คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : นโยบายปชป. ปี2549 : วาระประชาชน กับอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ(1)
คำต่อคำเทปรายการ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับวาระประชาชน”
วันที่ 17 พฤษภาคม 2549 ออกอากาศทาง Nation Channal
ดร.สมเกียรติ์ : ในโอกาสที่การเมืองในประเทศไทยกำลังจะปรับทิศทางเข้ารูปในอนาคต วันนี้ผมอยากจะสนทนากับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถึงวาระประชาชนซึ่งเป็นวาระที่พรรคประชาธิปัตย์เตรียมการที่จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอนาคต พรรคประชาธิปัตย์เฝ้าดูการเมืองของประเทศมาเป็นแรมเดือน ดูเหมือนจะคลี่คลาย แต่โดยส่วนตัวผมก็ยังคิดว่ามันสะดุดอยู่
คุณอภิสิทธิ์ : ผมคิดว่าความจริงต้องถือว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาเกือบจะครึ่งปีแล้ว แล้วต้นตอของปัญหาก็มาจากความอ่อนแอของระบบที่จะตรวจสอบในผู้ที่มีอำนาจต้องรับผิดชอบกับการกระทำในการตัดสินใจต่างๆ และลุกลามมาเป็นวิกฤตเลือกตั้ง มาถึงวันนี้ผมคิดว่าทุกฝ่ายคงจะต้องน้อมรับบทบาทของศาล ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำในการคลี่คลายวิกฤตตรงนี้และในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ก็ชัดเจน
เมื่อต้นปีเราตัดสินว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นมาโดยเงื่อนไขที่ไม่ชอบธรรม เราก็แสดงจุดยืนว่าเราไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และในที่วุดการเลือกตั้งครั้งนั้ศาลก็ชี้ว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันหลังจากที่มีกระแสพระราชดำรัส และก็เป็นแนวทางที่จะคลี่คตลายวิกฤต พรรคก็น้อมรับพระราชดำรัส ด้วยการประกาศว่าเมื่อการเลือกตั้งครั้งก่อนจะมีการยกเลิกไป และจะตั้งต้นใหม่ เราก็จะกลับเข้าสู่การเลือกตั้ง ขณะที่ฝ่ายอื่นก็มีหน้าที่ในสการต้องช้วยคลี่คลาย มาถึงนาทีนี้ก็เป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างที่ต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งใหม่ แต่ถ้าถามเรื่องกรรมการการเลือกตั้ง
ดร.สมเกียรติ์ : ผมดูว่าเหมือนจะคลายวิกฤตแต่ยังไม่ 100% วิกฤตการเมืองพอมันเกิดขึ้นมันเกิดจากรัฐบาลขึ้นมาก่อน แล้วทุกอย่างก็พัวพันไปถึงวิกฤตเศรษฐกิจ แล้วมาถึงการศึกษา เด็กก็บ่นไม่มีใครดูแล แล้วก็มาหนี้สิน ราคาน้ำมัน มันวนไปหมด ทีนี้สมมติว่าวิกฤติเหล่านี้จะยืดเยื้อ ท่านในฐานะหัวหน้าพรรค คงไม่ปฏิเสธวิกฤติแน่และไม่ใช่การเมืองอย่างเดียว
· อภิสิทธิ์เน้น รัฐบาลต่อไปต้องเอาผลประโยชน์ประชาชนเป็นตัวตั้ง
คุณอภิสิทธิ์ : ถูกต้อง แล้วจริงๆแล้วทุกคนอาจจะหมกมุ่นอยู่กับปัญหาการเมือง แต่ชีวิตของประชาชทั่วไปอย่างเช่นชาวบ้าน เรื่องการเมืองก้เป็นเพียงเรื่องหนึ่ง แต่ว่าทุกที่ที่เกิดขึ้นในปัจจถุบัน มีทั้งเรื่องเศรษฐกิจ มีทั้งเรื่องสังคม เอาเรื่องเศรษฐกิจ ทุกคนก็บ่นเรื่องน้ำมันแพง เรื่องค่าไฟจะขึ้น ข้าวของโดยทั่วไปก็แพง และมีปัญหาหนี้สินที่สะสมกันมา 3-4 ปี ในแง่ของสังคมเราก็บ่นกันว่าขณะนี้ค่านิยมของเราเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ไปดึงปัญหาค่านิยมความฟุ้งเฟ้อ ก็มาซ้ำเติมเรื่องเศรษฐกิจ เด็กๆเองปีนี้ก็เจอเรื่อง O-Net ,A-Net เข้าไปเรื่องเดียวก็คิดว่าทุกข์มาก เพราะว่าเด็กไทยก็ยังอยู่ในระบบการศึกษาที่ทุกคนก็อยากจะเข้ามาหาวิทยาลัยดีๆ ทุ่มเทมา บางคนบอกเกือบจะทั้งชีวิต ปรากฎบอกว่าเจอระบบที่มีปัญหามาก ไม่รู้ว่าคะแนนถูกคะแนนผิด มีความสับสน เลื่อนแล้วเลื่อนอีก เพราะฉะนั้ตรงนี้ก้เป็นเหมือนกับวิกฤตซ้อน ทับซ้อนไปเรื่อยๆ และประชาชนก็มีความกังวล ก่อนจะไปถึงวันเลือกตั้ง ความจริงปัญหาหลายปัญหามันต้องเร่งสะสาง
