“นโปเลียนนักรบและนักการเมือง” - “นโปเลียนนักรบและนักการเมือง” นิยาย “นโปเลียนนักรบและนักการเมือง” : Dek-D.com - Writer

    “นโปเลียนนักรบและนักการเมือง”

    สำหรับหนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ประจำวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2549 โดยวิกรม กรมดิษฐ์

    ผู้เข้าชมรวม

    1,506

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    1.5K

    ความคิดเห็น


    5

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 พ.ค. 51 / 21:31 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      หากเรามามองย้อนกลับไปเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ภาพของการทำสงครามและการต่อสู้ของกองทหารจะมีอยู่ทั่วไปในทุกแห่งบนโลก เนื่องจากแต่ละฝ่ายต่างต้องการเป็น มหาอำนาจ ในอดีตจำนวนของกำลังไพร่พลเป็นดัชนีวัดความยิ่งใหญ่ของกองทัพ  ใครมีกำลังพลมากกว่าก็จะมีมีพลังอำนาจมากกว่าซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบในการทำสงคราม สามารถทำการขยายอาณาเขตการปกครองของตนได้   และสิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือการมีกำลังใจที่เข้มแข็งของทหาร  นอกจากนี้ภูมิประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยป้องกันจากการถูกข้าศึกรุกราน ตัวอย่างเช่นรัสเซีย ที่มีภูมิประเทศกว้างใหญ่ และพื้นที่บางส่วนก็มีสภาพภูมิอากาศที่แสนจะโหดร้ายและกันดาร ทำให้ผู้ที่เข้ามารุกรานรัสเซียอ่อนกำลังลงและเปลี่ยนสถานะจากผู้จู่โจมกลายมาเป็นผู้ตั้งรับและในที่สุดก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้และถอยทัพกลับไป

       

      สมัยโบราณนักรบมักเชื่อเรื่องดวงชะตา  ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ทำให้กองทัพเหล่านั้นอ่อนแอลง และเสียเปรียบในเรื่องของจิตใจไม่นับว่าเป็นเรื่องงมงายอีกด้วย   ผมขอยกตัวอย่างอาณาจักรมองโกล ที่มีความยิ่งใหญ่และเกรียงไกรไปทั่วโลก ขยายพื้นที่แผ่ครอบคลุมไปแทบจะทุกมุมเมืองแบบค่อยเป็นค่อยไป  เมื่อพวกมองโกลยึดเมืองใดได้แล้วก็จะค่อย ๆ สะสมกำลังอาวุธ กำลังเสบียงในเมืองนั้น ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาจากเมืองแม่ ช่วยประหยัดและย่นระยะเวลาไปได้มาก   จากนั้นพอกองทัพของพวกเข้าเข้มแข็งและกล้าแกร่งขึ้น จึงค่อยคืบคลานไปยึดเมืองอื่น ๆ ต่อไป โดยใช้วิธีการแบบเดียวกันนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งผมถือว่าเป็นวิธีการอันชาญฉลาดและแยบยลมาก  ทั้งนี้การเข้าครอบครองดินแดนต่าง ๆ ก็ใช้เวลากว่า 300 ปี ในการเสริมสร้างอำนาจให้เข้มแข็ง มั่นคง   และฝึกฝนกำลังพลอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับการวางแผนการรบอย่างเป็นขั้นตอน มีหลักการ ทำให้พวกมองโกลสามารถประสบความสำเร็จในการขยายอาณาจักรและเข้ายึดครองเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างยาวนานที่สุดในโลกเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย ตะวันออกกลางและยุโรป ล้วนแล้วแต่ถูกพวกมองโกลเข้ายึดครองแล้วทั้งนั้น แม้ว่าจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคทางด้านภูมิอากาศอันหนาวเย็น โหดร้ายสักปานใดก็ตาม

       

      อย่างไรก็ตาม หลังจากสิ้นสุดยุคพวกมองโกลเรืองอำนาจแล้ว ก็ตามมาด้วย ยุคล่าอาณานิคม  เกิดขึ้นจากพวกยุโรปที่ถือเป็นกลุ่มชนที่มีความเจริญทางด้านวัฒนธรรมและการทหารมากที่สุดของโลกในขณะนั้น  เมื่อ 200 กว่าปีที่แล้วพวกยุโรปได้ก้าวเข้าสู่ความมั่งคั่งจากการประสบความสำเร็จในการเดินทางด้วยเรือที่สามารถนำกำลังทหารเดินทางจากยุโรปไปสู่ที่ใดก็ได้ และเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ นับว่าโชคดีที่ในขณะนั้นประเทศไทยไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศใดเลย และเป็นเพียงประเทศเดียวของเอเชียเท่านั้น ที่สามารถรักษาเอกราชเอาไว้ได้

