ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเรียนวิชาปรุงยา

    ลำดับตอนที่ #2 : หัวข้อที่สอง: หลักการง่ายๆในการปรุงยาในประสบผล

    • อัปเดตล่าสุด 3 เม.ย. 54


    วิชาปรุงยา (โดย อ.เดสเซน โรสดิเอน)

    หัวข้อที่สอง: หลักการง่ายๆในการปรุงยาในประสบผล

    หลักการข้อที่หนึ่ง: ตรวจสอบอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนเริ่มการปรุง เราควรเช็คว่าหม้อ ไห ตะหลิว ไม้คน ฯลฯ พร้อมเสมอโดยไม่มีรอยรั่ว, แตก, ร้าวหรือรอยผุกล่อน ซึ่งหากเราต้มยาไปทั้งๆอย่างนั้นมันจะเป็นอุปสรรคในการปรุงยาของเราอย่างมาก เพราะฉะนั้นต้องให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ของเรายังมีสภาพดีก่อนจะปรุงยาใดๆ

    หลักการข้อที่สอง: จัดการส่วนผสมให้พร้อมตามที่ต้องการและในปริมาณที่ถูกต้อง ในการปรุงยาการจัดเตรียมถือเป็นสิ่งสำคัญซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยการสำเร็จของการปรุงยา หากส่วนผสมไม่พร้อมยาที่ได้ออกมาอาจจะไม่ใช่ตัวยาที่เราต้องการถึงมันจะดูคล้ายๆกันหรือเป็นอีกตัวยาที่ร้ายแรงกว่านั้นได้เลยทีเดียว ฉะนั้นเราจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้เลย

    หลักการข้อที่สาม: ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยสักนิดในการทำให้ส่วนผสมเข้ากันได้ง่าย หลักที่ว่าคือ   
               

    1.การคน ซึ่งวิธีการนี้ใช้สำหรับยาที่สามารถใช้วิธีคนเพื่อไม่ให้มีการตกกระกอนเกิดขึ้น


    2.การเพิ่มความร้อน การเพิ่มความร้อนจะทำให้วัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นและเกิดการละลายเร็วขึ้น เป็นวิธีการสำหรับที่ต้องใช้เวลาสั้นๆในการปรุง

     3.การลดขนาดวัตถุ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการหัน, ซอย, ขูด, ฝน, โขลก, ตำหรือทำให้เป็นน้ำ ซึ่งนี้เป็นตัวการที่จะทำให้ส่วนผสมสลายตัวเร็วขึ้น วิธีนี้สำหรับการปรุงยาที่ต้องใช้ส่วนผสมมากๆและหลายๆอย่าง

    หลักการข้อที่สี่: ปริมาตรของน้ำ หากน้ำมากไปตัวยาก็จะจาง หากน้ำน้อยไปตัวยาก็จะข้น เราจึงต้องรู้ความต้องการที่จะปรุงก่อนจะตัดสินใจปรุงยา ส่วนถ้าเป็นตัวยาที่ไม่ต้องใช้น้ำก็ให้ดูที่ปริมาณของส่วนผสมหากเยอะเกินไปก็จะเหลือเพราะบางอย่างทิ้งไว้นานๆก็ไม่ได้

    หลักการข้อที่ห้า: ความตั้งใจ หากเราต้องปรุงยาที่ใช้เวลานานๆความตั้งใจคือปัจจัยสำคัญหากไม่ตั้งใจอาจจะเกิดผลเสียตามมาทีหลังได้ เช่นเผลอหลับคาหม้อส่วนผสมก็อาจจะไหม้ได้ หรือการใส่ส่วนผสมผิดเวลาก็อาจจะทำให้ยาเสียไปเลย เพราะฉะนั้นควรมีสมาธิด้วย

            ส่วนเรื่องทดสอบยาที่ตัวเองไม่มั้นใจพอที่จะทดลองด้วยตัวเอง ก็ให้ใช้สัตว์จำพวกหนู, กบ, ค้างคาวหรือสัตว์เลื่อยคลานบางชนิดเพราะพวกมันค่อนข้างไวต่อความรู้สึก ถ้าใครไม่กล้าลงมือกับสัตว์จำพวกนี้ลองหามนุษย์สักคนมาเป็นตัวทดลองดูสิ และที่แน่นอนต้องไม่ใช่ครูนะ (^ ^)

    งาน – ยังไม่มีอีกตามเคย (ถ้าอยากได้เชิญขอได้ที่ห้อง)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×