แต่ว่าแน่นอนหลังการเลือกตั้งคนที่เข้ามาเป็นรัฐบาล จะต้องมีภาระใหญ่หลวงมากคือ ต้องเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ แล้วสิ่งที่ผมอยากจะย้ำคือว่า ถ้ามองให้ดี คือมันไม่ได้แยกออกจากกันว่าเป็นเรื่องการเมือง รัฐธรรมนูญ หรือน้ำมัน จริงๆแล้วหลายเรื่องมันเกี่ยวข้องกัน ผมคิดว่ามันถึงเวลาที่เราต้องมาดูว่า ต่อไปนี้คนที่จะเข้ามาบริหารบ้านเมือง ทั้งเรื่องการวางนโยบาย เรื่องการปฏิบัติตน จะต้องไปในแนวทางที่แก้ปัญหาประชาชนจริงๆ เอาประชาชนเป็นใหญ่จริง ไม่มีผลประโยชน์อื่นนอกจากผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง
ดร.สมเกียรติ์ : คือจริงๆถ้าทุกอย่างไปเร็วคือยุบสภา เลือกตั้งใหม่ เรารักษาการอยู่และเลือกตั้งใหม่ให้เสร็จ สักเดือน 2 เดือนเราก็ได้รัฐบาลที่เต็มที่แล้ว เหมือนกับไม่ใช่ป่วยเป็นง่อยเหมือนเป็ด แต่ยังไงผมก็ต้องพึ่งรัฐบาลไม่ว่าจะพรรคใดพรรคหนึ่ง เราคุยกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คุณอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคจะตั้งความหวังอะไรที่ยิ่งใหญ่ให้กับประชาชนเต็มที่ คือว่ามันไม่ใช่เรื่องปกติที่จะมาประกาศนโยบายแก้ปัญหาความยากจน ปราบทุจริตคอร์รัปชั่น ศีลธรรมคืนกลับมา แต่ต้องเป็นจุดที่ดึงดูดที่ทำให้ประชาธิปัตย์เป็นความหวัง และความหวังสุดท้าย
· ปัญหาหัวใจประเทศคือ “การพัฒนาคน”
คุณอภิสิทธิ์ : ผมไม่อยากจะใช้คำว่าความหวังเดียวความหวังสุดท้าย เราถือว่าเป็นการเสนอทางเลือก ผมเพียงแต่บอกเบื้องต้นว่า เราดูสถานการณ์ประเทศวันนี้ เราเคยตั้งความหวังกันไว้ว่า เราจะเป็นประเทศที่มั่งคั่งร่ำรวย พึ่งตัวเองได้ เอาเข้าจริงพอราคาน้ำมันมันขึ้นไป เราพบว่าเราเป็นประเทศซึ่งพึ่งพาน้ำมันเกือบจะสูงที่สุดในบรรดาประเทศในภูมิภาค บรรดาประเทศในระดับการพัฒนาในระดับเดียวกัน เราเคยมีความเชื่อว่าเราปฏิรูปการเมืองแล้วมีการเมืองที่ดีโปร่งใส ปรากฏว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นจริง และที่ไม่เป็นจริง เพราะเราอาจตั้งโจทย์ผิด เราหลงอยู่ว่า 2-3 ปีที่ผ่านเขาบอกว่าเศรษฐกิจดี ความจริงมันดีทั่วโลก พอมาปีนี้เราเจ็บมากกว่าหายประเทศ หรือปีที่แล้วเราก็เจ็บมากกว่าหลายประเทศ แล้วการจัดอันดับความสามารถการแข่งขันของประเทศก็พบว่าประเทศของเราตกไป 5 อันดับ หลายสิ่งที่เคยถูกมองว่าดีก็ไม่ดี หลายสิ่งที่เป็นจุดอ่อน
เราก็ยังเป็นจุดอ่อนต่อไป ผมก็มานั่งคิดดูว่า จริงๆแล้วเราอยากให้คนไทยเราบอกว่าลืมตาอ้าปาก มันเกิดจากอะไร มันต้องเริ่มจากหัวใจสำคัญที่สุดคือการพัฒนาคน เราละเลยเรื่องนี้ไม่ได้เลย และความล้มเหลวในปัจุบัน เพราะว่าเราไปคิดว่ามันมีวิธีการทางลัดที่บอกว่า เอาเงินไปให้คนกู้ และเขาจะหายจน ไม่ใช่ จริงๆแล้วลึกๆชาวบ้านเองก็รู้ว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่หยิบยื่นได้คิอว่า ทำอย่างไรให้ลูกหลานเขามีความรู้ เติบโตขึ้นมามีอาชีพการงานที่มั่นคง อันนั้นคือเป้าหมายสำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากจะบอกคือว่า คนที่เป็นผู้นำต้องมองโจทย์ตรงนี้ให้ทะลุ และประกาศให้ชัดให้คนทั้งประเทศรึว่าต่อไปนี้เรื่องคนสำคัญที่สุด
