ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Democrat วิจารณ์การเมืองไทย สไตล์เด็กดี

    ลำดับตอนที่ #2 : "อักษรศาสตร์กับระบอบทักษิณ" (เสวนาวิชาการ เรียบเรียงโดยคุณKwanrapee)

    • อัปเดตล่าสุด 11 เม.ย. 49



              (บทความนี้เป็นบทความที่คุณขวัญผู้รวบรวมได้นำไปตั้งกระทู้ที่บอร์ดสาระ และส่งลิงค์ให้ข้าพเจ้าดู ข้าพเจ้าจึงนำมาให้อ่านกัน เพื่อการศึกษาการใช้คำพูดของท่านทักษิณ บทความนี้มีทั้งสาระ และความขบขันจากลูกเล่นของบรรดาอาจารย์ น่าสนใจมากๆค่ะ อยากให้ลองอ่านดู)


              สวัสดีค่ะ

              ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เนื้อหาในนี้เป็นเนื้อหาจากการเสวนาวิชาการ "อักษรศาสตร์กับระบอบทักษิณ" (เพิ่งกลับมาแล้วมาพิมพ์เลยเนี่ย) ที่คณะอักษรจุฬาค่ะ 

              ซึ่งเราคิดว่าน่าสนใจมากๆ เกี่ยวกับด้านอักษรศาสตร์กับคุณทักษิณ เนื้อหาในนี้เราจดมาจากการเสวนา+เอกสารที่แจกฟรีของที่นั่น โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และกรุณาใช้เหตุผลและกาลามสูตรเป็นที่ตั้ง อ่านแล้วอย่าเพิ่งเชื่อ ไตร่ตรองก่อนแล้วจึงเชื่อนะคะ ให้สมกับเป็นเด็กดีนิดนึง 


              เอาทีละหัวข้อ 

              ก่อนที่จะมีการเสวนา ได้มีการเชิญ ดร.โสภณ สุภาพงษ์ มาปาฐกถา เราขอสรุปย่อๆดังนี้

              ท่านบอกว่า สังคมไทยเหมือนชีวิตมนุษย์ มีอุปทานและมโนสำนึกเป็นตัวบ่งชี้ กำหนดความคิด ประกอบด้วย DNA คือกรรมเก่า มีศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาธิปไตย 

              ส่วนกรรมใหม่ ก็คือรัฐบาลชุดต่างๆ 
              คุณทักษิณจะดีหรือเลว ก็ดูสิ่งที่ท่านทำไว้

              พระพุทธเจ้าสอนว่า จะเข้าถึงปัญญาได้ต้องตัดอารมณ์ (คือปัญญา)
              แต่คุณทักษิณสอนให้กระตุ้นอารมณ์ (คือมายา) คุณโสภณบอกว่า คุณทักษิณทำตรงข้ามกับพระพุทธเจ้า

              พระพุทธเจ้าสอนว่า อย่าเชื่อตถาคต 
              คุณทักษิณบอกว่า "เชื่อผมเถอะ"

              เศรษฐกิจพอเพียง มีข้อกำหนด 2 ข้อ คือ ความอยากเป็นสิ่งไม่ดี และ ความรู้เกลาความอยากให้มีชีวิตพอเพียงได้
    แต่คุณทักษิณมีลักษณะของทุนนิยมสุดขั้ว ความอยากเป็นสิ่งดี กระตุ้น GDP กระตุ้นหุ้น ความรู้คือการหาให้พอกับสิ่งที่ตัวเองอยาก

              ที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ คุณโสภณกล่าวถึงรัฐธรรมนูญ ที่มีโครงสร้าง C= MD-T คอร์รัปชั่น เท่ากับอำนาจลบการตรวจสอบ (จดคำภาษาอังกฤษไม่ทัน) รธน. จะอยู่บนโครงสร้างนี้ แต่ท่านไม่คิดว่าจะสกปรกขนาดนั้น ที่เห็นคือ T มันติดลบ เลยกลายเป็น C=MD+T  ไปเลย (ฮา) 