       

      นโปเลียนมาจากสามัญชนสู่กษัตริย์ผู้นำความยิ่งใหญ่มาสู่ยุคล่าอาณานิคม ฝรั่งเศสถือว่าเป็นประเทศที่มีความเกรียงไกรและประสบความสำเร็จสูงทที่สุด จนทำให้คนฝรั่งเศสมีความรู้สึกภาคภูมิใจสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นโปเลียนนำทัพสร้างความยิ่งใหญ่ในการรบและยึดครองประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีอาณาเขตติดกับฝรั่งเศสด้วยยุทธวิธียึดครองอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต ทั้งนี้เพราะนโปเลียนเป็นนักรบที่ไม่ได้ใช้กำลังรบเป็นหลักเพียงอย่างเดียวซึ่งต่างจากประเทศอื่น ที่มักจะเอาจำนวนของกำลังพลมาเป็นมาตรวัดความยิ่งใหญ่ แต่เขาเป็นคนแรกที่รู้จักใช้การวางแผน และกลยุทธ์ การคำนวณในเรื่องของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เอาความได้เปรียบในเรื่องของการเตรียมตัวและเวลา รวมไปถึงความมีประสิทธิภาพในการบริหารผู้คนในกองทัพให้มีระบบระเบียบ  ทำให้กองทัพของฝรั่งเศสในยุคนั้นเป็นกองทัพที่เก่งกาจมาก สามารถเอาชนะกองทัพของประเทศอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ทุกครั้งและที่สำคัญจำนวนตัวเลขของความสูญเสียของกองทัพฝรั่งเศสหลังจากสิ้นสุดการสู้รบก็มีน้อยกว่ากองทัพอื่น ๆ มาก

       

      นโปเลียนยังเป็นนักปกครองที่ทำให้เกิดระบบกฎหมายและระบบศาลแห่งความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอดีตอีกเช่นกัน เขายังเป็นผู้ที่สร้างความเสมอภาคและทัดเทียมกันให้กับประชาชนและความยิ่งใหญ่จากความสำเร็จของการยึดครองของกองทัพฝรั่งเศส ทำให้เขาเกิดความรู้สึกฮึกเหิมและต้องการรวบรวมประเทศทั้งหมดของยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงใช้กำลังเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและเมื่อยึดครองได้แล้วก็ให้บรรดาญาติของตนเองขึ้นเป็นใหญ่และครอบครองประเทศนั้น ซึ่งถือเป็นการสร้างกระแสต่อต้านตัวเขาเป็นอย่างมาก ทั้งประเทศที่ถูกเขารุกรานแล้วและประเทศที่มีแนวโน้มที่จะถูกฝรั่งเศสเข้ารุกราน จนก่อให้เกิดการรวมตัวกันเป็นพันธมิตรขึ้นเพื่อต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสในยุคนั้น ในที่สุดจึงเป็นชนวนนำไปสู่การรุมจู่โจมฝรั่งเศสจนทำให้ฝรั่งเศสต้องพบกับความพ่ายแพ้ และนโปเลียนเองก็ต้องลงจากอำนาจถึงสองครั้งด้วยกัน

       

      นโปเลียนไม่สามารถที่จะสานฝันของเขาที่ต้องการรวมเอายุโรปให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ด้วยการใช้กำลังเข้ายึดครอง หากวิเคราะห์วิธีการของนโปเลียนแล้วผมมองว่าไม่แตกต่างจากวิธีการในระบบคอมมิวนิสต์  เพราะในยุคต่อมาผู้นำรัสเซีย เช่นเลนนินต้องการรวมโลกนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวเหมือนกันในระบบด้วยการใช้กำลังซึ่งผมถือว่าเป็นความคิดที่ผิด แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแนวคิดการรวมสหภาพยุโรปในปัจจุบันที่สามารถรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันได้เพราะความพึงพอใจและการมีผลประโยชน์ร่วมกัน นับเป็นสิ่งที่ดีกว่าการใช้กำลังอย่างแน่นอน

       