เราก็คิดว่านโยบายสำคัญที่สุดคือเรื่องการศึกษา แน่นอนอันนี้จะบอกว่าเห็นผลทันใจหรือไม่ สมมติว่าเริ่มวันนี้ กว่าจะเห็นผมก็ต้องใช้เวลา แต่ถ้าเราไม่เริ่มต้นเสียที บ้านเมืองเรา ชีวิตของเราก็ต้องอยู่ในวงจร อย่างนี้ เพราะฉะนั้นเรื่องการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญ และผมถือว่าเป็นฐานที่สำคัญที่สุดทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม ผมก็พูดขึ้นมาว่าเราอยากเห็นเศรษฐกิจเป็นอย่างไร
ดร.สมเกียรติ์ : การศึกษากับเศรษฐกิจเอามาพูดรวมกัน คุณอภิสิทธิ์พูดและทำให้ผมนึกถึงประธานาธิบดีหญิงคนแรกในอาฟริกาของไนบีเรีย ท่านบอกว่าการศึกษาเท่านั้นที่จะทำให้คนสมบูรณ์ ทั้งที่ไนบีเรียก็ยากจน คอร์รัปชั่น อำนาจรัฐมาตั้งแต่สมัยก่อน แต่พอท่านได้เป็น็ก็การศึกษาอย่างเดียว
คุณอภิสิทธิ์ : ก็ลองดูว่าจริงๆแล้วในที่สุด ในทางเศรษฐกิจดีไม่ดี มีรายได้หรือไม่ ควบคุมรายจ่าตัวเองได้หรือไม่ มีหนี้สินหฟรือไม่ ถามว่ารายได้มาจากไหนในที่สุด เราจะไปรอให้คนอื่นมาให้เราเป็นไปไม่ได้ เราทำอย่างไรให้คนทุกคนมีรายได้ ปัจจุบันนี้ เรื่องการศึกษาเราพยายามปฏิรูปมาเหมือนกัน เหมือนการเมือง ปกิรูปการศึกษา แต่ในที่สุดแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จแล้วหลายสิ่งหลายอย่างเราก็ไม่พูดความจริงกัน รัฐธรรมนูญเขาก็บอกว่าลูกหลานเรียนฟรี 12 ปี เอาเข้าจริงๆเรียนฟรีหรือไม่
· เรื่องใหญ่ที่สุดของปชป.คือ “การลงทุนทางการศึกษา”
ดร.สมเกียรติ์ : วันก่อนพรรคประชาธิปัตย์ ท่านได้ปราศรัยในที่ประชุมท่านบอกว่า ต่อไปนี้พรรคประชาธิปัตย์ถ้าเรียนฟรี เรียนฟรีจริงๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง
คุณอภิสิทธิ์ : เอาง่ายๆ ผมเริ่มจากกทม.ก่อน ไปดูตัวเลขของเขา ที่เขาบอกว่าเรียนฟรี ค่าเล่าเรียนไม่เสีย แต่ปรากฏว่ามีค่าประกัน ค่าลูกเสือ ค่าทัศนศึกษา เสร็จสรรพเขาก็บอกว่าเด็กคนหนึ่งอาจจะต้องเสียเพิ่มเทอมละเป็นพัน มากกว่านั้น 1,000-1,500 บาท แล้วอันนี้ยังไม่นับตอนเข้าโรงเรียนที่ต้องจ่ายเป็นหมื่นเป็นแสน
ดร.สมเกียรติ์ : นี่คือ 12 ปีอย่างเดิม
คุณอภิสิทธิ์ : จริงๆแล้วอยากทำให้ถึง 14 ปี แต่ว่าตรงนี้หมายความว่ารัฐบาลต้องยอมรับค่าใช้จ่ายจริง
ดร.สมเกียรติ์ : ประชาธิปัตย์ประกาศเอา 12 ปีก่อน ป.1- ป.6 และ ม.1- ม.6 ฟรีทุกอย่างยกเว้นอาจจะเป็นค่าเสื้อผ้า หนังสือเรียน
คุณอภิสิทธิ์ : ตำราเรียนมันก็ควรจะมีวิธีการที่ทำได้ เขาไม่สิ้นเปลือง เพราะฉะนั้นหลายเรื่องเป็นเองบริหารจัดการมันทำได้ แล้วเงินงบประมาณมันก็ไม่ได้ใช้เพิ่มมากขึ้น ผมยกตัวอย่างว่าอย่างที่ค่าใช้จ่ายที่ไปสำรวจของ กทม. สมมติว่าจะให้เรียนฟรีจริง อาจจะเพิ่มงบประมาณปึหนึ่งประมาณ 300-400 ล้าน กทม.ก็อยู่ในวิสัยที่ทำได้ และในฐานะที่กทม.ก็มาจากพรรคประชาธิปัตย์ก็คงจะเริ่มต้นได้ ผมว่าตั้งแต่เทอมสองป็นต้นไป
อันนั้นก็เป็นตัวอย่างว่าเป็นนโยบายที่ต้องทำ พอมาถึงรายละเอียดนโยบายการศึกษามีเยอะซึ่งต้องปรับแก้ แต่ว่าผมเห็นภาพรวมอย่างหนึ่งคือว่า วันนี้ปัญหาใหญ่คือว่าทุกคนแข่งกัน แย่งกันไปเรียนเพื่อให้ได้ปริญญา และหลายคนที่จบออกมาก็ไม่มีงานทำ และพบว่าสิ่งที่เล่าเรียนมาก็ไม่สามารถอามาใช้ประโยชน์ได้กับชีวิตจริง โดยเฉพาะหลายพื้นที่และหลายชุมชน เราก็ต้องการที่จะปรับแนวทางตรงนี้