              แต่ท่านก็บอกว่า ความดีจะชนะ ชนะทุกคน 

              ต่อมาก็เข้าสู่การเสวนา โดยอาจารย์ของคณะอักษรศาสตร์จุฬาค่ะ


              จริยธรรมกับกฎหมาย 

              เหอๆ อันนี้อาจารย์บอกว่าพูดถึงกันมากทีเดียว คุณทักษิณบอกกับคนทั่วไปว่า การกระทำของท่านถูกต้อง แต่เกิดกระแสต่อต้าน แม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ผิดจริยธรรม และเนื่องจากจริยธรรมเหนือกว่ากฎหมาย การอ้างว่าไม่ผิดนั้นจึงฟังไม่ขึ้น 
              คำว่าศีลธรรมกับจริยธรรมนั้นไม่ต่างกันมาก ศีลธรรมคือข้อถูกผิดตามคำสอนของศาสนา แต่จริยธรรมเป็นเรื่องของความถูกผิดตามหลักเหตุผล เมื่อเป็นเช่นนี้ การโกหกจึงผิดทั้งสองอย่าง ผิดหลักศาสนา และผิดหลักจริยธรรมเพราะทำให้สังคมไม่ปกติสุข 

              จริยธรรมเกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างไร? กฎหมายเป็นกติกาของสังคม ซึ่งมีทั้งถูกและผิด กฎหมายที่เห็นชัดๆว่าผิดคือกฎหมายแบ่งแยกชาติพันธุ์ของนาซีเยอรมัน ที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวเยอรมันเชื้อสายยิว แม้กฎหมายที่ออกมาจะถูกกระบวนการ (คือผู้มีอำนาจเป็นคนออก) มันก็ไม่ได้แปลว่ากฎหมายนั้นถูกต้องหรือเป็นกฎหมายที่ดี จริยธรรมกับกฎหมายเป็นคนละเรื่อง เราต้องตัดสินได้ว่า กฎหมายนั้นชอบธรรมหรือไม่ 

              เราสรุปมาให้ประมาณนี้นะจ๊ะ ตกหล่นผิดพลาดก็ท้วงมาเด้อ


              ทักษิณกับการใช้เหตุผล

              ลืมบอกไปว่า อาจารย์ที่มาเสวนาทั้งสองหัวข้อนี้ มาจากภาควิชาปรัชญาของคณะอักษรค่ะ
              หัวข้อนี้พูดมันส์มากเรย ยกคำพูดคุณทักษิณมา 

              "ทำไมผมจะต้องลาออก ทำไมผมจะต้องไปยอมตามคนที่ไม่ยอมทำตามกฎ กติกา...."

              "การไม่เคารพกติกา แล้วประเทศจะอยู่ได้อย่างไร...ประเทศมีกติกา อยู่ๆไม่พอใจก็ปลุกระดม"

              "เราจะให้คนทำถูกกติกาแพ้คนที่ทำผิดกติกาหรือ เหมือนคนที่มาแซงคิวซื้อตั๋ว หรือแซงคิวรถ คนเขาเข้าแถวอยู่ดีๆแล้วก็มาแซงคิว"
    ฯลฯ สังเกตคำๆนึงไว้ให้ดีๆ อิอิ

              อาจารย์บอกว่า ตัวอย่างความบกพร่องในการใช้เหตุผลของคุณทักษิณ มี 3 หัวข้อใหญ่ ว่ากันไปทีละอัน


