังกองทัพเรือ จัดส่งอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการใต้น้ำมาช่วยดำเนิน
    การกู้โบราณวัตถุเครื่องถ้วยในแหล่งเรือจมโบราณใกล้เกาะครามได้เป็นผลสำเร็จ ในปีพ.ศ.
    ๒๕๑๘ กรมศิลปากรได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเทศเดนมาร์กส่งผู้เชี่ยวชาญทางโบราณ
    คดีใต้น้ำมาช่วยแนะนำการปฏิบัติงานและร่วมในการปฏิบัติงาน ให้ทุนฝึกอบรมและศึกษาดูงาน
    ในประเทศเดนมาร์ก ในปีพ.ศ.๒๕๒๐ รัฐบาลไทยได้อนุมัติให้กรมศิลปากรจัดตั้งโครงการโบ
    ราณคดีใต้น้ำและได้บรรจุโครงการเข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๔
    (พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๔)ภายหลังได้ยกระดับเป็นงานโบราณคดีใต้น้ำฝ่ายวิชาการกองโบราณ
    คดี จนสุดท้ายมาเป็นกลุ่มวิชาการโบราณคดีใต้น้ำสำนักโบราณคดีกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม
    ในปัจุบัน
    ##พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี##
    ในปีพ.ศ.๒๕๓๗ กรมศิลปากรได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพาณิชย์นาวีขึ้น ณ จังหวัดจันทบุรี
    เพื่อเป็นสถานที่รวบรวม อนุรักษ์ ศึกษา และจัดแสดงด้านการพาณิชย์นาวี และโบราณวัตจากแหล่ง
    เรือจมในอ่าวไทยและจากการขุดค้นทางโบราณคดีในเขตจังหวัดจันทบุรี จัดแสดงแบ่งเป็นห้องต่างๆอาทิ
    -ห้องจัดแสดงสินค้าและวิถีชีวิตชาวเรือจัดแสดงให้เห็นถึงการพาณิชย์นาวีในสมัยโบราณ เส้นทางการเดินเรือ
     เมืองท่าโบราณ สินค้า และจัดแสดงของมีค่า ที่พบในแหล่งเรือจมบริเวณอ่าวไทย
    -ห้องแนะนำปฏิบัติการโบราณคดีใต้น้ำ แสดงเรื่องราว เทคนิคการทำงานของโบราณคดีใต้น้ำ
    -คลังเก็บโบราณวัตถุ แสดงการเก็บรักษาโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์ ที่โดยทั้วไปแล้วพิพิธภัณฑ์สถานแห่ง
    ชาติอื่นๆจะไม่มีบุคคลภายนอกเคยได้เห็นมากนักแต่ที่นี้จะมีบางส่วนที่เปิดเป็นช่องกระจก ให้สามารถเห็นเข้า
    ไปภายในได้
    -ห้องแสดงเรือและชีวิตชาวเรือ จัดแสดงเรื่องของเรือในประเทศไทย จะได้รู้จักเรือที่บางชนิดคนโดยทั้วไปเคย
    ได้ยินแต่ชื่อจะได้เห็นว่าของจริงเป็นเช่นไร

    คัดลอกเอามาจากงานBangkok Art&Antiques Fair2005
    แหล่งข้อมูลที่จะค้นคว้าเพิ่มเติม ติดต่อ
    พิพิธภัณฑ์พาณิชย์นาวี ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
    โทรศัพท์ 0-3939-1413 เปิดทำการ พุธ-อาทิตย์ เวลา
    9.00-16.00นาฬิกา ในวันนักขัตฤกษ์หยุด

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×