ถึงเวลาแล้วที่ต้องมาดูภาพรวมให้สอดคล้องให้หมด เวลานี้สบสนมาก เพราะบางจังหวัดมีสถาบันที่เป็นมหาวิทยาลัยทั้งเก่าทั้งใหม่ ทั้งที่กำลังจะเป็น ทั้งที่เป็นวิทยาเขตไปเปิดมันเยอะไปหมด แต่ตรงกับความต้องการของการใช้กำลังคนตรงนั้นหรือไม่ ก็ยังไม่ชัดเจน ผมคิดว่าที่สำคัญต้องดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเลย บอกว่าจริงๆแล้วเขาจะรู้ว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้าเขาต้องการคนประเภทไหน งานจะไปอยู่ที่ไหน แล้วเราก็ต้องให้เขาไปมีส่วนร่วมในการช่วยกำหนดแผนในเรื่องศึกษา แล้วเราจะเห็นอย่างหนึ่งว่า การศึกษาสายอาชีพต้องส่งเสริมมากกว่านี้เยอะ แล้วก็ต้องปรับค่านิยม ซึ่งอาจจะเริ่มจากข้าราชการ ปรับสิทธิประโยชน์เรื่องของวุฒิ การศึกษาเพื่อชักจูง เพราะว่าคนของเราที่จบสายอาชีพตอนนี้กลับกลายเป็นว่าน้อยไปแล้วอย่างนี้เป็นต้น
อันนี้คือพื้นฐานง่ายๆ ที่ผมบอกว่ามองเป็นเรื่องการศึกษาก็ได้ แต่จริงๆมันเป็นพื้นฐานสำคัญของเรื่องเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันเรื่องสังคมก็มาจากตรงนี้ด้วย เราก็พูดกันมากว่าเราสอนให้เด็กแข่งขันกันเรื่องความเก่ง แต่ถ้าหากว่าคนของเราเติบโตมาแล้วเรื่องจริยธรรมคุณธรรมไม่มี ค่านิยมผิด หรือว่าไม่สามารถรักษาความเป็นตัวของตัวเอง ความป็นตัวตนของประเทศเราสังคมเราอันนี้ก็คงไม่สมประโยชน์
ดร.สมเกียรติ์ : ที่จริงผมอยากคุยเรื่องการศึกษาสัก 2 ชั่วโมงเพราะผมคิดว่า เป็นเรื่องเดียวที่สังคมจะเจริญ แล้วก็เห็นด้วยกับเรื่องที่โยงกับเศรษฐกิจ แต่ว่าที่ติดใจเรื่องการศึกษา เรื่อใหญ่ก็คือเรื่องการปฏิรูปการศึกษา พูดๆกันไป เหมือนปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปรอบ 2 คือมันอะไรกันแน่ คือผมคิดว่าการปฏิรูปการศึกษาคือการปฏิรูปทางความคิด ไม่ใช่เรื่องโครงสร้างว่าเขตพื้นที่การศึกษาใครใหญ่ใครเล็ก เงินเดือน อันนั้นเป็นเรื่องขององค์ประกอบ สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ ปฏิรูปการศึกษาเหมือนที่ผมอยากเห็นหรือไม่ คือสอนให้คนคิด
คุณอภิสิทธิ์ : มันเกี่ยวพันกันอยู่บ้าง เพียงแต่ว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มันมีปัญหาการเมืองเข้าไปยุ่งเยอะ อย่างเรื่องเขตพื้นที่ถ้ายนโอนไม่ถ่ายโอน แต่จริงๆแล้วหัวใจของการปฏิรูปการเรียนรู้ เราต้องอาศัยพลังของชุมชน ผู้ปกครอง ครูในรียนเรียนในพื้นที่ และที่สำคัญที่สุดคือ ให้โอกาสให้อำนาจให้ความหลากหลายมันเกิดขึ้น
ดร.สมเกียรติ์ : ผมเสียเวลากับการแปรญัตติหรือรับพิจารณากฎหมาย ก็มีแต่เรื่องมหาวิทยาลัยใครจะเป็นอธิการบดี จะมาจากไหน กรรมการสภาเป็นอย่างไร และเขตพื้นที่การศึกษา อันนี้ไม่ใช่ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปการบริหาร
คุณอภิสิทธิ์ : ตั้งโจทย์อย่างนี้ดีกว่า เด็กของเราควรจะรู้ภาษาที่สองตั้งแต่อายุเท่าไหร่ เอา ป.2 เลย คอมพิวเตอร์ต้องเรียนรู้ตั้งแต่ปีไหน
ดร.สมเกียรติ์ : เมื่ออาท ตย์ที่ผ่านมา มาเลเซียหันกลับมาใช้นโยบายเดิมซึ่งเลิกไปพักหนึ่งคือ ใช้ภาษาอังกฤษสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ตั้งแต่เล็กๆ และเราไปแอบดูเขามั่งหรือไม่ว่าเขาไปถึงไหนแล้ว