              1. ความบกพร่องที่เกิดจากภาษา 

              คำว่ากติกา ท่านถามว่า คนที่มาชุมนุมผิดเหรอ คุณทักษิณยังเคยพูดเองเลยว่า "เขาก็มีเสรีภาพอยู่ในกฎหมาย" คำพูดขัดแย้งกันเองซะงั้น อาจารย์บอกว่า ที่ว่าผิดกติกาของคุณทักษิณนั้น อาจจะตีความได้ว่า กติกาคือ การเลือกตั้ง การใช้คำว่ากติกาในที่นี้น่าจะให้มีความหมายเดียว ทั้งๆที่จริงๆมันมีหลายนัยมาก
    กติกา=การเลือกตั้ง=ประชาธิปไตย 


              2.ความบกพร่องด้านเนื้อหา

              อาจารย์บอกว่าคุณทักษิณเปรียบเทียบผิด เรื่องแซงคิวกับกลุ่มพันธมิตรฯ แซงคิวในที่นี้ น่าจะหมายถึงคนที่เห็นแก่ตัว มากกว่าพวกทำผิดกติกา การชุมนุมของพันธมิตรฯ ไม่เกี่ยวกับความเห็นแก่ตัวหรือเอาเปรียบ 



              3. ความบกพร่องด้านเหตุผล 

              คุณทักษิณใช้จิตวิทยาเบี่ยงประเด็น ชอบโจมตีตัวบุคคล ไม่ใช่เพราะเหตุผลของเขา แต่กลับไปอ้างเอานิสัย สถานภาพ ตำแหน่ง ฯลฯ (เปลือกนอกนะเราว่า) ทำให้เกิดอคติ ไม่พิจารณาเหตุผล ใช้ความรู้สึกตัดสินไปเลย 

              อาจารย์ว่า "ความจริงเมื่อออกจากปากใคร มันก็จริงเหมือนกัน" 

              มันไม่ใช่เรื่องเหตุผล แต่มันเป็นจิตวิทยา การที่เราพูดอะไรไป มันจะบอกทั้งข้อเท็จจริง และความคิด ความเข้าใจ ความเชื่อของผู้พูดด้วย มันมีผลต่อคนฟัง
    นอกจากนี้มีคำย้อมสี (colored words) ด้วย เกิดความรู้สึกไม่ดีไปเลย เช่น แซงคิว นักกรรโชกประชาธิปไตย เป็นต้น




              หัวข้อที่ 3 ทักษิณกับการเล่นลิ้นทางการเมือง 

              อาจารย์จากภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรค่ะ 

              ในภาษาไทย มีคำหลายคำมีความหมายพ้องกับคำว่า โกหก ไล่ระดับมาเลย ปด โป้ โป้ปดมดเท็จ ตระบัดสัตย์ ปลิ้นปล้อน และ ตอ แ ห ล (จากเอกสารเน้อ)

              กลวิธี 7 ประการของทักษิณ มีดังนี้ 

              โกหกหน้าตาย 
              กล่าวท้าทายยั่วยุ 
              โพล่งประทุอารมณ์ 
              คำคมเจ้าเล่ห์ 
              คำเท่หลอกลวง 
              จ้วงจาบสถาบัน 
              พูดเอามันพาชาติบรรลัย 

              อาจารย์ยกตัวอย่างแค่ จ้วงจาบสถาบัน ทักษิณพูดอะไรไว้เราคงจำได้ดีนะคะ คนเดียวที่ให้ผมออกได้ คือพระเจ้าอยู่หัว กระซิบข้างหู จะเป็นไปได้ยังไง เพราะในหลวงต้องเป็นกลางทางการเมือง แสดงถึงความเจ้าเล่ห์ มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว 

              หัวข้อนี้เราฟังไม่จบนะ เลยขอพิมพ์จากเอกสารละกันค่ะ


              วรรณกรรมสิบเล่มที่ทักษิณควรอ่าน

              จากภาควิชาภาษาอังกฤษ อาจารย์บอกว่า ท่านนายกแนะนำหนังสือเราไว้มาก เราก็ต้องแนะนำบ้างสิ