      ในประวัติศาสตรทางการสงครามหรือการทหารของโลก นอกเหนือไปจากนักการทหารที่ยิ่งใหญในอดีต เชน อเล็กซานเดอรมหาราช หรือจูเลียส ซีซารแลว โลกตางรูจักและยอมรับในตัวของ นโปเลียน โบนาปารด นักรบผูมีอัจฉริยะภาพทางการเมืองและการทหารที่ยิ่งใหญเกรียงไกร ผูนําประเทศฝรั่งเศสไปสูความเปนมหาอํานาจที่มีอิทธิพลใหญหลวงตอยุโรป หลายตอหลายการศึกของนโปเลียนกลายเปนแบบฉบับของการทําสงครามที่มีผูวิเคราะหและศึกษาในแนวคิด หลักการสงคราม ศิลปะในการนําทัพและมรดกอื่นๆ ที่เขาไดทิ้งไวอยางตอเนื่องและนําแนวคิดเหลานั้นมา

      เปนหลักการหรือแนวทางในการทําสงครามมาจวบจนปจจุบัน

       

      ประวัติ

       

      นโปเลียนเกิดวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1769 ที่อาแจ็กซิโอ เมืองหลวงของเกาะคอร์ซิก้า ซึ่งเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ฐานะทางบ้านของเขาในตอนนั้นถือว่ายากจน เมื่ออายุได้ 10 ขวบ บิดาได้สงเขาเรียนในโรงเรียนทหารที่เบรียง การเรียนที่นั่นไม่มีตำราแต่ใช้การท่องจำแทน และเขาก็ทำได้ดีด้วย เนื้อหาที่เรียนนั้นรวมไปถึงประวัติศาสตร์กรีกและโรมันจนกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้เขาใฝ่ฝันว่า สักวันหนึ่งเขาอาจจะพิชิตโลกได้เช่นเดียวกับอเล็กซานเดอร์

      มหาราชหรือจูเลียส ซีซาร์

       

      ตอนอายุได15 ปี ไดายไปศึกษาที่โรงเรียนนายรอยในปารีส นโปเลียนศึกษาอยางหนักและสอบออกเปนนายทหารเหลาปนใหญ พอปี ค.ศ.1793 ฝรั่งเศสทําสงครามกับกองกําลังผสมของออสเตรีย ปรัสเซียและอังกฤษ ขณะนั้นเขาเปนรอยเอกทหารปนใหญไดรับคําสั่งใหไปปฏิบัติการในกองทัพฝรั่งเศสที่ตูลอง ระหวางนั้นไดทําการรบกับฝายพันธมิตรอยางดุเดือด จนทําใหไดรับการเลื่อนยศเปนนายพลจัตวา

       

      และหลังจากนั้นปรากฎว่ามีการปฏิวัติในฝรั่งเศสทำให้เขาถูกเรียกตัวกลับมาปารีสเพื่อปราบปรามเหล่ากบฎ  เขาสั่งการใหใชนใหญปราบปรามกลุมกบฎอยางเด็ดขาดรุนแรง ทําใหการกอความไมสงบยุติลงในเวลาอันรวดเร็ว และกลายเปนวีรบุรุษ อีกทั้งยังไดรับการแตงตั้งให้เป็นรองผูบัญชาการกองทัพฝรั่งเศส ที่มีความเข้มแข็งและได้กิตติศัพท์ในทางอำมหิตติดมาด้วย

       

      หลังจากนั้นนโปเลียนเข้าทำสงครามกับประเทศอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อกระจายแนวความคิดของเขาให้เผยแพร่ออกไปโดยใช้กำลังเข้ายึดครอง ซึ่งตอนนั้นเขาใช้กลยุทธิ์ใหม่ที่ไม่เคยมีใครใช้มาก่อน โดยทำการเดินทัพตอนกลางคืนและเข้าร่วมรบกับนายทหารราบ เนื่องจากเข้ามีความรักกองทัพเป็นอย่างมากและผูกใจกับบรรดาเหล่าผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผมคิดว่าการที่เขาเข้าร่วมรบด้วยทุกครั้งนั้น ถือเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเหล่าทหารได้เป็นอย่างดี

       