คุณอภิสิทธิ์ : หลายเรื่องเราดูไม่ลึกซึ้ง อย่างเช่นเมื่อก่อนเรากลัวว่าถ้าสอนภาษาอังกฤษเร็ว เด็กจะภาษาไทยไม่แข็ง จริงๆแล้วไม่ใช่ เด็กเรียนภาษาเร็วมาก
ดร.สมเกียรติ์ : เราไม่ได้สอนให้เป็นตะวันตก เราสอนให้รู้ วิชาที่ง่ายคือวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
คุณอภิสิทธิ์ : เพราะฉะนั้นที่ผมบอกคือเราต้องหันมาตรงนี้ แล้วก็ตั้งเป้าเสกี่ยวกับเรื่องการศึกษาในขณะนี้ว่าเด็กของเรากี่ขวบต้องรู้อะไร ต้องทำอะไรเป็น
ดร.สมเกียรติ์ : เอาจริงๆ ประชาธิปัตย์วางแผนเรื่องนี้เรียบร้อยนะ
คุณอภิสิทธิ์ : ผมคิดว่าดูทั้งในแง่ของปัญหา เรื่องโอกาส งบประมาณ ทั้งในแง่ของความพร้อมที่จะต้องเสริมเข้าไป ผมคิดว่าที่ผมพูดไว้คือ เราพูดเรื่องเมกกะโปรเจกต์เยอะ ต้องลงทุนขนาดใหญ่เรื่องนั้นเรื่องนี้ ไม่มีการลงทุนอะไรที่คุ้มค่าที่สุดเท่ากับการลงทุนในคนของเรา
ดร.สมเกียรติ์ : ผมฟังที่ประชุมพรรค ผมแปลกใจว่าเราจะพูดกับประชาชนอย่างไรถ้าหัวหน้าพรรคเขาบอกว่าเรื่องใหญ่ที่สุดของประชาธิปัตย์คือการลงทุนเรื่องการศึกษา จะไปหาเสียงได้อย่างไรในเมื่อพูดในเชิงอุดมคตินามธรรม ผมเข้าใจว่ามีการศึกษาเท่านั้นชีวิตผมอยู่ได้ แล้วผมจะรู้วิธีได้อย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ : ผมเชื่อว่าลึกๆพี่น้องประชาชนคนไทยทั่วไปก็คิดอย่างนั้น เพราะผมเห็นว่าชีวิตคนไทยยากดีมีจนก็ดิ้นรนให้ลูกเรียนหนังสือ แต่ตอนต้องใช้ชัดว่าภาระของเขาหายไปในด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเราจะต้องมีความชัดเจนว่าลูกของเขาเมื่อจบออกมาทำอะไรได้บ้าง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ นี่เป็นภาพของนโยบายด้านการศึกษา แต่แน่นอนถ้าถามว่าววันนี้คนทุกข์เรื่องอะไรก่อน อาจจะบอกของแพง ราคาน้ำมัน
ดร.สมเกียรติ์ : คำถามสุดท้ายคือถามประชาธิปัตย์ว่า ทำห้องสมุดสมบูรณ์แบบให้กับโรงเรียนทุกแห่ง อาจจะมาไป แต่ว่าทุกจังหวัดมีห้องสมุดสมบูรณ์แบบเลย มีหนังสืออย่างน้อยที่เด็กควรอ่าน ชาวบ้านควรอ่าน ไม่ว่าจะเป็นชีวิต วัฒนธรรมในพื้นที่ให้สมบูรณ์เลย ไม่ต้องซื้อคอมพิวเตอร์ เพราะว่าไม่รู้จะเปิดอ่านอะไร
คุณอภิสิทธิ์ : ที่จริงกทม.ก็เริ่มทำแล้ว เพราะเป็นนโยบายของพรรค ทีนี้ที่ผมเรียนว่านอกจากห้องสมุดนอกจากพูดว่าไม่ต้องพูดถึงคอมพิวเตอร์ แต่ผมอยากทำในลักษณะศูนย์การเรียนรู้ หมายความว่ามีหนังสือ มีอินเตอร์เนตความเร็วสูงได้ยิ่งดี แต่ว่าใช้เพื่อสืบค้นข้อมูล แล้วต้องยอมรับว่าการเอาความรู้ไป
ดร.สมเกียรติ์ : ลูกย้ายแม้นยืมคอมพิวเตอร์ห้องสมุดโรงเรียนไปใช้ที่บ้านไม่ได้ ปัญหามันอยู่ตรงนั้นว่ายืมหนังสือง่ายกว่า
คุณอภิสิทธิ์ : อันนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
ดร.สมเกียรติ์ : ช่วยโยงให้ผมสบายใจหน่อยได้หรือไม่ว่ามันจะไปโยงกับเศรษฐกิจเพื่อให้มันรุ่งเรื่องอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องเฉพาะหน้า
· นโยบายด้านเศรษฐกิจในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