              1. 1984 (คนเขียนเขียนปี 1948) โดยจอร์จ ออร์เวล เล่าถึงความน่ากลัวของประเทศเผด็จการที่ควบคุมประชาชนด้วยสื่อที่ถูกบิดเบือนหลากรูปแบบ แนวทำนายอนาคต ที่ว่ามีกล้องส่องดูประชาชน Big Brother นั่นแหละ 

              2.Brave New World อัลดัส ฮักซ์ลีย์ คล้ายๆกัน แต่มิใช่การกดขี่ แต่เป็นการขายฝันงมงาย

              3.Dr Faustus บทละครฟื้นฟูศิลปะวิทยาการของอังกฤษ โดยคริสโตเฟอร์ มาร์โลว์ เล่าถึงนักปราชญ์ที่ยอมขายวิญญาณให้ปีศาจเพื่อแลกกับอำนาจ ใช้อำนาจแบบผิดๆ สุดท้ายโทษทัณฑ์คือนรก

              4.The Emperor's New Clothes ฉลองพระองค์ชุดใหม่ของพระราชา นิทานของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน เนื้อหาเป็นยังไง ใครจำได้ก็ช่วยเล่าหน่อยนะคะ 

              5.All My Sons อาเธอร์ มิลลเลอร์ นักเขียนชาวอเมริกัน เศรษฐีนายทุนที่ห่วงแต่หาเงินเข้ากระเป๋า ไม่คิดถึงศีลธรรม และผลร้ายต่อประเทศชาติ สุดท้ายก็ไม่อาจหนีความจริง

              6.Macbeth แมกเบธ ของเชกสเปียร์ เล่าถึงแม่ทัพผู้เก่งกาจแต่ทะเยอทะยาน กำจัดผู้ขวางทางเพื่อการเป็นใหญ่ แต่กรรมก็ตามทัน แต่ที่น่าสนใจกว่าเห็นจะเป็นภรรยาของแม่ทัพ ที่ร้ายกาจขาดศีลธรรมยิ่งกว่า

              7.Ozymandias ร้อยกรองอังกฤษยุคโรแมนติก เพอร์ซี เชลลี่ย์ อนิจจังของอำนาจผู้นำเผด็จการ แม้จะใหญ่คับฟ้า แต่สุดท้ายก็สิ้นอำนาจให้ผู้อื่นเย้ยหยัน

              8.A band in the River นวนิยายหลังยุคอณานิคม วีเอสไนพอล เล่าถึงทรราชโลกที่ 3 ฉลาด เล่นลิ้น สร้างภาพว่าตัวเองเป็นวีรบุรุษกู้ชาติ มอมเมาประชาชนด้วยเทคโนโลยี ฝันลมๆแล้งๆ

              9.A Chrismas Carol นิยายอังกฤษสมัยศตวรรษ 19 ชาร์ล ดิกเคนส์ กล่าวถึงชายแก่ที่หมกมุ่นอยู่กับประโยชน์ส่วนตัว ไม่คิดถึงคนอื่น ในที่สุดมีผีสี่ตัวมาเตือน จึงกลับตัวเป็นคนดี

              10.Don Quixote โดย เซร์บานเตส นักเขียนชาวสเปน เล่าถึงการต่อสู้เพื่อความฝันและอุดมการณ์ แม้จะถูกเย้ยหยันจากคนที่ไม่เห็นคุณค่า แต่ก็จะดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีลมหายใจ

              ทั้งหมดนี้คือการเสวนา อักษรศาสตร์กับระบอบทักษิณ จากคณะอักษรฯ ค่ะ ผิดพลาดตรงไหนก็ขออภัยด้วย ใครมีข้อมูลหรือความรู้ก็มาเสวนากันต่อได้นะคะ 


              รายงานโดย Kwanrapee_The_Artist (กำลังจะเป็น)นิสิตอักษรจุฬา ค่ะ



              เข้าชมมายไอดีของผู้เขียนบทความได้ที่นี่ค่ะ  < My.iD >




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×