      ด้วยยุทธวิธีการรบอันชาญฉลาดของนโปเลียนปรากฎว่าไม่มีใครตามเขาทันเลย เขาสามารถเข้ายึดออสเตรีย อิตาลี  ซึ่เป็นช่วงเดียวกับที่เขาไดพบและแตงงานกับแมหมายลูกสอง ชื่อ โจเซฟน เมื่อ 1 มีนาคม ค.ศ.1796  แตหลังจากอยูวยกัน 13  ปีก็ยังไม่มีลูกด้วยกัน ท้ายที่สุด เขาก็ต้องขอแยกทางกับนางเนื่องจากจับได้ว่าถูกนอกใจและได้แต่งงานใหม่กับเจาหญิงแมรี หลุยสราชธิดาของจักรพรรดิออสเตรีย เมื่อ 2 เมษายน ค.ศ.1810 และไดบุตรชายสมความปรารถนา

       

      หลังจากที่นโปเลียนเข้ายึดครองออสเตรียและอิตาลีได้แล้วนั้น เป้าหมายต่อมาก็คือการเข้ายึดครองอียิปต์ เพราะเขาต้องการที่จะทำลายผลประโยชน์ของอังกฤษที่ได้รับจากการค้าในเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง แม้ว่าเขาจะชนะอียิปต์อย่างง่ายดาย แต่ทว่านั่นก็เป็นการสร้างศัตรูใหม่ที่น่ากลัวให้กับฝรั่งเศส เนื่องเพราะว่าอังกฤษต้องสูญเสียผลประโยชน์ ตอนนี้ฝรั่งเศสจึงยืนอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางศัตรูทั่วยุโรป

       

      จากนั้นเขาได้ทำรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลฝรั่งเศสเดิมและตั้งตัวเองเป็นหนึ่งในสามกงสุลที่ปกครองฝรั่งเศสและต่อมาก็ได้ขึ้นเป็นกงสุลหมายเลขหนึ่ง จากนั้นเขาก็ได้สถาปนาตนเองเปนผูนําเผด็จการ  และในวันที่ 18 พฤศจิกายน 1799 และในวันที่ 2 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1804 เขาสวมงมกุฎให้ตนเองเป็นจักรพรรดิ พิธีทำกันที่โบสถ์นอเตรอดามในกรุงปารีส ในพิธีนั้นพระสันตปาปาปิอุสที่ ๗ ได้เสร็จมาจากกรุงโรมเพื่อเป็นประธานในพิธีแต่ก็ไม่ได้เป็นผู้สวมมงกุฎจักรพรรดิให้แก่นโปเลียนแต่อย่างใด  ต่างจากจักรพรรดิองค์แรกหลังจากอาณาจักรโรมันล่มสลายคือชาลิมาญ ได้ให้พระสันตะปาปาเป็นผู้สวมมงกุฎให้ซึ่งเป็นการทำให้อำนาจทางธรรมมาครอบงำอำนาจทางโลก ที่เป็นเช่นนี้เพราะนโปเลียนมีความคิดว่าพระเจ้าก็อยู่ส่วนพระเจ้าไม่ได้มีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์แต่ประการใด มนุษย์ทำสิ่งใดก็ย่อมได้รับผลเช่นนั้น มนุษย์สามารถลิขิตชะตาชีวิตของตนเองได้ ดังนั้น เมื่อเขาได้แสดงความสามารถขึ้นมา เขาก็สมควรจะได้รับผลประโยชน์จากความสามารถนั้นด้วยตนเอง เขาจึงสมควรที่จะสวมมงกุฎจักรพรรดิให้ตนเอง ไม่ใช่ให้พระสันตะปาปาที่อยู่เฉยๆไม่ได้มีส่วนทำให้เขาเป็นจักรพรรดิมาสวมมงกุฎให้เขา

       

      หลังจากที่เขาขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ฝรั่งเศสก็ได้มีการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างหนัก มีการปฏิรูปการปกครอง แบ่งเขตการปกครองใหม่ให้แน่นอน รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  ตั้งธนาคารแห่งชาติเพื่อจัดการระบบภาษี วางมาตรฐานการศึกษาและพยาบาล ริเริ่มโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เพื่อรองรับภารกิจที่เกิดใหม่ของรัฐ  ปลุกความรู้สึกชาตินิยม ส่งเสริมหลักเสรีภาพ เสมอภาค แต่เหนืออื่นใดสิ่งสำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลถึงปัจจุบันและมีอิทธิพลไปจนถึงประเทศอื่นๆทั่วโลกคือ ศาลปกครองและประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส หรือที่เรียกว่าประมวลกฎหมายนโปเลียน  ประมวลกฎหมายนี้มีจำนวนกว่า 2,300 มาตรา เป็นสิ่งที่พระองค์ภูมิใจมากที่สุด จนถึงขนาดที่พระองค์กล่าวว่า การสงครามของพระองค์นั้นไม่ได้ทำให้คนรุ่นหลังจดจำพระองค์ แต่คนรุ่นหลังจะนึกถึงพระองค์ด้วยประมวลกฎหมายฉบับนี้