คุณอภิสิทธิ์ : นโยบายเรื่องเศรษฐกิจถ้าเอาเรื่องเฉพาะหน้าก่อน สิ่งแรกคือว่าเรื่องปัญหาของน้ำมัน ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ขณะนี้สิ่งที่เป็นปัญหาคือเราไม่มีทิศททางที่ชัดเจนเรื่องนโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค ก็ตอนนี้สับสนไปหมด ก็เหมือนกับต่างคนต่างพูดต่างคนต่างทำ ของแพงทีกระทรวงพาณิชย์ก็อาจจะไปทำขายสินค้าราคาถูก ธงฟ้า กระทรวงการคลังก็อาจจะบ่นไป แบงค์ชาติก็บอกว่าจะเอาดอกเบี้ยแก้เงินเฟ้อ ความจริงเวลานี้มันไม่ใช่ เวลานี้ปัญหาของเศรษฐกิจมาจากต้นทุน ต้นทุนน้ำมัน ค่าไฟ ของพวกนี้มันเป็นต้นทุนสำหรับทุกคน อาจารย์(สมเกียรติ์) และผมไม่ได้เป็นนักธุรกิจ มันก็เป็นต้นทุนของชีวิต
นักธุรกิจก็ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ว่านโยบายภาพรวมก่อนผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เอาดอกเบี้ยไว้คอยแก้เงินเฟ้อ จริง ๆ ตามตำรามันก็บอกอยู่แล้วว่า เอาดอกเบี้ยไปแก้เงินเฟ้อ มันเป็นเงินเฟ้อของแพงเวลาเวลาที่คนเขาใช้จ่ายกันเยอะ ๆ แต่วันนี้ของมันไม่ได้แพงเพราะว่าเศรษฐกิจมันร้อนแรงอะไร ของแพงเพราะว่าต้นทุนมันสูง เพราะฉะนั้นเอาดอกเบี้ยไปแก้เนี่ยไม่ตรงจุด ดีไม่ดีซ้ำเติม ซ้ำเติมสองสามเรื่องเลย ซ้ำเติมตรงที่ว่าดอกเบี้ยก็เป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะที่บ้านเราซึ่งมีหนี้กันเยอะ อันนี้อันตราย สองพอดอกเบี้ยสูงมาก ๆ เงินบาทแข็ง และตอนนี้ก็ผันผวนด้วย และตอนนี้ก็แข็งด้วย ส่งออกกระทบอีก พอส่งออกกระทบเศรษฐกิจก็ยิ่งซบเซาเข้าไป เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นจุดหนึ่งซึ่งขาดทิศทางความชัดเจน
ผมเชื่อว่าตรงนี้รอถึงวันเลือกตั้งไม่ไหวหรอก ต้องมีความชัดเจนแล้ว ผมก็เสนอไว้ชัดเจนว่า หันกลับตรงนี้ให้ชัดเจนเสีย ถามว่าเรื่องน้ำมันเรื่องต้นทุนตรงนี้ช่วยยังไง หรือค่าไฟเนี่ย ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ทั้งหมดขณะนี้มาจากโครงสร้างที่รัฐบาลไปทำไว้ ค่าไฟทำไมต้องขึ้นครั้งสุดท้าย เขาบอกว่าต้องขึ้นเพราะว่าเราไปตั้งกติกาว่าต้องมีผลตอบแทนต่อการลงทุนสูง ทำไมต้องมีผลตอบแทนต่อการลงทุนสูงก็อยากให้คนมาซื้อหุ้น กฟผ. ตอนนี้ศาลปกครองก็ตัดสินไปแล้ว เราเรียกร้องมาตั้งนานแล้วว่าธุรกิจกิจการอย่างไฟฟ้า การประปามาทำอย่างนี้ไม่ได้ มันผูกขาดอยู่ดี ๆ เอาไปเป็นบริษัทเอกชนให้คนกำไร ไม่ได้ คือถ้าปรับสูตรตรงนี้ปั๊บ ปรับสูตรค่าไฟได้ทันที นี่ก็เป็นตัวอย่างว่าค่าไฟลดอย่างไรและเกี่ยวพันกับนโยบายรัฐวิสาหกิจอย่างไร ปตท. กำไร 8 หมื่น 5 พันล้าน เราก็บอกแหมน่าภูมิใจบริษัทคนไทยกำไรขนาดนี้ แต่ว่ากำไรผูกขาดหนึ่ง ท่อก๊าซ
ขณะที่คนไทยกำลังทุกกับค่าเชื้อเพลิงทั้งหลาย อันนี้ก็ต้องเปลี่ยน ปรับแนวทางเรื่องการบริหารรัฐวิสาหกิจตรงนี้ เฉพาะหน้า มีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ความจริงก็เป็นความผิดพลาดมาจากคราวที่แล้วไปอุ้มเบนซิน ดีเซลอยู่ อันนี้ก็ปรับได้ รัฐบาลก็เริ่มปรับมาบ้าง อันนี้เป็นจุดที่ผมคิดว่าถ้าทำจริงจังเฉพาะหน้า ก็ลดได้ส่วนหนึ่ง แล้วก็เป็นโอกาสดีที่จะปรับนโยบายหลัก ๆ อย่างเช่นนโยบายการแปรรูปให้เห็นว่าต่อไปนี้ไม่ได้นะ แปรรูปเพื่อมาหวังเอากำไรให้เกิดขึ้นในบริษัทที่แปรรูปแต่เสร็จแล้ว คนไทยแบกรับภาระกันทั้งประเทศอันนี้ไม่ถูกต้อง
ดร.สมเกียรติ์ : คือถ้าจะพูดมหภาคนะครับ นอกจากขนาดพื้นที่และกิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดกว้าง เรายังไม่พูดลงย่อย เดี๋ยวค่อยพูด ผมขอชวนคุยเรื่องอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคได้หน่อย เพราะว่ารัฐบาล ขออภัยถ้าพาดพิงถึง พรรคไทยรักไทย แต่ทุกคนรู้ดีว่า พรรคไทยรักไทยใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งจะย้ำอยู่เสมอว่าทุนนิยมดีแบบนั้น ดีอย่างนี้ อันนั้นคือมหภาคในเชิงอุดมการณ์
ประชาธิปัตย์มีอะไรแตกต่างไปจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า ทุนนิยมหรือไม่ ผมเห็นว่าแนวโน้มประเทศกำลังพัฒนาเริ่มจะรู้ทันพวกที่ร่ำรวยและประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายที่บอกว่า เปิดการค้าเสรี เปิดการค้าเสรีไม่เอาแล้ว น่าจะกลับไปเป็นสังคมนิยม กึ่งสังคมนิยม แบบเวเนซูเอล่า แบบคิวบา แบบโบลิเวีย อาเจนติน่าก็กำลังเข้ากลุ่มนี้ ของพรรคประชาธิปัตย์จะออกมาทาง ใช้ศัพท์ยุโรปที่เรียกว่า “กลางซ้าย” ไม๊ครับ (หัวเราะ) คือไม่ถึงขนาดซ้ายซ้ายนะครับ
คุณอภิสิทธิ์ : เอาอย่างนี้นะครับให้เห็นภาพ หนึ่ง ถ้าเราพูดถึงสังคมนิยม สังคมนิยมแบบเดิม ๆ รูปแบบเก่า ๆ อาจารย์ต้องเก็บภาษีสูง หมายความว่าเอาทรัพยากรมาอยู่ในมือรัฐก่อน แล้วรัฐเป็นคนมาจัดเป็นสวัสดิการ เป็นอะไรต่าง ๆ ซึ่งในประสบการณ์ก็พบว่ามักจะมีปัญหา คอร์รัปชั่นบ้าง ไม่มีประสิทธิภาพบ้าง ทุนนิยมเป็นความจริงอย่างหนึ่งซึ่งหลายประเทศผมว่าทุกประเทศปฏิเสธยาก เพราะว่าทุนนิยมจะอย่างไรก็ตามมีความสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์อยู่ ในเรื่องความอยากได้อยากมี แต่ผมมองอย่างนี้ครับว่า อุดมการณ์ที่อาจารย์ว่านี้ อยู่ที่ว่าจะจัดการกับทุนนิยมอย่างไร ผมบอกว่าที่ผ่านมาเราเอาคนไปรับใช้ทุนนิยม
เราต้องเอาทุนนิยมมารับใช้คน ความหมายก็คือว่าคนที่เป็นรัฐบาลต้องวางกติกา ต้องกำกับ ต้องออกแบบในเรื่องต่าง ๆ ให้การแข่งขันในทางธุรกิจมันเกิดประโยชน์กับประเทศกับส่วนรวม ไม่ใช่เกิดกำไรอย่างเดียว ฉะนั้นผมยกตัวอย่างว่า ถามว่าเป็นกลางซ้ายก็อาจจะว่าได้ เช่นผมก็บอกว่าที่จะเอากฟผ.ไปขายหุ้นเนี่ยไม่ควรทำ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เอกชนเข้ามาลงทุนในการไฟฟ้าฯ มาได้ มาผลิตไฟฟ้าได้ มาลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าได้ แต่รัฐบาลต้องยังเป็นผู้ควบคุมเรื่อง ซื้อไปไฟฟ้าแล้วเอามาขายให้ประชาชนอย่างไร ก็อาจจะกลางซ้ายก็ได้
ดร.สมเกียรติ์ : คือโลกจะกลับไปสู่ซ้าย สังคมนิยม ทั้งหมดหรือไม่ มันก็แล้วแต่ชีวิตของโลกมนุษย์ เพียงแต่ว่าแนวโน้มกลับไปผวาไปยังซ้ายสุด
คุณอภิสิทธิ์ : ถูกต้อง คือต้องการยืนยันว่าประชาธิปัตย์ก็ไม่ใช่ว่าจะกระโจนไปแล้วบอก ต่อไปนี้จะเก็บภาษีสูงรัฐจะเข้าไปจัดการทุกอย่างไม่ใช่ แต่รัฐ ที่พรรคประชาธิปัตย์ไปบริหารจะวางกติกาให้ทุนนิยมให้มารับใช้ประชาชน
ดร.สมเกียรติ์ : ผมดูประวัติประชาธิปัตย์ ก็ไม่ใช่พรรคอนุรักษ์นิยมขวาจัด ไม่ใช่ Conservative ไม่ใช่ Republican แบบอเมริกา มันเหมือนกับ Democrat แบบอเมริกา คือมีความตื่นเต้นหวาดเสียวอยู่บ้าง ท้าทาย
คุณอภิสิทธิ์ : ก็บางเรื่องจำเป็นต้องพูดเช่น ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลาย จะเป็นแก๊ซ หรือจะเป็นคลี่นความถี่ อันนี้ต้องไม่ใช่สังคมนิยมหรอก ต้องบอกว่าอันนี้ต้องตั้งหลักก่อนว่าทรัพยากรพวกนี้มันของส่วนรวม
ดร.สมเกียรติ์ : ทุนนิยมแบบมีการกำกับดูแลเพื่อประโยชน์ต่อมวลชน ถ้าอย่างนั้นเอาเรื่องที่ห่วงกันแบบเฉพาะหน้า คือว่ารัฐวิสาหกิจนี่จะไม่แปรรูปอะไรที่เด็ดขาด
คุณอภิสิทธิ์ : อะไรก็ไม่แปร ประปา ไฟฟ้า ไม่มีการไปแปรรูปในลักษณะที่จะเอาองค์กรเป็นบริษัทแล้วขายหุ้น