       

      ขณะนั้นนโปเลียนมีความยิ่งใหญ่มากและนำพาฝรั่งเศสแผ่อำนาจยึดครองทั่วทั้งยุโรปจนคนต่างขนานนามให้ฝรั่งเศสเป็นเจ้าของยุโรป และเมื่อเป็นเจ้ายุโรปแล้วเขาก็ได้แต่งตั้งญาติของตัวเองให้ปกครองประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสเปน ออสเตรีย หรือแม้แต่อิตาลี  ความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสขณะนั้นทำให้ทั้งเยอรมันีหรือแม้แต่รัสเซียต่างต้องยอมมาเป็นมิตร แต่ภายหลังรัสเซียเกิดแข็งข้อต่อฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสต้องยกกองทัพกว่า 500,000 คนเข้ามาในรัสเซีย ในตอนนั้นรัสเซียไม่ต้องการทำการรบอย่างแตกหัก พระเจ้าอเล็กซานเดอร์จึงมีรับสั่งให้อพยพพลเมืองที่อาศัยอยู่ตามเส้นทางที่กองทัพฝรั่งเศสจะผ่าน ทำให้กองทัพฝรั่งเศสรุกคืบเข้ามาเรื่อย ๆ แต่ปรากฎว่ากองทัพฝรั่งเศสต้องทนกับความโหดรายทารุณของฤดูหนาวในรัสเซียเป็นเวลานาน จนทำให้กองกำลังอ่อนแอลง ส่งผลให้กองทัพฝรั่งเศสต้องพ่ายแพ้ในที่สุด และเป็นการพายแพครั้งแรกและนํามาซึ่งการสิ้นวาสนาของนโปเลียนในเวลาตอมา

       

      จากความพายแพในการบุกรัสเซีย ทําใหายพันธมิตรถือเปนโอกาสอันดีในการกําจัดอิทธิพลของนโปเลียนในยุโรป โดยยื่นเงื่อนไขนั้นหามมิใหฝรั่งเศสมีดินแดนในประเทศอื่นๆ อีก

      อไป  และภายหลังรัฐบาลฝรั่งเศสมีคำสั่งใหนโปเลียนพนจากราชบัลลังกเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ.1814และไดนําตัวไปปลอยที่เกาะเอ็ลบาซึ่งเปนเกาะเล็กๆ แหงหนึ่งของฝรั่งเศส แต่นโปเลียนก็ไม่ยอมจำนนต่อการถูกกักขังอิสรภาพ  หลังจากนั้นประมาณ 10 เดือน นโปเลียนรวบรวมทหารยก

      เขาไปปารีสเพื่อยึดอํานาจจากรัฐบาลฝรั่งเศส ดังนั้นพันธมิตรที่เคยทําสงครามกับนโปเลียนจึงพรอมใจกันสงกําลังทหารเขาสูรบกับนโปเลียนอีกครั้ง  นโปเลียนรวบรวมทหารไดถึง 150,000 นาย

       เขาทําการรบกับศัตรู โดยสามารถพิชิตกองทัพรัสเซียไดและเดินทัพเขาตอสูกับกองทัพอังกฤษโดยมีกําลังนอยกวาแตสามารถสูรบจนอังกฤษตองลาถอย แตประสบโชครายที่กองทัพเยอรมันเขาตีกระหนาบจนเกิดความระส่ำระสาย  นโปเลียนมองเห็นความปราชัยจึงยอมประกาศสละราชสมบัติอีกครั้งหนึ่ง

        

      วาสนาของนโปเลียนถึงคราวอวสานเมื่อรัฐบาลอังกฤษไดนําตัวนโปเลียนไปปลอยเกาะเซนตเฮเลนา ในแอตแลนติกใต ที่นี่นโปเลียนมีชีวิตอยูอมาอีกประมาณ 6 ปจึงสิ้นพระชนมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1821 รวมอายุ 51 ป นับวาเปนการปดฉากชีวิตเอกบุรุษผูเปนกษัตริยและนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×