ดร.สมเกียรติ์ : กฟผ. ทุกอย่าง
คุณอภิสิทธิ์ : กฟผ. กปน. กฟภ. แต่จะให้เอกชนมาลงทุน ในการผลิตในการแข่งขันได้ และก็ควรจะเริ่มแยกด้วยกิจการที่เป็นเรื่องการผลิตก็ส่วนหนึ่ง กิจการเรื่องของการจำหน่ายสิ่งเหล่านี้ไปก็ส่วนหนึ่ง
ดร.สมเกียรติ์ : อะไรที่เป็นสาธารณประโยชน์ สาธารณูปโภค ต้องที่อยู่ในมือรัฐ
คุณอภิสิทธิ์ : แล้วก็ส่วนอื่นแข่งขันกันแต่ว่ารัฐเป็นผู้กำกับ
ดร.สมเกียรติ์ : เข้าใจ ทีนี้เข้าใจ แล้วเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งซึ่งกลายเป็นวิกฤตการเมืองนั่นคือเรื่องโทรคมนาคม ทำอย่างไรครับ
· โทรคมนาคม : ต้องแข่งขันมุ่งสู่ประโยชน์สังคม
คุณอภิสิทธิ์ : คือโทรคมนาคมเนี่ย จริง ๆ ที่ออกแบบไว้มันไม่ได้ผิดหรอก เหมือนกับเรื่องสื่อสารมวชนมันไม่ผิดหรอก คือมีกทช. มีกสช. เขาจะต้องมาเป็นองค์กรอิสระ ที่มาทำให้การใช้สิ่งเหล่านี้ ซึ่งถือว่าเป็นสมบัติของชาติของคนทั้งชาติ มันเป็นประโยชน์สูงสุดกับสังคม
ขณะนี้ปัญหาของเราในส่วนของโทรคมฯ ก็ดี ในส่วนของสื่อสารมวลชนก็ดี ก็คือเรามีส่วนที่ตกค้างเป็นมรดกมาในเรื่องของสัญญาสัมปทาน ในเรื่องของอะไรต่าง ๆ วันนี้ต้องมาปรับให้เข้ามาสู่การแข่งขัน แล้วก็เป็นการแข่งขันที่มุ่งไปสู่ประโยชน์ของสังคมซึ่งมันทำได้ ผมก็ต้องขออนุญาตว่า จริง ๆ ก็ไม่อยากพาดพิงแต่บอกว่าของเหล่านี้มันทำได้ถ้ามันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ถ้าคนเข้าไปทำไม่มีผลประโยชน์ในทางธุรกิจ ไม่มีผลประโยชน์ที่ว่าจะต้องไปช่วยใคร แกล้งใคร แล้วก็ยึดประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ มันไม่ใช่เรื่องยากเลย กฎหมายของเราพร้อมอยู่แล้ว อยู่ที่การใช้อำนาจตรงนั้นเท่านั้นเอง
ดร.สมเกียรติ์ : คือพูดให้มันตรงเป้านิดนึงสำหรับผม เนื่องจากอยากถามนั่นเองก็คือว่ากิจการโทรคมนาคม ที่เอกชนเป็นคนทำตามข้อตกลงขององค์กรการค้าโลกในการผูกขาดเสรี ผมก็แปรญัตติกฎหมายโทรคมนาคมฉบับนี้มาด้วยตัวเองก็คือว่า ถ้าเป็นกิจการซื้อขายของอุปกรณ์เครื่องมือ อันนั้นก็เปิดเสรี 100% เลย ฝรั่งลงทุน แต่ถ้าเป็นกิจการที่ใช้ทรัพยากรของชาติ ความถี่ ดาวเทียม เขาให้เพียง 20% เองพอนะครับ สำหรับต่างชาติ นั่นคือกฎของ WTO เสรีคือว่าไม่จำเป็นต้องเกิน 20 แต่ไม่อยากปล่อยให้ต่างชาติเป็นเจ้าของที่ตั้งดาวเทียมทั้งหมดเลยก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร อย่างนี้ประชาธิปัตย์จะเด็ดขาดไม๊ครับ จะเอาอย่างไร
คุณอภิสิทธิ์ : คือขณะนี้กฎหมายปัจจุบันของเราไปที่ 49 ผมคิดว่า 49 นั้นไม่เป็นไร ถ้า 49 จริง แต่ว่าถ้าเป็น 49 หลอก ก็คือว่า ต่างชาติมาถือ 49 แล้ว ยังมาถือผ่านคนไทยแล้วในที่สุดควบคุมได้ อันนี้ยอมไม่ได้
ดร.สมเกียรติ์ : งั้นก็ต้องเข้าไปตรวจสอบดูว่าอะไรเป็น
คุณอภิสิทธิ์ : เพราะว่าประชาธิปัตย์ไว้ที่กระทรวงพาณิชย์แล้ว แต่ว่ากระทรวงพาณิชย์ในยุคนี้ยังไม่ยอมตัดสินเสียทีว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไร ผมยืนยันว่าจะต้องปฎิบัติตามกฎหมายเพราะว่า เราได้เปิดเสรีมาพอสมควรเพราะฉะนั้นคนที่จะเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ต้องเคารพกฎหมายไทย แล้วกฎหมายเราขณะนี้ตอนที่เราแก้มา เราเขียนชัดนะครับ กฎหมายการประกอบธุรกิจชาวต่างด้าว ว่าไม่มีการอนุญาตให้ถือหุ้นแทนกันอีกแล้ว
(ต่อตอนสอง)
ความคิดเห็น